เต๋าคือธรรมชาติ นี่คือประโยคที่บ่งบอกความเป็นเต๋าได้ส่วนหนึ่ง คนจีนนั้นได้นำลัทธิความเชื่อและศาสนามาผสมปนเปกัน โดยมีลัทธิความเชื่อใหญ่ๆสามส่วน คือพุทธ เต๋า และขงจื้อ ขงจื้อนั้นสอนให้คนทำความดี มีรูปธรรมจับต้องได้ ส่วนพุทธนั้นสอนให้คนเข้าสู่นิพพาน ในจีนนั้นพยามให้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
ลัทธิเต๋านั้นมีมานานก่อนพุทธ แต่คำสอนนั้นถูกนำมาเขียนในสมัยพระพุทธเจ้า โดยเหลาจื้อ ในขณะนั้นศาสนาพุทธยังอยู่แค่ในอินเดีย เนื่องจาก เต๋า เป็นลัทธิที่อยู่คู่คนจีนมานานและเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ดังนั้น ความเป็นมาก็เก่าแก่ จุดมุ่งหมายของลัทธิเต๋าก็คือเข้าสู่เต๋า ไม่เกิดไม่ดับ ไม่ทุกข์อีกต่อไป (ดูเหมือนกับนิพพานในพุทธ) แน่นอนว่าพุทธกว้างขวางและลึกอย่างไร เต๋าก็กว้างขวางลึกลับเพียงนั้น
คงยากที่จะปฎิเสธว่า พุทธก็กล่าวถึงเทวดาเช่นกัน ดังเช่นเห็นได้จาก กรณียเมตตสูตร ซึ่งเกิดจากการให้โทษของรุกขเทวดา และยังมีอีกหลายๆตอน ในพระสูตร สำหรับท่านไหนที่บอกว่าเป็นเรื่องของพราห์มปลอมปน ข้าพเจ้าไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะถกกันในเรื่องนี้ จักขอให้ผู้รู้ต่างๆ ถกกันจนมีข้อสรุปเถิด ข้าพเจ้าขอเข้าไปอ่านก็เพียงพอแล้ว
เทวดาในลัทธิเต๋ามีเป็นหมื่นเป็นแสน คงนับจำนวนกันไม่หวาดไม่ไหว แต่พิธีการไหว้สักการะนั้น เกิดเป็นรูปธรรม ในสมัยของจางเต้าหลิง หรือ จางเทียนซือ คนไทยชอบเรียกกันว่าเตียวเทียนซือ วิธีการคล้ายกับการเข้าเฝ้าและสักการะฮ่องเต้จีนในสมัยโบราณ ส่วนของไหว้ทั้งหลายหลักๆ ก็คือ ดอกไม้ ธูป เทียน น้ำชา ผลไม้ ปกติธูป ใช้สามดอก เพราะเทพเจ้าสูงสุดของเต๋ามีสามองค์คือ หยวนสื่อเทียนจุน หลิงเป่าเทียนจุน และไท่ซ่างเหล่าจุน(เหลาจื้อ) คล้ายๆกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
นอกจากการไหว้นั้น ก็จะมีรูปเคารพ ซึ่งรูปเคารพนั้น จะต้องผ่านพิธีการให้ศักดิสิทธิ์ก่อน ซึ่งวิธีการซับซ้อนยิ่งนัก ผู้ทำต้องมีการกินเจและสวดมนต์ไปด้วย สำหรับท่านที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ก็บอกว่าก็แค่รูปปั้น ก็ให้นึกถึงรุกขเทวดาครองต้นไม้อย่างไร เทวดาก็ครองรูปปั้นเหล่านั้นอย่างนั้น ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นเทวดาคงบอกแน่ชัดไม่ได้ อย่างน้อยหากไม่เชื่อเอาเสียเลยก็ทำความดีตามหลักเหตุผล เมื่อมีเหตุก็ ย่อมมีผลของการกระทำ
