“พาณิชย์” เอาไม่อยู่ มะนาวแพงกระฉูดทะลุลูกละ 9 บาท พ่อค้าแม่ค้าจ๊าก ประกาศงดทำเมนูที่ใช้มะนาวชั่วคราว หวั่นลูกค้าโวย ส่วนไข่ไก่ดีดขึ้นแรงฟองละ 40-50 สตางค์ ด้านผักสดราคาหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น ทั้งต้นหอม ผักชี คะน้า ผักกาด ขณะที่ข้าวเปลือกราคายังต้วมเตี้ยมแค่ 7.7-7.8 พันบาท เผย “ฉัตรชัย” นัดแถลงผลงาน 6 เดือน 20 เม.ย.นี้
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า จากการสำรวจราคาสินค้าอาหารสดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าราคาจำหน่ายปลีกมะนาวได้ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบปี โดยมะนาวเบอร์ 1-2 ราคาทะลุลูกละ 8-9 บาทแล้ว โดยปรับเพิ่มขึ้นลูกละ 2-3 บาท จากช่วงวันที่ 2 เม.ย. 2558 ที่ราคามะนาวอยู่ที่ลูกละ 6-7 บาท ส่วนราคามะนาวเบอร์ 3-4 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ลูกละ 6-7 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ที่ลูกละ 4.5 บาท
ขณะที่ราคาขายส่งในตลาดขายส่งต่างๆ ราคามะนาวก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยมะนาวลูกใหญ่ขายส่ง 100 ลูกที่ราคาประมาณ 700 บาท ขนาดกลาง 600 บาท และขนาดเล็ก 500 บาท และยังมีแนวโน้มที่จะมีการปรับราคาขึ้นอีก เนื่องจากผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยจากสภาพอากาศที่แล้งและร้อนจัด
อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหามะนาวมีราคาแพงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ได้พยายามใช้มาตรการเชื่อมโยงตลาด โดยนำผลผลิตจากแหล่งผลิตกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลน แต่ด้วยความที่ปริมาณความต้องการมากกว่าผลผลิตทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และไม่สามารถที่จะใช้มาตรการควบคุมราคาได้ เพราะเป็นสินค้าที่ขึ้นลงตามฤดูกาล และต้องปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด
สำหรับปัญหาราคามะนาวที่แพงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อร้านอาหารที่ใช้มะนาวเป็นวัตถุดิบ เช่น ร้านส้มตำ ร้านอาหารตามสั่ง ซึ่งร้านค้าเหล่านี้ได้แจ้งต่อลูกค้าว่าหากสั่งเมนูที่ใช้มะนาวเป็นส่วนประกอบก็จะขอปรับราคาเพิ่มขึ้นเพราะมะนาวแพง หรือไม่ก็ใช้วิธีการงดจำหน่ายเมนูที่ใช้มะนาวเป็นส่วนประกอบไปก่อน เพราะไม่ต้องการให้มีปัญหากับลูกค้า
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า จากการสำรวจตลาดยังพบว่า ราคาไข่ไก่เบอร์ 3 ซึ่งเป็นเบอร์ยอดนิยมที่ร้านอาหารปรุงสำเร็จ (จานด่วน) นำไปเป็นวัตถุดิบก็ได้ปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมาอยู่ที่ฟองละ 2.8-2.9 บาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 1 เม.ย. 2558 ที่ไข่ไก่เบอร์ 3 อยู่ที่ฟองละ 2.4-2.5 บาท หรือปรับเพิ่มขึ้นฟองละ 40-50 สตางค์ โดยเป็นผลจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้ปริมาณไข่ไก่ออกสู่ตลาดลดน้อยลง และคาดว่าแนวโน้มราคาไข่ไก่จะปรับเพิ่มขึ้นทะลุฟองละ 3 บาทขึ้นไป เพราะจะเข้าสู่ช่วงเปิดเทอมทำให้มีความต้องการบริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้น
สำหรับราคาผักสดชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่มีราคาทรงตัว บางรายการราคาลดลง แต่ก็มีบางรายการที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น เช่น ต้นหอมราคาเฉลี่ยกิโลกรัม (กก.) ละ 95 บาท เพิ่มจากเดือน มี.ค. 2558 ที่ราคาเฉลี่ย กก.ละ 30 บาท ผักชี กก.ละ 80 บาท เพิ่มจาก 50 บาท ผักคะน้า กก.ละ 23 บาท เพิ่มจาก 12 บาท ผักกาดหอม กก.ละ 51 บาท เพิ่มจาก 18 บาท เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังพบว่าราคาขายข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2558 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกษตรกรสามารถขายข้าวเปลือก 5% ความชื้นที่ 15% ได้ที่ราคา 7,700-7,800 บาทต่อตัน ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์พยายามจะผลักดันให้เกษตรกรขายได้ในราคา 8,000 บาทต่อตัน แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีมาตรการจัดตั้งตลาดกลางข้าวเปลือกในหลายพื้นที่เพื่อไม่ให้เกษตรกรถูกกดราคารับซื้อ แต่ก็ยังไม่สามารถผลักดันราคาปรับตัวขึ้นมาได้
รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 20 เม.ย. 2558 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ จะแถลงผลงานกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการมาในรอบ 6 เดือน ซึ่งผลงานที่คาดว่ากระทรวงพาณิชย์จะนำมาแถลงส่วนใหญ่จะเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ได้แก่ การดูแลค่าครองชีพให้แก่ประชาชน เช่น การจัดมหกรรมลดค่าครองชีพทั้งประเทศ การดูแลราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ผลไม้ และการผลักดันเรื่องการค้าชายแดนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นต้น
http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000044568
แม่ค้าจ๊าก! มะนาวพุ่งลูก 9 บาท ไข่ไก่ขยับด้วยฟองละ 40 สตางค์ แต่ข้าวเปลือกราคาร่วง !!
