สวัสดีค่ะชาวพันทิพ หลังจากที่เพื่อนๆ ได้แสดงความคิดเห็นไว้มากมายในกระทู้ที่แล้ว
http://ppantip.com/topic/33611406
เราก็ได้รับคำถามและข้อท้วงติงจากเพื่อนๆ มากมาย โดยเฉพาะที่ท้วงว่า จะใช้ 2 สูง แบบไม่ลืมหูลืมตาไม่ได้
อันนี้ทดไว้ก่อนนะคะ เดี๋ยวมาคุยกัน
ขอย้อนอดีตนิดนึง ตอนเราฟังเรื่องสองสูงจากเจ้าสัวแรกๆ ก็ฟังเฉยๆ อ่ะค่ะ ฟังแล้วก็อารมณ์แบบว่า เออ แล้วไง?
จนมีครั้งนึงเจ้าสัวพูดถึงเรื่อง
สองต่ำขึ้นมา (เริ่มมีตัวเปรียบเทียบแฮะ)
สองต่ำคืออะไร?
เจ้าสัวถามว่า เวลาค่าครองชีพสูง ข้าวของแพง คุณสังเกตไหมเกิดอะไรขึ้น?
เอิ่ม เราก็แบบว่า ไม่ใช่ประเภทฉลาดหลักแหลมขนาดที่จะรู้ใจเจ้าสัวว่า อยากฟังคำตอบแบบไหนอ่ะนะ
ก็เลย ตอบไม่ได้ (รู้สึกผิดกับเจ้านายนิดหน่อย เพราะทำให้ขายขี้หน้าไปด้วย)
เจ้าสัวบอกว่า คุณสังเกตสิ พวกประเทศกำลังพัฒนานะ เวลาค่าครองชีพสูง รัฐบาลกลัวคนไม่พอใจ ก็ต้องรีบไปแก้ แต่เขาแก้ด้วยการไปกดราคาสินค้า
ณ จุดนี้ เราว่า มันก็ถูกแล้วนิ ของแพง ก็ต้องไปควบคุมราคาสินค้า ไม่เห็นแปลก
แต่เจ้าสัวบอกว่า สินค้าที่รัฐบาลจะเลือกกดเป็นพิเศษคือ สินค้าเกษตร (สินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตโดยตรง)
เอ่อคือ ธุรกิจหลักเป็นเกษตร เจ้าสัวก็ต้องเดือดร้อนอยู่แล้วใช่มั้ย ถึงพูดอย่างนี้ เรารู้สึกอย่างนั้นนะ และเชื่อว่า ใครๆ ก็รู้สึกอ่ะ
แต่ตอนนั้น ยังไม่กล้าถามเกรียนใส่นะคะ (กลัวถูกไล่ลงจากรถกลางทางด่วนง่ะ)
เจ้าสัวพูดต่อว่า แก้แบบนี้ คนที่เจ็บไม่พ้นเกษตรกร เพราะทำให้เขามีรายได้ลดลง
ตรงนี้เจ้าสัวเรียกว่า เอาคนจนในชนบท (เกษตรกร) ไปอุ้มคนจนในเมือง (กลุ่มแรงงานต่างๆ รวมถึงข้าราชการด้วย)
ถ้าเกษตรกรมีรายได้ลดลง เขาก็ไม่มีเงินใช้จ่าย เงินไม่หมุน แถมบางทีเป็นหนี้เป็นสินอีก
เมื่อเงินไม่หมุน พ่อค้าแม่ค้าก็ขาดรายได้ SMEs ก็จะแย่ไปด้วย แล้วก็แย่ต่อกันไปเป็นลูกโซ่ ของขายไม่ได้ โรงงานอุตสาหกรรมก็ผลิตลดลง แรงงานก็ตกงาน พอแรงงานตกงาน ไม่มีรายได้
ทำไงล่ะทีนี้ รัฐบาลก็ไปกดค่าครองชีพให้ต่ำอีก เกษตรกรก็ถูกกดรายได้อีก ก็ไม่ใช้จ่ายอีก เงินก็ไม่หมุนอีก วนเป็นวงจรแบบนี้ ก็พากันจนทั้งประเทศ
เจ้าสัวถามว่า ถ้าคนจนทั้งประเทศแบบนี้ คนไม่มีเงิน ไม่มีกำลังซื้อ ไม่เกิดการใช้จ่าย รัฐบาลก็จะเก็บภาษีไม่ได้ แล้วประเทศจะเจริญได้อย่างไร?
