[Spoil Alerted!!!]
- The Tale of the Princess Kaguya (2014)
อย่างที่เขาว่ากันว่าจะเลี้ยงนกต้องเลี้ยงในกรง เพราะว่านกตัวนั้นจะดูมีราศีขึ้นกว่าปกติเมื่อมันยืนสงบนิ่งราวกับก้อนหินแทนที่จะโบยบินเหนือท้องฟ้า เราจำกัดอิสรภาพของสัตว์ตัวหนึ่งเพียงเพราะว่าเราต้องการให้มันอยู่ตรงนั้นให้เราเฝ้ามอง ให้มันร้องเพลงให้เราฟังเมื่อทุกครั้งที่เราต้องการ หลายต่อหลายคนให้ที่พักพิงแก่นกตัวนั้นด้วยกรงที่ใหญ่และสวยงาม พร้อมกับพร่ำบอกกับนกตัวนั้นว่ามันควรจะดีใจขนาดไหนที่บ้านของมันสวยงามเพียงนี้ แต่ถึงกระนั้นแล้วสิ่งเหล่านี้มันก็เป็นเพียงเป็นความปรารถนาของผู้เลี้ยงเท่านั้นเอง มิได้เป็นสิ่งที่ผู้ถูกจองจำต้องการแต่อย่างได้ และทุกครั้งที่ผมได้พบเจอนกเหล่านี้สิ่งที่ตามมามักจะเป็นเสียงร้องอันเพราะจับใจถ้ามันเป็นคนก็คงร้องประมาณว่า “ชั้นมีความสุข ชั้นมีความสุข” ราวกับพี่ บอย ตรัย มาร้องให้ฟังเอง แต่เมื่อฟังๆไปก็รู้สึกได้ว่า ทำไมกันนะ ทำไมความรู้สึกที่ถูกแฝงอยู่ในห้วงเสียงห้วงทำนองแห่งความสุขนั้นมันช่างเปี่ยมไปด้วยความเศร้า ความสิ้นหวังเสียเหลือเกิน
ฟังๆไปก็อดไม่ได้ที่จะไปคิดถึงเรื่องราวของเจ้าหญิงไม้ไผ่ เจ้าหญิงจากตำนานเรื่องเล่าพื้นบ้านญี่ปุ่น ที่ได้ถูกนำมาดัดแปลงและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบภาพศิลป์ที่เคลื่อนไหวได้ โดยภาพที่ว่านั้นมีชื่อว่า The Tale of the Princess Kaguya หนึ่งในผลงานอันสวยงาม เลอค่า และลุ่มลึกของสตูดิโออนิเมชันชื่อดังอย่าง จิบลีนั่นเอง
The Tale of the Princess Kaguya เริ่มต้นนั้นเป็นเรื่องราวของสามีช่างตัดไผ่และภรรยา ซึ่งชีวิตพวกเขานั้นหากินประทังชีวิตโดยการตัดไผ่ที่อยู่บนยอดเขา ทั้งสองเป็นชาวบ้านธรรมดา ไม่มีฐานะร่ำรวยอะไร ออกไปในทางยากจนเสียด้วยซ้ำแต่อยู่มาวันหนึ่งช่างตัดไผ่ก็ได้สังเกตเห็นว่า ไม้ไผ่ต้นหนึ่งมีแสงสว่างเปล่งประกรายอยู่ไกลๆ ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เขาก็เดินเข้าไปดูใกล้ๆจนเขาได้พบกับเจ้าหญิงคางุยะในตอนนั้นนั่นเอง โดยพวกเขาทั้งสองเชื่อว่าสวรรค์ได้บันดาลเจ้าหญิงมาให้พวกเขาทั้งสอง และพรอีกหลายๆอย่างทำให้เขาทั้งสองเชื่อเช่นนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินทอง หรือเสื้อผ้า ที่ช่างตัดไผ่พบเจอจากต้นไผ่ต้นเดิม
