ความเอยความหลัง (๓)
สิบปีในถนนนักเขียน
เจียวต้าย
ผมเพิ่งเข้ามาทำความรู้จักกับอินเตอร์เนต เมื่อ๑๕ มกราคม ๒๕๔๘ หลังจากที่ลูกชายคนเล็กติดต่อขอใช้บริการจากบริษัท
และเสียค่าบริการรายเดือนให้ โดยเปิดดูลู่ทางอยู่หลายวัน แล้วก็ตกลงใจที่จะเข้ามาเสวนาในถนนนักเขียน ของห้องสมุดพันทิปนี้
เพราะผมเขียนหนังสือมานานมาก มีต้นฉบับที่เคยส่งไปลงพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ และยังไม่ได้ลงมากมาย หลายประเภท
ทั้งบทกลอน บันทึกของคนเดินเท้า เรื่องในอดีต เรื่องสั้นที่เขียนจากประสบการณ์ชีวิต ทั้งที่เป็นเรื่องจริง เรื่องเกินจริง และเรื่องเกือบจริง
กับเรื่องอิงพงศาวดารจีนอีกหลายเรื่อง
ผมตั้งใจที่จะเอาเรื่องเหล่านั้น มาเสนอให้นักอ่านในถนนนักเขียน ได้พิจารณาดูบ้างว่าเรื่องของผมเหล่านั้น
พอจะมีค่าควรแก่การอ่านหรือไม่ แล้วผมก็ได้รับคำวิจารณ์บ้าง คำติชมบ้าง แม้จะไม่มาก
แต่ก็ทำให้ผมดีใจที่มีการต้อนรับจากผู้อ่าน อย่างที่ไม่เคยได้รับมาก่อน
เพียงสองสามเดือนต่อมา ผมก็ได้รับคำทักทายจากนักอ่านระดับบรรณาธิการคนหนึ่ง หลังจากที่อ่านเรื่องอิงพงศาวดารจีน
ตอน ขวากหนามของโจโฉ เป็นความว่า
“ผมเจอเพชรเม็ดหนึ่งในถนนนักเขียนเสียแล้วครับ ขออภัยที่เจอช้าไปหน่อย ตอนนี้ผมตามก๊อปชุดสามก๊กนี้ของคุณเจียวต้ายไว้หมดแล้ว
มีสำนักพิมพ์ไหนรับพิมพ์งานชุดนี้หรือยังครับ”
แถมยังมีนักอ่านอีกคนหนึ่งสนับสนุนว่า
“ ดีใจแทนคุณเจียวต้ายมาก ๆ คุณ (บก.ที่ว่า) เหล่ ๆ แบบนี้ ไม่ธรรมดาเลยครับ เพราะตามปกติไม่เหล่ใครง่าย ๆ “
คงจะเดาได้ว่าผมจะมีความรู้สึกยินดีขนาดไหน แต่ก็ตอบแบบนอบน้อมถ่อมตน ว่ายังไม่เคยมีใครพิมพ์เรื่องของเจียวต้าย
และก็ไม่ได้หวังด้วย ทั้ง ๆ ที่ผมเคยมีผลงานจากนิยายอิงพงศาวดารจีนมาแล้ว ในนามปากกาอื่น ซึ่งไม่มีใครรู้จัก ตั้งหลายเล่ม
นั่นก็เป็นกำลังใจอย่างสูงยิ่ง ที่ทำให้ผมเอางานมาแปะลงในถนนนักเขียนติดต่อกัน อย่างไม่ขาดสาย
จนกระทั่งอีกสามเดือนต่อมา ผมก็ได้รู้จักตัวจริงของนักเขียนและนักอ่านผู้สนับสนุน ข้างต้น แล้วเราก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันมา
ส่วน บก.นั้น ผมเพิ่งได้พบและพูดคุยกัน และด้วยความประหลาดใจว่า เขาเป็นชายหนุ่มที่มีอายุน้อยกว่าที่ผมคาดไว้มาก
แถมค่อนข้างไปทางหล่อมากเสียด้วย แล้วเราก็พูดคุยกันได้อย่างดียิ่งอีกคนหนึ่ง
ในจำนวนผู้คนในอินเตอร์เนตทั้งหมดที่ผมได้มีโอกาสรู้จัก เพียงสิบคน
หลังจากนั้นอีกไม่นาน ผมก็ได้รับการขอร้องไหว้วาน จาก บก.หนุ่มคนนี้ ให้ช่วยเรียบเรียงเรื่องที่เกี่ยวกับความกตัญญู จากพงศาวดารจีน
ที่ผมคุยว่าเรียบเรียงไว้หลายเรื่อง ส่งไปให้เขาพิจารณา ผมก็รับปากแล้วก็เลือกเรื่องที่ตัวละครแสดงความกตัญญูอย่างชัดเจน
ออกมาจากเรื่อง สามก๊ก ซ้องกั๋ง เปาเล่งถูกงอั้น บ้วนฮ่วยเหลา โหงวโฮ้วเพงไซ โหงวโฮ้วเพงหนำ โหงวโฮ้วเพงปัก
รีบส่งไปให้อย่างรวดเร็วจนผู้รับแปลกใจ
ก็ผมไม่ได้เขียนขึ้นใหม่ เพียงแต่เอาเรื่องที่เขียนไว้แล้ว มาปรับปรุงใหม่เท่านั้น รวบรวมได้มา ๗ ชุด
แล้วก็รอฟังคำตอบด้วยใจระทึก และในระหว่างนั้น ผมก็ได้นำบางตอน ในชุด ผู้ทรงความยุติธรรม
และชุด ยอดกตัญญูในราชวงศ์ซ้อง มาแปะลงในถนนนักเขียนไปพลาง ๆ