เจ้าสัวเล่าว่า เรื่องแบบนี้เกิดในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย จีนก็เคยเป็น (ส่วนบ้านเรา ไปคิดกันเอาเองนะคะว่าเป็นหรือเปล่า หึหึ)
เมื่อคิดว่าสองต่ำไม่ดี เจ้าสัวก็เลยเสนอแนวคิด 2 สูงขึ้นมา คือ แทนที่จะไปกดราคาสินค้าเกษตร ก็ไปทำให้มันสูงแทน เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร นี่คือ ฝั่งคนจนในชนบท ส่วนคนจนในเมืองคือ กลุ่มแรงงานต่างๆ ข้าราชการ และผู้มีรายได้น้อยในเมือง ก็ไปเพิ่มรายได้ของคนกลุ่มนี้ด้วย (แบบที่เราเล่าให้ฟังในกระทู้ที่แล้วอ่ะค่ะ)
เจ้าสัวย้ำว่า สองสูงนี่ต้องทำพร้อมกัน เพราะสมมติเราขึ้นราคาสินค้าเกษตร แต่ไม่เพิ่มรายได้ให้กลุ่มคนจนในเมืองด้วย สินค้าที่เกษตรกรผลิตออกมาจะไม่มีคนซื้อ ราคาที่ตั้งไว้สูง ก็จะต้องตกลงมาตามหลักอุปสงค์ อุปทาน (Demand – Supply) แบบนี้ก็ไม่มีประโยชน์ สองสูงจึงต้องทำแบบมีการวางแผน
อันนี้ เราคิดเองนะว่า มันเข้ากับเหตุการณ์สมัยจำนำข้าวเลยอ่ะ ตอนนั้นรัฐบาลพยายามจำนำข้าวที่ราคาสูงใช่ป่ะคะ ชาวนาก็แห่กันปลูกข้าว ที่เคยปลูกพืชอื่น ก็เปลี่ยนมาปลูกข้าว แล้วเอามาขายให้กับรัฐบาลเพราะให้ราคาสูงกว่าตลาด ส่วนเอกชนที่ต้องการซื้อข้าว ก็ต้องให้ราคาสูงตาม (ช่วงจำนำข้าว ได้ยินมาว่า ธุรกิจข้าวของ ซีพี. ก็ขาดทุนพอสมควร เพราะต้องซื้อข้าวราคาสูงกว่าราคาตลาด ไม่งั้นไม่ได้ข้าวไปผลิตข้าวถุง)
เกษตรกรได้ขายข้าวราคาสูงขึ้น ฟังเหมือนจะดีแล้วนะคะ แต่ๆๆๆ ปรากฏว่า กำลังซื้อในประเทศมีจำกัด ส่งออกก็ช้าเหลือเกิน พอของมาค้างอยู่ในคลังรัฐบาลเยอะ ต่างชาติเขาก็รู้แล้วไงว่า ไทยข้าวเหลือเยอะ ก็ไม่ต้องรีบซื้อ Supply มันล้น ราคาข้าวในตลาดโลกมันก็เลยต่ำ พังค่ะ ณ จุดนี้
เราว่านะ นโยบายอะไรก็แล้วแต่ ก่อนจะทำต้องวางแผนดีๆ อ่ะ คนทำก็ต้องดีด้วยนะ ไม่งั้นไม่รอด
เอาล่ะ เรามาเข้าเรื่องที่เพื่อนๆ ในกระทู้ที่แล้วเป็นห่วงว่า จะขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำกับค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้นอย่างไม่ลืมหูลืมตาไม่ได้
เราก็เคยถามเจ้าสัวเรื่องนี้เหมือนกันค่ะ
เจ้าสัวตอบมาว่า ถ้าเราทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ใครจะเอาเงินมาให้ล่ะ?