ต่อมาเจ้าหญิงได้เติบโตในบ้านของช่างตัดไผ่ บ้านที่ทั้งมีขนาดเล็กและเก่าทรุดโทรมแต่เธอนั้นก็มีความสุขในช่วงชีวิตที่เธอเติบโตขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการออกไปเล่นไปร้องเพลงกับเด็กหลายๆคนที่อาศัยอยู่บนเขา การได้มีโอกาสไปวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ ชื่นชมความงามของธรรมชาติ ความงดงามของป่าเขา ในช่วงเวลานั้นเธอเปรียบเสมือนนกป่าผู้หลงใหลในอิสรภาพของตนเอง
เมื่อเวลาผ่านไปช่างตัดไผ่ก็คิดได้ว่าสวรรค์ส่งเด็กน้อยอย่างคางุยะนี้มาเพื่อที่จะเป็นเจ้าหญิงที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่ชื่อที่พวกเขาเรียกเธอเสียแล้ว ทั้งสองได้นำเงินทองที่เบื้องบนนำมาให้ เดินทางเข้ามาในเมืองหลวง ดินแดนที่เต็มไปด้วยความสูงศักดิ์แต่ไร้ซึ่งความงดงาม ดินแดนที่ทุกสิ่งทุกอย่างกระเพื่อมไหลไปตามกรอบของกฎเกณฑ์และระเบียบ สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหญิงในอุดมคติของช่างตัดไผ่แต่ก็น่าเศร้ามันกลับไม่ใช่ที่ๆเหมาะสมสำหรับเด็กน้อยผู้รักอิสระอย่างเจ้าหญิง ยิ่งไปกว่านั้น จะใช้คำว่า ‘สถานที่ๆเลวร้าย’ก็คงจะไม่ใช่คำที่ดูเกินจริงเกินไป
หลังจากที่เธอเข้าไปใช้ชีวิตในวังนั้นทุกอย่างดูเลวร้ายไปหมดสำหรับเธอ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆทุกใส่เข้ามาในชีวิตของเธออย่างเกินความจำเป็น เพียงเพราะว่าเธอจะได้เป็นเจ้าหญิงที่ดีตามครรลองแบบแผนของสตรีเพศผู้สูงส่งในสังคมสมัยนั้น จากบ้านเล็กๆที่เธอเคยอยู่ กลายเป็นประสาทหลังใหญ่สวยงาม ฟังแล้วเหมือนดูดี แต่ก็เป็นเหมือนตลกร้ายที่แฝงอยู่ในความดูดีนั้น จากแต่เดิมโลกของเธอคือป่าเขาอันกว้างใหญ่ กลับกลายเป็นห้องสี่เหลี่ยมเล็กแลดูน่าอึดอัด จากที่เคยยิ้มร่าแบบไม่ต้องอายใครกลับต้องทาฟันสีดำและถูกเตือนโดยพี่เลี้ยงว่า ‘เจ้าหญิงเขาไม่ยิ้มกัน’ กรอบชีวิตที่แสนจะอึดอัดคับแคบที่ช่างตัดไผ่ผู้เปรียบเสมือนพ่อแท้ๆของเธอได้สร้างไว้ มันเริ่มบีบอัดเข้ามาหาเจ้าหญิงทีละเล็กทีละน้อย และเมื่อบีบอัดเข้ามาถึงจุดๆหนึ่งซึ่งจิตใจของเธอเกินรับไหว เมื่อนั้นเธอก็ยอมแพ้กับโชคชะตาและวิงวอนต่อดวงจันทร์ให้เอาตัวเธอนั้นกลับไปเสียที เพราะเธออยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์และความจอมปลอมไม่ไหวเสียแล้ว
โชคชะตาชีวิตของเจ้าหญิงคางุยะนั้นไม่ต่างอะไรกับนกในกรงแม้แต่น้อย และยังมีสิ่งหนึ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกันก็คงเป็นช่วงเวลาทุกครั้งที่เธอเล่น โกโตะ เสียงที่ออกมานั้นมันช่างฟังดูไพเราะ และรู้สึกเศร้าซึมลึกพร้อมไปในเวลาเดียวกัน ไม่ต่างกับเสียงร้องของนกน้อยในกรงเลย
