ตอนอื่นๆ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตอนที่ 1 http://ppantip.com/topic/33560601 <<<กำเนิดศรีธนญชัย
ตอนที่ 2 http://ppantip.com/topic/33580675 <<<เด็กเจ้าปัญญา
ตอนที่ 3 http://ppantip.com/topic/33597502 <<<ศรีธนญชัยเข้าวัง
ตอนที่ 4 http://ppantip.com/topic/33614758 <<< ศรีธนญชัยแต่งเมีย
ตอนที่ 5 http://ppantip.com/topic/33631507 <<< ประลองธรรม
ตอนที่ 7 http://ppantip.com/topic/33659957 <<< เป็นเจ้าเมืองใต้
ตอนที่ 8 http://ppantip.com/topic/33679115 <<< ประลองปัญญา
ตอนที่ 9 http://ppantip.com/topic/33695370 <<< คนเก่งแห่งกรุงศรี
ตอนที่10 http://ppantip.com/topic/33715372 <<< อวสานศรีธนญชัย
http://ppantip.com/topic/33745551
ตอนที่ 4. ศรีธนญชัยแต่งเมีย
4.1 สินสอดแต่งเมีย
ใกล้ฤดู หนาวมา คราหนาวใจ ศรีธนญชัย หาคู่ อยู่เคียงบ้าน
สืบเสาะพบ ดรุณี ที่ก่อนกาล เคยทอสาน สัมพันธ์ วันวัยเยาว์
หญิงงามชื่อ ศรีนวล ล้วนต้องตา ไร้ฝั่งฝา หมายปอง ออกเรือนเย้า
เป็นคู่ครอง เคียงกาย คลายบรรเทา จึงบอกเล่า แม่สื่อ ไปทาบทาม
ยายสุกรับ หน้าที่ ดีเหมาะสม กล่าวชื่นชม ให้มั่นใจ ไม่ถูกหยาม
พูดเยินยอ ฝ่ายชาย บรรยายความ จนคล้อยตาม ฝ่ายหญิง ถามผู้ใด
คุณพระชื่อ ศรีธนญชัย อย่างไรเล่า ทั่วเมืองเขา รู้จัก ศักดิ์ยิ่งใหญ่
ยายสุกเอ่ย หน้าบาน ยิ้มภูมิใจ คนฟังใกล้ สะอึกอึ้ง ตะลึงลาน
โอ้อกเอ๋ย จะมีเขย กับเขาที ใยต้องเป็น คุณพระศรี ที่เล่าขาน
ทั้งเจ้าเล่ห์ เจ้ากลเด่น เป็นสันดาน ก่อเรื่องราญ อลเวง หวั่นเกรงคิด
ไม่อยากให้ ลูกตัว ก็กลัวเดช กลัวมีเหตุ เดือดร้อน นอนไม่ติด
จะไม่ขอ สินสอด เพียงน้อยนิด วางแผนคิด เรียกล้น จนเปลี่ยนใจ
จึงเอ่ยขอ สินสอด ทองพันชั่ง อีกรวมทั้ง เงินร้อยหาบ หามาให้
ยายสุกคิด ไม่ถึง อึ้งตกใจ นำความไป แจ้งพลัน หวั่นกังวล
คุณพระศรี ได้ฟัง นั่งคิดครู่ พลันบอกรู้ เช้าตรู่ อยู่ช่วยขน
เกณฑ์ไพร่หา สินสอด มาบัดดล เพียงผ่านพ้น ราตรี มีพร้อมเพรียง
รุ่งเช้าตั้ง ขบวน ขันหมากแห่ ญาติพ่อแม่ สำราญ บ้านลั่นเสียง
บ่าวไพร่ถือ สินสอด ต่อยาวเรียง ครึกครื้นเสียง โห่ร้อง กลองยาวรำ
ครั้นถึงบ้าน พ่อตา และแม่ยาย เชื้อเชิญให้ ดื่มน้ำท่า หน้าสุขล้ำ
แต่ส่วนลึก สงสัย ใจระกำ ทบทวนย้ำ สินสอด ว่าเท่าไร
เปิดผ้าคลุม ซิจ๊ะ พ่อแม่จ๋า รับรองว่า ครบถ้วน ล้วนสั่งไว้