อ่าว! งั้นที่ผ่านมาคืออะร๊ายยยย? ไหนบอกให้ขึ้นเงินเดือนกับค่าแรงขั้นต่ำ
งง เลยค่ะ ณ จุดนี้
เจ้าสัวคงเห็นเราโง่เงือกอยู่มั้ง เลยอธิบายให้ฟัง (คำพูดไม่เป๊ะๆ แต่ประมาณนี้ค่ะ)
เจ้าสัวบอกว่า หลังจากที่เราทำสองสูงแล้ว คือ ทำสินค้าเกษตรให้ราคาสูง ปรับเงินเดือนขั้นต่ำและค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้นให้เป็นธรรมกับคนจนแล้ว (หมายถึงปรับให้ทันกับราคาน้ำมันอ่ะค่ะ) ที่ต้องทำต่อมาคือ
สูงที่ 3 ประสิทธิภาพสูง
ประสิทธิภาพได้มาอย่างไร?
ก็มาจากเทคโนโลยีและการบริหารทั้งหลาย พวกนี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้
เจ้าสัวบอกว่า ถ้าคุณลดต้นทุนได้ คุณไม่จำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้า คุณก็ได้กำไรเพิ่มขึ้นแล้ว ส่วนผู้บริโภคก็ไม่ต้องจ่ายเงินแพงขึ้น
เพื่อให้เห็นภาพ เรามาลองแทนตัวเลขง่อยๆ ดูนะคะ
สมมติว่า สินค้า A ราคา 10 บาท หักต้นทุนทั้งหมด 7 บาท เท่ากับจะเหลือกำไร 3 บาท
แต่ถ้าเราเพิ่มประสิทธิภาพ แล้วทำให้ต้นทุนลดลง สมมติเหลือ 5 บาท สินค้า A ราคา 10 บาท หักต้นทุน 5 บาท จะเหลือกำไร 5 บาท กำไรเพิ่มขึ้น 2 บาท โดยที่ไม่ต้องขึ้นราคาสินค้าเลย ประมาณนี้อ่ะค่ะ
เจ้าสัวให้ภาพอนาคตว่า ต่อไปประเทศไทยเกษตรกรจะลดลง เพราะว่า ลูกหลานไปเรียนหนังสือกันหมด เรียนจบก็ไม่อยากกลับมาทำนาทำไร่แล้ว เกษตรกร 1 คน ในอนาคตอาจจะต้องผลิตสินค้าเกษตรออกมามากกว่าเกษตรกร 1 คนในวันนี้หลายเท่าตัว แบบนี้ จะทำอย่างไรล่ะ ก็ต้องเอาเทคโนโลยี การจัดการทั้งหลายมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
เจ้าสัวบอกว่า ถ้าถึงเวลานั้น เกษตรกรลดลง แต่ทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนได้ ผลผลิตเพิ่ม รายได้ต่อคนของเกษตรกรจะเพิ่มขึ้นเอง
อันนี้เรามาลองตั้งตัวเลขง่อยๆ กันอีกรอบนะคะ
สมมติอนาคตเกษตกร 1 คน ทำการเกษตรได้ซัก 1 พันไร่งี้ (อันนี้ภาพในอนาคตอันไกลโพ้น เราจะมีชีวิตอยู่เห็นวันนั้นมั้ย) คือ สมมตินะคะ ถ้าวันนี้มีเกษตรกรอยู่ 10 ล้านคน อีกซัก 10-20 ปีข้างหน้า เกษตรกรเหลือ 2 ล้านคนงี้ รายได้ต่อหัวก็จะเพิ่มขึ้น แถมคนนึงผลิตได้เยอะขึ้น รายได้ก็เพิ่มขึ้นไปอีก ภาพก็คงเหมือนที่อเมริกาวันนี้อ่ะค่ะ ที่เขาทำฟาร์มขนาดใหญ่ เกษตรกร 1 คน ทำได้เป็นหมื่นๆ ไร่