ชีวิตของคนเราหลายๆคนนั้นก็คงไม่ต่างจากเจ้าหญิงคางุยะเช่นกัน ถ้าเปรียบให้ว่าโชคชะตาชีวิตของเจ้าหญิงคางุยะนั้นเป็นชีวิตของเด็กน้อยคนหนึ่ง เด็กธรรมดาที่พบได้ทั่วไปในสังคมปัจจุบัน ช่างตัดไผ่ก็คงเป็นตัวอย่างที่ดีในการสะท้อนถึงค่านิยมของการเลี้ยงดูลูกของผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเคยลำบากลำบนมาก่อนในอดีต เคยตัดไผ่ประทังชีวิตอดมื้อกินมื้อ พวกเขาเหล่านั้นก็คงไม่อยากให้เจ้าหญิงของตนเองต้องมาพบเจอกับชะตาชีวิตที่แสนจะลำบากเหมือนตัวเขาเอง พวกเขาตีโพยตีพายถึงสาเหตุของความลำบากนี้ และจำกัดผลของมันโดยการตีกรอบเกณฑ์แห่งชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกรงนกขนาดใหญ่ และให้ลูกของตนเองเข้าไปอาศัย โดยที่ไม่ได้ถามถึงความรู้สึกของลูกของเขาเลยแม้แต่คำเดียว พวกเขาพร้อมที่จะสร้างทางเดินให้กับลูกของตนเองโดยเอาความคิดของตนเองเป็นเครื่องชี้นำ ต้องทำอย่างนั้นสิอย่าทำแบบนี้นะ ทำให้ได้ดีกว่าเขาสิ ความคิดต่างๆเหล่านี้บางครั้งมันสร้างความอึดอัดใจต่อคนเดินบนทางมิใช่น้อย อาจเพราะว่าคนที่เดินอยู่บนเส้นทางนั้นไม่ใช่คนที่กำหนดเส้นทางเสียเอง บางครั้งสิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นมาและคิดว่าดีมันอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป เปรียบเหมือนตอนที่คางุยะต้องตอบรับคำเรียกร้องจากชายผู้สูงศักดิ์ห้าคนที่เสนอมาให้ไปเป็นภรรยาของตน พ่อของเธอตอบรับและเห็นด้วย แต่ท้ายสุดพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ใช่คนดีคนเด่นอะไร ออกแนวชั่วร้าย จิตใจปลิ้นปล้อนเสียด้วยซ้ำ
การมีชีวิตที่ต้องเดินตามคาดคาดหวังของคนสองคนไปตลอด เดินตัวเกร็งเป็นเส้นตรง แค่เอนตัวเดินก็ถูกตำหนิเสียแล้ว คงเป็นการใช้ชีวิตที่กดดันอย่างบอกไม่ถูก และเมื่อเวลาผ่านไปกรงที่ดูเหมือนใหญ่โตกลับคับแคบขึ้นมาทุกที ความกดดันต่างๆถูกเพิ่มมากขึ้นจากผู้เฝ้ามองต่างๆรอบตัวของพวกเขา ความอึดอัด ที่อยากจะตะโกนออกมาเป็นคำสบถแต่ไม่สามารถทำได้ ทำได้เพียงเก็บสะสมไว้ในเบื้องลึกของจิตใจ และเมื่อความกดดันนี้มันเยอะเกินกว่าจะรับไหว จุดจบของพวกเขาก็คงไม่ต่างจากเจ้าหญิงคางุยะ พวกเขาคงได้แต่วิงวอนให้คนบนดวงจันทร์กลับมารับพวกเขาไปเสียที แต่ครั้งนี้ชะตาชีวิตของพวกเขา เหล่านกในกรงนั้นแตกต่างกับเจ้าหญิงตรงที่ ครั้งนี้ไม่มีใครลงมาจากดวงจันทร์มารับพวกเขาเหมือนกับเจ้าหญิง ถึงแม้ว่าเขาจะวิงวอนร้องไห้ยังไงก็ตาม เขาก็ทำได้เพียงร้องไห้ต่อไป บางคนหนักเข้าก็อาจจะเดินทางไปดวงจันทร์ด้วยตนเองเสียเลย และทิ้งไว้ซึ่งความรู้สึกและความโศกเศร้าให้กับคนที่อยู่บนโลก คนที่คิดได้เมื่อสายไปแล้วที่จะคว้าตัวเขากลับมาอยู่ในอ้อมกอดของตนเองได้ ช่างน่าเศร้าเสียเหลือเกิน
-จากการตีความส่วนตัวของผมนั้นการที่คนบนดวงจันทร์ลงมารับเจ้าหญิงนั้น นอกจากจะตีความไปในเชิงวรรณกรรมและความมหัศจรรย์ของเนื้อเรื่องแล้ว ถ้ามองอีกแง่ มันสามารถตีความได้ไปในแนวทางของโศกนาฎกรรมได้เช่นกันเพราะว่าจากในตำนานแล้วความทรงจำต่างๆที่มีบนโลกใบนี้จะสูญหายไปเมื่อกลับไปยังดวงจันทร์ แต่เหลือไว้ซึ่งความรู้สึก เชือกฟางเส้นสุดท้ายที่ยึดเหนี่ยวถึงความหวังในการใช้ชีวิตถูกตรึงไว้จากความรักที่เธอมีต่อแม่และพ่อช่างตัดไผ่ชองเธอ แต่เมื่อถึงช่วงหนึ่ง ช่วงเวลาที่เธอวิงวอน ต่อดวงจันทร์ เชือกฟางเส้นนั้นก็ถูกสะบั้นขาดลงไปเสียแล้ว -
- The Tale of the Princess Kaguya (2014)
เครดิต บทความผ่านแผ่นฟิล์ม
ฝากเพจและผลงานอื่นๆ วิจารณ์ ติชมได้เลยครับ
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1/680159158772066?ref=hl
<The Tale of the Princess Kaguya> นกน้อยในกรงทอง
- The Tale of the Princess Kaguya (2014)
อย่างที่เขาว่ากันว่าจะเลี้ยงนกต้องเลี้ยงในกรง เพราะว่านกตัวนั้นจะดูมีราศีขึ้นกว่าปกติเมื่อมันยืนสงบนิ่งราวกับก้อนหินแทนที่จะโบยบินเหนือท้องฟ้า เราจำกัดอิสรภาพของสัตว์ตัวหนึ่งเพียงเพราะว่าเราต้องการให้มันอยู่ตรงนั้นให้เราเฝ้ามอง ให้มันร้องเพลงให้เราฟังเมื่อทุกครั้งที่เราต้องการ หลายต่อหลายคนให้ที่พักพิงแก่นกตัวนั้นด้วยกรงที่ใหญ่และสวยงาม พร้อมกับพร่ำบอกกับนกตัวนั้นว่ามันควรจะดีใจขนาดไหนที่บ้านของมันสวยงามเพียงนี้ แต่ถึงกระนั้นแล้วสิ่งเหล่านี้มันก็เป็นเพียงเป็นความปรารถนาของผู้เลี้ยงเท่านั้นเอง มิได้เป็นสิ่งที่ผู้ถูกจองจำต้องการแต่อย่างได้ และทุกครั้งที่ผมได้พบเจอนกเหล่านี้สิ่งที่ตามมามักจะเป็นเสียงร้องอันเพราะจับใจถ้ามันเป็นคนก็คงร้องประมาณว่า “ชั้นมีความสุข ชั้นมีความสุข” ราวกับพี่ บอย ตรัย มาร้องให้ฟังเอง แต่เมื่อฟังๆไปก็รู้สึกได้ว่า ทำไมกันนะ ทำไมความรู้สึกที่ถูกแฝงอยู่ในห้วงเสียงห้วงทำนองแห่งความสุขนั้นมันช่างเปี่ยมไปด้วยความเศร้า ความสิ้นหวังเสียเหลือเกิน
