สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ชาวพุทธในสมัยโบราณไม่นิยมสร้างรูปเคารพเป็นรูปตัวคนแบบพระพุทธรูปครับ คนโบราณมักจะสร้างเป็นสัญลักษณ์อื่นๆเช่น ธรรมจักร หรือรอยพระพุทธบาทจำลอง แต่ต่อมาคนรุ่นหลังเอามาตีความเองบ้างผูกเรื่องขึ้นเป็นตำนานประกอบบ้าง แม้จะเป็นเจตนาที่ดีหวังจะเสริมความศรัทธาแต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปนานขึ้นการสืบทอดข้อมูลก็ถูกบิดเบือนต่อเติม จึงได้เกิดเป็นความเชื่อแบบที่ว่า
ความคิดเห็นที่ 27
ขออนุญาตตอบด้วยองค์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์นะคะ
คติเรื่องรอยพระพุทธบาท นอกจากจะมาจากความนิยมเรื่องการสร้างสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าทีไม่ใช่ “รูปเคารพ" ของคนในสังคมวัฒนธรรมโบราณแล้ว ยังเป็นคติที่สื่อ “ความหมายเชิงสัญลักษณ์" ว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนแว่นแคว้นนั้นๆ ด้วย
ในเมื่อมีพุทธวจนะระบุไว้ทำนองว่า พระธรรมวินัย = ศาสดาหลังมหาปรินิพพาน (ในแง่หนึ่ง คือ “ตัวแทน" พระพุทธเจ้า) การที่พระธรรมเผยแพร่ไปยังดินแดนใดๆ ก็ตาม ก็เท่ากับพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังดินแดนนั้น การสร้างรอยพระพุทธบาท (รวมถึงพระธาตุและพระฉาย) ในที่นี้จึงสื่อความในเชิงสัญลักษณ์เช่นนี้ค่ะ
ยิ่งไปกว่านั้น ในสังคมโบราณยังมีคติเรื่อง “การสร้างพื้นที่สามัญให้ศักดิ์สิทธิ์" จะเพื่อประโยชน์ทางใดก็สุดแท้แต่ ด้วยการสถาปนาดินแดนแว่นแคว้นให้ “เป็นเสมือน" เมืองสำคัญในวรรณคดีพุทธ-พราหมณ์ (อยุธยาและกรุงเทพฯ ก็ดวยนะคะ) ดังนั้น ในบางสถานที่จึงมีการสร้างรอยพระพุทธบาทเพื่อให้ดินแดนของตนมีความใกล้เคียงสมจริงกับเมืองในจินตนาการมากที่สุด อย่างกรณีพระพุทธบาทสระบุรี นี่ก็เป็นวิธีการทำให้เขาพระพุทธบาท = เขาสุมนกูฏ เช่นเดียวกัน
อนึ่ง ขอเพิ่มเติมประเด็นเรื่องการกราบไหว้วิงวอน จริงอยู่แม้พระพุทธศาสนาจะ (พยายาม) เน้นความสำคัญของปัญญา แต่ต้องไม่ลืมว่าอย่างไรเสียมนุษย์ก็คือมนุษย์ ย่อมต้องการที่พึ่ง ความมั่นใจ ความคลายกังวล และความฝันความหวังเพื่อตอบสนองความต้องการทางใจ ซึ่งในทางคติชนวิทยา-มานุษยวิทยา จัดให้เรื่องนี้เป็นบทบาทหน้าที่หนึ่งของศาสนาด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าใครคนหนึ่งคนใดใน “สังคมประชาธิปไตย" จะตอบสนองความต้องการของตัวเองด้วยวิธีที่ว่านี้โดยไม่ไปละเมิดสิทธิของคนอื่นใด ไม่เบียดเบียนธรรมชาติและสังคม ก็พึงยกให้เป็นสิทธิของเขา รวมถึงสำนึกรู้ว่าเป็นหน้าที่ที่เราต้องเคารพตัวตนและการตัดสินใจ “เลือกทำ" ของเขานะคะ
คติเรื่องรอยพระพุทธบาท นอกจากจะมาจากความนิยมเรื่องการสร้างสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าทีไม่ใช่ “รูปเคารพ" ของคนในสังคมวัฒนธรรมโบราณแล้ว ยังเป็นคติที่สื่อ “ความหมายเชิงสัญลักษณ์" ว่าด้วยการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนแว่นแคว้นนั้นๆ ด้วย
