เล่าเรื่องสามก๊ก ของ เล่าเซี่ยงชุน
เจียวต้าย
ผมเป็นคนสนใจนิยายอิงพงศาวดารจีน เรื่องสามก๊ก มาตั้งแต่เริ่มโตเป็นหนุ่ม และได้อ่านสำนวนต่าง ๆ ของผู้เรียบเรียงหลายท่านที่แตกต่างกันไป ต่อมาจึงได้หาซื้อฉบับหลวงของท่าน เจ้าพระยาพระคลัง(หน) มาอ่านอย่างเอาจริงเอาจัง เมื่อใกล้จะเกษียณอายุราชการ ซึ่งผมได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะเอาการเขียนหนังสือ ซึ่งเป็นงานรองในทางราชการ และเป็นงานอดิเรกของส่วนตัว มาทำเป็นงานหลักแทนงานราชการที่จะต้องยุติลง
ขณะนั้นผมอ่านสามก๊กไปหลายเที่ยวแล้ว เพื่อค้นหาพฤติกรรมของตัวละครที่ผมสนใจ ว่าเขาเริ่มต้นเข้ามาในเรื่อง ตั้งแต่ตอนไหน แล้วไปสิ้นสุดลงตอนไหนอย่างไร แล้วก็บันทึกไว้ว่า ตัวละครนั้นอยู่ในหน้าไหนของฉบับท่านเจ้าพระยา แล้วไปต่อหน้าไหน แล้วไปสิ้นสุดอย่างไร จนหน้าหนังสือเก่าแก่นั้นเลอะเทอะไปหมด
แต่ผมกลับสนใจตัวละครเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญต่อเรื่องสามก๊กอันยิ่งใหญ่เพียงเล็กน้อย คือ ฮัวหยง ที่ถูก กวนอู ฆ่าตายในพริบตาเดียว เรื่องราวของเขาปรากฏอยู่เพียง ๒-๓ หน้าเท่านั้น แต่กวนอูมีชื่อเสียงโด่งดังต่อไปอีกตั้งค่อนเรื่อง
ต่อมาก็สนใจ บังเต๊ก ในตอนท้าย ๆ ที่อาสาจะไปปราบกวนอูผู้ยิ่งใหญ่ในยุทธจักรมากว่าสามสิบปีแล้ว โดยการแบกโลงไปท้ากวนอูถึงเมืองเกงจิ๋ว แม้ว่าลงท้ายก็ต้องพ่ายแพ้แก่กวนอู แต่ก็ได้ฝากรอยแผลไว้ให้กวนอูได้รำลึกถึงฝีมือ ที่ออกปากว่าทัดเทียมกัน ซึ่งไม่มีนักรบคนไหนทำกับกวนอูอีกด้วย
อีกคนหนึ่งคือ ตันก๋ง ผู้มีบุญคุณอย่างยิ่งแก่ โจโฉ ในตอนต้น และถูกโจโฉสั่งประหารชีวิตในตอนท้าย ผมอ่านด้วยความสะเทือนใจว่าเขาเป็นผู้ที่ ทำคุณบูชาโทษ โดยแท้ เหมือนนิทานอีสปเรื่อง ชาวนากับงูเห่า ที่ลงท้ายว่า ทำคุณแก่สัตว์ร้าย ให้โทษดังนี้แลหนอ
สุดท้ายในช่วงนั้นคือ นางเจ๋าซือ ซึ่งเสน่ห์ของนางเป็นเหตุให้ โจโฉ ซึ่งยึดครองเมืองของข้าศึกได้แล้ว กลับต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยิน ต้องสูญเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งลูก หลาน และนายทหารองครักษ์ทีซื่อสัตย์ ไปอย่างน่าเสียดาย
ซึ่งตัวละครที่ยกมานี้ ในสมัยนั้นไม่มีผู้เขียนถึงเลย ผมจึงลงมือเรียบเรียงพฤติกรรมของเขาเหล่านั้น โดยให้ชื่อว่า สามก๊กฉบับลิ่วล้อ ในนามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” และในปีสุดท้ายที่จะเกษียณอายุราชการ ก็ได้เริ่มลงพิมพ์ในวารสารเสนาสารของ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๓๔ เป็นชุดแรกในชีวิต
