[CR] ท่องเที่ยงสองฝั่งเจ้าพระยา : เที่ยวครบ งบน้อย ร้อยความประทับใจ มากมายคุณค่า นานาอารยธรรม

แม่น้ำเจ้าพระยา



สวัสดีครับ ต้องขอบอกก่อนเลยน่ะครับนี้เป็นครั้งแรกในการตั้งกระทู้ของผมถ้าผิดพลาดประการใดก็ต้องข้ออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยน่ะครับ

คือผมและเพื่อนๆได้มีเวลาว่างตรงกันหนึ่งวัน เลยวางแผนกันว่าจะไปเที่ยวด้วยกัน โดยสถานที่นั้นต้อง ไป-มา สะดวกและประหยัดเงิน จึงลงเอยว่าเราจะไปเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยากัน มาดูกันนะครับว่า พวกเราจะใช้เวลา 1 วัน ในการท่องเที่ยวครั้งนี้ได้กี่แห่ง

สถานีแรก เราเริ่มต้นการเดินทางจากอนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

เพื่อนกันมันดีคราบบบอิอิ จุ๊บๆจุ๊บๆ

เราเดินทางโดยรถเมล์ครับเพิ่อเป็นการประหยัดเงินที่มีอยู่อันน้อยนิดของพวกเรา เราสามารถเดินทางโดยรถเมล์สาย 59 หรือ 503 ไปลงสนามหลวงเสียค่าเดินทางไปคนล่ะ 13 บาท ยิ้ม
อึดใจเดียวเราก็มาถึงสนามหลวงแล้วว


และสถานที่แรกที่เราจะเข้าไปชมก็คือ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร" [1]

แต่ต้องบอกก่อนเลยน่ะครับ ว่าที่นี่มีเวลาเปิดปิดน่ะครับ คือจะเปิดทุกวันพุธถึงวันอาทิตย์ เวลา 9 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น

ส่วนอัตราค่าเข้าชมก็ตามนี้เลยนะคร้าบบ

พวกเราเตรียมเงินกันตามจำนวนต่อคิวเรียบร้อย แต่ด้วยความที่หน้าเด็ก อมยิ้ม02 ป้าพนักงานขายตั๋วเลยบอกว่านักเรียน-นักศึกษา เข้าฟรี อ้าวววว !!
เลยเข้าชมฟรีไม่เสียตั้งเซฟเงินไปได้อีกคนละ 30 บาท แต่อย่าลืมพกบัตรประจำตัว นักรียน-นักศึกษา  มาด้วยน่ะครับเดี๋ยวเค้าจะไม่เชื่อกัน(เพื่อนผมนี้กว่าจะได้เข้าฟรีก็ดูบัตรแล้วดูอีกกว่าป้าเขาจะเชื่อ ประหลาดใจ)

ภายในก็พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร ได้มีการจัดงานแสดง ศิลปะ หลายอย่าง เช่น ประวัติศาสตร์ชาติไทย ศิลปะโบราณวัตถุ ประวัติศาสตร์ของศิลปะของไทย และ อื่นๆ อีกมากมายครับ




เมื่อเข้าชม พิพิธภัณสถานแห่งชาติ พระนคร เสร็จแล้ว เราก็เดินเลยมาถึงเจอวัดแห่งนึง นั่นก็คือ "วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์" [2]

เราเข้ามาชมความสวยงามของพระอุโบสถ และ สักการะสิ่งศักสิทธิ์ที่นี่




ถัดมา เราก็เดินต่อมาเรื่อยๆ ตอนนี้เริ่มเมื่อย Facepalm  และเราก็มาถึง "นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ รัชกาลที่ 5" [3]
ข้างในยังมีการจัดงานแสดง พระราชกรณียกิจและประวัติ ของรัชกาลที่ 5 อีกด้วยย
  



ยังเหลืออีกหนึ่งสถานที่ ที่เรายังไม่ได้ไปก่อนที่เราจะไปขึ้นเรือข้ามฝาก นั่นคือ "วัดพระวัดพระศรีรัตนศาสดาราม" หรือ วัดพระแก้ว [4]
วัดพระแก้ว นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2325 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2327  ซึ่งวันพระแก้วอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง ฝั่งตะวันออก นะครับ
ที่นี่มีความสวยงามของพระอุโบสถ เพราะถูกสร้างตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ สมัยอยุธยา อีกทั้งยังเป็นที่ประประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต จึงเป็นที่มาของ "วัดพระแก้ว" นั่นเองจ้า อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจเป็นอย่างล้นหลามด้วยคร้าบบ อมยิ้ม01