พอถึงเดือนมีนาคมของปี พ.ศ.๒๕๔๙ บก.ก็มาปรึกษาหารือในการปรับปรุงการจัดในการจัดหน้า
ของเรื่องยอดกตัญญูที่ผมส่งไปให้ พร้อมกับขอแผ่นดิสก์ต้นฉบับ ไปตรวจแก้ก่อนจะลงคอมพิวเตอร์
และดำเนินกรรมวิธีของการพิมพ์ด้วย
ความหวังของผมก็เพิ่มขึ้นอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ในการที่จะได้เห็นเรื่องของ”เจียวต้าย”เป็นรูปธรรม ให้เพื่อนจับต้องได้ ในไม่ช้านี้
และเมื่อถึงเวลาอีกห้าวัน จะถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๔ ผมก็ได้รับการเรียกร้องจาก บก.ให้ไปดูปรู๊ฟแรก และหน้าปก
หนังสือของเจียวต้าย ที่สำนักพิมพ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนประชาอุทิศ ฝั่งธนบุรี
ผมจึงดั้นด้นจากถนนสามเสน หน้าวชิรพยาบาล ด้วยรถโดยสารสาย ๓ ลงบางลำพู ต่อด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย ๘๒
ไปลงที่ใกล้จะถึงทางด่วนที่ข้ามสะพานพระราม ๙
แล้วก็นั่งรถแท็กซี่เลี้ยวเข้าไปในถนนประชาอุทิศ จนถึงปากซอย ๔๕ สุดท้ายนั่งมอเตอร์ไซค์ เข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
และจอดที่หน้าอาคาร ๗
มองลอดเข้าไปในช่องประตูเหล็กยืด ก็เห็นป้าย สำนักพิมพ์ บ้านหนังสือโกสินทร์ แขวนอยู่
เมื่อกดกริ่งแล้วรออยู่ครู่หนึ่ง ผมก็ได้พบกับ บรรณาธิการที่ต้องการพบผม
แล้วผมก็ได้ตรวจแก้ต้นฉบับเรื่อง ยอดกตัญญูในพงศาวดารจีน ซึ่งหนากว่า ๑๘๐ หน้า
และได้สัมผัสหน้าปกสีขาวกับชื่อตัวอักษรสีชมพูสวยเรียบ ๆ โปรยหัวไว้ด้วยความว่า
“ ถ้าคนไม่รู้จักคุณบิดามารดา ถึงโดยว่าเป็นมนุษย์ ก็เหมือนสัตว์เดรัจฉาน “
ต่อท้ายด้วยนามปากกาของผู้เรียบเรียง และมีชื่อหนังสือเรียงอยู่ทางขวา
บุญคุณต้องทดแทน ความแค้นต้องอภัย
คราวนี้ความหวังของผมก็เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว หนึ่งปีในถนนนักเขียน ของเจียวต้าย ก็จบลง.................แบบ สุขนาฏกรรม.
เมื่อถึง ๑๕ มกราคม ๒๕๕๐ ผมก็ได้บันทึกเพิ่มเติมว่า
ผมเข้ามาในถนนนักเขียน ห้องสมุด เวปพันทิป ด้วยความตั้งใจที่จะนำข้อเขียนเรื่องต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย
ที่สะสมไว้หลังจากเกษียณอายุราชการ มาเผยแพร่ในอินเตอร์เนต ซึ่งผมเริ่มรู้จัก
และก็ได้ลงมือทำตามความตั้งใจ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จนบัดนี้เป็นเวลาสองปีกว่าแล้ว มีเรื่องที่ได้เสนอไปแล้วมากมาย แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ได้ ดังนี้
๑.เรื่องสั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ในชีวิตจริง ที่ผมได้แสดงเอง หรือมีส่วนร่วมในเรื่องนั้น หรือได้พบเห็นมาเอง
หรือฟังคำบอกเล่าจากเพื่อนฝูง ซึ่งบางเรื่องก็จริงแท้แน่นอน บางเรื่องก็เกือบจริง และบางเรื่องก็เกินจริงไปบ้างนิดหน่อย
๒.บันทึกของคนเดินเท้า เป็นเรื่องที่เรียบเรียงมาจากเอกสารต่าง ในอดีตและปัจจุบันที่น่าสนใจ
เป็นความรู้บ้าง เป็นสาระบันเทิงบ้าง สมควรจะแบ่งปันกันอ่านเพื่อประเทืองปัญญา
๓.คุ้ยวรรณคดี เป็นเรื่องของวรรณคดีไทยที่น่าสนใจ เอามาย่อยให้เป็นตอนสั้น เพื่อให้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้น
ผู้สนใจจะได้ไปหาฉบับเต็มมาอ่านต่อไป เช่นเรื่อง พระอภัยมณีฉบับรวบรัด เป็นต้น