และจากนั้นผมก็ค้นคว้าหาตัวละครเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักชื่อ มาเรียบเรียงส่งให้วารสารของทหารเหล่าต่าง ๆ ติดต่อกันมาจนเกษียณอายุใน ตุลาคม ๒๕๓๕ เรื่อยไปอีกหกปี ได้สามก๊กฉบับลิ่วล้อประมาณเกือบ ๒๐๐ ตอน จนเลยออกไปถึงตัวที่ไม่ใช่ลิ่วล้อ เช่น ฮูหยิน และ ฮ่องเต้ และนักรบที่มีชื่อเสียง และได้ลงพิมพ์ในวารสารของทหารทั้งหมด กว่าสิบชื่อ
ในระหว่าง พ.ศ.๒๕๓๕ จนถึง พ.ศ.๒๕๓๗ ได้มีเพื่อนของลูกชายคนหนึ่งได้อ่านเรื่องนี้แล้วเสนอว่า เขาจะขอเอาไปพิมพ์รวมเล่ม โดยสำนักพิมพ์ คณาธร ซึ่งเขาทำงานอยู่ ผมก็รีบอนุญาตด้วยความดีใจ แต่แล้วสำนักพิมพ์นี้ก็ได้เลิกกิจการไป โดยยังไม่ได้พิมพ์สามก๊กฉบับลิ่วล้อ ของ เล่าเซี่ยงชุน เขาก็ขอโทษที่ไม่สามารถจะทำให้สำเร็จเป็นรูปเล่มได้ แต่ยืนยันว่าเรื่องนี้ขายได้แน่นอน ขอให้ผมพยายามต่อไป
ผมจึงเอามาส่งให้สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิจารณา เขาก็รับเอาไว้พิจารณา แต่สองปีแล้วก็ยังไม่ทราบผล ผมก็เอาไปส่งให้สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ อ่านดูบ้าง ถึง พ.ศ.๒๕๔๐ ทางนี้บอกว่าเรื่องน่าสนใจ แต่คงอีกนานกว่าจะถึงคิว ก็เลยเอามาส่งให้ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น เมื่อ เมษายน ๒๕๔๐
ประพันธ์สาส์น พิจารณาเรื่องนี้อยู่ประมาณ ๕ เดือน จึงได้เรียกไปทำสัญญา และดำเนินการพิมพ์ออกวางตลาด เมื่อ ตุลาคม ๒๕๔๑ เป็นจำนวน ๓ เล่ม รวมทั้งหมด ๕๓ ชุด ๑๐๙ ตอนโดยรวมทั้ง ฉบับลิ่วล้อ ฉบับอัศวิน ฉบับฮูหยิน และฉบับฮ่องเต้
นั่นคือความสำเร็จครั้งแรกของ สามก๊ก ฉบับของ “เล่าเซี่ยงชุน” ซี่งนับเป็นความสำเร็จที่ผมภูมิใจที่สุดในชีวิตการเขียนหนังสือมาเป็นเวลาถึง ๕๐ ปี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑
และยังได้รับการพิมพ์รวมเล่มต่อมาอีก คือ อวสานสามก๊ก พ.ศ.๒๕๔๖ และ ปกิณกะ สามก๊ก พ.ศ.๒๕๔๗
แต่การเรียบเรียงสามก๊ก ก็ยังมิได้ยุติเพียงแค่นั้น ผมยังคงหาแง่มุมต่าง ๆ ในสามก๊กมาเขียนส่งสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะครบรอบ ๖๐ ปีของการเขียนหนังสือ และได้ขุดค้นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ในสามก๊กของท่านเจ้าพระยาพระคลัง(หน) จนหมดสิ้นสมุดไทแล้ว
เวลานี้จึงพยายามรวบรวมสามก๊กทั้งหมดมาวางไว้ในบล็อก เพื่อจะได้อยู่ยั่งยืนถาวรต่อไปในอนาคต สำหรับผู้ที่จะเข้ามาศึกษาเรื่องสามก๊ก จะได้รับทราบข้อเขียนอีกแง่มุมหนึ่ง จาก”เล่าเซี่ยงชุน”นักเขียนระดับลิ่วล้อ คนหนึ่งในบรรณพิภพอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้.