ถ้าไปถึงจุดนั้น คุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็จะดีขึ้น ลูกหลานได้เรียนสูงๆ คราวนี้แหละ ไม่ได้ยกแค่ 2 สูง แต่ยกฐานะขึ้นมาทั้งสังคมเลย
เรื่อง 2 สูง ก็เป็นประการละฉะนี้
เช่นเคย เราไม่ขอบอกว่า แนวคิดนี้ถูกหรือผิดนะคะ แค่แชร์ให้ฟังว่า เจ้าสัวเค้าว่ายังไง ต่อจากนี้ก็เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องใช้วิชาความรู้ ประสบการณ์และทักษะของแต่ละคนคิดวิเคราะห์กันเอาเอง
ถ้าเพื่อนๆ มีคำติชมหรือคำถามเพิ่มเติม เราก็ยินดีค่ะ จะทยอยตอบให้เรื่อยๆ เรื่องไหนเราตอบช้าก็อย่าเพิ่งน้อยใจนะคะ เราพยายามหาคำตอบให้อยู่ แต่ถ้ารอนานแล้วยังไม่ตอบ หรือทวงแล้วยังไม่ตอบ แสดงว่า เรื่องนั้นเริ่มจะสุดความสามารถของพนักงานตัวน้อยๆ อย่างเราแล้ว หรืออีกกรณีนึงก็คือ เราโดนไล่ออกไปแล้วค่ะ ฮือออออ
ปล. การเข้ามาตั้งกระทู้เป็นการตัดสินใจส่วนตัวของเราเองที่อยากจะแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้ในซีพี. ที่คิดว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์กับสังคม ดังนั้นคำติทั้งหลายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากกระทู้ของเรา เราขอรับไว้แต่ผู้เดียว เพราะ ซีพี. ไม่ได้มารับรู้กับการตัดสินใจครั้งนี้ของเราค่ะ
เมื่อเจ้าสัว ซีพี. พูดถึงสองต่ำและสูงที่ 3 (กระทู้ภาคต่อจากเมื่อฉันแอบเกรียนเบาๆ กับเจ้าสัว ซีพี.)
http://ppantip.com/topic/33611406
เราก็ได้รับคำถามและข้อท้วงติงจากเพื่อนๆ มากมาย โดยเฉพาะที่ท้วงว่า จะใช้ 2 สูง แบบไม่ลืมหูลืมตาไม่ได้
อันนี้ทดไว้ก่อนนะคะ เดี๋ยวมาคุยกัน
ขอย้อนอดีตนิดนึง ตอนเราฟังเรื่องสองสูงจากเจ้าสัวแรกๆ ก็ฟังเฉยๆ อ่ะค่ะ ฟังแล้วก็อารมณ์แบบว่า เออ แล้วไง?
จนมีครั้งนึงเจ้าสัวพูดถึงเรื่องสองต่ำขึ้นมา (เริ่มมีตัวเปรียบเทียบแฮะ)
สองต่ำคืออะไร?
เจ้าสัวถามว่า เวลาค่าครองชีพสูง ข้าวของแพง คุณสังเกตไหมเกิดอะไรขึ้น?