มิขาดแม้ เล็กน้อย ถอยหย่อนไป สองหาบใหญ่ ตรงหน้า คลุมผ้างาม
สองผัวเมีย เปิดผ้า ออกเบามือ พลันหูอื้อ ตาลาย คล้ายถูกหยาม
คุณพระศรี ลูกเขย ไม่ได้ความ ถูกค้านถาม เล่นตลก หรืออย่างไร
สองหาบเห็น เบื้องหน้า ว่าของหมั้น มีเพียงใบ ทองพันชั่ง ตั้งเต็มไว้
อีกหาบหนึ่ง เหรียญเงิน ห้อยหาบไกว ศรีธนญชัย อ้างถูกต้อง ตรองคิดดู
คุณพระศรี ฉุดมือขุน พิพากษา พลางเอ่ยว่า ช่วยตัดสิน ทั่วยินรู้
สองผัวเมีย ครางแผ่ว โดนแล้วกู ขุนพิพากษา พยานอยู่ สู้ก็แพ้
ขืนมีเรื่อง ราวร้อง ฟ้องต่อศาล คงเล่าขาน โจษยิ้มหัว ทั่วเมืองแน่
จำใจยก ศรีนวลเจ้า เฝ้าดูแล มิได้แม้ เศษเงินทอง ของสิ่งใด
ศรีธนญชัย แต่งงาน บ้านมีสุข เที่ยวเตร่สนุก พนัน ตะบันใช้
สุรุ่ยสุร่าย เงินออม ใช้เพลินใจ ศรีนวลได้ เตือนขัดสน จนไม่ช้า
…………………………………………
ข้อคิด – “ชีวิตคู่” ต้องมีความรัก ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อกัน ความมั่นคงในชีวิต ความดีมีศีลธรรม ประกอบเกื้อกูลกัน ครอบครัวจึงสงบสุข แต่...ก็มีเหตุให้ไม่เป็นดังปรารถนา ทางแก้... คือ เลิกตัดพ้อวาสนา มองหาสิ่งดีในตัวคู่ครอง ช่วยเหลือ ยกย่อง ประคับประคองชีวิตคู่ให้ดี มีความสุขกับความจริง ถ้าทำในสิ่งที่ควรแล้วเขาไม่เห็นคุณค่า ยังทุกข์ทั้งกายใจ ก็ปล่อยไป...
กลับมาอยู่กับตัวเองอีกครั้ง ถึงเวลารัก สงสารและดูแลตัวเองแล้ว
4.2 โหรทำนายใจ
คุณพระศรี เกียจคร้าน หาเงินใช้ ออกอุบาย ทายใจ ได้ทั่วหล้า
ใครไม่เชื่อ เดิมพัน ด้วยเงินตรา แน่นอนว่า ไร้เชื่อถือ สนใจคำ
ข่าวเดิมพัน ทราบถึง เจ้าอยู่หัว จึงเรียกตัว ศรีธนญชัย ไต่ถามย้ำ
ท้องพระโรง ขุนนาง เฝ้าประจำ ทรงตรัสขำ ลองทาย คลายเท็จจริง
ศรีธนญชัย ซ่อนยิ้ม ขรึมแกล้งเขียน คล้ายเคร่งเรียน โหรหลวง ชำนาญยิ่ง
กระดานชนวน เพ่งกล่าว ราวรู้จริง บอกให้นิ่ง ตั้งใจฟัง คำทำนาย
ข้าขอทาย ใจเจ้า เหล่าอำมาตย์ ใต้ฝ่าพระบาท ภักดี ไม่มีหาย
ไม่ทรยศ หรือกบฏ คดทำลาย ทั้งใจกาย ซื่อสัตย์ชาติ ราชบัลลังก์
มีใจอยาก รับใช้ และทำงาน ให้บ้านเมือง สำราญ งานสมหวัง
ล้วนทำด้วย กายใจ เต็มกำลัง ทำนายดัง ถ้อยชัด สงัดไป
พลางหันถาม ขุนนาง ถึงทำนาย ว่าเคียงใกล้ ตรงคิด สักนิดไหม
เหล่าเสนา พยักหน้า ว่าตรงใจ ผิดเพี้ยนไป สักคำว่า หาไม่มี
ก็ใครเล่า กล้าแย้ง แกล้งทายผิด มีแต่คิด ว่าเสียรู้ คุณพระศรี
ได้เงินทอง ชนะพนัน วันเปรมปรีดิ์ คุณพระศรี ภูมิใจ ในผลงาน
……………………………..