ในเมื่อมีพุทธวจนะระบุไว้ทำนองว่า พระธรรมวินัย = ศาสดาหลังมหาปรินิพพาน (ในแง่หนึ่ง คือ “ตัวแทน" พระพุทธเจ้า) การที่พระธรรมเผยแพร่ไปยังดินแดนใดๆ ก็ตาม ก็เท่ากับพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังดินแดนนั้น การสร้างรอยพระพุทธบาท (รวมถึงพระธาตุและพระฉาย) ในที่นี้จึงสื่อความในเชิงสัญลักษณ์เช่นนี้ค่ะ
ยิ่งไปกว่านั้น ในสังคมโบราณยังมีคติเรื่อง “การสร้างพื้นที่สามัญให้ศักดิ์สิทธิ์" จะเพื่อประโยชน์ทางใดก็สุดแท้แต่ ด้วยการสถาปนาดินแดนแว่นแคว้นให้ “เป็นเสมือน" เมืองสำคัญในวรรณคดีพุทธ-พราหมณ์ (อยุธยาและกรุงเทพฯ ก็ดวยนะคะ) ดังนั้น ในบางสถานที่จึงมีการสร้างรอยพระพุทธบาทเพื่อให้ดินแดนของตนมีความใกล้เคียงสมจริงกับเมืองในจินตนาการมากที่สุด อย่างกรณีพระพุทธบาทสระบุรี นี่ก็เป็นวิธีการทำให้เขาพระพุทธบาท = เขาสุมนกูฏ เช่นเดียวกัน
อนึ่ง ขอเพิ่มเติมประเด็นเรื่องการกราบไหว้วิงวอน จริงอยู่แม้พระพุทธศาสนาจะ (พยายาม) เน้นความสำคัญของปัญญา แต่ต้องไม่ลืมว่าอย่างไรเสียมนุษย์ก็คือมนุษย์ ย่อมต้องการที่พึ่ง ความมั่นใจ ความคลายกังวล และความฝันความหวังเพื่อตอบสนองความต้องการทางใจ ซึ่งในทางคติชนวิทยา-มานุษยวิทยา จัดให้เรื่องนี้เป็นบทบาทหน้าที่หนึ่งของศาสนาด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าใครคนหนึ่งคนใดใน “สังคมประชาธิปไตย" จะตอบสนองความต้องการของตัวเองด้วยวิธีที่ว่านี้โดยไม่ไปละเมิดสิทธิของคนอื่นใด ไม่เบียดเบียนธรรมชาติและสังคม ก็พึงยกให้เป็นสิทธิของเขา รวมถึงสำนึกรู้ว่าเป็นหน้าที่ที่เราต้องเคารพตัวตนและการตัดสินใจ “เลือกทำ" ของเขานะคะ
ความคิดเห็นที่ 11
...เรื่องรอยพระพุทธบาท จะเชื่อในแนวไหนก็ถูกทั้งนั้น ...
ว่ากันเฉพาะรอยที่เจอจากธรรมชาติจริงๆ เช่น ที่เจอที่วัดพระพุทธบาทสระบุรี สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
.... จะเชื่อในแนวบุคคลาธิษฐาน ว่า เป็นรอยพระพุทธบาทจริงๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิฤทธิ์ บันดาลให้ปรากฏไว้ ก็ถูก มีทางเป็นไปได้
... หรือจะเชื่อในแนวธรรมาธิษฐาน ว่า เป็นอุบายในการสั่งสอนธรรมะว่า ให้ชาวพุทธฝึกปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เปรียบเสมือนการเดินตามรอยบาทของพระองค์ที่ได้ทรงดำเนินผ่านไปแล้ว ได้ทิ้งร่องรอยไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง และควรเดินตามรอยนั้นไป
นักปราชญ์อเมริกันคือ Henry Wadsworth Longfellow ได้ประพันธ์ไว้นานแล้ว ว่า
Lives of great men all remind us
We can make our lives sublime,
And, departing, leave behind us
Footprints on the sands of time
ซึ่ง ร.๖ ได้ทรงนำมาแปลไว้ว่า ..