เอิ่ม เราก็แบบว่า ไม่ใช่ประเภทฉลาดหลักแหลมขนาดที่จะรู้ใจเจ้าสัวว่า อยากฟังคำตอบแบบไหนอ่ะนะ
ก็เลย ตอบไม่ได้ (รู้สึกผิดกับเจ้านายนิดหน่อย เพราะทำให้ขายขี้หน้าไปด้วย)
เจ้าสัวบอกว่า คุณสังเกตสิ พวกประเทศกำลังพัฒนานะ เวลาค่าครองชีพสูง รัฐบาลกลัวคนไม่พอใจ ก็ต้องรีบไปแก้ แต่เขาแก้ด้วยการไปกดราคาสินค้า
ณ จุดนี้ เราว่า มันก็ถูกแล้วนิ ของแพง ก็ต้องไปควบคุมราคาสินค้า ไม่เห็นแปลก
แต่เจ้าสัวบอกว่า สินค้าที่รัฐบาลจะเลือกกดเป็นพิเศษคือ สินค้าเกษตร (สินค้าเกษตรเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตโดยตรง)
เอ่อคือ ธุรกิจหลักเป็นเกษตร เจ้าสัวก็ต้องเดือดร้อนอยู่แล้วใช่มั้ย ถึงพูดอย่างนี้ เรารู้สึกอย่างนั้นนะ และเชื่อว่า ใครๆ ก็รู้สึกอ่ะ
แต่ตอนนั้น ยังไม่กล้าถามเกรียนใส่นะคะ (กลัวถูกไล่ลงจากรถกลางทางด่วนง่ะ)
เจ้าสัวพูดต่อว่า แก้แบบนี้ คนที่เจ็บไม่พ้นเกษตรกร เพราะทำให้เขามีรายได้ลดลง
ตรงนี้เจ้าสัวเรียกว่า เอาคนจนในชนบท (เกษตรกร) ไปอุ้มคนจนในเมือง (กลุ่มแรงงานต่างๆ รวมถึงข้าราชการด้วย)
ถ้าเกษตรกรมีรายได้ลดลง เขาก็ไม่มีเงินใช้จ่าย เงินไม่หมุน แถมบางทีเป็นหนี้เป็นสินอีก
เมื่อเงินไม่หมุน พ่อค้าแม่ค้าก็ขาดรายได้ SMEs ก็จะแย่ไปด้วย แล้วก็แย่ต่อกันไปเป็นลูกโซ่ ของขายไม่ได้ โรงงานอุตสาหกรรมก็ผลิตลดลง แรงงานก็ตกงาน พอแรงงานตกงาน ไม่มีรายได้
ทำไงล่ะทีนี้ รัฐบาลก็ไปกดค่าครองชีพให้ต่ำอีก เกษตรกรก็ถูกกดรายได้อีก ก็ไม่ใช้จ่ายอีก เงินก็ไม่หมุนอีก วนเป็นวงจรแบบนี้ ก็พากันจนทั้งประเทศ
เจ้าสัวถามว่า ถ้าคนจนทั้งประเทศแบบนี้ คนไม่มีเงิน ไม่มีกำลังซื้อ ไม่เกิดการใช้จ่าย รัฐบาลก็จะเก็บภาษีไม่ได้ แล้วประเทศจะเจริญได้อย่างไร?
เจ้าสัวเล่าว่า เรื่องแบบนี้เกิดในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย จีนก็เคยเป็น (ส่วนบ้านเรา ไปคิดกันเอาเองนะคะว่าเป็นหรือเปล่า หึหึ)
เมื่อคิดว่าสองต่ำไม่ดี เจ้าสัวก็เลยเสนอแนวคิด 2 สูงขึ้นมา คือ แทนที่จะไปกดราคาสินค้าเกษตร ก็ไปทำให้มันสูงแทน เพิ่มรายได้ให้เกษตรกร นี่คือ ฝั่งคนจนในชนบท ส่วนคนจนในเมืองคือ กลุ่มแรงงานต่างๆ ข้าราชการ และผู้มีรายได้น้อยในเมือง ก็ไปเพิ่มรายได้ของคนกลุ่มนี้ด้วย (แบบที่เราเล่าให้ฟังในกระทู้ที่แล้วอ่ะค่ะ)