๔.พงศาวดารจีน เป็นเรื่องจีนที่ได้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว เมื่อร้อยปีก่อน โดยเลือกเอาช่วงที่น่าสนุกมาย่อยให้เป็นตอนสั้น ๆ
เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น เช่น เปาบุ้นจิ้นผู้ทรงความยุติธรรม และ ซ้องกั๋ง ขุนโจรแห่งเขาเนียซัวเปาะ เป็นต้น
๕.สามก๊ก เรื่องนี้เป็นเรื่องยาวมาก จึงแยกออกมาจากพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง มีชุดย่อย ๆ
เช่น สามก๊กฉบับลายคราม เสี้ยวสามก๊ก ปกิณกะสามก๊ก ฯลฯ
ในปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในคลังกระทู้เก่า ของถนนนักเขียน
ส่วนตัวผมเอง ก็มีอายุเพิ่มขึ้นตามวันเวลาที่ผ่านมา ความขยันที่จะหาข้อมูลใหม่ ๆ มาเขียน ก็ลดน้อยลง
จึงเดินทางออกจากถนนนักเขียน ไปเที่ยวหาความรู้ในห้องอื่น ๆ ของพันทิป แล้วก็มาเจอ ห้อง ไร้สังกัด ซึ่งแปลอีกทีว่า อะไรก็ได้
ซึ่งผมสามารถจะเล่าเรื่องอะไรให้สมาชิกห้องอ่านก็ได้ และมีผู้ให้ความสนใจมากพอสมควร
และบังเอิญเป็นเทศกาลที่มีการเซ็นเซ่อร์เรื่องที่นำลงในกระทู้ เรื่องของผมซึ่งไม่เกี่ยวกับการเมือง ไม่โป๊ ไม่ตำหนิติเตียน ด่าทอผู้ใด
ก็ถูกลบหายไปบ่อย ๆ จึงมีผู้เห็นใจอยากให้ผมสร้าง บล็อคส่วนตัวขึ้น ซึ่งตอนแรกผมไม่เห็นด้วย เพราะผมเคยพบว่า
เมื่อมีกระทู้ไหน เชิญให้ไปอ่านใน บล็อค ผมก็จะเลื่อนเลยไปเสียแทบทุกครั้ง แต่เมื่อการวางกระทู้ขัดข้องบ่อยครั้งขึ้น
จึงยอมศึกษาวิธีจัดทำ และเขียนเรื่องลงในบล็อค
ต่อมาบล็อคของ เจียวต้าย ก็ได้ปรากฏขึ้นในเวปพันทิปแล้ว จึงขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม และขอขอบคุณพันทิป
ที่เปิดโอกาสให้ ข้อเขียนของเจียวต้าย จารึกอยู่ในเวปนี้ ตราบนานเท่านาน
หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีบันทึก ในปีต่อไป แม้ว่าจะมีเรื่องของผม ในนามปากกาต่าง ๆ วางในถนนนักเขียน และห้องไร้สังกัด
อยู่ตลอดเวลา ๘ - ๙ ปีที่ผ่านไป
จนถึง ๑๕ มกราคม ๒๕๕๗ จึงมีการบันทึกไว้ว่า
เมื่อผมได้ก้าวเข้ามาในโลกของอินเตอร์เนตนั้น ผมไม่เคยรู้จักโลกนี้มาก่อนเลย เพียงแต่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์มา ๓-๔ ปี
ก่อนเกษียณอายุราชการเท่านั้น
เมื่อสมัครและได้ล็อกอิน “เจียวต้าย”ในเวปพันทิปแล้ว ก็ลงมือวางกลอนบทแรกใน ถนนนักเขียน เป็นการแนะนำตัว เมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๕๔๘
จากนั้นก็นำข้อเขียนทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทั้งเรื่องสั้น บันทึกของคนเดินเท้า ความหลังริมคลองเปรม ย้อนอดีต เรื่องพงศาวดาร วรรณคดีไทย
เรื่องขำขันที่เรียกว่า เรื่องสั้นหรรษา นิยายอิงพงศาวดารจีน เรื่องสามก๊ก และอื่น ๆ รวมทั้งบทร้อยกรองที่เขียนขึ้นใหม่ตามวาระ
มาวางจนถึง พ.ศ.๒๕๕๐ จนคุ้นเคยกับห้องต่าง ๆ ของพันทิป และเตร็ดเตร่ไปชมกระทู้เหล่านั้นจนหมดแล้ว
จึงได้สนใจที่จะเข้าไปพูดคุยกับเพื่อนสมาชิกในห้อง จตุจักร เรื่องเกี่ยวกับแมว ห้อง ไกลบ้าน เพื่อศึกษาชีวิตของคนไทยที่อยู่ต่างแดน
และติดตามเรื่องราวของแท็กซี่นิวยอร์ค ที่น่ารู้และไม่เคยรู้มาก่อน ห้องชานเรือน เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว พ่อแม่ลูก
เพราะตนเองคิดว่าไม่มีหลานแล้ว และไปหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในห้องหว้ากอ