ข้อคิด – คำทำนายทายทัก เป็นเรื่องดีถ้ารู้จักใช้ ช่วยให้ไม่ประมาท เป็นกำลังใจยาม
ท้อแท้ สิ้นหวัง จงใช้คำทำนายเลวร้ายสร้างพลัง ผลักดันให้ทำความดีต่อสู้
- อย่างมงายเชื่อถือจนขาดสติ หลงลืมว่า “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน” และ
“ฤกษ์ดีเมื่อทำดี ”
4.3 หม้อดินกลิ่นบุหงา
ถึงวันหนึ่ง พระองค์ แปลกหทัย ศรีธนญชัย เหตุใด ในวันผ่าน
มีแต่รับ ทรัพย์ของ พระราชทาน ไร้น้ำใจ ตลอดกาล กับพระองค์
ล้วนเสนา มีของ ถวายให้ ศรีธนญชัย ไม่สักครั้ง ทั้งเสริมส่ง
ทรงตำหนิ ให้ย้อน ก่อนมั่นคง คุณพระหลง เหลิงถวาย ไร้ราคา
เรียกบ่าวซื้อ หม้อดิน มาหนึ่งใบ ผายลมใส่ รีบปิด มิดด้วยผ้า
รุ่งเช้าเฝ้า นำถวาย พระราชา กราบทูลว่า เป็นหม้อดี ที่คู่ควร
อ้างว่าเป็น หม้อดิน กลิ่นบุหงา ทรงเปิดผ้า พักตร์ก้ม มีลมหวน
สูดกลิ่นเหม็น เต็มรัก กระอักกระอวน ร่างเซซวน สั่นโกรธนัก พระพักตร์แดง
ชั่วช้านัก เจ้าศรี ธนญชัย เอ็งไม่รู้ ใครเป็นใคร พิเรนแผลง
รู้ฟ้าสูง แผ่นดินต่ำ ทำสำแดง เมื่อกำแหง เลี้ยงไม่ได้ ให้ฆ่าทิ้ง
นับจากนั้น นอกในวัง ต่างล่ำลือ ว่าสิ้นชื่อ ศรีธนญชัย ข่าวใหญ่ยิ่ง
ตรัสประหาร ตลกหลวง เป็นความจริง คุณพระนิ่ง ยืดเวลา หาอุบาย
…………………………….
ข้อคิด – แม้คนบางคน จะถูกประณามว่าเป็นคนชั่วเลวทราม คล้ายโรคร้ายควรกำจัด
ทำลายให้สิ้นซาก แต่ในชีวิตจริงเราหนีคนชั่วไม่พ้น ฆ่าใครไม่ได้ต้องอดทนอยู่
ร่วมกันไป ทำได้เพียงระวังไม่ให้ติดเชื้อ ไม่ประมาทและอยู่ให้ไกลที่สุดเท่านั้น
4.4 หนีประหาร
ศรีธนญชัย เอ่ยขอ เลี้ยงสุรา ทั้งข้าวปลา ทหาร ครั้งสุดท้าย
อ้างเป็นการ ฉลอง ก่อนตนตาย ล้วนชิดใกล้ คุ้นเคย เลยรับคำ
จึงหยุดเรือ มุ่งหน้า แดนประหาร แวะที่บ้าน เลี้ยงอาหาร สำราญล้ำ
ให้เมียรัก จัดสุรา ข้าวปลายำ กินอิ่มหนำ เมาสุรา พาลงเรือ
ลงเรือร้อง โต้เพลง ตามประสา บทเพลงว่า แต่งสอน ทำนองเนื้อ
ร้องโต้ตอบ ครื้นเครง บรรเลงเรือ ลืมแปลเนื้อ สาระมี หน้าที่งาน
“คุณพระศรี คนดี ที่ทรงโปรด ขอจงกระโดด น้ำไป ให้สุขสาน
ขอไปดี มีโชคชัย ตลอดกาล เรายินดี ปล่อยท่านไป ตามใจเอย”
ต่างเมามาย ร้องซ้ำ รับไปมา ได้เวลา คุณพระศรี โดดน้ำเฉย
แต่ไม่หนี ไปไหน ไกลเกินเลย กลับที่เคย เวียงวัง ครั้งจากไป
เดินเข้าวัง กราบเฝ้า เจ้าอยู่หัว คลานก้มตัว หน้าซื่อ ดวงตาใส
ทูลเล่าว่า กระโดดน้ำ ไม่เต็มใจ ทหารใช้ บังคับ ให้หนีมา
ฝ่ายทหาร เมื่อถึง แดนประหาร วิ่งกันพล่าน วุ่นวาย ส่ายตาหา
ไม่เหลือเงา รีบเข้าเฝ้า เล่าเป็นมา กลับพบว่า คุณพระศรี หนีรายงาน
