จขกท.จัดทำโพลขึ้นเพื่อมีวัตถุประสงค์นำไปทำรายงานค่า ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆชาวพันทิปทุกท่านช่วยตอบแบบสำรวจหน่อยนะคะ
วัตถุประสงค์คือ : ต้องการทราบว่าผู้คนส่วนใหญ่ทราบหรือไม่ว่ามีกฎหมายดังกล่าว และหากฝ่าฝืนแล้วมีโทษเช่นไร ฝากช่วยจขกท.ด้วยนะคะ
1. ประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์
ประมวลกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายพื้นฐานที่สุดของประเทศไทย ในประมวลกฎหมายอาญามีหลายๆ มาตราที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และในบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะเรื่องส่วนใหญ่ ก็จะมีมาตรการที่เป็นโทษในทางอาญาบัญญัติให้เป็นกลไกของกฎหมายแทบจะทุกฉบับของกฎหมายไทย. ในส่วนที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 220 (*) ที่บัญญัติให้การเผาวัตถุใดๆ จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นก็ถือว่าเป็นความผิดในทางอาญาได้
(*) มาตรา 220. ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218
2.พระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ. 2507
พระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ. 2507 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการจะรักษาพื้นที่ป่า โดยกฎหมายมีวิธีการดำเนินการโดยการประกาศให้พื้นที่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่งเป็น เขตป่าสงวน และในเขตพื้นที่ป่าที่มีการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนนั้น ห้ามบุคคลใดเข้าไปทำประโยชน์ อยู่อาศัย หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการทำลายพื้นที่ป่า ซึ่งรวมถึงการเผาป่าด้วย(*) ดังนั้น ในกรณีที่เกิดกรณีหมอกควันที่เกิดจากการเผาป่า หากเป็นกรณีพื้นที่ป่าสงวนก็สามารถที่จะใช้มาตรการในทางกฎหมายดังกล่าวได้
(*) มาตรา 14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่ …
3. พระราชบัญญัติอุทยาน พ.ศ. 2504
หลักการของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเช่นเดียวกันในแง่ของวิธีการกับพระราชบัญญัติป่าสงวน ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่กลไกในการบังคับใช้และมาตรการต่างๆ มีลักษณะที่เข้มงวดมากกว่า และมีมาตรการลงโทษที่รุนแรงกว่า
4.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ละเมิด
กฎหมายว่าด้วยเรื่องละเมิด มีลักษณะที่เป็นเช่นเดียวกับกฎหมายอาญา ที่ทั้งสองกฎหมายต่างเป็นกฎหมายที่เป็นรากฐานที่สำคัญของระบบกฎหมายของ ประเทศ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน. ในกรณีหมอกควันที่เกิดจากแหล่งมลพิษต่างๆ และส่งผลเสียหายในด้านต่างๆ หรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลใดแล้ว ผู้กระทำให้เกิดความเสียหายดังกล่าวในทางกฎหมายถือว่าเป็นผู้ทำละเมิด กฎหมายจึงบังคับให้ผู้ทำละเมิดดังกล่าวจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้ รับความเสียหาย (*)
(*) มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
5. พระราชบัญญัติสาธารณะสุข พ.ศ. 2535
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีการกำหนดขอบเขตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะเข้ามาควบคุมดูแล กิจการที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขในด้านต่างๆ โดย กำหนดมาตรการกำกับดูแลและป้องกันเกี่ยวกับการอนามัยสิ่งแวดล้อมในกรณีที่เกิดเหตุรำคาญ
(*) มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้ เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
(4) การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละอองเขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
กฎหมายว่าด้วยการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ หากมีผู้ใดก่อให้เกิดความรำคาญ
มาตรา 26 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือ ทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่างๆ ได้
มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้า พนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรำคาญนั้น และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีกโดย บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น
มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบ ครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคตให้ระบุ ไว้ในคำสั่งได้
ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่ เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้น แล้วก็ได้
กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข ในการควบคุมดูแลและอนุญาตกิจการที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และกำหนดการเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
6.ประกาศเทศบาลนครเชียงใหม่ เรื่อง การห้ามเผาขยะในที่โล่ง
ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์หมอกควันปกคลุมในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้ดำเนินการหลายอย่างที่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่น การฉีดน้ำเพื่อทำลายหมอกควัน การใช้เครื่องบินเพื่อโปรยละอองน้ำ รวมถึงการใช้มาตรการทางกฎหมายโดยได้มีการออกประกาศเทศบาลนครเชียงใหม่ เรื่องการป้องกันมลพิษทางอากาศ ลงวันที่ 16 มีนาคม 2550 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง) ฉบับที่ 12 พ.ศ.2546 ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการไม่เผาขยะในที่โล่งพร้อมทั้งมีระบบให้มีการ แจ้งให้เทศบาลเข้าไปดำเนินการในกรณีที่มีการฝ่าฝืน
อ้างอิง : มลพิษจากปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ.2558.ดร.วิจารย์ สิมาฉายา.ปัญหาและแนวทาง.(ออนไลน์).แหล่งที่มา :
http://infofile.pcd.go.th/air/Smoke_North.pdf?CFID=1610336&CFTOKEN=87673856.ค้นหาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558
