"วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์" เล่าเบื้องหลังไทยตกมาตรฐานการบิน ปลอดภัยต่ำ-เครื่องห่วยแตก
ปัญหาการตรวจสอบมาตรฐานกรมการบินพลเรือน ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ "ไอซีเอโอ" ของประเทศไทย เริ่มส่งผลกระทบวงกว้างมากขึ้น แม้ว่าล่าสุด พลเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นยอมเปิดน่านฟ้ารับสายการบินของไทยในช่วงอีก 2 เดือนจากนี้ แต่ก็ยังเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ขณะเดียวกันรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า จีนได้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ห้ามสายการบินไทย ประเภทเช่าเหมาลำ เพิ่มเที่ยวบินใหม่ไปยังจีน ขณะที่อีกหลายประเทศที่รับทราบเอกสารข้อมูลจากไอซีเอโอ ก็เริ่มตั้งข้อสังเกตต่อมาตรฐานการบินของกรมการบินพลเรือนของไทยด้วยเช่นกัน
จากประเด็นดังกล่าว วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีตรองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว กล่าวถึง "เบื้องหลังไทยสอบตกมาตรฐานความปลอดภัยการบิน" โดยระบุว่า
กรมการบินพลเรือนของไทย สอบตกมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO พบว่า ไทยมีข้อบกพร่องต่อความปลอดภัยการเดินอากาศ มีคะแนนต่ำที่สุดในอาเซียน ต่ำกว่าเขมรและลาวเสียอีก จนล่าสุด ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ประกาศลดจำนวนเครื่องจากเมืองไทย
เพื่อนคนหนึ่งเป็นนายช่างใหญ่ที่สนามบิน ได้เล่าปัญหาส่วนหนึ่งให้ฟังว่า มาตรฐานความปลอดภัยของ ICAO สูงมาก เครื่องยนต์และอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในเครื่องบินต้องผ่านการตรวจว่าสมบูรณ์ 100%
แต่ที่เมืองไทย...
1. ที่ข่าวบอกว่าเป็นปัญหาเพราะ การเพิ่มจำนวนของสายการบินโลว์คอส ทำให้การตรวจสอบคุณภาพไม่ทั่วถึงนั้น เพื่อนบอกว่า จริง ๆ แล้วเป็นเพราะเจ้าหน้าที่นอกจากไม่พอแล้ว คุณภาพยังห่วยมาก ไม่มีความรู้เพียงพอ แถมยังเซ็นผ่านรับรองเครื่องบินง่าย ๆ เพราะมีค่าน้ำร้อนน้ำชา
2. ปัญหาที่ตลกไม่ออกคือ คนที่ไปตรวจสอบคุณภาพเครื่องบิน ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงพอที่จะพูดกับต่างชาติได้ การตรวจก็เลยไม่ได้มาตรฐานจริง ๆ
3. เมื่อเครื่องบินบินไปสนามบินประเทศอื่น ทางโน้นก็ตรวจเครื่องยนต์แบบมืออาชีพ ก็พบว่าเครื่องบินที่บินมาจากไทยผ่านการตรวจมาได้อย่างไร คุณภาพห่วยแตก
4. อะไหล่ทุกอย่างมีอายุการใช้งาน เมื่อถึงอายุครบกำหนดต้องเปลี่ยนอย่างเดียว แต่ที่นี่เมืองไทย คนตรวจก็สามารถเซ็นให้ผ่านได้ง่าย ๆ ไม่ต้องเปลี่ยน และที่น่าเป็นห่วงคือ อุปกรณ์ช่วยชีวิต ท่อหายใจ เสื้อชูชีพ ไม่แน่ใจว่าบนเครื่องบินจะหมดอายุไปนานเท่าไหร่แล้ว
5. ICAO เตือนไทยมานานแล้ว แต่ระบบราชการ ไม่สนใจ ทำงานแบบไทย ๆ ไม่ใช่เรื่องของกู พอหูตาแหกมา ก็บอกว่า เดี๋ยวให้นายกฯ ไปคุยกับ นายก ญี่ปุ่น นี่คือการแก้ปัญหาแบบไทย ๆ เหมือนกัน ไม่มีใครเอาความปลอดภัยของคนอื่นมาเสี่ยงหรอก
6. คงมีทยอยตามมาอีกหลายประเทศที่จะลดจำนวนเครื่องบินจากไทย ล่าสุดน่าจะเป็นสิงคโปร์
7. สรุปแล้ว ต้นเหตุปัญหานอกจากระบบราชการไทย ที่ไม่สนใจพัฒนาใด ๆ แล้ว ปัญหาการร่วมมือกันกินใต้โต๊ะของหลายองค์กร คือเรื่องใหญ่ที่ไม่มีใครกล้าแตะ
8. เพื่อนบอกว่าอีกนานกว่าจะแก้ปัญหาได้ เพราะรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ถูก นึกว่าเป็นเรื่องของกำลังคนไม่พอ เติมคนก็ไม่แก้ปัญหา แต่ต้องไปล้างระบบใหม่เลย
9. อ่านแล้วไม่ต้องเชื่อ ลองฟังทางราชการจะบอกว่าอย่างไร
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1427953005
------------------------------------------------------------------
อ่านแล้ว ไม่ใช่เฉพาะกรมการบินพลเรือน ที่เดียวหรอก
เชื่อว่ามีอีกหลายองค์กรในไทย ที่ต้องล้างระบบใหม่...
