ระวังคำสอนของวัดนาป่าพงด้วย เช่น
"๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น"
เท่าที่อ่านพระไตรปิฏกมาประมาณนึง พระพุทธเจ้าเราไม่ได้เป็นแบบนี้ แต่พออ่านคำสอนของวัดนาฯ แล้วทำให้ดูเหมือนว่าพระพุทธเราใจแคบจัง ฟังของเราเท่านั้นนะอย่าไปฟังคนอื่น ทำให้พระพุทธเจ้าดูไม่ดีเลย เพราะวัดนาฯมาตีความหมายแบบนี้
นึกถึงบางครั้งคนจะเปลี่ยนศาสนา/ลัทธิ มาเป็นพุทธ พระพุทธเจ้าก็ยังห้าม ก็มี
พระสงฆ์ก็มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่จนตอนนี้ก็เป็นพันๆปีแล้ว ก็ฟังแล้วเราก็เอามาพิจารณาไม่ได้จำเป็นต้องเชื่อเลย แล้ววัดนาฯมาสอนว่า"เฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น"ได้ยังไง? กาลเวลาล่วงเลยเป็นพันปิก็ได้พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบช่วยอธิบายเพิ่มเติมในคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เป็นสิ่งที่ดี
เท่าที่จำได้ บางครั้งพระพุทธเจ้าก็กล่าวชมสาวก ที่สอนได้ดี สอนได้ถูกแล้ว
ศาสนาพุทธเรามีลักษณะเป็นศาสนาแห่งปัญญาคือต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่เชื่อๆๆ ซึ่งก็มี ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
หรือใน กาลามสูตร (หรือเกสปุตตสูตร) ที่เกี่ยวกับอย่าเชื่ออย่ายึดถือ 10 อย่าง ข้อแรกเลยก็ "อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา"
พระไตรปิฏกก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเริ่มจากการถ่ายทอดด้วยปากด้วยความจำ เริ่มต้นมาแบบนี้
และเกี่ยวกับคำที่วัดนาฯเอามาใช้คำว่า "พุทธวจน" ผมก็ต้องเตือนว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเป็นภาษาไทย และหลายคนเข้าใจว่าสอนเป็นภาษาบาลี (ถึงแม้ดูเหมือนว่าจะมีบางส่วนคิดว่าไม่ใช่บาลีด้วยซ้ำที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่) แต่อย่างไรก็ไม่ใช่ภาษาไทย ก็เลยต้องเตือนไว้เพราะภาษาไทยเป็นการถูกแปลมา จะให้แปงถูกต้อง100%ก็คงเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว สำนวนก็ต่างกัน มากบ้าง น้อยบ้าง ตามคน/กลุ่มคนที่แปลไปอีก
ไม่น่าใช้คำว่า "พุทธวจน" วัดนาฯควรเคารพ "พุทธวจน" มากกว่านี้ ควรจะเขียนเป็นว่า พุทธวจนแปลไทยสำนวน....(ของกลุ่มไหนที่แปลก็ว่าไป)... อย่างนี้ถึงจะถูกต้อง คือถ้าใช้คำ "พุทธวจน" ไม่บ่อยๆก็อาจจะไม่เท่าไหร่ แต่วัดนี้ใช้คำ"พุทธวจน" มากแบบเป็นจุดขายของวัดไปเลย ผมก็เลยต้องธิบายดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ให้ความเคารพ "พุทธวจน" มากกว่านี้ด้วยครับวัดนาฯ
นึกถึงพระอานนท์ ขนาดระดับพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาอย่างท่าน ท่าน็ยังใช้คำว่า "ข้าพเจ้าเองได้ยินมาอย่างนี้" เริ่มในพระสูตรต่างๆ ไม่ได้ทำเป็นโอ้อวดเหมือนอย่าง...