##############
เล่าเรื่องสามก๊ก ๑๗ ก.พ.๖๐
เจียวต้าย
ผมเป็นคนสนใจนิยายอิงพงศาวดารจีน เรื่องสามก๊ก มาตั้งแต่เริ่มโตเป็นหนุ่ม และได้อ่านสำนวนต่าง ๆ ของผู้เรียบเรียงหลายท่านที่แตกต่างกันไป ต่อมาจึงได้หาซื้อฉบับหลวงของท่าน เจ้าพระยาพระคลัง(หน) มาอ่านอย่างเอาจริงเอาจัง เมื่อใกล้จะเกษียณอายุราชการ ซึ่งผมได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะเอาการเขียนหนังสือ ซึ่งเป็นงานรองในทางราชการ และเป็นงานอดิเรกของส่วนตัว มาทำเป็นงานหลักแทนงานราชการที่จะต้องยุติลง
ขณะนั้นผมอ่านสามก๊กไปหลายเที่ยวแล้ว เพื่อค้นหาพฤติกรรมของตัวละครที่ผมสนใจ ว่าเขาเริ่มต้นเข้ามาในเรื่อง ตั้งแต่ตอนไหน แล้วไปสิ้นสุดลงตอนไหนอย่างไร แล้วก็บันทึกไว้ว่า ตัวละครนั้นอยู่ในหน้าไหนของฉบับท่านเจ้าพระยา แล้วไปต่อหน้าไหน แล้วไปสิ้นสุดอย่างไร จนหน้าหนังสือเก่าแก่นั้นเลอะเทอะไปหมด
แต่ผมกลับสนใจตัวละครเล็ก ๆ ที่มีความสำคัญต่อเรื่องสามก๊กอันยิ่งใหญ่เพียงเล็กน้อย คือ ฮัวหยง ที่ถูก กวนอู ฆ่าตายในพริบตาเดียว เรื่องราวของเขาปรากฏอยู่เพียง ๒-๓ หน้าเท่านั้น แต่กวนอูมีชื่อเสียงโด่งดังต่อไปอีกตั้งค่อนเรื่อง
ต่อมาก็สนใจ บังเต๊ก ในตอนท้าย ๆ ที่อาสาจะไปปราบกวนอูผู้ยิ่งใหญ่ในยุทธจักรมากว่าสามสิบปีแล้ว โดยการแบกโลงไปท้ากวนอูถึงเมืองเกงจิ๋ว แม้ว่าลงท้ายก็ต้องพ่ายแพ้แก่กวนอู แต่ก็ได้ฝากรอยแผลไว้ให้กวนอูได้รำลึกถึงฝีมือ ที่ออกปากว่าทัดเทียมกัน ซึ่งไม่มีนักรบคนไหนทำกับกวนอูอีกด้วย
อีกคนหนึ่งคือ ตันก๋ง ผู้มีบุญคุณอย่างยิ่งแก่ โจโฉ ในตอนต้น และถูกโจโฉสั่งประหารชีวิตในตอนท้าย ผมอ่านด้วยความสะเทือนใจว่าเขาเป็นผู้ที่ ทำคุณบูชาโทษ โดยแท้ เหมือนนิทานอีสปเรื่อง ชาวนากับงูเห่า ที่ลงท้ายว่า ทำคุณแก่สัตว์ร้าย ให้โทษดังนี้แลหนอ
สุดท้ายในช่วงนั้นคือ นางเจ๋าซือ ซึ่งเสน่ห์ของนางเป็นเหตุให้ โจโฉ ซึ่งยึดครองเมืองของข้าศึกได้แล้ว กลับต้องพ่ายแพ้อย่างยับเยิน ต้องสูญเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งลูก หลาน และนายทหารองครักษ์ทีซื่อสัตย์ ไปอย่างน่าเสียดาย
ซึ่งตัวละครที่ยกมานี้ ในสมัยนั้นไม่มีผู้เขียนถึงเลย ผมจึงลงมือเรียบเรียงพฤติกรรมของเขาเหล่านั้น โดยให้ชื่อว่า สามก๊กฉบับลิ่วล้อ ในนามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” และในปีสุดท้ายที่จะเกษียณอายุราชการ ก็ได้เริ่มลงพิมพ์ในวารสารเสนาสารของ สำนักงานเลขานุการกองทัพบก เมื่อ กรกฎาคม ๒๕๓๔ เป็นชุดแรกในชีวิต