ด้านการเมืองการปกครอง ในห้องราชดำเนิน
ลงท้ายก็มาฝังตัวอยู่ที่ห้อง ไร้สังกัด เพราะมีเรื่องสนุกสนานเฮอาปาร์ตี้ อยู่เป็นประจำ แม้เรื่องของผมที่เอามาวางในกระทู้ห้องนี้
จะซ้ำกับที่วางในถนนนักเขียน ก็ไม่มีใครว่าอะไร
จนถึง พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งผมตั้งใจว่าจะวางมือจากงานเขียน เพราะได้ทำมาครบ ๖๐ ปีแล้ว
จึงมีข้อเขียนอื่น ๆ เช่น บันทึกของผู้เฒ่า บันทึกจากอดีต ซึ่งเล่าถึงประวัติชีวิตส่วนตัว งานเขียน และงานราชการ
จนทราบกันโดยทั่วไปว่า เจียวต้าย นั้น ได้เกษียณอายุมากว่า ๒๐ ปีแล้ว เป็นผู้เฒ่าที่ยังมีสมองทันสมัย
และรู้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ในโลกของอินเตอร์เนตได้ดีพอใช้ ซึ่งอาจจะกลายเป็นผู้มีอายุมากที่สุดคนหนึ่ง ในโลกนี้ก็ว่าได้
ต่อมาได้เข้าไปสัมผัสกับห้องกล้อง เพราะมีภาพเก่าสมัยหนุ่มหัดถ่ายรูปอยู่มากมาย แต่เป็นภาพขาวดำ
ซึ่งคนเล่นกล้องสมัยนี้ไม่ค่อยคุ้นเคย ทำให้มีเรื่องเขียนต่อไปได้อีก เช่น ภาพโบราณจากกล้องโบราณ ภาพเก่าเล่าเรื่อง
และภาพเก่าเล่าอดีต ซึ่งภาพเหล่านั้นมีอายุตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไปทั้งนั้น
ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น ได้ทำให้สมาชิกของพันทิปได้รู้จักชื่อ “เจียวต้าย” เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะท่านที่อ่านเรื่องสามก๊กของ “เล่าเซี่ยงชุน”ฉบับลิ่วล้อ และฉบับอื่น ๆ
จนมีเวปที่เกี่ยวกับสามก๊กโดยเฉพาะ ได้ติดต่อขอนำไปลงในเวปของเขา
ซึ่งทำให้มีผู้รู้จัก สามก๊ก ของ “เล่าเซี่ยงชุน” เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
ในที่สุดก็มีผู้เสนอชื่อ “เล่าเซี่ยงชุน” และ “เจียวต้าย” ให้สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย พิจารณามอบรางวัล “นราธิป”
สำหรับนักเขียนที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน ตั้งแต่ต้น จนอายุ ๘๐ ปีขึ้นไป เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๖
และได้ขึ้นไปรับรางวัลที่ห้องประชุมใหญ่ ของหอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ ขณะเมื่อมีอายุ ๘๓ ปี ๑๐ เดือนเศษ
รางวัลนี้ให้แต่โล่เกียรติยศอันเดียว แต่คุณค่ามหาศาลสำหรับผม เพราะทำให้สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้ยอมรับว่าผมเป็นนักเขียนไทย
ที่มีผลงานเป็นจำนวนมากอยู่ในวงวรรณกรรมไทย แม้จะไม่โดดเด่นโด่งดัง เป็นนักเขียนอาชีพ
แต่ก็ได้มีงานเขียนติดต่อกันมา ในวารสารต่าง ๆ และสุดท้าย ในเวปไซด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย คนหนึ่ง
ผมไม่สามารถจะแสดงความขอบคุณ ต่อบุคคลที่เสนอชื่อของผมให้ได้รับรางวัลนี้ โดยเปิดเผย เพราะผมไม่ทราบ
จึงขอขอบคุณผ่าน เวปพันทิป ที่เป็นเวทีให้ผมแสดงความสามารถในงานเขียน ขอบคุณสำนักพิมพ์ที่ได้จัดพิมพ์งานของผม
ออกวางตลาดรวม ๙ เล่ม ทำให้นามปากกาทั้งสองของผม ปรากฏอยู่ในแวดวงวรรณกรรมไทย อีกนาน
และที่สำคัญที่สุด คือทำให้มีสำนักพิมพ์ มาติดต่อขอพิมพ์ สามก๊กฉบับลิ่ว ของ “เล่าเซี่ยงชุน” ทั้งหมดอีกเป็นครั้งที่สอง
แม้ว่าชื่อ “เจียวต้าย” จะมีหนังสือเพียงเล่มเดียวก็ตาม.