"ใครเล่าที่สามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง"
การหยิบยกคำสอนมาบางส่วนแลัวสรุปง่ายๆ ผมก็นึกถึงเรื่อง คนตาบอดคลำช้าง คนนึงจับตรงส่วนนึง อีกคนจับอีกส่วน อีกคนก็จับอีกส่วน สัก 10 คน แล้วก็ให้มาอธิบาย"ช้าง"มีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วมันจะถูกจริงๆไหมหล่ะ
แนะนำกัลยาณมิตรทุกท่านว่า พระไตรปิฏกมีไว้ศึกษาไม่ได้มีไว้ให้เชื่อ พระพุทธสอนเยอะมากเพื่อเหมาะกับพื้นฐานคนเหล่านั้น เหมือนหมอให้ยา/ทำการรักษาคนไข้ ก็ต้องแตกต่างกันไปบ้าง
คำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนท่านก็มีแบ่งเป็นเปลือก แก่น กะพี้ สะเก็ด ... จับสะเก็ดแล้วมุ่งปฏิบัติอย่างนั้น แล้วมันจะไปถึงนิพพพานได้หรือไง
ขอบคุณครับ ถ้าผมมีอะไรเข้าใจผิดก็ชี้แนะได้ ผมไม่ได้เป็นแบบบางพวกที่ไม่ฟังคนอื่น ผิดก็ไม่สน เผยแพร่แบบผิดๆถูกๆมั่วไปหมด
ระวังคำสอนของวัดนาป่าพงด้วย
"๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น"
เท่าที่อ่านพระไตรปิฏกมาประมาณนึง พระพุทธเจ้าเราไม่ได้เป็นแบบนี้ แต่พออ่านคำสอนของวัดนาฯ แล้วทำให้ดูเหมือนว่าพระพุทธเราใจแคบจัง ฟังของเราเท่านั้นนะอย่าไปฟังคนอื่น ทำให้พระพุทธเจ้าดูไม่ดีเลย เพราะวัดนาฯมาตีความหมายแบบนี้
นึกถึงบางครั้งคนจะเปลี่ยนศาสนา/ลัทธิ มาเป็นพุทธ พระพุทธเจ้าก็ยังห้าม ก็มี
พระสงฆ์ก็มีหน้าที่ช่วยเผยแพร่จนตอนนี้ก็เป็นพันๆปีแล้ว ก็ฟังแล้วเราก็เอามาพิจารณาไม่ได้จำเป็นต้องเชื่อเลย แล้ววัดนาฯมาสอนว่า"เฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น"ได้ยังไง? กาลเวลาล่วงเลยเป็นพันปิก็ได้พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบช่วยอธิบายเพิ่มเติมในคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เป็นสิ่งที่ดี
เท่าที่จำได้ บางครั้งพระพุทธเจ้าก็กล่าวชมสาวก ที่สอนได้ดี สอนได้ถูกแล้ว
ศาสนาพุทธเรามีลักษณะเป็นศาสนาแห่งปัญญาคือต้องพิสูจน์ด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่เชื่อๆๆ ซึ่งก็มี ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
หรือใน กาลามสูตร (หรือเกสปุตตสูตร) ที่เกี่ยวกับอย่าเชื่ออย่ายึดถือ 10 อย่าง ข้อแรกเลยก็ "อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา"
พระไตรปิฏกก็เป็นที่ทราบกันดีว่าเริ่มจากการถ่ายทอดด้วยปากด้วยความจำ เริ่มต้นมาแบบนี้
และเกี่ยวกับคำที่วัดนาฯเอามาใช้คำว่า "พุทธวจน" ผมก็ต้องเตือนว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเป็นภาษาไทย และหลายคนเข้าใจว่าสอนเป็นภาษาบาลี (ถึงแม้ดูเหมือนว่าจะมีบางส่วนคิดว่าไม่ใช่บาลีด้วยซ้ำที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่) แต่อย่างไรก็ไม่ใช่ภาษาไทย ก็เลยต้องเตือนไว้เพราะภาษาไทยเป็นการถูกแปลมา จะให้แปงถูกต้อง100%ก็คงเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว สำนวนก็ต่างกัน มากบ้าง น้อยบ้าง ตามคน/กลุ่มคนที่แปลไปอีก
ไม่น่าใช้คำว่า "พุทธวจน" วัดนาฯควรเคารพ "พุทธวจน" มากกว่านี้ ควรจะเขียนเป็นว่า พุทธวจนแปลไทยสำนวน....(ของกลุ่มไหนที่แปลก็ว่าไป)... อย่างนี้ถึงจะถูกต้อง คือถ้าใช้คำ "พุทธวจน" ไม่บ่อยๆก็อาจจะไม่เท่าไหร่ แต่วัดนี้ใช้คำ"พุทธวจน" มากแบบเป็นจุดขายของวัดไปเลย ผมก็เลยต้องธิบายดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ให้ความเคารพ "พุทธวจน" มากกว่านี้ด้วยครับวัดนาฯ
นึกถึงพระอานนท์ ขนาดระดับพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาอย่างท่าน ท่าน็ยังใช้คำว่า "ข้าพเจ้าเองได้ยินมาอย่างนี้" เริ่มในพระสูตรต่างๆ ไม่ได้ทำเป็นโอ้อวดเหมือนอย่าง...
"ใครเล่าที่สามารถเข้าใจได้โดยประการทั้งปวง"
การหยิบยกคำสอนมาบางส่วนแลัวสรุปง่ายๆ ผมก็นึกถึงเรื่อง คนตาบอดคลำช้าง คนนึงจับตรงส่วนนึง อีกคนจับอีกส่วน อีกคนก็จับอีกส่วน สัก 10 คน แล้วก็ให้มาอธิบาย"ช้าง"มีลักษณะเป็นอย่างไร แล้วมันจะถูกจริงๆไหมหล่ะ
แนะนำกัลยาณมิตรทุกท่านว่า พระไตรปิฏกมีไว้ศึกษาไม่ได้มีไว้ให้เชื่อ พระพุทธสอนเยอะมากเพื่อเหมาะกับพื้นฐานคนเหล่านั้น เหมือนหมอให้ยา/ทำการรักษาคนไข้ ก็ต้องแตกต่างกันไปบ้าง
คำสอนที่พระพุทธเจ้าสอนท่านก็มีแบ่งเป็นเปลือก แก่น กะพี้ สะเก็ด ... จับสะเก็ดแล้วมุ่งปฏิบัติอย่างนั้น แล้วมันจะไปถึงนิพพพานได้หรือไง
ขอบคุณครับ ถ้าผมมีอะไรเข้าใจผิดก็ชี้แนะได้ ผมไม่ได้เป็นแบบบางพวกที่ไม่ฟังคนอื่น ผิดก็ไม่สน เผยแพร่แบบผิดๆถูกๆมั่วไปหมด