ได้แต่นั่ง ก้มหัว ตัวสั่นเทา ยังค้างเมา หน้าแดงก่ำ ทำงุ่นง่าน
รับโดยดี แวะเลี้ยง สุรานาน เนื้อขับขาน เพลงร้อง ก้องเป็นจริง
สั่งทหาร ร้องเพลงนั้น กลั้นพระสรวล คิดทบทวน โอกาสหนี เจ้าศรียิ่ง
กลับบากหน้า เข้าเฝ้า เล่าความจริง หลงเหลือสิ่ง ความภักดี ที่อภัย
เพียงหลงทำ ผิดไป ในครั้งก่อน พาเดือดร้อน คึกคะนอง สติไร้
ด้วยเจ้าเล่ห์ เพทุบาย พื้นเพใจ ฆ่าตายไป สูญเปล่า เหล่าปัญญา
จะเลี้ยงไว้ ดูเล่น สักคนหนึ่ง ให้อยู่พึ่ง คืนกลับ รับใช้ข้า
ตรัสต่อไป ทำสิ่งใด ใช้ปัญญา ไตร่ตรองอย่า ให้ข้า ต้องขัดเคือง
……………………………………
ข้อคิด – “คน” เมื่อสิ้นหนทาง และรู้ตัวว่าต้องตาย วิธีหาหนทางเพื่อให้มีชีวิตรอดของ
แต่ละคนแตกต่างกัน ทำให้รู้ว่าเป็นคนเช่นไร?
4.5 โหรทำนายไข้
ศรีธนญชัย แคล้วคลาด ผ่านประหาร ไม่ช้านาน รนหา พาพบเรื่อง
ด้วยปากเสีย ทำนาย ให้ขัดเคือง เหตุเพราะเรื่อง มเหสี ทรงประชวร
เมื่อโหรหลวง ทำนาย จะหายดี คุณพระศรี กลับกลาย ทำนายสวน
ทำทีท่า ขีดเขียน กระดานชนวน กำหนดควร สิ้นพระชนม์ ในเจ็ดวัน
พิโรธลุก ชี้หน้าศรี ธนญชัย รับสั่งให้ จับขัง ในวันนั้น
ไม่เห็นเดือน เห็นดาว ฟ้าตะวัน ทรงลืมวัน ลืมอภัย ให้ออกมา
มเหสี นานวัน ทุเลาหาย ชื่นใจกาย ได้ยาดี มีรักษา
จัดฉลอง รื่นเริง เลี้ยงข้าวปลา จึงอีกครา เรียกหา เห็นท้าทาย
ตรัสว่าเอ็ง เห็นหรือยัง เจ้าตัวดี พระมเหสี ของข้า บัดนี้หาย
ก็ไหนเจ้า ปากเปราะ กล้าทำนาย ว่าต้องตาย ในเจ็ดวัน นั้นไม่จริง
ศรีธนญชัย หน้าเศร้า กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้ามีเหตุ ควรกล่าวยิ่ง
แต่พระองค์ ไม่ถาม ความเป็นจริง ไม่ประวิง ลงอาญา ข้าเสียแล้ว
ทรงตรัสว่า เมื่ออ้าง เหตุผลดี อธิบาย เดี๋ยวนี้ เรียงแนวแถว
ให้สมชื่อ ปัญญาล้น คนมีแวว ว่าจะพา คลาดแคล้ว หรืออับจน
คุณพระศรี จึงได้ กราบทูลว่า ดวงชะตา ทำนาย ด้วยเหตุผล
ตามหลักสอน พระธรรม คำแยบยล ชีวิตคน ชะตาตาย ในเจ็ดวัน
คืออาทิตย์ วันจันทร์ อังคารพุธ หรือสิ้นสุด พฤหัส ศุกร์เสาร์นั้น
วันใดหนึ่ง กล่าวไป ในเจ็ดวัน เหมือนทั่วกัน คนสัตว์ สัจธรรม
เป็นคำกล่าว แก้ตัว ทั่วนิ่งอึ้ง คิดลึกซึ้ง แกล้งสรวล ทวนคำย้ำ
เออสินะ เป็นจริง ทุกถ้อยคำ หัวเราะขำ เข้าใจผิด คิดแช่งตาย
หวนคิดถึง ขังลืม วันเวลา ทรัพย์เสื้อผ้า พระราชทาน รับขวัญให้
กลับเข้ารับ ราชการ งานเคียงกาย อยู่รับใช้ สร้างเรื่องใหม่ ไม่ต้องวอน
................................................................