#############
สิบปีในถนนนักเขียน ๒๘ เม.ย.๕๘
สิบปีในถนนนักเขียน
เจียวต้าย
ผมเพิ่งเข้ามาทำความรู้จักกับอินเตอร์เนต เมื่อ๑๕ มกราคม ๒๕๔๘ หลังจากที่ลูกชายคนเล็กติดต่อขอใช้บริการจากบริษัท
และเสียค่าบริการรายเดือนให้ โดยเปิดดูลู่ทางอยู่หลายวัน แล้วก็ตกลงใจที่จะเข้ามาเสวนาในถนนนักเขียน ของห้องสมุดพันทิปนี้
เพราะผมเขียนหนังสือมานานมาก มีต้นฉบับที่เคยส่งไปลงพิมพ์ในวารสารต่าง ๆ และยังไม่ได้ลงมากมาย หลายประเภท
ทั้งบทกลอน บันทึกของคนเดินเท้า เรื่องในอดีต เรื่องสั้นที่เขียนจากประสบการณ์ชีวิต ทั้งที่เป็นเรื่องจริง เรื่องเกินจริง และเรื่องเกือบจริง
กับเรื่องอิงพงศาวดารจีนอีกหลายเรื่อง
ผมตั้งใจที่จะเอาเรื่องเหล่านั้น มาเสนอให้นักอ่านในถนนนักเขียน ได้พิจารณาดูบ้างว่าเรื่องของผมเหล่านั้น
พอจะมีค่าควรแก่การอ่านหรือไม่ แล้วผมก็ได้รับคำวิจารณ์บ้าง คำติชมบ้าง แม้จะไม่มาก
แต่ก็ทำให้ผมดีใจที่มีการต้อนรับจากผู้อ่าน อย่างที่ไม่เคยได้รับมาก่อน
เพียงสองสามเดือนต่อมา ผมก็ได้รับคำทักทายจากนักอ่านระดับบรรณาธิการคนหนึ่ง หลังจากที่อ่านเรื่องอิงพงศาวดารจีน
ตอน ขวากหนามของโจโฉ เป็นความว่า
“ผมเจอเพชรเม็ดหนึ่งในถนนนักเขียนเสียแล้วครับ ขออภัยที่เจอช้าไปหน่อย ตอนนี้ผมตามก๊อปชุดสามก๊กนี้ของคุณเจียวต้ายไว้หมดแล้ว
มีสำนักพิมพ์ไหนรับพิมพ์งานชุดนี้หรือยังครับ”
แถมยังมีนักอ่านอีกคนหนึ่งสนับสนุนว่า
“ ดีใจแทนคุณเจียวต้ายมาก ๆ คุณ (บก.ที่ว่า) เหล่ ๆ แบบนี้ ไม่ธรรมดาเลยครับ เพราะตามปกติไม่เหล่ใครง่าย ๆ “
คงจะเดาได้ว่าผมจะมีความรู้สึกยินดีขนาดไหน แต่ก็ตอบแบบนอบน้อมถ่อมตน ว่ายังไม่เคยมีใครพิมพ์เรื่องของเจียวต้าย
และก็ไม่ได้หวังด้วย ทั้ง ๆ ที่ผมเคยมีผลงานจากนิยายอิงพงศาวดารจีนมาแล้ว ในนามปากกาอื่น ซึ่งไม่มีใครรู้จัก ตั้งหลายเล่ม
นั่นก็เป็นกำลังใจอย่างสูงยิ่ง ที่ทำให้ผมเอางานมาแปะลงในถนนนักเขียนติดต่อกัน อย่างไม่ขาดสาย
จนกระทั่งอีกสามเดือนต่อมา ผมก็ได้รู้จักตัวจริงของนักเขียนและนักอ่านผู้สนับสนุน ข้างต้น แล้วเราก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันมา
ส่วน บก.นั้น ผมเพิ่งได้พบและพูดคุยกัน และด้วยความประหลาดใจว่า เขาเป็นชายหนุ่มที่มีอายุน้อยกว่าที่ผมคาดไว้มาก
แถมค่อนข้างไปทางหล่อมากเสียด้วย แล้วเราก็พูดคุยกันได้อย่างดียิ่งอีกคนหนึ่ง
ในจำนวนผู้คนในอินเตอร์เนตทั้งหมดที่ผมได้มีโอกาสรู้จัก เพียงสิบคน
หลังจากนั้นอีกไม่นาน ผมก็ได้รับการขอร้องไหว้วาน จาก บก.หนุ่มคนนี้ ให้ช่วยเรียบเรียงเรื่องที่เกี่ยวกับความกตัญญู จากพงศาวดารจีน
ที่ผมคุยว่าเรียบเรียงไว้หลายเรื่อง ส่งไปให้เขาพิจารณา ผมก็รับปากแล้วก็เลือกเรื่องที่ตัวละครแสดงความกตัญญูอย่างชัดเจน
ออกมาจากเรื่อง สามก๊ก ซ้องกั๋ง เปาเล่งถูกงอั้น บ้วนฮ่วยเหลา โหงวโฮ้วเพงไซ โหงวโฮ้วเพงหนำ โหงวโฮ้วเพงปัก
รีบส่งไปให้อย่างรวดเร็วจนผู้รับแปลกใจ
ก็ผมไม่ได้เขียนขึ้นใหม่ เพียงแต่เอาเรื่องที่เขียนไว้แล้ว มาปรับปรุงใหม่เท่านั้น รวบรวมได้มา ๗ ชุด
แล้วก็รอฟังคำตอบด้วยใจระทึก และในระหว่างนั้น ผมก็ได้นำบางตอน ในชุด ผู้ทรงความยุติธรรม
และชุด ยอดกตัญญูในราชวงศ์ซ้อง มาแปะลงในถนนนักเขียนไปพลาง ๆ