ตอนนี้ก็เที่ยงแล้ว พวกเราเริ่มหิวข้าว อมยิ้ม36 จึงเตรียมตัวมุ่งหน้าไปหาอะไรกิน ที่ตลาดวังหลังจ้า
แต่ก่อนอื่นเลย เราต้องมุ่งไปหน้าไปท่าเรือ "ท่าช้าง" เพื่อนั่งเรือข้ามฝากไปยัง ท่าเรือ "วังหลัง"


ขึ้นเรือข้ามฝากท่านี้เลยจ้า เสียค่าบริการ คนละ 3 บาท




และแล้วเราก็มาถึง "ตลาดวังหลัง" [5]
ที่นี่  เป็นที่นิยมของดีราคาย่อมเยา และมีของแปลกใหม่ให้เลือกซื้อเลือกชมตลอดสองข้างทาง แถมยังเป็นแหล่งรวมความอิ่มอร่อยมาช้านานอีกด้วยนะ



นี่คือมื้อเที่ยงของเราแหละ


เมื่อท้องอิ่ม พวกเราก็แข็งขัน มีแรงเที่ยวต่อ สถานีต่อไป นั่นคือ "วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร" หรือ วัดระฆัง,วัดหลวงพ่อโต นั่นเอง [6]
วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ส่วนสาเหตุที่ทำไมประชาชนถึงนิยมเรียกว่า วัดระฆัง เป็นเพราะว่า ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการบูรณะวัดขึ้น แล้วบังเอิญขุดพบระฆัง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงพระราชนามใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นั่นเองจ้า

มีทางเดินเชื่อมจาก ตลาดวังหลัง ไปยัง วัดระฆังด้วยนะ






เสร็จภารกิจจากวัดระฆัง เราเดินตรงออกสู่ถนนใหญ่ เราก็ได้เจอพี่รถตุ๊กตุ๊กใจดี แกก็ได้แนะนำให้ไปเที่ยววัดอรุณต่อ แกก็อาสาไปส่งถึงที่ แต่ไม่ฟรีนะครับ
Facepalm  แกคิดค่าบริการ 50 บาท อมยิ้ม17



วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา
ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 1 พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม”
“วัดอรุณราชธาราม” [7]






ตอนนี้ก็เวลาประมาณ 4 โมงเย็น พวกเราได้วางแผนกันอีกครั้ง เราคุยกันว่า พวกเราจะจบทริปนี้ ที่ เอเชียทีค ดังนั้นพวกเราต้องข้ามฝั่ง เพื่อต่อเรือไปยังเอเชียทีค แต่ทว่าฝั่งที่เราต้องข้ามไป มีสถานที่ที่สำคัญอีกหนึ่งแห่ง นั่นคือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ นั่นเอง [8]
เราต้องนั่งเรือข้ามฝาก ที่ วัดอรุณ ไปยัง ท่าเตียน เพื่อเดินทางไปวัดโพธิ์

ระหว่างทางไปยังวัดโพธิ์


เรามาพูดถึง วัดโพธิ์ กันบ้างดีกว่าเนอะ
วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี
เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย


วัดโพธิ์ เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 8.30-18.30 น อัตราค่าบริการ คนไทย เข้าฟรี ชาวต่างเสียค่าบริการดังรูปเลยจ้า






สถานีสุดท้าย เรามุ่งหน้าไปยัง "เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟร้อน" [9]


ซึ่งการเดินทางจาก ท่าเตียน ไปยัง เอเชียทีค สามารถนั่งเรือด่วนธง สีส้ม (เที่ยวล่อง นะ) ราคา 15บาท
ไปขึ้นที่ ท่าสาทร แล้วไปรอเรือฟรีที่ท่าเรือสาธรได้แล้วครับ  (เรือฟรีทั้ง ไปและกลับ เริ่ม 16.00 น.- 23.00 น)

บรรยากาศยามเย็นที่เอเชียทีค





สุดท้ายพวกเราก็เดินทางไปเที่ยวทั้งหมด 9 แห่ง สรุปค่าใช้จ่ายประมาณ คนละ 300 บาท
ถึงแม้ว่าระหว่างการเดินทางจะมีอุปสรรคบ้าง เช่น ฝนตก ขึ้นเรือผิด และที่สำคัญที่สุดคืออากาศร้อนมากกก
แต่ต่อให้มีอุปสรรคมากมายเท่าไหร่ ทริปของเราไม่ได้สนใจที่ปลายทาง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ สิ่งต่างๆที่ผ่านพบเจอและเพื่อนร่วมทางที่รู้ใจต่างหากหล่ะ . .
แล้วเจอกัน

ชื่อสินค้า:   แม่น้ำเจ้าพระยา
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่