ทำความรู้จักกับ ม.16 ของฝรั่งเศส ค่อนข้างยาวนิดนึงนะ

กระทู้คำถาม
มาตรา 16
        "ในกรณีที่สถาบันแห่งสาธารณรัฐ ความเป็นเอกราชของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดนหรือการปฏิบัติตามพันธกรณี
ระหว่างประเทศถูกคุกคามอย่างร้ายแรงและปัจจุบันทันด่วน และการดำเนินการตามปกติของสถาบันทางการเมืองแห่งรัฐ
ตามรัฐธรรมนูญหยุดชะงักลง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐมีอำนาจใช้มาตรการที่จำเป็นสำหรับจัดการกับสถานการณ์ดัง
กล่าวได้ภายหลังจากที่ได้มีการปรึกษาหารืออย่างเป็นทางการกับนายกรัฐมนตรี ประธานสภาทั้งสองและคณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญแล้ว ประธานาธิบดี จะต้องแถลงให้ประชาชนทราบถึงการใช้มาตรการดังกล่าว
       มาตรการดังกล่าวจะต้องใช้โดยมีเจตจำนงที่จะทำให้สถาบันการเมืองแห่งรัฐสามารถปฏิบัติตามภารกิจของตนได้ภาย
ในระยะเวลาที่จำกัดที่สุด ทั้งนี้ โดยมีการปรึกษาหารือกับคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
        รัฐสภาเปิดสมัยประชุมได้เองในระหว่างที่มีการใช้อำนาจฉุกเฉินดังกล่าว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้"


การใช้อำนาจตามมาตรา 16 ของประธานาธิบดีนั้น เป็นการใช้อำนาจอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และไม่มีองค์กรใดเข้ามาตรวจสอบได้
ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าเป็นการให้อำนาจประธานาธิบดีมากจนเกินไป ต่อมาในปี ค.ศ. 2008 จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวเพื่อสร้างกลไกในการตรวจสอบการใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดี โดยได้มี การเพิ่มเติมวรรคท้าย
ของมาตรา 16 เข้าไปดังนี้
        
        ภายในระยะเวลา 30 วัน หลังจากที่มีการใช้อำนาจพิเศษ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
จำนวน 60 คน สามารถร้องขอต่อคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ตรวจสอบว่าการใช้อำนาจดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในวรรค
แรกของมาตรานี้หรือไม่ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญจะต้องพิจารณาและเปิดเผยผลการพิจารณาต่อสาธารณชนโดยเร็ว โดยในการพิจารณา
นั้น คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจในการตรวจสอบการใช้อำนาจพิเศษดังกล่าวอย่างเต็มที่และจะต้องประกาศผลการตรวจสอบการใช้
อำนาจดังกล่าวภายในเวลา 60 วัน นับแต่วันที่มีการประกาศใช้อำนาจพิเศษหรือภายในเวลาใดนอกเหนือเวลาดังกล่าว


มาตรา 16 นี้ มีที่มาจากแนวความคิดของนายพล Charles de Gaulle ที่ต้องการให้ “ประมุขของรัฐ” มีอำนาจพิเศษที่สามารถแก้ไข
วิกฤติที่ขึ้นในประเทศได้อย่างรวดเร็วและเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจดังกล่าว แม้ประมุขของรัฐจะมีอำนาจมาก แต่ก็มิ
ได้หมายความว่าจะใช้อำนาจเมื่อใดก็ได้ รัฐธรรมนูญมาตรา 16 ได้กำหนดเงื่อนไขของการใช้อำนาจไว้ 2 กรณีด้วยกัน คือ เงื่อนไข
ทางด้านสถานการณ์ กับ เงื่อนไขทางด้านกระบวนการ
      เงื่อนไขทางด้านสถานการณ์ นั้น สิ่งแรกที่จะต้องนำมาพิจารณาก่อนที่จะมีการตัดสินใจใช้อำนาจมาตรา 16 ก็คือ การ
บริหารงานของรัฐ ตามปกติ ไม่สามารถทำได้ สิ่งต่อมาก็คือ สถาบันต่างๆของรัฐ ความเป็นเอกภาพของดินแดน ความเป็นเอกราช
ของชาติ หรือการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศถูกคุกคาม อย่างร้ายแรงและเฉียบพลัน
      เงื่อนไขทางด้านกระบวนการ นั้น เป็นสิ่งที่ตามมาจากเงื่อนไขแรก เพราะหากเกิดสถานการณ์เหล่านั้นขึ้น รัฐธรรมนูญ
มาตรา 16 ก็ได้บัญญัติว่าก่อนที่ประธานาธิบดีจะตัดสินใจใช้อำนาจพิเศษ ประธานาธิบดีต้องหารือกับ นายกรัฐมนตรี ประธานสภาทั้ง
2 และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก่อน ความเห็นของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในเรื่องดังกล่าวจำต้องเปิดเผยต่อสาธารณชนด้วย และ
นอกจากนี้ เพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็น “เจ้าของอำนาจอธิปไตย” ที่แท้จริงทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นของการใช้อำนาจพิเศษ

รัฐธรรมนูญก็ได้กำหนดว่านอกเหนือไปจากการหารือกับฝ่ายนิติบัญญัติ คือประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานวุฒิสภา ฝ่ายบริหาร
คือนายกรัฐมนตรี และ “ผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ” คือตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว ประธานาธิบดียังจะต้องแจ้งเรื่องดังกล่าวให้กับประชาชน
ทราบด้วย
โดยในปี ค.ศ. 1961 เมื่อประธานาธิบดี Charles de Gaulle จะใช้อำนาจดังกล่าวก็ได้แจ้งให้กับประชาชนทราบโดยผ่าน
ทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์