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์แจ้งว่า จากการสำรวจราคาสินค้าอาหารสดในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่าราคาจำหน่ายปลีกมะนาวได้ปรับตัวขึ้นสูงสุดในรอบปี โดยมะนาวเบอร์ 1-2 ราคาทะลุลูกละ 8-9 บาทแล้ว โดยปรับเพิ่มขึ้นลูกละ 2-3 บาท จากช่วงวันที่ 2 เม.ย. 2558 ที่ราคามะนาวอยู่ที่ลูกละ 6-7 บาท ส่วนราคามะนาวเบอร์ 3-4 ปรับขึ้นมาอยู่ที่ลูกละ 6-7 บาท เพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ที่ลูกละ 4.5 บาท
ขณะที่ราคาขายส่งในตลาดขายส่งต่างๆ ราคามะนาวก็ปรับตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยมะนาวลูกใหญ่ขายส่ง 100 ลูกที่ราคาประมาณ 700 บาท ขนาดกลาง 600 บาท และขนาดเล็ก 500 บาท และยังมีแนวโน้มที่จะมีการปรับราคาขึ้นอีก เนื่องจากผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยจากสภาพอากาศที่แล้งและร้อนจัด
อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหามะนาวมีราคาแพงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ได้พยายามใช้มาตรการเชื่อมโยงตลาด โดยนำผลผลิตจากแหล่งผลิตกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลน แต่ด้วยความที่ปริมาณความต้องการมากกว่าผลผลิตทำให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง และไม่สามารถที่จะใช้มาตรการควบคุมราคาได้ เพราะเป็นสินค้าที่ขึ้นลงตามฤดูกาล และต้องปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด
สำหรับปัญหาราคามะนาวที่แพงขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อร้านอาหารที่ใช้มะนาวเป็นวัตถุดิบ เช่น ร้านส้มตำ ร้านอาหารตามสั่ง ซึ่งร้านค้าเหล่านี้ได้แจ้งต่อลูกค้าว่าหากสั่งเมนูที่ใช้มะนาวเป็นส่วนประกอบก็จะขอปรับราคาเพิ่มขึ้นเพราะมะนาวแพง หรือไม่ก็ใช้วิธีการงดจำหน่ายเมนูที่ใช้มะนาวเป็นส่วนประกอบไปก่อน เพราะไม่ต้องการให้มีปัญหากับลูกค้า
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า จากการสำรวจตลาดยังพบว่า ราคาไข่ไก่เบอร์ 3 ซึ่งเป็นเบอร์ยอดนิยมที่ร้านอาหารปรุงสำเร็จ (จานด่วน) นำไปเป็นวัตถุดิบก็ได้ปรับราคาสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมาอยู่ที่ฟองละ 2.8-2.9 บาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 1 เม.ย. 2558 ที่ไข่ไก่เบอร์ 3 อยู่ที่ฟองละ 2.4-2.5 บาท หรือปรับเพิ่มขึ้นฟองละ 40-50 สตางค์ โดยเป็นผลจากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้ปริมาณไข่ไก่ออกสู่ตลาดลดน้อยลง และคาดว่าแนวโน้มราคาไข่ไก่จะปรับเพิ่มขึ้นทะลุฟองละ 3 บาทขึ้นไป เพราะจะเข้าสู่ช่วงเปิดเทอมทำให้มีความต้องการบริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้น
สำหรับราคาผักสดชนิดต่างๆ ส่วนใหญ่มีราคาทรงตัว บางรายการราคาลดลง แต่ก็มีบางรายการที่ราคาปรับเพิ่มขึ้น เช่น ต้นหอมราคาเฉลี่ยกิโลกรัม (กก.) ละ 95 บาท เพิ่มจากเดือน มี.ค. 2558 ที่ราคาเฉลี่ย กก.ละ 30 บาท ผักชี กก.ละ 80 บาท เพิ่มจาก 50 บาท ผักคะน้า กก.ละ 23 บาท เพิ่มจาก 12 บาท ผักกาดหอม กก.ละ 51 บาท เพิ่มจาก 18 บาท เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังพบว่าราคาขายข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2558 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกษตรกรสามารถขายข้าวเปลือก 5% ความชื้นที่ 15% ได้ที่ราคา 7,700-7,800 บาทต่อตัน ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์พยายามจะผลักดันให้เกษตรกรขายได้ในราคา 8,000 บาทต่อตัน แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีมาตรการจัดตั้งตลาดกลางข้าวเปลือกในหลายพื้นที่เพื่อไม่ให้เกษตรกรถูกกดราคารับซื้อ แต่ก็ยังไม่สามารถผลักดันราคาปรับตัวขึ้นมาได้
รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 20 เม.ย. 2558 พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ จะแถลงผลงานกระทรวงพาณิชย์ที่ดำเนินการมาในรอบ 6 เดือน ซึ่งผลงานที่คาดว่ากระทรวงพาณิชย์จะนำมาแถลงส่วนใหญ่จะเป็นไปตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ ได้แก่ การดูแลค่าครองชีพให้แก่ประชาชน เช่น การจัดมหกรรมลดค่าครองชีพทั้งประเทศ การดูแลราคาสินค้าเกษตร เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ผลไม้ และการผลักดันเรื่องการค้าชายแดนให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น เป็นต้น
http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000044568