*** ปิดโหวต วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2558 เวลา 14:52:52 น.
ช่วยตอบโพลเกี่ยวกับปัญหากฎหมายด้านมลพิษหมอกควันให้หน่อยนะคะ *-*
วัตถุประสงค์คือ : ต้องการทราบว่าผู้คนส่วนใหญ่ทราบหรือไม่ว่ามีกฎหมายดังกล่าว และหากฝ่าฝืนแล้วมีโทษเช่นไร ฝากช่วยจขกท.ด้วยนะคะ
1. ประมวลกฎหมายอาญา ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการวางเพลิงเผาทรัพย์
ประมวลกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายพื้นฐานที่สุดของประเทศไทย ในประมวลกฎหมายอาญามีหลายๆ มาตราที่สามารถนำไปปรับใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ และในบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะเรื่องส่วนใหญ่ ก็จะมีมาตรการที่เป็นโทษในทางอาญาบัญญัติให้เป็นกลไกของกฎหมายแทบจะทุกฉบับของกฎหมายไทย. ในส่วนที่เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศมีบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 220 (*) ที่บัญญัติให้การเผาวัตถุใดๆ จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่นก็ถือว่าเป็นความผิดในทางอาญาได้
(*) มาตรา 220. ผู้ใดกระทำให้เกิดเพลิงไหม้แก่วัตถุใดๆ แม้เป็นของตนเอง จนน่าจะเป็นอันตรายแก่บุคคลอื่น หรือทรัพย์ของผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก เป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้แก่ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 218 ผู้กระทำต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218
2.พระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ. 2507
พระราชบัญญัติป่าสงวน พ.ศ. 2507 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการจะรักษาพื้นที่ป่า โดยกฎหมายมีวิธีการดำเนินการโดยการประกาศให้พื้นที่ป่าแห่งใดแห่งหนึ่งเป็น เขตป่าสงวน และในเขตพื้นที่ป่าที่มีการประกาศให้เป็นเขตป่าสงวนนั้น ห้ามบุคคลใดเข้าไปทำประโยชน์ อยู่อาศัย หรือกระทำการใดๆ ที่เป็นการทำลายพื้นที่ป่า ซึ่งรวมถึงการเผาป่าด้วย(*) ดังนั้น ในกรณีที่เกิดกรณีหมอกควันที่เกิดจากการเผาป่า หากเป็นกรณีพื้นที่ป่าสงวนก็สามารถที่จะใช้มาตรการในทางกฎหมายดังกล่าวได้
(*) มาตรา 14 ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ห้ามมิให้บุคคลใดยึดถือครอบครองทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่า หรือกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เว้นแต่ …
3. พระราชบัญญัติอุทยาน พ.ศ. 2504
หลักการของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเช่นเดียวกันในแง่ของวิธีการกับพระราชบัญญัติป่าสงวน ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่กลไกในการบังคับใช้และมาตรการต่างๆ มีลักษณะที่เข้มงวดมากกว่า และมีมาตรการลงโทษที่รุนแรงกว่า
4.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วย ละเมิด
กฎหมายว่าด้วยเรื่องละเมิด มีลักษณะที่เป็นเช่นเดียวกับกฎหมายอาญา ที่ทั้งสองกฎหมายต่างเป็นกฎหมายที่เป็นรากฐานที่สำคัญของระบบกฎหมายของ ประเทศ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจำวันของประชาชน. ในกรณีหมอกควันที่เกิดจากแหล่งมลพิษต่างๆ และส่งผลเสียหายในด้านต่างๆ หรือกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลใดแล้ว ผู้กระทำให้เกิดความเสียหายดังกล่าวในทางกฎหมายถือว่าเป็นผู้ทำละเมิด กฎหมายจึงบังคับให้ผู้ทำละเมิดดังกล่าวจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้ รับความเสียหาย (*)
(*) มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
5. พระราชบัญญัติสาธารณะสุข พ.ศ. 2535
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีการกำหนดขอบเขตให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถที่จะเข้ามาควบคุมดูแล กิจการที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุขในด้านต่างๆ โดย กำหนดมาตรการกำกับดูแลและป้องกันเกี่ยวกับการอนามัยสิ่งแวดล้อมในกรณีที่เกิดเหตุรำคาญ
(*) มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้ เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
(4) การกระทำใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละอองเขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
กฎหมายว่าด้วยการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ หากมีผู้ใดก่อให้เกิดความรำคาญ
มาตรา 26 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญในที่หรือ ทางสาธารณะหรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บำรุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คู คลอง และสถานที่ต่าง ๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรำคาญ ในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัดและควบคุมเหตุรำคาญต่างๆ ได้
มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้า พนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรำคาญนั้น และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีกโดย บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น
มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบ ครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคตให้ระบุ ไว้ในคำสั่งได้
ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่ เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครอง ใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้น แล้วก็ได้
กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข ในการควบคุมดูแลและอนุญาตกิจการที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และกำหนดการเก็บ ขน และกำจัดขยะมูลฝอย ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
6.ประกาศเทศบาลนครเชียงใหม่ เรื่อง การห้ามเผาขยะในที่โล่ง
ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์หมอกควันปกคลุมในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ได้ดำเนินการหลายอย่างที่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่น การฉีดน้ำเพื่อทำลายหมอกควัน การใช้เครื่องบินเพื่อโปรยละอองน้ำ รวมถึงการใช้มาตรการทางกฎหมายโดยได้มีการออกประกาศเทศบาลนครเชียงใหม่ เรื่องการป้องกันมลพิษทางอากาศ ลงวันที่ 16 มีนาคม 2550 โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง) ฉบับที่ 12 พ.ศ.2546 ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ.2535 และ พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง และได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และขอความร่วมมือจากประชาชนในการไม่เผาขยะในที่โล่งพร้อมทั้งมีระบบให้มีการ แจ้งให้เทศบาลเข้าไปดำเนินการในกรณีที่มีการฝ่าฝืน
อ้างอิง : มลพิษจากปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ.2558.ดร.วิจารย์ สิมาฉายา.ปัญหาและแนวทาง.(ออนไลน์).แหล่งที่มา : http://infofile.pcd.go.th/air/Smoke_North.pdf?CFID=1610336&CFTOKEN=87673856.ค้นหาเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2558