มีข้อจำกัดอำนาจของประธานาธิบดีอยู่บ้างในช่วงที่ประธานาธิบดีใช้อำนาจดังกล่าว โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 16 ได้ห้ามประธานาธิบดีที่
จะใช้อำนาจในการ ยุบสภา และนอกจากนี้แล้ว ในระหว่างการใช้อำนาจพิเศษ ทุกครั้งที่ประธานาธิบดีจะใช้มาตรการใดๆที่จำเป็น ก็จำ
ต้องขอความเห็นจากคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก่อน แต่รัฐธรรมนูญก็มิได้กำหนดให้ต้องเปิดเผยความเห็นของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ
ต่อสาธารณชน
มาตรา 16 นี้เป็นอำนาจเฉพาะตัวของประธานาธิบดี ที่จะใช้ได้โดยไม่ต้องมีการลงนามร่วม ( contreseing ) ซึ่งแตกต่างไปจากการใช้
อำนาจอื่น ๆตามรัฐธรรมนูญของประธานาธิบดีที่ต้องมีผู้ลงนามร่วม การใช้อำนาจตามมาตรา 16 เป็นดุลยพินิจของประธานาธิบดีแต่
เพียงผู้เดียวที่จะตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

การใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 16 ดังกล่าวข้างต้น ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่าเป็น “เผด็จการตามรัฐธรรมนูญ” เพราะ
เมื่อประธานาธิบดีประกาศการใช้อำนาจพิเศษแล้ว ก็ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรใดเลย ศาลปกครองสูงสุดเคยมีคำพิพากษา
ไว้ในปี ค.ศ. 1962 ว่า การประกาศใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดีเป็นเรื่องทางนโยบาย เป็นการกระทำที่เรียกว่า การกระทำทาง
รัฐบาล ( acte de gouvernement) ซึ่งไม่อยู่ในเขตอำนาจของศาลปกครอง คณะตุลาการรัฐธรรมนูญก่อนปี ค.ศ. 2008 ก็ไม่มีอำนาจ
ใดๆในการตรวจสอบ รัฐสภาก็ไม่สามารถใช้กระบวนการควบคุมได้ เพราะรัฐสภาไม่มีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจประธานาธิบดี
มีเพียงกรณีเดียวที่อาจนำมาใช้ควบคุมการประกาศใช้อำนาจพิเศษของประธานาธิบดีได้ก็คือ ใช้กระบวนการตามมาตรา 68 แห่งรัฐธรรมนูญ
หากพบว่าการกระทำดังกล่าวของประธานาธิบดีเป็นการทรยศต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง ซึ่งจะถูกตรวจสอบโดยศาลอาญาชั้นสูง
(La Haute Cour de Justice) ซึ่งก็ประกอบไปด้วยสมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา
       
ปัจจุบัน ภายหลังการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. 2008 คณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจที่จะตรวจสอบว่าการใช้อำนาจพิเศษ
ของประธานาธิบดีเป็นไปตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดหรือไม่ ซึ่งการตรวจสอบดังกล่าวก็เป็นเพียงการตรวจสอบ “รูปแบบ” ของ
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินว่าเป็นไปตาม “เงื่อนไข” หรือไม่ ส่วน “เนื้อหา” ของการใช้อำนาจพิเศษดังกล่าวก็ยังคงไม่อยู่ในการ
ตรวจสอบขององค์กรใดเช่นเดิม
นับตั้งแต่ รัฐธรรมนูญฉบับปี ค.ศ. 1958 ใช้บังคับ มีการประกาศใช้อำนาจพิเศษรวม 5 ครั้งด้วยกัน โดยมีการใช้อำนาจพิเศษ 3 ครั้ง
เพื่อแก้ไขความวุ่นวายอันเกิดจากการแบ่งแยกดินแดนของประเทศอาณานิคม การใช้อำนาจพิเศษ 1 ครั้งในกรณีเกิดการกบฎเมื่อปี
ค.ศ. 1961 และการใช้อำนาจพิเศษครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 2005 เมื่อเกิดการจลาจลขึ้นที่ชานกรุง Paris ซึ่งในครั้งนั้น การประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉินยาวนานถึง 3 เดือน
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
พอหลังจากที่ได้เห็นการแถลงของวิษณุต่อนานาชาติ ว่าม.44 กับ ม.16 ของฝรั่งเศสนั้นคล้ายกันจนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็น
อย่างมากว่าไม่ได้สอดคล้องกันเลยว่า มาตรา44 ของไทยละเลยที่จะพูดถึงเงื่อนไขหลักที่สภาผู้แทนราษฎรยังคงอยู่ในช่วงเวลา
ที่ประกาศภาวะฉุกเฉิน และละเลยที่บอกด้วยว่าประธานาธิบดีและสภาผู้แทนราษฎรประเทศฝรั่งเศสมาจากการเลือกตั้ง
จึงได้ทำการศึกษารายละเอียดของมาตรา 16 แล้วพบว่าอาจจะคล้ายกันในการใช้อำนาจพิเศษในการแก้ปัญหาความรุนแรงใน
ประเทศแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจะประกาศใช้ได้ก็ต้องหารือกับนายกรัฐมนตรี ประธานสภาทั้ง 2 และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญก่อน และ
ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะชน เพื่อให้ประชาชนซึ่งเป็น “เจ้าของอำนาจอธิปไตย” ที่แท้จริงทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นของการ
ใช้อำนาจพิเศษ

จึงได้ข้อสรุปว่า ต่างกันเป็นอย่างมาก และหวังว่าวิษณุควรจะศึกษาข้อมูลให้ดีซะก่อนมากกว่านี้ในคราวหน้า
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่