ข้อคิด – สันดาน เปรียบเหมือนสันดอน แก้ไขทำลายยากคนเจ้าเล่ห์เพทุบาย มากด้วยกลโกง ไม่รู้เวลา ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง
มักทำให้ตนเองเดือดร้อน ตกอับได้ง่ายๆ
ขอบคุณมากครับ ^^"
#บทกวีเรื่อง...ศรีธนญชัย ตอนที่ 4#
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สืบเสาะพบ ดรุณี ที่ก่อนกาล เคยทอสาน สัมพันธ์ วันวัยเยาว์
หญิงงามชื่อ ศรีนวล ล้วนต้องตา ไร้ฝั่งฝา หมายปอง ออกเรือนเย้า
เป็นคู่ครอง เคียงกาย คลายบรรเทา จึงบอกเล่า แม่สื่อ ไปทาบทาม
ยายสุกรับ หน้าที่ ดีเหมาะสม กล่าวชื่นชม ให้มั่นใจ ไม่ถูกหยาม
พูดเยินยอ ฝ่ายชาย บรรยายความ จนคล้อยตาม ฝ่ายหญิง ถามผู้ใด
คุณพระชื่อ ศรีธนญชัย อย่างไรเล่า ทั่วเมืองเขา รู้จัก ศักดิ์ยิ่งใหญ่
ยายสุกเอ่ย หน้าบาน ยิ้มภูมิใจ คนฟังใกล้ สะอึกอึ้ง ตะลึงลาน
โอ้อกเอ๋ย จะมีเขย กับเขาที ใยต้องเป็น คุณพระศรี ที่เล่าขาน
ทั้งเจ้าเล่ห์ เจ้ากลเด่น เป็นสันดาน ก่อเรื่องราญ อลเวง หวั่นเกรงคิด
ไม่อยากให้ ลูกตัว ก็กลัวเดช กลัวมีเหตุ เดือดร้อน นอนไม่ติด
จะไม่ขอ สินสอด เพียงน้อยนิด วางแผนคิด เรียกล้น จนเปลี่ยนใจ
จึงเอ่ยขอ สินสอด ทองพันชั่ง อีกรวมทั้ง เงินร้อยหาบ หามาให้
ยายสุกคิด ไม่ถึง อึ้งตกใจ นำความไป แจ้งพลัน หวั่นกังวล
คุณพระศรี ได้ฟัง นั่งคิดครู่ พลันบอกรู้ เช้าตรู่ อยู่ช่วยขน
เกณฑ์ไพร่หา สินสอด มาบัดดล เพียงผ่านพ้น ราตรี มีพร้อมเพรียง
รุ่งเช้าตั้ง ขบวน ขันหมากแห่ ญาติพ่อแม่ สำราญ บ้านลั่นเสียง
บ่าวไพร่ถือ สินสอด ต่อยาวเรียง ครึกครื้นเสียง โห่ร้อง กลองยาวรำ
ครั้นถึงบ้าน พ่อตา และแม่ยาย เชื้อเชิญให้ ดื่มน้ำท่า หน้าสุขล้ำ
แต่ส่วนลึก สงสัย ใจระกำ ทบทวนย้ำ สินสอด ว่าเท่าไร
เปิดผ้าคลุม ซิจ๊ะ พ่อแม่จ๋า รับรองว่า ครบถ้วน ล้วนสั่งไว้
มิขาดแม้ เล็กน้อย ถอยหย่อนไป สองหาบใหญ่ ตรงหน้า คลุมผ้างาม
สองผัวเมีย เปิดผ้า ออกเบามือ พลันหูอื้อ ตาลาย คล้ายถูกหยาม
คุณพระศรี ลูกเขย ไม่ได้ความ ถูกค้านถาม เล่นตลก หรืออย่างไร
สองหาบเห็น เบื้องหน้า ว่าของหมั้น มีเพียงใบ ทองพันชั่ง ตั้งเต็มไว้
อีกหาบหนึ่ง เหรียญเงิน ห้อยหาบไกว ศรีธนญชัย อ้างถูกต้อง ตรองคิดดู
คุณพระศรี ฉุดมือขุน พิพากษา พลางเอ่ยว่า ช่วยตัดสิน ทั่วยินรู้
สองผัวเมีย ครางแผ่ว โดนแล้วกู ขุนพิพากษา พยานอยู่ สู้ก็แพ้
ขืนมีเรื่อง ราวร้อง ฟ้องต่อศาล คงเล่าขาน โจษยิ้มหัว ทั่วเมืองแน่