ฟังๆไปก็อดไม่ได้ที่จะไปคิดถึงเรื่องราวของเจ้าหญิงไม้ไผ่ เจ้าหญิงจากตำนานเรื่องเล่าพื้นบ้านญี่ปุ่น ที่ได้ถูกนำมาดัดแปลงและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบภาพศิลป์ที่เคลื่อนไหวได้ โดยภาพที่ว่านั้นมีชื่อว่า The Tale of the Princess Kaguya หนึ่งในผลงานอันสวยงาม เลอค่า และลุ่มลึกของสตูดิโออนิเมชันชื่อดังอย่าง จิบลีนั่นเอง
The Tale of the Princess Kaguya เริ่มต้นนั้นเป็นเรื่องราวของสามีช่างตัดไผ่และภรรยา ซึ่งชีวิตพวกเขานั้นหากินประทังชีวิตโดยการตัดไผ่ที่อยู่บนยอดเขา ทั้งสองเป็นชาวบ้านธรรมดา ไม่มีฐานะร่ำรวยอะไร ออกไปในทางยากจนเสียด้วยซ้ำแต่อยู่มาวันหนึ่งช่างตัดไผ่ก็ได้สังเกตเห็นว่า ไม้ไผ่ต้นหนึ่งมีแสงสว่างเปล่งประกรายอยู่ไกลๆ ด้วยความอยากรู้อยากเห็น เขาก็เดินเข้าไปดูใกล้ๆจนเขาได้พบกับเจ้าหญิงคางุยะในตอนนั้นนั่นเอง โดยพวกเขาทั้งสองเชื่อว่าสวรรค์ได้บันดาลเจ้าหญิงมาให้พวกเขาทั้งสอง และพรอีกหลายๆอย่างทำให้เขาทั้งสองเชื่อเช่นนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินทอง หรือเสื้อผ้า ที่ช่างตัดไผ่พบเจอจากต้นไผ่ต้นเดิม
ต่อมาเจ้าหญิงได้เติบโตในบ้านของช่างตัดไผ่ บ้านที่ทั้งมีขนาดเล็กและเก่าทรุดโทรมแต่เธอนั้นก็มีความสุขในช่วงชีวิตที่เธอเติบโตขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการออกไปเล่นไปร้องเพลงกับเด็กหลายๆคนที่อาศัยอยู่บนเขา การได้มีโอกาสไปวิ่งเล่นใต้ต้นไม้ ชื่นชมความงามของธรรมชาติ ความงดงามของป่าเขา ในช่วงเวลานั้นเธอเปรียบเสมือนนกป่าผู้หลงใหลในอิสรภาพของตนเอง
เมื่อเวลาผ่านไปช่างตัดไผ่ก็คิดได้ว่าสวรรค์ส่งเด็กน้อยอย่างคางุยะนี้มาเพื่อที่จะเป็นเจ้าหญิงที่แท้จริงไม่ใช่เพียงแค่ชื่อที่พวกเขาเรียกเธอเสียแล้ว ทั้งสองได้นำเงินทองที่เบื้องบนนำมาให้ เดินทางเข้ามาในเมืองหลวง ดินแดนที่เต็มไปด้วยความสูงศักดิ์แต่ไร้ซึ่งความงดงาม ดินแดนที่ทุกสิ่งทุกอย่างกระเพื่อมไหลไปตามกรอบของกฎเกณฑ์และระเบียบ สถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเจ้าหญิงในอุดมคติของช่างตัดไผ่แต่ก็น่าเศร้ามันกลับไม่ใช่ที่ๆเหมาะสมสำหรับเด็กน้อยผู้รักอิสระอย่างเจ้าหญิง ยิ่งไปกว่านั้น จะใช้คำว่า ‘สถานที่ๆเลวร้าย’ก็คงจะไม่ใช่คำที่ดูเกินจริงเกินไป