พอถึงเดือนมีนาคมของปี พ.ศ.๒๕๔๙ บก.ก็มาปรึกษาหารือในการปรับปรุงการจัดในการจัดหน้า
ของเรื่องยอดกตัญญูที่ผมส่งไปให้ พร้อมกับขอแผ่นดิสก์ต้นฉบับ ไปตรวจแก้ก่อนจะลงคอมพิวเตอร์
และดำเนินกรรมวิธีของการพิมพ์ด้วย
ความหวังของผมก็เพิ่มขึ้นอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์ ในการที่จะได้เห็นเรื่องของ”เจียวต้าย”เป็นรูปธรรม ให้เพื่อนจับต้องได้ ในไม่ช้านี้
และเมื่อถึงเวลาอีกห้าวัน จะถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๓๔ ผมก็ได้รับการเรียกร้องจาก บก.ให้ไปดูปรู๊ฟแรก และหน้าปก
หนังสือของเจียวต้าย ที่สำนักพิมพ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนประชาอุทิศ ฝั่งธนบุรี
ผมจึงดั้นด้นจากถนนสามเสน หน้าวชิรพยาบาล ด้วยรถโดยสารสาย ๓ ลงบางลำพู ต่อด้วยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สาย ๘๒
ไปลงที่ใกล้จะถึงทางด่วนที่ข้ามสะพานพระราม ๙
แล้วก็นั่งรถแท็กซี่เลี้ยวเข้าไปในถนนประชาอุทิศ จนถึงปากซอย ๔๕ สุดท้ายนั่งมอเตอร์ไซค์ เข้าไปในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
และจอดที่หน้าอาคาร ๗
มองลอดเข้าไปในช่องประตูเหล็กยืด ก็เห็นป้าย สำนักพิมพ์ บ้านหนังสือโกสินทร์ แขวนอยู่
เมื่อกดกริ่งแล้วรออยู่ครู่หนึ่ง ผมก็ได้พบกับ บรรณาธิการที่ต้องการพบผม
แล้วผมก็ได้ตรวจแก้ต้นฉบับเรื่อง ยอดกตัญญูในพงศาวดารจีน ซึ่งหนากว่า ๑๘๐ หน้า
และได้สัมผัสหน้าปกสีขาวกับชื่อตัวอักษรสีชมพูสวยเรียบ ๆ โปรยหัวไว้ด้วยความว่า
“ ถ้าคนไม่รู้จักคุณบิดามารดา ถึงโดยว่าเป็นมนุษย์ ก็เหมือนสัตว์เดรัจฉาน “
ต่อท้ายด้วยนามปากกาของผู้เรียบเรียง และมีชื่อหนังสือเรียงอยู่ทางขวา
บุญคุณต้องทดแทน ความแค้นต้องอภัย
คราวนี้ความหวังของผมก็เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์แล้ว หนึ่งปีในถนนนักเขียน ของเจียวต้าย ก็จบลง.................แบบ สุขนาฏกรรม.
เมื่อถึง ๑๕ มกราคม ๒๕๕๐ ผมก็ได้บันทึกเพิ่มเติมว่า
ผมเข้ามาในถนนนักเขียน ห้องสมุด เวปพันทิป ด้วยความตั้งใจที่จะนำข้อเขียนเรื่องต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่มากมาย
ที่สะสมไว้หลังจากเกษียณอายุราชการ มาเผยแพร่ในอินเตอร์เนต ซึ่งผมเริ่มรู้จัก
และก็ได้ลงมือทำตามความตั้งใจ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
จนบัดนี้เป็นเวลาสองปีกว่าแล้ว มีเรื่องที่ได้เสนอไปแล้วมากมาย แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ได้ ดังนี้
๑.เรื่องสั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประสบการณ์ในชีวิตจริง ที่ผมได้แสดงเอง หรือมีส่วนร่วมในเรื่องนั้น หรือได้พบเห็นมาเอง
หรือฟังคำบอกเล่าจากเพื่อนฝูง ซึ่งบางเรื่องก็จริงแท้แน่นอน บางเรื่องก็เกือบจริง และบางเรื่องก็เกินจริงไปบ้างนิดหน่อย
๒.บันทึกของคนเดินเท้า เป็นเรื่องที่เรียบเรียงมาจากเอกสารต่าง ในอดีตและปัจจุบันที่น่าสนใจ
เป็นความรู้บ้าง เป็นสาระบันเทิงบ้าง สมควรจะแบ่งปันกันอ่านเพื่อประเทืองปัญญา
๓.คุ้ยวรรณคดี เป็นเรื่องของวรรณคดีไทยที่น่าสนใจ เอามาย่อยให้เป็นตอนสั้น เพื่อให้อ่านเข้าใจเรื่องราวได้ง่ายขึ้น
ผู้สนใจจะได้ไปหาฉบับเต็มมาอ่านต่อไป เช่นเรื่อง พระอภัยมณีฉบับรวบรัด เป็นต้น