จำใจยก ศรีนวลเจ้า เฝ้าดูแล มิได้แม้ เศษเงินทอง ของสิ่งใด
ศรีธนญชัย แต่งงาน บ้านมีสุข เที่ยวเตร่สนุก พนัน ตะบันใช้
สุรุ่ยสุร่าย เงินออม ใช้เพลินใจ ศรีนวลได้ เตือนขัดสน จนไม่ช้า
ข้อคิด – “ชีวิตคู่” ต้องมีความรัก ความเชื่อมั่นศรัทธาต่อกัน ความมั่นคงในชีวิต ความดีมีศีลธรรม ประกอบเกื้อกูลกัน ครอบครัวจึงสงบสุข แต่...ก็มีเหตุให้ไม่เป็นดังปรารถนา ทางแก้... คือ เลิกตัดพ้อวาสนา มองหาสิ่งดีในตัวคู่ครอง ช่วยเหลือ ยกย่อง ประคับประคองชีวิตคู่ให้ดี มีความสุขกับความจริง ถ้าทำในสิ่งที่ควรแล้วเขาไม่เห็นคุณค่า ยังทุกข์ทั้งกายใจ ก็ปล่อยไป...
กลับมาอยู่กับตัวเองอีกครั้ง ถึงเวลารัก สงสารและดูแลตัวเองแล้ว
ใครไม่เชื่อ เดิมพัน ด้วยเงินตรา แน่นอนว่า ไร้เชื่อถือ สนใจคำ
ข่าวเดิมพัน ทราบถึง เจ้าอยู่หัว จึงเรียกตัว ศรีธนญชัย ไต่ถามย้ำ
ท้องพระโรง ขุนนาง เฝ้าประจำ ทรงตรัสขำ ลองทาย คลายเท็จจริง
ศรีธนญชัย ซ่อนยิ้ม ขรึมแกล้งเขียน คล้ายเคร่งเรียน โหรหลวง ชำนาญยิ่ง
กระดานชนวน เพ่งกล่าว ราวรู้จริง บอกให้นิ่ง ตั้งใจฟัง คำทำนาย
ข้าขอทาย ใจเจ้า เหล่าอำมาตย์ ใต้ฝ่าพระบาท ภักดี ไม่มีหาย
ไม่ทรยศ หรือกบฏ คดทำลาย ทั้งใจกาย ซื่อสัตย์ชาติ ราชบัลลังก์
มีใจอยาก รับใช้ และทำงาน ให้บ้านเมือง สำราญ งานสมหวัง
ล้วนทำด้วย กายใจ เต็มกำลัง ทำนายดัง ถ้อยชัด สงัดไป
พลางหันถาม ขุนนาง ถึงทำนาย ว่าเคียงใกล้ ตรงคิด สักนิดไหม
เหล่าเสนา พยักหน้า ว่าตรงใจ ผิดเพี้ยนไป สักคำว่า หาไม่มี
ก็ใครเล่า กล้าแย้ง แกล้งทายผิด มีแต่คิด ว่าเสียรู้ คุณพระศรี
ได้เงินทอง ชนะพนัน วันเปรมปรีดิ์ คุณพระศรี ภูมิใจ ในผลงาน
ข้อคิด – คำทำนายทายทัก เป็นเรื่องดีถ้ารู้จักใช้ ช่วยให้ไม่ประมาท เป็นกำลังใจยาม
ท้อแท้ สิ้นหวัง จงใช้คำทำนายเลวร้ายสร้างพลัง ผลักดันให้ทำความดีต่อสู้
- อย่างมงายเชื่อถือจนขาดสติ หลงลืมว่า “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน” และ
“ฤกษ์ดีเมื่อทำดี ”
มีแต่รับ ทรัพย์ของ พระราชทาน ไร้น้ำใจ ตลอดกาล กับพระองค์
ล้วนเสนา มีของ ถวายให้ ศรีธนญชัย ไม่สักครั้ง ทั้งเสริมส่ง
ทรงตำหนิ ให้ย้อน ก่อนมั่นคง คุณพระหลง เหลิงถวาย ไร้ราคา
เรียกบ่าวซื้อ หม้อดิน มาหนึ่งใบ ผายลมใส่ รีบปิด มิดด้วยผ้า
รุ่งเช้าเฝ้า นำถวาย พระราชา กราบทูลว่า เป็นหม้อดี ที่คู่ควร
