อะไรคือประโยชน์ของการทำให้ yield curve ของ long-term bonds/securities ต่ำลงด้วย QE

ผมสงสัยว่าการที่ไปคุมให้ yield พวก long-term bonds/securities/debt อย่างเช่น MBS (Mortgage-Backed Securities) มันต่ำลง (ด้วยการเพิ่ม demand ที่มาจาก Fed ส่งผล cost เพิ่มขึ้น  yield ก็ตก - ตามความเข้าใจผมนะครับ) มันมีประโยชน์อะไรกับ economy เหรอครับ?

ผมเข้าใจตรง Fed Fund Rate ว่าพอมันต่ำลง Cost of Financing ของ ธุรกิจ มันก็น้อยลง กู้ง่ายขึ้น รับความเสี่ยงได้มากขึ้น ก็เลยส่งเสริม productivity

ส่วนในเคส yield curve ที่ผมคิดมาคร่าวๆนะฮะ ยังงงๆเหมือนกัน 555+ คือ:
1) พอ yield พวก long-term securities ในตลาดต่ำลง มันก็น่าจะ less attractive ก็อาจจะเกิดการกระตุ้นให้เกิด securities ที่ศักยภาพเท่าเดิมใหม่ๆขึ้นมา = การลงทุนเพิ่ม ซึ่งก็คือ productivity ที่เพิ่มขึ้น (อย่างเช่นการลงทุนเดิม ลงทุน 1 ได้ 3 = ROI 200% พอ demand มาราคาขึ้นเป็น 2 =  ROI 50% เพราะฉะนั้นถ้ามีคนทำโครงการศักยภาพเท่าเดิมออกมาให้ลงทุน ซึ่งก็คือ 1 ได้ 3 ตัวโครงการพวกนี้ก็จะได้รับความสนใจมากกว่าโดยปริยาย) ???

2) พอ Government มาซื้อพวก long-term securities พวกนี้ เจ้าของเดิมก็มีเงินสด ที่จากเดิมจมอยู่ในรูปของการลงทุนมาจับจ่ายใช้สอย แต่อันนี้ก็ไม่ได้ตอบเรื่อง ประโยชน์ของ yield curve ที่ลดลง มันเป็นเรื่องของ ตลาดลงทุนที่ looser และ liquid มากขึ้นจากการที่เอาเงินมาซื้อ securities

**Case ที่ผมพูดถึงเป็น case ของ America นะฮะ ที่ claim ว่า QE เค้าเนี่ย ไม่ได้ aim แค่จะอัดฉีดเงินเข้าไปอย่างเดียวแต่ใช้ควบคุม yield curve ของพวก long-term debt ด้วย หลังจากที่ Fed Fund Rate เป็น 0 แล้ว (จากการซื้อ short-term debt / treasury securities ถล่มทลาย)
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
มันเป็นกรณีเฉพาะครับ อย่าใช้มุมมอง Business Cycle ปกติมองครับ เพราะตอนนั้นเป็น Crisis
ประโยชน์จริง ๆ ก็คือไม่ให้เศรษฐกิจพังทลายใน 6-10 เดือน แบบเมืองไทยตอนต้มยำกุ้งครับ ยื้อเวลาไว้ 2-3 ปี ให้มันรักษาตัวมันเอง ให้คนที่ยังพอมีศักยภาพ ยืนได้ด้วยตัวเอง แล้วค่อยมาช่วยค้ำจุนเศรษฐกิจครับ
วัตถุประสงค์ตอนนั้นเค้าไม่เน้นลงทุนเพิ่มครับ เค้าเน้นรักษาสภาพเศรษฐกิจไม่ให้เจ๊งครับ
ลดภาระเงินกู้ ไม่ให้เศรษฐกิจที่มีอยู่ตายครับ  โครงการเดิมอาจจะมี cost ลดลง แต่ Return ก็ต่ำลงด้วยครับ Prospect แย่ลงน่ะครับ ฉะนั้น ROI ไม่ดีขึ้นแน่นอน เพราะต้องปรับ Assumption หลายตัว
Securities ที่เค้าซื้อ เค้าซื้อจากใครครับ เค้าจะระบุเลยว่าซื้อจาก ใครถ้าจำไม่ผิด อัดฉีดเงินให้ Fannie Mac Fannie Mae นะครับ ก็พวกธนาคารอาคารสงเคราะห์ ออมสิน อะไรทำนองเนี่ยอ่ะครับ พอ Mac กะ Mae มีเงินต้นทุนต่ำ ก็ลดดอกเบี้ยให้ลูกค้าได้ครับ

ส่วนของไทยตอนนี้ลดดอกไปก็เจอ Liquidity Trap ครับ ซึ่งน่าจะแย่ต่อเศรษฐกิจมากกว่า เพราะมีแต่เงินเฟ้อ (อาจจะคิดว่าไม่มี Demand Pull)
แบงก์ชาติอาจจะกังวลเรื่องค่าเงินก็เป็นไปได้ครับ  

ต้องมองไปที่ปัญหาก่อนนะครับ ตอนนั้น เมกามีปัญหาเรื่อง หนี้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครับ คนเป็นหนี้เยอะไม่มีปัญญาจ่าย ราคาบ้านก็ตกต่ำ
ทีนี้ ถ้าปล่อยให้เกิดหนี้เสีย ก็ต้องมีคนรับขาดทุนตรงนี้ไป (ของไทยตอนนั้นเป็นกองทุนฟื้นฟู รับสินทรัพย์ดี ๆ เน่า ๆ มา 7 แสนล้าน เอาไปของดี ๆ ขายให้ Goldman 3 แสนล้านมั้ง จำตัวเลขแน่นอนไม่ได้ตอนนั้นยังเด็กอยู่ แต่ที่แน่ ๆ Goldman กำไรไปมหาศาล ลองไป Search ดูครับ)
ของเมกา เค้าไม่อยากรับภาระตรงนี้ ก็เลยอัดเงินมากด Yield Curve ให้ดอกเบี้ยเป็น 0% หรือใกล้ๆ 0% เพื่อให้ต้นทุนทางการเงินถูก โดย Fed เป็นคนอัดฉีดเงินเข้ามาในระบบ แบงก์พอมีแหล่งเงินถูก ๆ ก็ปล่อยกู้ได้ดอกเบี้ยต่ำมาก ลดภาระให้กับคนกู้บ้าน ทำให้คนที่ยังผ่อนไหว ก็กัดฟันผ่อนไป คนที่ผ่อนไม่ไหว ก็อาจจะไป Refinance ของเมกาก็มีแบงก์ที่เจ๊งที่ปิดไปเยอะเหมือนกัน แต่เป็นแบงก์เล็ก ๆ แบงก์ใหญ่ ๆ ก็มีแห่งหรือสองแห่งเนี่ยแหละ วันนั้นหุ้นไทยลงหนักมาก จาก 600 ร้อยกลาง ๆ ทิ้งยาวเลย คัทกันเป็นแถว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่