ขอเปิดประเด็นทางบัญชีนะครับ เพื่อดูว่าฝ่ายบัญชีของธนาคารกสิกรไทยทำผิดหรือบกพร่องตรงไหน จากกระทู้เก่า
http://ppantip.com/topic/33480366 ขอเล่าคร่าว ๆ นะครับคือฝากเงินแบบฝากประจำ 14 เดือนและได้ดอกเบี้ยทุก ๆ 3 เดือน โดยในระหว่างนี้ได้ดอกเบี้ยมา 5,000 บาท และถูกหัก ณ.ที่จ่ายไป 750 บาท (ตัวเลขสมมติ) โดยในการหักภาษี ณ.ที่จ่ายนี้ธนาคารต้องนำส่งสรรพากรด้วยแบบ ภ.ง.ด. 2 ต่อมาปรากฏว่าลูกค้าทำผิดเงื่อนไข คือปิดบัญชีก่อนครบกำหนดทำให้ต้องคืนดอกเบี้ยจำนวน 5,000 บาทที่ได้รับมาระหว่างทาง เมื่อมีการคืนดอกเบี้ยจำนวนเงิน 5,000 บาท ธนาคารต้องทำอย่างไร
- ยื่นแก้ไข ภ.ง.ด.2 ย้อนหลัง
- การยื่น ภ.ง.ด. 2 ด้วยตัวเลขติดลบ (ไม่ทราบว่าระบบของสรรพากรจะรับตัวเลขติดลบหรือไม่)
หรือใครจะมีข้อเสนอแนะอื่น ๆ ก็ยินดีนะครับ
ส่วนภาษี 750 บาทนั้นจะทำอย่างไร
- การยื่น ภ.ง.ด. 2 ย้อนหลังพบว่ามีภาษีที่จ่ายเกินไป 750 บาท สามารถนำมาเครดิตกับการนำส่ง ภ.ง.ด.2 ในเดือนถัดไปได้หรือไม่
- ทิ้งไว้อย่างนั้น และให้ลูกค้าไปขอคืนจากสรรพากรเอง
ผมคิดว่าวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการยื่น ภ.ง.ด.2 ย้อนหลังและให้ลูกค้าไปขอคืนภาษี 750 บาทนี้เอง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อผมขอหนังสือรับรองภาษีหัก ณ.ที่จ่าย ปรากฏว่าธนาคารระบุว่ามีรายได้จากดอกเบี้ย 5,000 บาท และมีภาษีหัก ณ.ที่จ่าย 750 บาท (จริง ๆ รายได้ต้องเป็น 0 เพราะผมคืนเงินดอกเบี้ยไปหมดแล้ว) เมื่อผมแย้งไปทาง Call Center กลับได้รับการยืนยันว่าเอกสารถูกต้องแล้วโดยอ้างว่าเงิน 5,000 บาทที่เรียกคืนนี้ไม่ใช่การคืนดอกเบี้ย แต่เป็นค่าปรับบ้าง เงินชดเชยความเสียหายบ้าง แต่ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เหล่านี้ตามที่ผมทราบว่า (ซึ่งอาจจะผิดก็ได้) หากจะเรียกเก็บจากต่ลูกค้าต้องแจ้ง ธปท. และได้รับความเห็นชอบ มาซี้ซั้วเก็บแบบนี้ไม่ได้
สุดท้ายธนาคารเสนอว่าจะออกหนังสือรับรองว่าผมได้คืนดอกเบี้ย 5,000 บาทนี้ให้กับธนาคารแล้วเพื่อแนบกับหนังสือรับรองภาษีหัก ณ.ที่จ่ายเพื่อยืนยันว่าตัวเลขรายได้ 5,000 บาทนี้ต้องเป็น 0 แต่เสนอมาหลังจากผมทำการยื่น ภ.ง.ด. เรียบร้อยแล้ว (เพราะหากไม่ยื่นในวัน-เวลาดังกล่าวจะมีปัญหายื่น ภ.ง.ด. ล่าช้า) โดยไม่ใช้หนังสือรับรองภาษีหัก ณ.ที่จ่ายที่ธนาคารให้มา ทั้งที่เป็นข้อเสนอที่ขอไว้ตั้งแต่ตอนแรก แต่กลับยอมรับเมื่อเอกสารไม่มีประโยชน์แล้ว แต่ธนาคารบอกให้ทำการยื่น ค.10 เพื่อขอคืนภาษีที่จ่ายเกิน แต่สำหรับนักบัญชีคงรู้ว่าการยื่น ค.10 นั้นวุ่นวายขนาดไหน คงไม่คุ้มกับเงินไม่กี่บาทที่ได้มา
