.......ครูบาอาจารย์แต่ละท่านแต่ละภาคก็มีแนวทางการสอนแตกต่างกันออกไป สภาพทางภูมิศาสตร์ก็น่ามีส่วน กล่าวคือ ภาคกลางในอดีตพระภิกษุเป็นที่พึ่งทางใจของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างยิ่ง จะเห็นว่าวัดเป็นที่พึ่งของชุมชนอย่างใกล้ชิด เรียนหนังสือก็วัด เจ็บป่วยก็วัด ฝันดีฝันร้ายก็วัด ภูติผีปีศาจรบกวนก็ได้หลวงลุงหลวงอากำหราบให้ ยิ่งมีศึกสงคราม หลวงพ่อหลวงปู่หลวงตา ก็ปลุกเสกแจกของขลังให้ ทำให้ชาวบ้านมีกำลังใจต่อสู้เพื่อรักษาชาติ แผ่นดินไทย เอาไว้จนทุกวันนี้
ดูจากวรรณคดีไทย เอาเรื่องขุนช้างขุนแผน จะเห็นชัดว่าคาถาอาคมต่างๆของท่านขุน(แผน)ล้วนได้มาจากวัด ผู้ประสิทธิประสาทให้คือพระภิกษุผู้ทรงวิทยาคม แต่ละสำนักก็มีตวามเชี่ยวชาญแต่ละสาขากันไป พระอริยะสงฆ์ทางภาคกลางตั้งแต่อดีตมา กราบคารวะที่เอ่ยถึง เช่น หลวงพ่อปาน,หลวงพ่อเดิม,หลวงปู่ศุข,และอีกหลายท่านล้วนชำนาญทางฤทธิ์ ดังจะอ่านพบถึงอภิญญาของท่านที่แสดงให้ผู้ศรัทธาได้พบเห็นและเล่าขานสืบกันมา แน่นอนทุกท่านต้องบรรลุธรรมขั้นสูงโดยมิต้องมีผู้ใดคิดสงสัย ท่านจึงแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่ศาสนิกก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาสืบเนื่องมา ในการสอนของท่านจึงมีเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับฤทธิ์เดช ฯลฯ เพื่อให้ถูกกับจริตและแรงศรัทธาของกลุ่มชนตามสถานะการณ์ที่เกิดขึ้น
ภาคอิสาน...จุดกำเนิดสายวัดป่า ไม่มีการศึกสงครามสู้รบกับชนชาติอื่นๆบ่อยครั้ง พระภิกษุจึงเป็นที่พึ่งในทางศาสนพิธี ในอดีตไม่ค่อยมีการปลุกเสกหรือแจกวัตถุมงคลเพื่อไว้ใช้ในการสู้รบ ชาวบ้านมี่ความเชื่อในการทำบุญตามฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เพื่อสืบทอดพระศาสนาตามที่เคยปฏิบัติกันมา แน่นอนความอุดมสมบูรณ์ในการดำรงชีพย่อมน้อยกว่าภาคอื่นๆอย่างเทียบไม่ได้ ออกไปทางลำบากและอัตคัต การนี้ทำให้องค์ครูบาอาจารย์ทางภาคอิสานมีความอดทน มุ่งมั่นในการค้นพบทางแห่งการพ้นทุกข์ อันเป็นแนวทางในการฝึกจิตอย่างเข้มข้น ตามแนวคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งทำให้บรรลุธรรมขั้นสูงเช่นกัน แนวการถ่ายทอดคำสอนจึงเน้นทางปฏิบัติ ไม่ค่อยพูดถึงแนวอิทธิฤทธิ์(แต่ก็พอมีบ้าง)
ผมเองคิดว่า นี่คือที่มาของความแตกต่างแห่งคำสอน แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อให้เราชาวพุทธล่วนละความชั่ว ปฎิบัติแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส เพื่อพบความสุขแห่งธรรมะตามนัยแห่งบุญและกรรมที่กระทำมาอันแตกต่างกันในแต่ละบุคคล............
สิ่งที่ทำให้อาจเกิดความแตกต่างในคำสอนองค์ครูบาอาจารย์
ดูจากวรรณคดีไทย เอาเรื่องขุนช้างขุนแผน จะเห็นชัดว่าคาถาอาคมต่างๆของท่านขุน(แผน)ล้วนได้มาจากวัด ผู้ประสิทธิประสาทให้คือพระภิกษุผู้ทรงวิทยาคม แต่ละสำนักก็มีตวามเชี่ยวชาญแต่ละสาขากันไป พระอริยะสงฆ์ทางภาคกลางตั้งแต่อดีตมา กราบคารวะที่เอ่ยถึง เช่น หลวงพ่อปาน,หลวงพ่อเดิม,หลวงปู่ศุข,และอีกหลายท่านล้วนชำนาญทางฤทธิ์ ดังจะอ่านพบถึงอภิญญาของท่านที่แสดงให้ผู้ศรัทธาได้พบเห็นและเล่าขานสืบกันมา แน่นอนทุกท่านต้องบรรลุธรรมขั้นสูงโดยมิต้องมีผู้ใดคิดสงสัย ท่านจึงแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่ศาสนิกก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาสืบเนื่องมา ในการสอนของท่านจึงมีเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับฤทธิ์เดช ฯลฯ เพื่อให้ถูกกับจริตและแรงศรัทธาของกลุ่มชนตามสถานะการณ์ที่เกิดขึ้น
ภาคอิสาน...จุดกำเนิดสายวัดป่า ไม่มีการศึกสงครามสู้รบกับชนชาติอื่นๆบ่อยครั้ง พระภิกษุจึงเป็นที่พึ่งในทางศาสนพิธี ในอดีตไม่ค่อยมีการปลุกเสกหรือแจกวัตถุมงคลเพื่อไว้ใช้ในการสู้รบ ชาวบ้านมี่ความเชื่อในการทำบุญตามฮีตสิบสอง คองสิบสี่ เพื่อสืบทอดพระศาสนาตามที่เคยปฏิบัติกันมา แน่นอนความอุดมสมบูรณ์ในการดำรงชีพย่อมน้อยกว่าภาคอื่นๆอย่างเทียบไม่ได้ ออกไปทางลำบากและอัตคัต การนี้ทำให้องค์ครูบาอาจารย์ทางภาคอิสานมีความอดทน มุ่งมั่นในการค้นพบทางแห่งการพ้นทุกข์ อันเป็นแนวทางในการฝึกจิตอย่างเข้มข้น ตามแนวคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งทำให้บรรลุธรรมขั้นสูงเช่นกัน แนวการถ่ายทอดคำสอนจึงเน้นทางปฏิบัติ ไม่ค่อยพูดถึงแนวอิทธิฤทธิ์(แต่ก็พอมีบ้าง)
ผมเองคิดว่า นี่คือที่มาของความแตกต่างแห่งคำสอน แต่ทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อให้เราชาวพุทธล่วนละความชั่ว ปฎิบัติแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส เพื่อพบความสุขแห่งธรรมะตามนัยแห่งบุญและกรรมที่กระทำมาอันแตกต่างกันในแต่ละบุคคล............