เข้าไปแจมในกระทู้ของน้องบ่อย(และยาว) เกรงจะเป็นที่รำคาญ เลยขอตั้งกระทู้เองนะครับ มีความเห็นด้านพุทธศาสนาจากกระทู้นี้
http://ppantip.com/topic/33579686 ที่ผมอยากจะร่วมแสดงความคิดเห็น (ไม่เกี่ยวกับการเมือง)
"......เอาง่ายๆตามหลักความเชื่อของชาวพุทธที่ว่า กรรมจําเเนกสัตว์
เกิดมาบางคนรวย บางคนจน บางคนหล่อสวย บางคนขี้เหร่ เเละความต่างอีกหลายอย่าง
เเต่ที่สําคัญคือ บางคนเลว บางคนดี บางคนโง่ บางคนฉลาด เเค่เริ่มต้นก็ไม่ยุติธรรมเเล้ว...."
ตามความเห็นข้างบน ผมในฐานะที่ผ่านการบวชเรียนมาบ้าง เกรงว่าพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาอ่านจะเข้าใจผิดว่า การที่คนหนึ่งเกิดมารวย อีกคนเกิดมาจน โง่ ฉลาด ขาด้วน ตาบอด ฯลฯ เหล่านี้เป็นความไม่ยุติธรรม ....(ยังไงก็แล้วแต่เชื่อว่ายังมีหลายคนคิดเช่นนั้นอยู่)
ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงหยิบใบไม้แห้งขึ้นมาแล้วตรัสต่อพระอานนท์ว่า ใบไม้ในกำมือเราก็เป็นเสมือนหนึ่งความรู้(ธรรมะ)ที่เรานำมาแสดง ส่วนใบไม้ในผืนป่านั้นเป็นความรู้ที่เรารู้ไม่ได้นำมาแสดง เพราะว่าความรู้(ธรรมะ)เหล่านั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ ในกาลต่อมาพระองค์ก็ได้ทรงตรัสถึง “นิยาม๕” (รายละเอียดพิมพ์ที่กรูเกิ้ลดู) หนึ่งในนิยามทั้งห้านั้นคือ “กรรมนิยาม” คือ กฏแห่งการกระทำและผลของการกระทำ หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า “กฏแห่งกรรม” ในนิยามทั้งหมดนั้น พระพุทธศาสนาเน้นเพียงสามนิยาม คือ จิตนิยาม(จิต เจตสิก) กรรมนิยาม (กฏแห่งกรรม) และ ธรรมนิยาม(ไตรลักษณ์)
ตามหลักกฏแห่งกรรม(กรรมนิยาม)...คนที่เกิดมา ไม่สมบูรณ์ครบสามสิบสองประการ โง่ ฉลาด ขี้เหร่ รูปหล่อ ฯลฯ พระพุทธศาสนามองว่านั่นเป็นผลกรรม หรือ วิบากกรรม จากการกระทำของคนๆ นั้นที่ได้กระทำเอาไว้....
ไม่ใช่ความยุติธรรมหรืออยุติธรรมอย่างที่เข้าใจ พุทธศาสนิกชนอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องพยายามแยกแยะตรงนี้....ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะมีคนตะโกนร้องเรียกหาความยุติธรรมโดยไม่ลงทุนลงแรง(นั่นก็คือไม่ทำคุณงามความดีเพื่อผลแห่งกรรมดี)เต็มบ้านเต็มเมือง
กรรมและผลแห่งกรรมคือ “สัจจะธรรม” นั่นก็คือความจริงที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเงื่อนไข กาลเวลา หรืออำนาจใดๆ ส่วนความ “ยุติธรรม” คือผลที่ได้ตกลงกัน เห็นพร้องต้องกัน(แต่ไม่ใช่สัจจธรรม) และอาจจะถูกเปลี่ยนเป็นความอยุติธรรมได้ เมื่อมีเงื่อนไข กาลเวลา หรืออำนาจอื่นๆ เป็นตัวแปร และแซกแทรง จึงไม่แปลก ที่คนสองคนอาจจะมอง “ความยุติธรรม” ไม่เหมือนกัน
แต่ไม่ควรจัด วิบากกรรม เป็นเรื่องของความยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม
ตอนพระญาติของพระพุทธเจ้าทะเลาะกันเรื่องการแบ่งสันปันน้ำจากแม่น้ำ การทะเลาะกันและยกทัพประจันบานกันนั้นก็เกิดมาจากฝ่ายหนึ่งมองว่าการแบ่งน้ำให้ของอีกฝ่ายไม่ยุติธรรม พระพุทธเจ้าแม้จะทรงละแล้วซึ่งกิเลสทั้งหมดทั้งปวง แต่ก็ไม่ทรงนำพระองค์ไปตัดสินเรื่องนี้ ทำดีที่สุดคือทรงไปห้ามเหล่าพระประยูรญาติไม่ให้ทะเลาะกัน (ที่มาของพระปางห้ามญาติ)
ถึงคุณน้องเสื้อเหลือง 2200853.....ว่าด้วยความยุติธรรม/อยุติธรรม
"......เอาง่ายๆตามหลักความเชื่อของชาวพุทธที่ว่า กรรมจําเเนกสัตว์
เกิดมาบางคนรวย บางคนจน บางคนหล่อสวย บางคนขี้เหร่ เเละความต่างอีกหลายอย่าง
เเต่ที่สําคัญคือ บางคนเลว บางคนดี บางคนโง่ บางคนฉลาด เเค่เริ่มต้นก็ไม่ยุติธรรมเเล้ว...."