เจ้าสัวย้ำว่า สองสูงนี่ต้องทำพร้อมกัน เพราะสมมติเราขึ้นราคาสินค้าเกษตร แต่ไม่เพิ่มรายได้ให้กลุ่มคนจนในเมืองด้วย สินค้าที่เกษตรกรผลิตออกมาจะไม่มีคนซื้อ ราคาที่ตั้งไว้สูง ก็จะต้องตกลงมาตามหลักอุปสงค์ อุปทาน (Demand – Supply) แบบนี้ก็ไม่มีประโยชน์ สองสูงจึงต้องทำแบบมีการวางแผน
อันนี้ เราคิดเองนะว่า มันเข้ากับเหตุการณ์สมัยจำนำข้าวเลยอ่ะ ตอนนั้นรัฐบาลพยายามจำนำข้าวที่ราคาสูงใช่ป่ะคะ ชาวนาก็แห่กันปลูกข้าว ที่เคยปลูกพืชอื่น ก็เปลี่ยนมาปลูกข้าว แล้วเอามาขายให้กับรัฐบาลเพราะให้ราคาสูงกว่าตลาด ส่วนเอกชนที่ต้องการซื้อข้าว ก็ต้องให้ราคาสูงตาม (ช่วงจำนำข้าว ได้ยินมาว่า ธุรกิจข้าวของ ซีพี. ก็ขาดทุนพอสมควร เพราะต้องซื้อข้าวราคาสูงกว่าราคาตลาด ไม่งั้นไม่ได้ข้าวไปผลิตข้าวถุง)
เกษตรกรได้ขายข้าวราคาสูงขึ้น ฟังเหมือนจะดีแล้วนะคะ แต่ๆๆๆ ปรากฏว่า กำลังซื้อในประเทศมีจำกัด ส่งออกก็ช้าเหลือเกิน พอของมาค้างอยู่ในคลังรัฐบาลเยอะ ต่างชาติเขาก็รู้แล้วไงว่า ไทยข้าวเหลือเยอะ ก็ไม่ต้องรีบซื้อ Supply มันล้น ราคาข้าวในตลาดโลกมันก็เลยต่ำ พังค่ะ ณ จุดนี้
เราว่านะ นโยบายอะไรก็แล้วแต่ ก่อนจะทำต้องวางแผนดีๆ อ่ะ คนทำก็ต้องดีด้วยนะ ไม่งั้นไม่รอด
เอาล่ะ เรามาเข้าเรื่องที่เพื่อนๆ ในกระทู้ที่แล้วเป็นห่วงว่า จะขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำกับค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้นอย่างไม่ลืมหูลืมตาไม่ได้
เราก็เคยถามเจ้าสัวเรื่องนี้เหมือนกันค่ะ
เจ้าสัวตอบมาว่า ถ้าเราทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ใครจะเอาเงินมาให้ล่ะ?
อ่าว! งั้นที่ผ่านมาคืออะร๊ายยยย? ไหนบอกให้ขึ้นเงินเดือนกับค่าแรงขั้นต่ำ
งง เลยค่ะ ณ จุดนี้
เจ้าสัวคงเห็นเราโง่เงือกอยู่มั้ง เลยอธิบายให้ฟัง (คำพูดไม่เป๊ะๆ แต่ประมาณนี้ค่ะ)
เจ้าสัวบอกว่า หลังจากที่เราทำสองสูงแล้ว คือ ทำสินค้าเกษตรให้ราคาสูง ปรับเงินเดือนขั้นต่ำและค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้นให้เป็นธรรมกับคนจนแล้ว (หมายถึงปรับให้ทันกับราคาน้ำมันอ่ะค่ะ) ที่ต้องทำต่อมาคือ สูงที่ 3 ประสิทธิภาพสูง
ประสิทธิภาพได้มาอย่างไร?
