ก.)
http://www.nkgen.com/34.htm#มหาสติปัฏฐานสูตร
แสดงตัณหา ๖๑ แห่ง
ยกบางส่วนมาจาก ธัมมานุปัสสนา
...... ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ซึ่งถูกครอบงำหรือประกอบด้วยอุปาทาน) เหล่านี้เรียกว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ (อัน)เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ........
ข.)
http://www.sangharaja.org/index.php?option=com_content&view=article&id=1&Itemid=3
สัมมาทิฏฐิตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
แสดงตัณหา ๔๐๘ แห่ง
ยกมาบางส่วน จากหน้า ๒๗๖-๒๗๗
...... เพราะมีตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก จึงมีการแสวงหา
เพราะมีการแสวงหาก็มีลาภคือการได้มา
เพราะมีการได้ จึงมีความปลงใจตกลงใจว่า เราได้มาซึ่งสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้ว
เพราะมีความปลงใจตกลงใจดั่งนี้ จึงมีฉันทราคะความพอใจยินดี
เพราะมีความพอใจติดใจ หรือว่ายินดีพอใจอยู่ในสิ่งนั้น จึงได้มีความสยบติด
เพราะมีความสยบอยู่ด้วยความติด จึงมีความยึดถือ รวบถือ
เพราะมีความยึดถืออยู่ดั่งนี้ จึงมีมัจฉริยะที่แปลกันว่าความตระหนี่เหนียวแน่น หวงแหน
เพราะมีมัจฉริยะคือความตระหนี่เหนียวแน่นหวงแหน จึงมีอารักขา คือการรักษาด้วยวิธีรักษาต่างๆ เป็นต้นว่า ต้องมีการถือกระบอง ถือท่อนไม้ ต้องมีการถือศัสตราวุธ ต้องมีการทะเลาะกัน ต้องมีการแก่งแย่งกัน ต้องมีการวิวาทกัน ต้องมีการกล่าวหากัน .....
๑.- ความหมายของ ตัณหา ในข้อ ก.) และ ข.) เหมือนกัน หรือ ต่างกัน อย่างไรครับ
๒.- มีสังคมใด ที่ปลอดจาก อิทธิพลของ "ตัณหา" บ้างครับ
ตัณหา
แสดงตัณหา ๖๑ แห่ง
ยกบางส่วนมาจาก ธัมมานุปัสสนา
...... ก็โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ซึ่งถูกครอบงำหรือประกอบด้วยอุปาทาน) เหล่านี้เรียกว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ (อัน)เป็นทุกข์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ฯ
[๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันมีความเกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ฯ........
ข.) http://www.sangharaja.org/index.php?option=com_content&view=article&id=1&Itemid=3
สัมมาทิฏฐิตามพระเถราธิบายของท่านพระสารีบุตรเถระ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)
แสดงตัณหา ๔๐๘ แห่ง
ยกมาบางส่วน จากหน้า ๒๗๖-๒๗๗
...... เพราะมีตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก จึงมีการแสวงหา
เพราะมีการแสวงหาก็มีลาภคือการได้มา
เพราะมีการได้ จึงมีความปลงใจตกลงใจว่า เราได้มาซึ่งสิ่งนั้นสิ่งนี้แล้ว
เพราะมีความปลงใจตกลงใจดั่งนี้ จึงมีฉันทราคะความพอใจยินดี
เพราะมีความพอใจติดใจ หรือว่ายินดีพอใจอยู่ในสิ่งนั้น จึงได้มีความสยบติด
เพราะมีความสยบอยู่ด้วยความติด จึงมีความยึดถือ รวบถือ
เพราะมีความยึดถืออยู่ดั่งนี้ จึงมีมัจฉริยะที่แปลกันว่าความตระหนี่เหนียวแน่น หวงแหน
เพราะมีมัจฉริยะคือความตระหนี่เหนียวแน่นหวงแหน จึงมีอารักขา คือการรักษาด้วยวิธีรักษาต่างๆ เป็นต้นว่า ต้องมีการถือกระบอง ถือท่อนไม้ ต้องมีการถือศัสตราวุธ ต้องมีการทะเลาะกัน ต้องมีการแก่งแย่งกัน ต้องมีการวิวาทกัน ต้องมีการกล่าวหากัน .....
๑.- ความหมายของ ตัณหา ในข้อ ก.) และ ข.) เหมือนกัน หรือ ต่างกัน อย่างไรครับ
๒.- มีสังคมใด ที่ปลอดจาก อิทธิพลของ "ตัณหา" บ้างครับ