๔.พงศาวดารจีน เป็นเรื่องจีนที่ได้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว เมื่อร้อยปีก่อน โดยเลือกเอาช่วงที่น่าสนุกมาย่อยให้เป็นตอนสั้น ๆ
เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น เช่น เปาบุ้นจิ้นผู้ทรงความยุติธรรม และ ซ้องกั๋ง ขุนโจรแห่งเขาเนียซัวเปาะ เป็นต้น
๕.สามก๊ก เรื่องนี้เป็นเรื่องยาวมาก จึงแยกออกมาจากพงศาวดารจีนเรื่องอื่น ๆ เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง มีชุดย่อย ๆ
เช่น สามก๊กฉบับลายคราม เสี้ยวสามก๊ก ปกิณกะสามก๊ก ฯลฯ
ในปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในคลังกระทู้เก่า ของถนนนักเขียน
ส่วนตัวผมเอง ก็มีอายุเพิ่มขึ้นตามวันเวลาที่ผ่านมา ความขยันที่จะหาข้อมูลใหม่ ๆ มาเขียน ก็ลดน้อยลง
จึงเดินทางออกจากถนนนักเขียน ไปเที่ยวหาความรู้ในห้องอื่น ๆ ของพันทิป แล้วก็มาเจอ ห้อง ไร้สังกัด ซึ่งแปลอีกทีว่า อะไรก็ได้
ซึ่งผมสามารถจะเล่าเรื่องอะไรให้สมาชิกห้องอ่านก็ได้ และมีผู้ให้ความสนใจมากพอสมควร
และบังเอิญเป็นเทศกาลที่มีการเซ็นเซ่อร์เรื่องที่นำลงในกระทู้ เรื่องของผมซึ่งไม่เกี่ยวกับการเมือง ไม่โป๊ ไม่ตำหนิติเตียน ด่าทอผู้ใด
ก็ถูกลบหายไปบ่อย ๆ จึงมีผู้เห็นใจอยากให้ผมสร้าง บล็อคส่วนตัวขึ้น ซึ่งตอนแรกผมไม่เห็นด้วย เพราะผมเคยพบว่า
เมื่อมีกระทู้ไหน เชิญให้ไปอ่านใน บล็อค ผมก็จะเลื่อนเลยไปเสียแทบทุกครั้ง แต่เมื่อการวางกระทู้ขัดข้องบ่อยครั้งขึ้น
จึงยอมศึกษาวิธีจัดทำ และเขียนเรื่องลงในบล็อค
ต่อมาบล็อคของ เจียวต้าย ก็ได้ปรากฏขึ้นในเวปพันทิปแล้ว จึงขอขอบคุณผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชม และขอขอบคุณพันทิป
ที่เปิดโอกาสให้ ข้อเขียนของเจียวต้าย จารึกอยู่ในเวปนี้ ตราบนานเท่านาน
หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีบันทึก ในปีต่อไป แม้ว่าจะมีเรื่องของผม ในนามปากกาต่าง ๆ วางในถนนนักเขียน และห้องไร้สังกัด
อยู่ตลอดเวลา ๘ - ๙ ปีที่ผ่านไป
จนถึง ๑๕ มกราคม ๒๕๕๗ จึงมีการบันทึกไว้ว่า
เมื่อผมได้ก้าวเข้ามาในโลกของอินเตอร์เนตนั้น ผมไม่เคยรู้จักโลกนี้มาก่อนเลย เพียงแต่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์มา ๓-๔ ปี
ก่อนเกษียณอายุราชการเท่านั้น
เมื่อสมัครและได้ล็อกอิน “เจียวต้าย”ในเวปพันทิปแล้ว ก็ลงมือวางกลอนบทแรกใน ถนนนักเขียน เป็นการแนะนำตัว เมื่อ ๑๕ มกราคม ๒๕๔๘
จากนั้นก็นำข้อเขียนทั้งหมดที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทั้งเรื่องสั้น บันทึกของคนเดินเท้า ความหลังริมคลองเปรม ย้อนอดีต เรื่องพงศาวดาร วรรณคดีไทย
เรื่องขำขันที่เรียกว่า เรื่องสั้นหรรษา นิยายอิงพงศาวดารจีน เรื่องสามก๊ก และอื่น ๆ รวมทั้งบทร้อยกรองที่เขียนขึ้นใหม่ตามวาระ
มาวางจนถึง พ.ศ.๒๕๕๐ จนคุ้นเคยกับห้องต่าง ๆ ของพันทิป และเตร็ดเตร่ไปชมกระทู้เหล่านั้นจนหมดแล้ว
จึงได้สนใจที่จะเข้าไปพูดคุยกับเพื่อนสมาชิกในห้อง จตุจักร เรื่องเกี่ยวกับแมว ห้อง ไกลบ้าน เพื่อศึกษาชีวิตของคนไทยที่อยู่ต่างแดน
และติดตามเรื่องราวของแท็กซี่นิวยอร์ค ที่น่ารู้และไม่เคยรู้มาก่อน ห้องชานเรือน เรื่องเกี่ยวกับครอบครัว พ่อแม่ลูก
เพราะตนเองคิดว่าไม่มีหลานแล้ว และไปหาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในห้องหว้ากอ
