ท้องถิ่นสามารถห้ามจุดพลุในสถานที่ต่างๆ ได้ หากเข้าข่ายก่อความเดือดร้อนรำคาญ!!!
.
พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มีหลายมาตราที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ อาทิ
.
- มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
.
(4) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
.
- มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรำคาญนั้น และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีก โดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น
.
- มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้
ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้
.
มาตรา 74 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 มาตรา 22
มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 28 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 23 มาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ที่มา :
http://law.longdo.com/law/118/
.
-----------------------------------------------
.
และแม้ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 จะไม่ได้กำหนดบทลงโทษตัวผู้ก่อความเดือดร้อนรำคาญ แต่หากเจ้าของหรือผู้ดูแลสถานที่ ได้แจ้งให้ผู้นั้นหยุดการกระทำที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแล้ว หากผู้นั้นยังไม่หยุดพฤติกรรมดังกล่าว ผู้ดูแลสามารถสั่งให้บุคคลผู้ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ออกไปจากสถานที่นั้นได้
.
ซึ่งถ้าไม่ออกไป บุคคลดังกล่าวจะมีความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อาญา ทันที
.
มาตรา 364 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไป หรือซ่อนตัวอยู่ใน เคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงาน ในความครอบครองของผู้อื่น
หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
มาตรา 365 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 362 มาตรา 363 หรือ
มาตรา 364 ได้กระทำ
(1) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
(2) โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคน ขึ้นไป หรือ
(3) ในเวลากลางคืน
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ที่มา :
http://www.kodmhai.com/m2/m2-2/m2-362-366.html
.
-------------------------------------------
.
โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยหากจะออกข้อบังคับให้สนามเหย้าของทุกสโมสรห้ามจุดพลุ อันนี้ให้ถือเป็นสิทธิของแต่ละทีมกันไป ทีมไหนอยากชูจุดขายว่าการจุดพลุเป็นอัตลักษณ์ความ Hardcore ของทีมท่านก็เรื่องของท่าน ทีมไหนที่ห้ามจุดเพราะอยากให้บรรยากาศอบอุ่นแบบครอบครัวดูได้ตั้งแต่เด็กน้อยยันคนชราก็แล้วแต่ท่าน
.
แต่สำหรับเกมในนามทีมชาติ อันนี้สนามที่บอกว่าเป็น National Stadium ทั้งหลาย ( อย่างสนามศุภฯ หรือราชมังฯ ) น่าจะมีประกาศห้ามออกมา ท้องถิ่นมีอำนาจอยู่แล้ว ทีมชาติไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของใครเหมือนทีมสโมสร การออกประกาศเช่นนี้จึงสมเหตุสมผล คนมาดูทีมชาติมีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบการจุดพลุ และไม่ได้มีสิทธิ์เลือกไปเชียร์ทีมอื่นแบบเกมในระดับสโมสร คนดูแลสถานที่ก็มีหน้าที่ ถ้าทำหน้าที่แล้วผู้ที่ก่อปัญหายังไม่หยุด ก็สามารถเอาผิดได้อีกตามที่กฎหมายว่ามา ทีนี้สามารถขอกำลังตำรวจ-ทหาร มาสนับสนุนได้ กรณีผู้ก่อเหตุมีจำนวนมาก
.
ไม่แน่ใจว่าที่ผ่านมามีประกาศที่ว่านี้หรือไม่? ถ้าไม่มีก็น่าจะให้มีนะ จะได้ปรามๆ แฟนบอลแนวนี้บ้าง!!!
ท้องถิ่นออกประกาศห้ามจุดพลุในสนามกีฬาได้นะ ที่ผ่านมาเคยมีประกาศหรือเปล่า?
.
พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มีหลายมาตราที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ อาทิ
.
- มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้นดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ
.
(4) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ้า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
.
- มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้บุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง และเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุรำคาญนั้น และอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญนั้นขึ้นอีก โดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดการนั้น
.
- มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้
ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจระงับเหตุรำคาญนั้นและอาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากการกระทำ การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น
ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคำสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือบางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้
.
มาตรา 74 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 21 มาตรา 22 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 28 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 23 มาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ที่มา : http://law.longdo.com/law/118/
.
-----------------------------------------------
.
และแม้ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 จะไม่ได้กำหนดบทลงโทษตัวผู้ก่อความเดือดร้อนรำคาญ แต่หากเจ้าของหรือผู้ดูแลสถานที่ ได้แจ้งให้ผู้นั้นหยุดการกระทำที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญแล้ว หากผู้นั้นยังไม่หยุดพฤติกรรมดังกล่าว ผู้ดูแลสามารถสั่งให้บุคคลผู้ก่อความเดือดร้อนรำคาญ ออกไปจากสถานที่นั้นได้
.
ซึ่งถ้าไม่ออกไป บุคคลดังกล่าวจะมีความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อาญา ทันที
.
มาตรา 364 ผู้ใดโดยไม่มีเหตุอันสมควรเข้าไป หรือซ่อนตัวอยู่ใน เคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงาน ในความครอบครองของผู้อื่น หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้น เมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
มาตรา 365 ถ้าการกระทำความผิดตาม มาตรา 362 มาตรา 363 หรือ มาตรา 364 ได้กระทำ
(1) โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
(2) โดยมีอาวุธหรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคน ขึ้นไป หรือ
(3) ในเวลากลางคืน
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ที่มา : http://www.kodmhai.com/m2/m2-2/m2-362-366.html
.
-------------------------------------------
.
โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยหากจะออกข้อบังคับให้สนามเหย้าของทุกสโมสรห้ามจุดพลุ อันนี้ให้ถือเป็นสิทธิของแต่ละทีมกันไป ทีมไหนอยากชูจุดขายว่าการจุดพลุเป็นอัตลักษณ์ความ Hardcore ของทีมท่านก็เรื่องของท่าน ทีมไหนที่ห้ามจุดเพราะอยากให้บรรยากาศอบอุ่นแบบครอบครัวดูได้ตั้งแต่เด็กน้อยยันคนชราก็แล้วแต่ท่าน
.
แต่สำหรับเกมในนามทีมชาติ อันนี้สนามที่บอกว่าเป็น National Stadium ทั้งหลาย ( อย่างสนามศุภฯ หรือราชมังฯ ) น่าจะมีประกาศห้ามออกมา ท้องถิ่นมีอำนาจอยู่แล้ว ทีมชาติไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของใครเหมือนทีมสโมสร การออกประกาศเช่นนี้จึงสมเหตุสมผล คนมาดูทีมชาติมีทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบการจุดพลุ และไม่ได้มีสิทธิ์เลือกไปเชียร์ทีมอื่นแบบเกมในระดับสโมสร คนดูแลสถานที่ก็มีหน้าที่ ถ้าทำหน้าที่แล้วผู้ที่ก่อปัญหายังไม่หยุด ก็สามารถเอาผิดได้อีกตามที่กฎหมายว่ามา ทีนี้สามารถขอกำลังตำรวจ-ทหาร มาสนับสนุนได้ กรณีผู้ก่อเหตุมีจำนวนมาก
.
ไม่แน่ใจว่าที่ผ่านมามีประกาศที่ว่านี้หรือไม่? ถ้าไม่มีก็น่าจะให้มีนะ จะได้ปรามๆ แฟนบอลแนวนี้บ้าง!!!