การนับถือเทวดานี้ ก็มิได้เป็นพุทธที่แท้ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มศรัทธา ซึ่งอยู่ในพละ ๕ ซึ่งนำไปสู่นิพพานในพุทธ อย่าลืมว่า เกิดเป็นมนุษย์แสนลำบาก แต่เกิดเป็นเทวดาก็ลำบากยิ่งกว่า เพราะต้องทำดีมากๆ หากทำดีมากก็เกิดในชั้นที่สูงหน่อย อาจเป็นถึงอินทร์ พรหมณ์ ดังนั้นเทวดาทั้งหลายมักมีเมตตาเป็นที่ตั้ง เมื่อคนไปกราบไหว้บูชา เพื่อร้องขอให้รอดจากภัยพิบัติ เทวดาเนื่องด้วยต้องการสะสมบุญบารมีต่างๆ ก็พยายามช่วยมนุษย์ (ข้าพเจ้านึกเอาตามเหตุตามผล) หากไม่กระทำดีแล้วไซร้ ก็เสื่อมด้วยญาณอันนั้น เหมือนกับพระเทวทัต
สำหรับท่านที่มีแต่นิพพานเป็นที่ตั้ง ก็ขออนุโมทนา ปราชญ์ทั้งหลายท่านมาและไปถูกทางแล้ว ข้าพเจ้าเพียงอยากเสริมส่วนนึงว่า นิพพานเปรียบเสมือนโนเบล แต่วิทยาศาสตร์อื่นๆที่ไม่ได้รางวัลโนเบลก็ยังคงมีประโยชน์ไม่ใช่หรือ เช่น มือถือที่สามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ไม่ว่าที่ไหนๆ ฉันใดก็ฉันนั้น การนับถือเทวดาของชาวจีนก็มีประโยชน์ในด้านเพิ่มพลังความศรัทธา เพื่อที่จะไปพิจารณาว่า การเป็นเทวดาทั้งหลายซึ่งมีวาสนา ญาณทั้งหลาย มิได้เกิดจากความบังเอิญ เพียงแต่ต้องหมั่นสร้างความดี แม้แต่พระสมนโคดมพระพุทธเจ้าก็เคยเกิดเป็นฤาษีในสมัย พระพุทธเจ้าฑีปังกรมาก่อน
อย่างไรก็ตาม ศรัทธาก็ต้องมาควบคู่กับปัญญา ซึ่งทางแห่งปัญญาก็มีเขียนไว้ในเต๋าเต็กเก็งและ พระไตรปิฎกแล้ว
ความดีที่สุดก็เปรียบเสมือนน้ำ ซึ่งหล่อเลี้ยง สรรพสิ่งโดยไม่ต้องพยายาม
การนับถือเทวดาของจีน
ลัทธิเต๋านั้นมีมานานก่อนพุทธ แต่คำสอนนั้นถูกนำมาเขียนในสมัยพระพุทธเจ้า โดยเหลาจื้อ ในขณะนั้นศาสนาพุทธยังอยู่แค่ในอินเดีย เนื่องจาก เต๋า เป็นลัทธิที่อยู่คู่คนจีนมานานและเป็นลัทธิที่เกิดขึ้นในประเทศจีน ดังนั้น ความเป็นมาก็เก่าแก่ จุดมุ่งหมายของลัทธิเต๋าก็คือเข้าสู่เต๋า ไม่เกิดไม่ดับ ไม่ทุกข์อีกต่อไป (ดูเหมือนกับนิพพานในพุทธ) แน่นอนว่าพุทธกว้างขวางและลึกอย่างไร เต๋าก็กว้างขวางลึกลับเพียงนั้น
คงยากที่จะปฎิเสธว่า พุทธก็กล่าวถึงเทวดาเช่นกัน ดังเช่นเห็นได้จาก กรณียเมตตสูตร ซึ่งเกิดจากการให้โทษของรุกขเทวดา และยังมีอีกหลายๆตอน ในพระสูตร สำหรับท่านไหนที่บอกว่าเป็นเรื่องของพราห์มปลอมปน ข้าพเจ้าไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะถกกันในเรื่องนี้ จักขอให้ผู้รู้ต่างๆ ถกกันจนมีข้อสรุปเถิด ข้าพเจ้าขอเข้าไปอ่านก็เพียงพอแล้ว