สรุปคือฝ่ายบัญชีของธนาคารกสิกรไทยทำงานบกพร่อง แต่กลับโอนปัญหาความรับผิดชอบให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าแย้งไปก็ยังเถียงว่าทำถูกต้องแล้ว แต่ตอนนี้เหมือนยอมจำนนต่อหลักฐานจึงเสนอทางออกของปัญหามาให้เมื่อช้าไปแล้ว เหมือนแกล้งให้ลูกค้าไม่สามารถใช้ประโยชน์จากภาษีที่ถูกธนาคารกสิกรไทยหักไปได้
ดูว่า KBANK ผิดพลาดในขั้นตอนไหน
- ยื่นแก้ไข ภ.ง.ด.2 ย้อนหลัง
- การยื่น ภ.ง.ด. 2 ด้วยตัวเลขติดลบ (ไม่ทราบว่าระบบของสรรพากรจะรับตัวเลขติดลบหรือไม่)
หรือใครจะมีข้อเสนอแนะอื่น ๆ ก็ยินดีนะครับ
ส่วนภาษี 750 บาทนั้นจะทำอย่างไร
- การยื่น ภ.ง.ด. 2 ย้อนหลังพบว่ามีภาษีที่จ่ายเกินไป 750 บาท สามารถนำมาเครดิตกับการนำส่ง ภ.ง.ด.2 ในเดือนถัดไปได้หรือไม่
- ทิ้งไว้อย่างนั้น และให้ลูกค้าไปขอคืนจากสรรพากรเอง
ผมคิดว่าวิธีการที่ง่ายที่สุดคือการยื่น ภ.ง.ด.2 ย้อนหลังและให้ลูกค้าไปขอคืนภาษี 750 บาทนี้เอง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเมื่อผมขอหนังสือรับรองภาษีหัก ณ.ที่จ่าย ปรากฏว่าธนาคารระบุว่ามีรายได้จากดอกเบี้ย 5,000 บาท และมีภาษีหัก ณ.ที่จ่าย 750 บาท (จริง ๆ รายได้ต้องเป็น 0 เพราะผมคืนเงินดอกเบี้ยไปหมดแล้ว) เมื่อผมแย้งไปทาง Call Center กลับได้รับการยืนยันว่าเอกสารถูกต้องแล้วโดยอ้างว่าเงิน 5,000 บาทที่เรียกคืนนี้ไม่ใช่การคืนดอกเบี้ย แต่เป็นค่าปรับบ้าง เงินชดเชยความเสียหายบ้าง แต่ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เหล่านี้ตามที่ผมทราบว่า (ซึ่งอาจจะผิดก็ได้) หากจะเรียกเก็บจากต่ลูกค้าต้องแจ้ง ธปท. และได้รับความเห็นชอบ มาซี้ซั้วเก็บแบบนี้ไม่ได้
สุดท้ายธนาคารเสนอว่าจะออกหนังสือรับรองว่าผมได้คืนดอกเบี้ย 5,000 บาทนี้ให้กับธนาคารแล้วเพื่อแนบกับหนังสือรับรองภาษีหัก ณ.ที่จ่ายเพื่อยืนยันว่าตัวเลขรายได้ 5,000 บาทนี้ต้องเป็น 0 แต่เสนอมาหลังจากผมทำการยื่น ภ.ง.ด. เรียบร้อยแล้ว (เพราะหากไม่ยื่นในวัน-เวลาดังกล่าวจะมีปัญหายื่น ภ.ง.ด. ล่าช้า) โดยไม่ใช้หนังสือรับรองภาษีหัก ณ.ที่จ่ายที่ธนาคารให้มา ทั้งที่เป็นข้อเสนอที่ขอไว้ตั้งแต่ตอนแรก แต่กลับยอมรับเมื่อเอกสารไม่มีประโยชน์แล้ว แต่ธนาคารบอกให้ทำการยื่น ค.10 เพื่อขอคืนภาษีที่จ่ายเกิน แต่สำหรับนักบัญชีคงรู้ว่าการยื่น ค.10 นั้นวุ่นวายขนาดไหน คงไม่คุ้มกับเงินไม่กี่บาทที่ได้มา
สรุปคือฝ่ายบัญชีของธนาคารกสิกรไทยทำงานบกพร่อง แต่กลับโอนปัญหาความรับผิดชอบให้กับลูกค้า เมื่อลูกค้าแย้งไปก็ยังเถียงว่าทำถูกต้องแล้ว แต่ตอนนี้เหมือนยอมจำนนต่อหลักฐานจึงเสนอทางออกของปัญหามาให้เมื่อช้าไปแล้ว เหมือนแกล้งให้ลูกค้าไม่สามารถใช้ประโยชน์จากภาษีที่ถูกธนาคารกสิกรไทยหักไปได้