หลังจากที่เธอเข้าไปใช้ชีวิตในวังนั้นทุกอย่างดูเลวร้ายไปหมดสำหรับเธอ ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆทุกใส่เข้ามาในชีวิตของเธออย่างเกินความจำเป็น เพียงเพราะว่าเธอจะได้เป็นเจ้าหญิงที่ดีตามครรลองแบบแผนของสตรีเพศผู้สูงส่งในสังคมสมัยนั้น จากบ้านเล็กๆที่เธอเคยอยู่ กลายเป็นประสาทหลังใหญ่สวยงาม ฟังแล้วเหมือนดูดี แต่ก็เป็นเหมือนตลกร้ายที่แฝงอยู่ในความดูดีนั้น จากแต่เดิมโลกของเธอคือป่าเขาอันกว้างใหญ่ กลับกลายเป็นห้องสี่เหลี่ยมเล็กแลดูน่าอึดอัด จากที่เคยยิ้มร่าแบบไม่ต้องอายใครกลับต้องทาฟันสีดำและถูกเตือนโดยพี่เลี้ยงว่า ‘เจ้าหญิงเขาไม่ยิ้มกัน’ กรอบชีวิตที่แสนจะอึดอัดคับแคบที่ช่างตัดไผ่ผู้เปรียบเสมือนพ่อแท้ๆของเธอได้สร้างไว้ มันเริ่มบีบอัดเข้ามาหาเจ้าหญิงทีละเล็กทีละน้อย และเมื่อบีบอัดเข้ามาถึงจุดๆหนึ่งซึ่งจิตใจของเธอเกินรับไหว เมื่อนั้นเธอก็ยอมแพ้กับโชคชะตาและวิงวอนต่อดวงจันทร์ให้เอาตัวเธอนั้นกลับไปเสียที เพราะเธออยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์และความจอมปลอมไม่ไหวเสียแล้ว
โชคชะตาชีวิตของเจ้าหญิงคางุยะนั้นไม่ต่างอะไรกับนกในกรงแม้แต่น้อย และยังมีสิ่งหนึ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกันก็คงเป็นช่วงเวลาทุกครั้งที่เธอเล่น โกโตะ เสียงที่ออกมานั้นมันช่างฟังดูไพเราะ และรู้สึกเศร้าซึมลึกพร้อมไปในเวลาเดียวกัน ไม่ต่างกับเสียงร้องของนกน้อยในกรงเลย
ชีวิตของคนเราหลายๆคนนั้นก็คงไม่ต่างจากเจ้าหญิงคางุยะเช่นกัน ถ้าเปรียบให้ว่าโชคชะตาชีวิตของเจ้าหญิงคางุยะนั้นเป็นชีวิตของเด็กน้อยคนหนึ่ง เด็กธรรมดาที่พบได้ทั่วไปในสังคมปัจจุบัน ช่างตัดไผ่ก็คงเป็นตัวอย่างที่ดีในการสะท้อนถึงค่านิยมของการเลี้ยงดูลูกของผู้ใหญ่คนหนึ่ง ซึ่งอาจจะเคยลำบากลำบนมาก่อนในอดีต เคยตัดไผ่ประทังชีวิตอดมื้อกินมื้อ พวกเขาเหล่านั้นก็คงไม่อยากให้เจ้าหญิงของตนเองต้องมาพบเจอกับชะตาชีวิตที่แสนจะลำบากเหมือนตัวเขาเอง พวกเขาตีโพยตีพายถึงสาเหตุของความลำบากนี้ และจำกัดผลของมันโดยการตีกรอบเกณฑ์แห่งชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกรงนกขนาดใหญ่ และให้ลูกของตนเองเข้าไปอาศัย โดยที่ไม่ได้ถามถึงความรู้สึกของลูกของเขาเลยแม้แต่คำเดียว พวกเขาพร้อมที่จะสร้างทางเดินให้กับลูกของตนเองโดยเอาความคิดของตนเองเป็นเครื่องชี้นำ ต้องทำอย่างนั้นสิอย่าทำแบบนี้นะ ทำให้ได้ดีกว่าเขาสิ ความคิดต่างๆเหล่านี้บางครั้งมันสร้างความอึดอัดใจต่อคนเดินบนทางมิใช่น้อย อาจเพราะว่าคนที่เดินอยู่บนเส้นทางนั้นไม่ใช่คนที่กำหนดเส้นทางเสียเอง