ก็มาจากเทคโนโลยีและการบริหารทั้งหลาย พวกนี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนได้
เจ้าสัวบอกว่า ถ้าคุณลดต้นทุนได้ คุณไม่จำเป็นต้องขึ้นราคาสินค้า คุณก็ได้กำไรเพิ่มขึ้นแล้ว ส่วนผู้บริโภคก็ไม่ต้องจ่ายเงินแพงขึ้น
เพื่อให้เห็นภาพ เรามาลองแทนตัวเลขง่อยๆ ดูนะคะ
สมมติว่า สินค้า A ราคา 10 บาท หักต้นทุนทั้งหมด 7 บาท เท่ากับจะเหลือกำไร 3 บาท
แต่ถ้าเราเพิ่มประสิทธิภาพ แล้วทำให้ต้นทุนลดลง สมมติเหลือ 5 บาท สินค้า A ราคา 10 บาท หักต้นทุน 5 บาท จะเหลือกำไร 5 บาท กำไรเพิ่มขึ้น 2 บาท โดยที่ไม่ต้องขึ้นราคาสินค้าเลย ประมาณนี้อ่ะค่ะ
เจ้าสัวให้ภาพอนาคตว่า ต่อไปประเทศไทยเกษตรกรจะลดลง เพราะว่า ลูกหลานไปเรียนหนังสือกันหมด เรียนจบก็ไม่อยากกลับมาทำนาทำไร่แล้ว เกษตรกร 1 คน ในอนาคตอาจจะต้องผลิตสินค้าเกษตรออกมามากกว่าเกษตรกร 1 คนในวันนี้หลายเท่าตัว แบบนี้ จะทำอย่างไรล่ะ ก็ต้องเอาเทคโนโลยี การจัดการทั้งหลายมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
เจ้าสัวบอกว่า ถ้าถึงเวลานั้น เกษตรกรลดลง แต่ทำงานได้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนได้ ผลผลิตเพิ่ม รายได้ต่อคนของเกษตรกรจะเพิ่มขึ้นเอง
อันนี้เรามาลองตั้งตัวเลขง่อยๆ กันอีกรอบนะคะ
สมมติอนาคตเกษตกร 1 คน ทำการเกษตรได้ซัก 1 พันไร่งี้ (อันนี้ภาพในอนาคตอันไกลโพ้น เราจะมีชีวิตอยู่เห็นวันนั้นมั้ย) คือ สมมตินะคะ ถ้าวันนี้มีเกษตรกรอยู่ 10 ล้านคน อีกซัก 10-20 ปีข้างหน้า เกษตรกรเหลือ 2 ล้านคนงี้ รายได้ต่อหัวก็จะเพิ่มขึ้น แถมคนนึงผลิตได้เยอะขึ้น รายได้ก็เพิ่มขึ้นไปอีก ภาพก็คงเหมือนที่อเมริกาวันนี้อ่ะค่ะ ที่เขาทำฟาร์มขนาดใหญ่ เกษตรกร 1 คน ทำได้เป็นหมื่นๆ ไร่
ถ้าไปถึงจุดนั้น คุณภาพชีวิตของเกษตรกรก็จะดีขึ้น ลูกหลานได้เรียนสูงๆ คราวนี้แหละ ไม่ได้ยกแค่ 2 สูง แต่ยกฐานะขึ้นมาทั้งสังคมเลย
เรื่อง 2 สูง ก็เป็นประการละฉะนี้
เช่นเคย เราไม่ขอบอกว่า แนวคิดนี้ถูกหรือผิดนะคะ แค่แชร์ให้ฟังว่า เจ้าสัวเค้าว่ายังไง ต่อจากนี้ก็เป็นเรื่องที่เราทุกคนต้องใช้วิชาความรู้ ประสบการณ์และทักษะของแต่ละคนคิดวิเคราะห์กันเอาเอง
ถ้าเพื่อนๆ มีคำติชมหรือคำถามเพิ่มเติม เราก็ยินดีค่ะ จะทยอยตอบให้เรื่อยๆ เรื่องไหนเราตอบช้าก็อย่าเพิ่งน้อยใจนะคะ เราพยายามหาคำตอบให้อยู่ แต่ถ้ารอนานแล้วยังไม่ตอบ หรือทวงแล้วยังไม่ตอบ แสดงว่า เรื่องนั้นเริ่มจะสุดความสามารถของพนักงานตัวน้อยๆ อย่างเราแล้ว หรืออีกกรณีนึงก็คือ เราโดนไล่ออกไปแล้วค่ะ ฮือออออ
ปล. การเข้ามาตั้งกระทู้เป็นการตัดสินใจส่วนตัวของเราเองที่อยากจะแชร์สิ่งที่ได้เรียนรู้ในซีพี. ที่คิดว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์กับสังคม ดังนั้นคำติทั้งหลายที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากกระทู้ของเรา เราขอรับไว้แต่ผู้เดียว เพราะ ซีพี. ไม่ได้มารับรู้กับการตัดสินใจครั้งนี้ของเราค่ะ