อ้างว่าเป็น หม้อดิน กลิ่นบุหงา ทรงเปิดผ้า พักตร์ก้ม มีลมหวน
สูดกลิ่นเหม็น เต็มรัก กระอักกระอวน ร่างเซซวน สั่นโกรธนัก พระพักตร์แดง
ชั่วช้านัก เจ้าศรี ธนญชัย เอ็งไม่รู้ ใครเป็นใคร พิเรนแผลง
รู้ฟ้าสูง แผ่นดินต่ำ ทำสำแดง เมื่อกำแหง เลี้ยงไม่ได้ ให้ฆ่าทิ้ง
นับจากนั้น นอกในวัง ต่างล่ำลือ ว่าสิ้นชื่อ ศรีธนญชัย ข่าวใหญ่ยิ่ง
ตรัสประหาร ตลกหลวง เป็นความจริง คุณพระนิ่ง ยืดเวลา หาอุบาย
ข้อคิด – แม้คนบางคน จะถูกประณามว่าเป็นคนชั่วเลวทราม คล้ายโรคร้ายควรกำจัด
ทำลายให้สิ้นซาก แต่ในชีวิตจริงเราหนีคนชั่วไม่พ้น ฆ่าใครไม่ได้ต้องอดทนอยู่
ร่วมกันไป ทำได้เพียงระวังไม่ให้ติดเชื้อ ไม่ประมาทและอยู่ให้ไกลที่สุดเท่านั้น
อ้างเป็นการ ฉลอง ก่อนตนตาย ล้วนชิดใกล้ คุ้นเคย เลยรับคำ
จึงหยุดเรือ มุ่งหน้า แดนประหาร แวะที่บ้าน เลี้ยงอาหาร สำราญล้ำ
ให้เมียรัก จัดสุรา ข้าวปลายำ กินอิ่มหนำ เมาสุรา พาลงเรือ
ลงเรือร้อง โต้เพลง ตามประสา บทเพลงว่า แต่งสอน ทำนองเนื้อ
ร้องโต้ตอบ ครื้นเครง บรรเลงเรือ ลืมแปลเนื้อ สาระมี หน้าที่งาน
“คุณพระศรี คนดี ที่ทรงโปรด ขอจงกระโดด น้ำไป ให้สุขสาน
ขอไปดี มีโชคชัย ตลอดกาล เรายินดี ปล่อยท่านไป ตามใจเอย”
ต่างเมามาย ร้องซ้ำ รับไปมา ได้เวลา คุณพระศรี โดดน้ำเฉย
แต่ไม่หนี ไปไหน ไกลเกินเลย กลับที่เคย เวียงวัง ครั้งจากไป
เดินเข้าวัง กราบเฝ้า เจ้าอยู่หัว คลานก้มตัว หน้าซื่อ ดวงตาใส
ทูลเล่าว่า กระโดดน้ำ ไม่เต็มใจ ทหารใช้ บังคับ ให้หนีมา
ฝ่ายทหาร เมื่อถึง แดนประหาร วิ่งกันพล่าน วุ่นวาย ส่ายตาหา
ไม่เหลือเงา รีบเข้าเฝ้า เล่าเป็นมา กลับพบว่า คุณพระศรี หนีรายงาน
ได้แต่นั่ง ก้มหัว ตัวสั่นเทา ยังค้างเมา หน้าแดงก่ำ ทำงุ่นง่าน
รับโดยดี แวะเลี้ยง สุรานาน เนื้อขับขาน เพลงร้อง ก้องเป็นจริง
สั่งทหาร ร้องเพลงนั้น กลั้นพระสรวล คิดทบทวน โอกาสหนี เจ้าศรียิ่ง
กลับบากหน้า เข้าเฝ้า เล่าความจริง หลงเหลือสิ่ง ความภักดี ที่อภัย
เพียงหลงทำ ผิดไป ในครั้งก่อน พาเดือดร้อน คึกคะนอง สติไร้
ด้วยเจ้าเล่ห์ เพทุบาย พื้นเพใจ ฆ่าตายไป สูญเปล่า เหล่าปัญญา
จะเลี้ยงไว้ ดูเล่น สักคนหนึ่ง ให้อยู่พึ่ง คืนกลับ รับใช้ข้า
ตรัสต่อไป ทำสิ่งใด ใช้ปัญญา ไตร่ตรองอย่า ให้ข้า ต้องขัดเคือง
ข้อคิด – “คน” เมื่อสิ้นหนทาง และรู้ตัวว่าต้องตาย วิธีหาหนทางเพื่อให้มีชีวิตรอดของ
แต่ละคนแตกต่างกัน ทำให้รู้ว่าเป็นคนเช่นไร?