ประวัติวีรบุรุษไซร้ เตือนใจ เรานา
ว่าอาจจะยังชนม์ เลิศได้
แลยามจะบรรลัย ทิ้งซึ่ง
รอยบาทเหยียบแน่นไว้ แทบพื้น ทรายสมัย
(( เฮ้ออ...จะโง่ไปถึงไหน อีกกี่ชาติ ? ทำไมไม่รู้จักคิดให้ลึกๆ ซะบ้าง ?? ))
ว่ากันเฉพาะรอยที่เจอจากธรรมชาติจริงๆ เช่น ที่เจอที่วัดพระพุทธบาทสระบุรี สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
.... จะเชื่อในแนวบุคคลาธิษฐาน ว่า เป็นรอยพระพุทธบาทจริงๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้อิทธิฤทธิ์ บันดาลให้ปรากฏไว้ ก็ถูก มีทางเป็นไปได้
... หรือจะเชื่อในแนวธรรมาธิษฐาน ว่า เป็นอุบายในการสั่งสอนธรรมะว่า ให้ชาวพุทธฝึกปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา เปรียบเสมือนการเดินตามรอยบาทของพระองค์ที่ได้ทรงดำเนินผ่านไปแล้ว ได้ทิ้งร่องรอยไว้ให้ดูเป็นตัวอย่าง และควรเดินตามรอยนั้นไป
นักปราชญ์อเมริกันคือ Henry Wadsworth Longfellow ได้ประพันธ์ไว้นานแล้ว ว่า
Lives of great men all remind us
We can make our lives sublime,
And, departing, leave behind us
Footprints on the sands of time
ซึ่ง ร.๖ ได้ทรงนำมาแปลไว้ว่า ..
ประวัติวีรบุรุษไซร้ เตือนใจ เรานา
ว่าอาจจะยังชนม์ เลิศได้
แลยามจะบรรลัย ทิ้งซึ่ง
รอยบาทเหยียบแน่นไว้ แทบพื้น ทรายสมัย
(( เฮ้ออ...จะโง่ไปถึงไหน อีกกี่ชาติ ? ทำไมไม่รู้จักคิดให้ลึกๆ ซะบ้าง ?? ))
แสดงความคิดเห็น
รอยพระพุทธบาทที่เราไปกราบไหว้ขอพรนั้นคือร่องรอยแห่งความงมงายที่ฝั่งลึกอยู่ในความเชื่อของชาวพุทธ?
นี่เป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรเลิกหลอกตัวเองแล้วก็ไปหลอกคนอื่นต่อได้แล้ว?
มันไม่สมเหตุสมผลแม้แต่น้อยเพราะพระพุทธเจ้าท่านไม่ใช่ยักษ์โกเล็มที่จะมีฝ่าเท้าใหญ่เบ้อเร่อขนาดนั้น
คือบอกว่าเป็นรอยเท้าของยักษ์ในวรรณคดียังพอเข้าใจได้กว่าการมโนว่าเป็นฤทธิ์ของพระพุทธเจ้า
คือถ้าเป็นพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าจริงๆ ผมสงสัยว่าพระพุทธเจ้าที่เป็นผู้ค้นพบอริยสัจสี่ เป็นผู้ที่มีเหตุผลเหนือมนุษย์ใดใดในโลก ท่านมีเหตุผลอะไรที่ต้องโชว์พลังทิ้งรอยฝ่าเท้าขนาดใหญ่ไว้อย่างนั้น? มันไม่มีเหตุผลอะไรเลย ท่านทำเพื่อให้ชาวพุทธเราก็กราบไหว้รอยพระพุทธบาทนั้น ขอพร ขอหวย เนี่ยนะ?
รอยพระพุทธบาทที่เราไปกราบไหว้ขอพรตามวัดดังๆนั้นคือร่องรอยแห่งความงมงายที่ฝั่งลึกอยู่ในความเชื่อของชาวพุทธหรือเปล่า?
ไข่แมว