บางครั้งสิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นมาและคิดว่าดีมันอาจไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไป เปรียบเหมือนตอนที่คางุยะต้องตอบรับคำเรียกร้องจากชายผู้สูงศักดิ์ห้าคนที่เสนอมาให้ไปเป็นภรรยาของตน พ่อของเธอตอบรับและเห็นด้วย แต่ท้ายสุดพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ใช่คนดีคนเด่นอะไร ออกแนวชั่วร้าย จิตใจปลิ้นปล้อนเสียด้วยซ้ำ
การมีชีวิตที่ต้องเดินตามคาดคาดหวังของคนสองคนไปตลอด เดินตัวเกร็งเป็นเส้นตรง แค่เอนตัวเดินก็ถูกตำหนิเสียแล้ว คงเป็นการใช้ชีวิตที่กดดันอย่างบอกไม่ถูก และเมื่อเวลาผ่านไปกรงที่ดูเหมือนใหญ่โตกลับคับแคบขึ้นมาทุกที ความกดดันต่างๆถูกเพิ่มมากขึ้นจากผู้เฝ้ามองต่างๆรอบตัวของพวกเขา ความอึดอัด ที่อยากจะตะโกนออกมาเป็นคำสบถแต่ไม่สามารถทำได้ ทำได้เพียงเก็บสะสมไว้ในเบื้องลึกของจิตใจ และเมื่อความกดดันนี้มันเยอะเกินกว่าจะรับไหว จุดจบของพวกเขาก็คงไม่ต่างจากเจ้าหญิงคางุยะ พวกเขาคงได้แต่วิงวอนให้คนบนดวงจันทร์กลับมารับพวกเขาไปเสียที แต่ครั้งนี้ชะตาชีวิตของพวกเขา เหล่านกในกรงนั้นแตกต่างกับเจ้าหญิงตรงที่ ครั้งนี้ไม่มีใครลงมาจากดวงจันทร์มารับพวกเขาเหมือนกับเจ้าหญิง ถึงแม้ว่าเขาจะวิงวอนร้องไห้ยังไงก็ตาม เขาก็ทำได้เพียงร้องไห้ต่อไป บางคนหนักเข้าก็อาจจะเดินทางไปดวงจันทร์ด้วยตนเองเสียเลย และทิ้งไว้ซึ่งความรู้สึกและความโศกเศร้าให้กับคนที่อยู่บนโลก คนที่คิดได้เมื่อสายไปแล้วที่จะคว้าตัวเขากลับมาอยู่ในอ้อมกอดของตนเองได้ ช่างน่าเศร้าเสียเหลือเกิน
-จากการตีความส่วนตัวของผมนั้นการที่คนบนดวงจันทร์ลงมารับเจ้าหญิงนั้น นอกจากจะตีความไปในเชิงวรรณกรรมและความมหัศจรรย์ของเนื้อเรื่องแล้ว ถ้ามองอีกแง่ มันสามารถตีความได้ไปในแนวทางของโศกนาฎกรรมได้เช่นกันเพราะว่าจากในตำนานแล้วความทรงจำต่างๆที่มีบนโลกใบนี้จะสูญหายไปเมื่อกลับไปยังดวงจันทร์ แต่เหลือไว้ซึ่งความรู้สึก เชือกฟางเส้นสุดท้ายที่ยึดเหนี่ยวถึงความหวังในการใช้ชีวิตถูกตรึงไว้จากความรักที่เธอมีต่อแม่และพ่อช่างตัดไผ่ชองเธอ แต่เมื่อถึงช่วงหนึ่ง ช่วงเวลาที่เธอวิงวอน ต่อดวงจันทร์ เชือกฟางเส้นนั้นก็ถูกสะบั้นขาดลงไปเสียแล้ว -
- The Tale of the Princess Kaguya (2014)
เครดิต บทความผ่านแผ่นฟิล์ม
ฝากเพจและผลงานอื่นๆ วิจารณ์ ติชมได้เลยครับ
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%A1/680159158772066?ref=hl