เทวดาในลัทธิเต๋ามีเป็นหมื่นเป็นแสน คงนับจำนวนกันไม่หวาดไม่ไหว แต่พิธีการไหว้สักการะนั้น เกิดเป็นรูปธรรม ในสมัยของจางเต้าหลิง หรือ จางเทียนซือ คนไทยชอบเรียกกันว่าเตียวเทียนซือ วิธีการคล้ายกับการเข้าเฝ้าและสักการะฮ่องเต้จีนในสมัยโบราณ ส่วนของไหว้ทั้งหลายหลักๆ ก็คือ ดอกไม้ ธูป เทียน น้ำชา ผลไม้ ปกติธูป ใช้สามดอก เพราะเทพเจ้าสูงสุดของเต๋ามีสามองค์คือ หยวนสื่อเทียนจุน หลิงเป่าเทียนจุน และไท่ซ่างเหล่าจุน(เหลาจื้อ) คล้ายๆกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
นอกจากการไหว้นั้น ก็จะมีรูปเคารพ ซึ่งรูปเคารพนั้น จะต้องผ่านพิธีการให้ศักดิสิทธิ์ก่อน ซึ่งวิธีการซับซ้อนยิ่งนัก ผู้ทำต้องมีการกินเจและสวดมนต์ไปด้วย สำหรับท่านที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ก็บอกว่าก็แค่รูปปั้น ก็ให้นึกถึงรุกขเทวดาครองต้นไม้อย่างไร เทวดาก็ครองรูปปั้นเหล่านั้นอย่างนั้น ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นเทวดาคงบอกแน่ชัดไม่ได้ อย่างน้อยหากไม่เชื่อเอาเสียเลยก็ทำความดีตามหลักเหตุผล เมื่อมีเหตุก็ ย่อมมีผลของการกระทำ
การนับถือเทวดานี้ ก็มิได้เป็นพุทธที่แท้ แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มศรัทธา ซึ่งอยู่ในพละ ๕ ซึ่งนำไปสู่นิพพานในพุทธ อย่าลืมว่า เกิดเป็นมนุษย์แสนลำบาก แต่เกิดเป็นเทวดาก็ลำบากยิ่งกว่า เพราะต้องทำดีมากๆ หากทำดีมากก็เกิดในชั้นที่สูงหน่อย อาจเป็นถึงอินทร์ พรหมณ์ ดังนั้นเทวดาทั้งหลายมักมีเมตตาเป็นที่ตั้ง เมื่อคนไปกราบไหว้บูชา เพื่อร้องขอให้รอดจากภัยพิบัติ เทวดาเนื่องด้วยต้องการสะสมบุญบารมีต่างๆ ก็พยายามช่วยมนุษย์ (ข้าพเจ้านึกเอาตามเหตุตามผล) หากไม่กระทำดีแล้วไซร้ ก็เสื่อมด้วยญาณอันนั้น เหมือนกับพระเทวทัต
สำหรับท่านที่มีแต่นิพพานเป็นที่ตั้ง ก็ขออนุโมทนา ปราชญ์ทั้งหลายท่านมาและไปถูกทางแล้ว ข้าพเจ้าเพียงอยากเสริมส่วนนึงว่า นิพพานเปรียบเสมือนโนเบล แต่วิทยาศาสตร์อื่นๆที่ไม่ได้รางวัลโนเบลก็ยังคงมีประโยชน์ไม่ใช่หรือ เช่น มือถือที่สามารถอ่านพระไตรปิฎกได้ไม่ว่าที่ไหนๆ ฉันใดก็ฉันนั้น การนับถือเทวดาของชาวจีนก็มีประโยชน์ในด้านเพิ่มพลังความศรัทธา เพื่อที่จะไปพิจารณาว่า การเป็นเทวดาทั้งหลายซึ่งมีวาสนา ญาณทั้งหลาย มิได้เกิดจากความบังเอิญ เพียงแต่ต้องหมั่นสร้างความดี แม้แต่พระสมนโคดมพระพุทธเจ้าก็เคยเกิดเป็นฤาษีในสมัย พระพุทธเจ้าฑีปังกรมาก่อน
อย่างไรก็ตาม ศรัทธาก็ต้องมาควบคู่กับปัญญา ซึ่งทางแห่งปัญญาก็มีเขียนไว้ในเต๋าเต็กเก็งและ พระไตรปิฎกแล้ว
ความดีที่สุดก็เปรียบเสมือนน้ำ ซึ่งหล่อเลี้ยง สรรพสิ่งโดยไม่ต้องพยายาม