"เบื้องหลังไทยสอบตกมาตรฐานความปลอดภัยการบิน"
ปัญหาการตรวจสอบมาตรฐานกรมการบินพลเรือน ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ "ไอซีเอโอ" ของประเทศไทย เริ่มส่งผลกระทบวงกว้างมากขึ้น แม้ว่าล่าสุด พลเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเปิดเผยว่า ญี่ปุ่นยอมเปิดน่านฟ้ารับสายการบินของไทยในช่วงอีก 2 เดือนจากนี้ แต่ก็ยังเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ขณะเดียวกันรายงานจากสำนักข่าวต่างประเทศระบุว่า จีนได้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ห้ามสายการบินไทย ประเภทเช่าเหมาลำ เพิ่มเที่ยวบินใหม่ไปยังจีน ขณะที่อีกหลายประเทศที่รับทราบเอกสารข้อมูลจากไอซีเอโอ ก็เริ่มตั้งข้อสังเกตต่อมาตรฐานการบินของกรมการบินพลเรือนของไทยด้วยเช่นกัน
จากประเด็นดังกล่าว วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีตรองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว กล่าวถึง "เบื้องหลังไทยสอบตกมาตรฐานความปลอดภัยการบิน" โดยระบุว่า
กรมการบินพลเรือนของไทย สอบตกมาตรฐานขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO พบว่า ไทยมีข้อบกพร่องต่อความปลอดภัยการเดินอากาศ มีคะแนนต่ำที่สุดในอาเซียน ต่ำกว่าเขมรและลาวเสียอีก จนล่าสุด ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ประกาศลดจำนวนเครื่องจากเมืองไทย
เพื่อนคนหนึ่งเป็นนายช่างใหญ่ที่สนามบิน ได้เล่าปัญหาส่วนหนึ่งให้ฟังว่า มาตรฐานความปลอดภัยของ ICAO สูงมาก เครื่องยนต์และอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยในเครื่องบินต้องผ่านการตรวจว่าสมบูรณ์ 100% แต่ที่เมืองไทย...
1. ที่ข่าวบอกว่าเป็นปัญหาเพราะ การเพิ่มจำนวนของสายการบินโลว์คอส ทำให้การตรวจสอบคุณภาพไม่ทั่วถึงนั้น เพื่อนบอกว่า จริง ๆ แล้วเป็นเพราะเจ้าหน้าที่นอกจากไม่พอแล้ว คุณภาพยังห่วยมาก ไม่มีความรู้เพียงพอ แถมยังเซ็นผ่านรับรองเครื่องบินง่าย ๆ เพราะมีค่าน้ำร้อนน้ำชา
2. ปัญหาที่ตลกไม่ออกคือ คนที่ไปตรวจสอบคุณภาพเครื่องบิน ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรงพอที่จะพูดกับต่างชาติได้ การตรวจก็เลยไม่ได้มาตรฐานจริง ๆ
3. เมื่อเครื่องบินบินไปสนามบินประเทศอื่น ทางโน้นก็ตรวจเครื่องยนต์แบบมืออาชีพ ก็พบว่าเครื่องบินที่บินมาจากไทยผ่านการตรวจมาได้อย่างไร คุณภาพห่วยแตก
4. อะไหล่ทุกอย่างมีอายุการใช้งาน เมื่อถึงอายุครบกำหนดต้องเปลี่ยนอย่างเดียว แต่ที่นี่เมืองไทย คนตรวจก็สามารถเซ็นให้ผ่านได้ง่าย ๆ ไม่ต้องเปลี่ยน และที่น่าเป็นห่วงคือ อุปกรณ์ช่วยชีวิต ท่อหายใจ เสื้อชูชีพ ไม่แน่ใจว่าบนเครื่องบินจะหมดอายุไปนานเท่าไหร่แล้ว
5. ICAO เตือนไทยมานานแล้ว แต่ระบบราชการ ไม่สนใจ ทำงานแบบไทย ๆ ไม่ใช่เรื่องของกู พอหูตาแหกมา ก็บอกว่า เดี๋ยวให้นายกฯ ไปคุยกับ นายก ญี่ปุ่น นี่คือการแก้ปัญหาแบบไทย ๆ เหมือนกัน ไม่มีใครเอาความปลอดภัยของคนอื่นมาเสี่ยงหรอก
6. คงมีทยอยตามมาอีกหลายประเทศที่จะลดจำนวนเครื่องบินจากไทย ล่าสุดน่าจะเป็นสิงคโปร์
7. สรุปแล้ว ต้นเหตุปัญหานอกจากระบบราชการไทย ที่ไม่สนใจพัฒนาใด ๆ แล้ว ปัญหาการร่วมมือกันกินใต้โต๊ะของหลายองค์กร คือเรื่องใหญ่ที่ไม่มีใครกล้าแตะ
8. เพื่อนบอกว่าอีกนานกว่าจะแก้ปัญหาได้ เพราะรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ถูก นึกว่าเป็นเรื่องของกำลังคนไม่พอ เติมคนก็ไม่แก้ปัญหา แต่ต้องไปล้างระบบใหม่เลย
9. อ่านแล้วไม่ต้องเชื่อ ลองฟังทางราชการจะบอกว่าอย่างไร
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1427953005
------------------------------------------------------------------
อ่านแล้ว ไม่ใช่เฉพาะกรมการบินพลเรือน ที่เดียวหรอก
เชื่อว่ามีอีกหลายองค์กรในไทย ที่ต้องล้างระบบใหม่...