และจากนั้นผมก็ค้นคว้าหาตัวละครเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักชื่อ มาเรียบเรียงส่งให้วารสารของทหารเหล่าต่าง ๆ ติดต่อกันมาจนเกษียณอายุใน ตุลาคม ๒๕๓๕ เรื่อยไปอีกหกปี ได้สามก๊กฉบับลิ่วล้อประมาณเกือบ ๒๐๐ ตอน จนเลยออกไปถึงตัวที่ไม่ใช่ลิ่วล้อ เช่น ฮูหยิน และ ฮ่องเต้ และนักรบที่มีชื่อเสียง และได้ลงพิมพ์ในวารสารของทหารทั้งหมด กว่าสิบชื่อ
ในระหว่าง พ.ศ.๒๕๓๕ จนถึง พ.ศ.๒๕๓๗ ได้มีเพื่อนของลูกชายคนหนึ่งได้อ่านเรื่องนี้แล้วเสนอว่า เขาจะขอเอาไปพิมพ์รวมเล่ม โดยสำนักพิมพ์ คณาธร ซึ่งเขาทำงานอยู่ ผมก็รีบอนุญาตด้วยความดีใจ แต่แล้วสำนักพิมพ์นี้ก็ได้เลิกกิจการไป โดยยังไม่ได้พิมพ์สามก๊กฉบับลิ่วล้อ ของ เล่าเซี่ยงชุน เขาก็ขอโทษที่ไม่สามารถจะทำให้สำเร็จเป็นรูปเล่มได้ แต่ยืนยันว่าเรื่องนี้ขายได้แน่นอน ขอให้ผมพยายามต่อไป
ผมจึงเอามาส่งให้สำนักพิมพ์ดอกหญ้าพิจารณา เขาก็รับเอาไว้พิจารณา แต่สองปีแล้วก็ยังไม่ทราบผล ผมก็เอาไปส่งให้สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ อ่านดูบ้าง ถึง พ.ศ.๒๕๔๐ ทางนี้บอกว่าเรื่องน่าสนใจ แต่คงอีกนานกว่าจะถึงคิว ก็เลยเอามาส่งให้ สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น เมื่อ เมษายน ๒๕๔๐
ประพันธ์สาส์น พิจารณาเรื่องนี้อยู่ประมาณ ๕ เดือน จึงได้เรียกไปทำสัญญา และดำเนินการพิมพ์ออกวางตลาด เมื่อ ตุลาคม ๒๕๔๑ เป็นจำนวน ๓ เล่ม รวมทั้งหมด ๕๓ ชุด ๑๐๙ ตอนโดยรวมทั้ง ฉบับลิ่วล้อ ฉบับอัศวิน ฉบับฮูหยิน และฉบับฮ่องเต้
นั่นคือความสำเร็จครั้งแรกของ สามก๊ก ฉบับของ “เล่าเซี่ยงชุน” ซี่งนับเป็นความสำเร็จที่ผมภูมิใจที่สุดในชีวิตการเขียนหนังสือมาเป็นเวลาถึง ๕๐ ปี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๑
และยังได้รับการพิมพ์รวมเล่มต่อมาอีก คือ อวสานสามก๊ก พ.ศ.๒๕๔๖ และ ปกิณกะ สามก๊ก พ.ศ.๒๕๔๗
แต่การเรียบเรียงสามก๊ก ก็ยังมิได้ยุติเพียงแค่นั้น ผมยังคงหาแง่มุมต่าง ๆ ในสามก๊กมาเขียนส่งสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งจะครบรอบ ๖๐ ปีของการเขียนหนังสือ และได้ขุดค้นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ในสามก๊กของท่านเจ้าพระยาพระคลัง(หน) จนหมดสิ้นสมุดไทแล้ว
เวลานี้จึงพยายามรวบรวมสามก๊กทั้งหมดมาวางไว้ในบล็อก เพื่อจะได้อยู่ยั่งยืนถาวรต่อไปในอนาคต สำหรับผู้ที่จะเข้ามาศึกษาเรื่องสามก๊ก จะได้รับทราบข้อเขียนอีกแง่มุมหนึ่ง จาก”เล่าเซี่ยงชุน”นักเขียนระดับลิ่วล้อ คนหนึ่งในบรรณพิภพอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้.
##############