ตามความเห็นข้างบน ผมในฐานะที่ผ่านการบวชเรียนมาบ้าง เกรงว่าพุทธศาสนิกชนที่เข้ามาอ่านจะเข้าใจผิดว่า การที่คนหนึ่งเกิดมารวย อีกคนเกิดมาจน โง่ ฉลาด ขาด้วน ตาบอด ฯลฯ เหล่านี้เป็นความไม่ยุติธรรม ....(ยังไงก็แล้วแต่เชื่อว่ายังมีหลายคนคิดเช่นนั้นอยู่)
ตอนที่พระพุทธเจ้าทรงหยิบใบไม้แห้งขึ้นมาแล้วตรัสต่อพระอานนท์ว่า ใบไม้ในกำมือเราก็เป็นเสมือนหนึ่งความรู้(ธรรมะ)ที่เรานำมาแสดง ส่วนใบไม้ในผืนป่านั้นเป็นความรู้ที่เรารู้ไม่ได้นำมาแสดง เพราะว่าความรู้(ธรรมะ)เหล่านั้นไม่ได้เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์ ในกาลต่อมาพระองค์ก็ได้ทรงตรัสถึง “นิยาม๕” (รายละเอียดพิมพ์ที่กรูเกิ้ลดู) หนึ่งในนิยามทั้งห้านั้นคือ “กรรมนิยาม” คือ กฏแห่งการกระทำและผลของการกระทำ หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่า “กฏแห่งกรรม” ในนิยามทั้งหมดนั้น พระพุทธศาสนาเน้นเพียงสามนิยาม คือ จิตนิยาม(จิต เจตสิก) กรรมนิยาม (กฏแห่งกรรม) และ ธรรมนิยาม(ไตรลักษณ์)
ตามหลักกฏแห่งกรรม(กรรมนิยาม)...คนที่เกิดมา ไม่สมบูรณ์ครบสามสิบสองประการ โง่ ฉลาด ขี้เหร่ รูปหล่อ ฯลฯ พระพุทธศาสนามองว่านั่นเป็นผลกรรม หรือ วิบากกรรม จากการกระทำของคนๆ นั้นที่ได้กระทำเอาไว้....ไม่ใช่ความยุติธรรมหรืออยุติธรรมอย่างที่เข้าใจ พุทธศาสนิกชนอย่างเราๆ ท่านๆ ต้องพยายามแยกแยะตรงนี้....ไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะมีคนตะโกนร้องเรียกหาความยุติธรรมโดยไม่ลงทุนลงแรง(นั่นก็คือไม่ทำคุณงามความดีเพื่อผลแห่งกรรมดี)เต็มบ้านเต็มเมือง
กรรมและผลแห่งกรรมคือ “สัจจะธรรม” นั่นก็คือความจริงที่ไม่ถูกเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเงื่อนไข กาลเวลา หรืออำนาจใดๆ ส่วนความ “ยุติธรรม” คือผลที่ได้ตกลงกัน เห็นพร้องต้องกัน(แต่ไม่ใช่สัจจธรรม) และอาจจะถูกเปลี่ยนเป็นความอยุติธรรมได้ เมื่อมีเงื่อนไข กาลเวลา หรืออำนาจอื่นๆ เป็นตัวแปร และแซกแทรง จึงไม่แปลก ที่คนสองคนอาจจะมอง “ความยุติธรรม” ไม่เหมือนกัน แต่ไม่ควรจัด วิบากกรรม เป็นเรื่องของความยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม
ตอนพระญาติของพระพุทธเจ้าทะเลาะกันเรื่องการแบ่งสันปันน้ำจากแม่น้ำ การทะเลาะกันและยกทัพประจันบานกันนั้นก็เกิดมาจากฝ่ายหนึ่งมองว่าการแบ่งน้ำให้ของอีกฝ่ายไม่ยุติธรรม พระพุทธเจ้าแม้จะทรงละแล้วซึ่งกิเลสทั้งหมดทั้งปวง แต่ก็ไม่ทรงนำพระองค์ไปตัดสินเรื่องนี้ ทำดีที่สุดคือทรงไปห้ามเหล่าพระประยูรญาติไม่ให้ทะเลาะกัน (ที่มาของพระปางห้ามญาติ)