ด้วยปากเสีย ทำนาย ให้ขัดเคือง เหตุเพราะเรื่อง มเหสี ทรงประชวร
เมื่อโหรหลวง ทำนาย จะหายดี คุณพระศรี กลับกลาย ทำนายสวน
ทำทีท่า ขีดเขียน กระดานชนวน กำหนดควร สิ้นพระชนม์ ในเจ็ดวัน
พิโรธลุก ชี้หน้าศรี ธนญชัย รับสั่งให้ จับขัง ในวันนั้น
ไม่เห็นเดือน เห็นดาว ฟ้าตะวัน ทรงลืมวัน ลืมอภัย ให้ออกมา
มเหสี นานวัน ทุเลาหาย ชื่นใจกาย ได้ยาดี มีรักษา
จัดฉลอง รื่นเริง เลี้ยงข้าวปลา จึงอีกครา เรียกหา เห็นท้าทาย
ตรัสว่าเอ็ง เห็นหรือยัง เจ้าตัวดี พระมเหสี ของข้า บัดนี้หาย
ก็ไหนเจ้า ปากเปราะ กล้าทำนาย ว่าต้องตาย ในเจ็ดวัน นั้นไม่จริง
ศรีธนญชัย หน้าเศร้า กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้ามีเหตุ ควรกล่าวยิ่ง
แต่พระองค์ ไม่ถาม ความเป็นจริง ไม่ประวิง ลงอาญา ข้าเสียแล้ว
ทรงตรัสว่า เมื่ออ้าง เหตุผลดี อธิบาย เดี๋ยวนี้ เรียงแนวแถว
ให้สมชื่อ ปัญญาล้น คนมีแวว ว่าจะพา คลาดแคล้ว หรืออับจน
คุณพระศรี จึงได้ กราบทูลว่า ดวงชะตา ทำนาย ด้วยเหตุผล
ตามหลักสอน พระธรรม คำแยบยล ชีวิตคน ชะตาตาย ในเจ็ดวัน
คืออาทิตย์ วันจันทร์ อังคารพุธ หรือสิ้นสุด พฤหัส ศุกร์เสาร์นั้น
วันใดหนึ่ง กล่าวไป ในเจ็ดวัน เหมือนทั่วกัน คนสัตว์ สัจธรรม
เป็นคำกล่าว แก้ตัว ทั่วนิ่งอึ้ง คิดลึกซึ้ง แกล้งสรวล ทวนคำย้ำ
เออสินะ เป็นจริง ทุกถ้อยคำ หัวเราะขำ เข้าใจผิด คิดแช่งตาย
หวนคิดถึง ขังลืม วันเวลา ทรัพย์เสื้อผ้า พระราชทาน รับขวัญให้
กลับเข้ารับ ราชการ งานเคียงกาย อยู่รับใช้ สร้างเรื่องใหม่ ไม่ต้องวอน
ข้อคิด – สันดาน เปรียบเหมือนสันดอน แก้ไขทำลายยากคนเจ้าเล่ห์เพทุบาย มากด้วยกลโกง ไม่รู้เวลา ไม่รู้ที่ต่ำที่สูง
มักทำให้ตนเองเดือดร้อน ตกอับได้ง่ายๆ
ขอบคุณมากครับ ^^"