ด้านการเมืองการปกครอง ในห้องราชดำเนิน
ลงท้ายก็มาฝังตัวอยู่ที่ห้อง ไร้สังกัด เพราะมีเรื่องสนุกสนานเฮอาปาร์ตี้ อยู่เป็นประจำ แม้เรื่องของผมที่เอามาวางในกระทู้ห้องนี้
จะซ้ำกับที่วางในถนนนักเขียน ก็ไม่มีใครว่าอะไร
จนถึง พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งผมตั้งใจว่าจะวางมือจากงานเขียน เพราะได้ทำมาครบ ๖๐ ปีแล้ว
จึงมีข้อเขียนอื่น ๆ เช่น บันทึกของผู้เฒ่า บันทึกจากอดีต ซึ่งเล่าถึงประวัติชีวิตส่วนตัว งานเขียน และงานราชการ
จนทราบกันโดยทั่วไปว่า เจียวต้าย นั้น ได้เกษียณอายุมากว่า ๒๐ ปีแล้ว เป็นผู้เฒ่าที่ยังมีสมองทันสมัย
และรู้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ในโลกของอินเตอร์เนตได้ดีพอใช้ ซึ่งอาจจะกลายเป็นผู้มีอายุมากที่สุดคนหนึ่ง ในโลกนี้ก็ว่าได้
ต่อมาได้เข้าไปสัมผัสกับห้องกล้อง เพราะมีภาพเก่าสมัยหนุ่มหัดถ่ายรูปอยู่มากมาย แต่เป็นภาพขาวดำ
ซึ่งคนเล่นกล้องสมัยนี้ไม่ค่อยคุ้นเคย ทำให้มีเรื่องเขียนต่อไปได้อีก เช่น ภาพโบราณจากกล้องโบราณ ภาพเก่าเล่าเรื่อง
และภาพเก่าเล่าอดีต ซึ่งภาพเหล่านั้นมีอายุตั้งแต่ ๔๐ ปีขึ้นไปทั้งนั้น
ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น ได้ทำให้สมาชิกของพันทิปได้รู้จักชื่อ “เจียวต้าย” เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะท่านที่อ่านเรื่องสามก๊กของ “เล่าเซี่ยงชุน”ฉบับลิ่วล้อ และฉบับอื่น ๆ
จนมีเวปที่เกี่ยวกับสามก๊กโดยเฉพาะ ได้ติดต่อขอนำไปลงในเวปของเขา
ซึ่งทำให้มีผู้รู้จัก สามก๊ก ของ “เล่าเซี่ยงชุน” เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
ในที่สุดก็มีผู้เสนอชื่อ “เล่าเซี่ยงชุน” และ “เจียวต้าย” ให้สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย พิจารณามอบรางวัล “นราธิป”
สำหรับนักเขียนที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน ตั้งแต่ต้น จนอายุ ๘๐ ปีขึ้นไป เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๖
และได้ขึ้นไปรับรางวัลที่ห้องประชุมใหญ่ ของหอสมุดแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๗ ขณะเมื่อมีอายุ ๘๓ ปี ๑๐ เดือนเศษ
รางวัลนี้ให้แต่โล่เกียรติยศอันเดียว แต่คุณค่ามหาศาลสำหรับผม เพราะทำให้สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ได้ยอมรับว่าผมเป็นนักเขียนไทย
ที่มีผลงานเป็นจำนวนมากอยู่ในวงวรรณกรรมไทย แม้จะไม่โดดเด่นโด่งดัง เป็นนักเขียนอาชีพ
แต่ก็ได้มีงานเขียนติดต่อกันมา ในวารสารต่าง ๆ และสุดท้าย ในเวปไซด์ที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย คนหนึ่ง
ผมไม่สามารถจะแสดงความขอบคุณ ต่อบุคคลที่เสนอชื่อของผมให้ได้รับรางวัลนี้ โดยเปิดเผย เพราะผมไม่ทราบ
จึงขอขอบคุณผ่าน เวปพันทิป ที่เป็นเวทีให้ผมแสดงความสามารถในงานเขียน ขอบคุณสำนักพิมพ์ที่ได้จัดพิมพ์งานของผม
ออกวางตลาดรวม ๙ เล่ม ทำให้นามปากกาทั้งสองของผม ปรากฏอยู่ในแวดวงวรรณกรรมไทย อีกนาน
และที่สำคัญที่สุด คือทำให้มีสำนักพิมพ์ มาติดต่อขอพิมพ์ สามก๊กฉบับลิ่ว ของ “เล่าเซี่ยงชุน” ทั้งหมดอีกเป็นครั้งที่สอง
แม้ว่าชื่อ “เจียวต้าย” จะมีหนังสือเพียงเล่มเดียวก็ตาม.
#############