นายประพจน์ โชคพิชิตชัย รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายธุรกิจแปรรูปสุกรและแปรรูปไข่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPF เปิดเผยว่า ปี 2558 นี้ CPF ตั้งเป้าการเติบโตด้านปริมาณของการผลิตเนื้อสุกรสด 25% ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ผลิตได้กว่า 7 หมื่นตัน/ปีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท
โดยโรงงานแปรรูปสุกรแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา ของ CPF ขณะนี้สามารถรับสุกรตัวเข้าชำแหละได้ 1.5 หมื่นตัว/สัปดาห์ หรือคิดเป็นเนื้อสุกร 1,400 ตัน/สัปดาห์ รับสุกรจากฟาร์มบริเวณใกล้เคียงไม่เกิน 120 กม.รอบโรงงาน 80% ของฟาร์มอยู่ในเขตปศุสัตว์เขต 2 และอีก 20% ในเขตปศุสัตว์เขต 3 เพื่อผลิตเป็นสุกรตัดแต่งหลายรูปแบบ เช่น หมูสไลซ์ หั่นเต๋า หั่นชิ้น บด คุโรบุตะดับเบิ้ลโรล โดยมีหมูบดเป็นโปรดักต์แชมเปี้ยน
นายประพจน์กล่าวว่า ในด้านการส่งออกสุกรสดแช่แข็งไปยังต่างประเทศ ซึ่ง CPF ได้ส่งลอตแรกจำนวน 49 ตันไปประเทศรัสเซียช่วงเดือน ธ.ค. 2557 และตั้งเป้าว่าจะส่งออกได้ต่อเนื่อง 3,000 ตัน/ปี ปรากฏว่าขณะนี้ยังไม่มีการสั่งซื้อเพิ่มจากผู้นำเข้า เนื่องจากค่าเงินรูเบิลที่ผันผวนมีผลกระทบสูง
"จาก 30 กว่ารูเบิล/ดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็น 60 กว่ารูเบิล/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเขาอ่อนมากจนการส่งออกของเราชะงัก เขาชะลอการสั่งซื้อเพราะราคาเป็นประเด็นหลัก ผู้นำเข้ารัสเซียหันไปมองประเทศรอบ ๆ บ้านเขาและจากบราซิลแทน ถ้าสถานการณ์ค่าเงินนิ่ง ผู้นำเข้าก็จะมีความมั่นใจขึ้น ความเป็นไปได้ในปีนี้ก็พอมีแต่อาจไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้เดิม" นายประพจน์กล่าว
ด้านนายเกริกพันธุ์ ดีประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โรงงานอาหารสำเร็จรูปแปดริ้วซึ่งรับเนื้อสุกรสดจากโรงงานแปรรูปสุกรแปดริ้ว มาผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูปจากสุกร และผลิตเกี๊ยวซ่าไก่บางส่วน มีกำลังผลิต 5,400 ตัน/ปี ใช้ผลิตอยู่ 90% ของกำลังผลิตทั้งหมด และปีนี้จะเพิ่มกำลังผลิตให้เต็ม 100% ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า รวมถึงมีแผนระยะ 5 ปีที่จะก่อสร้างโรงงานอาหารสำเร็จรูปเพิ่มอีก 2 โรง 4 สายพานการผลิต และคลังสินค้าอีก 1 แห่ง ในบริเวณเดียวกัน ด้วยงบฯลงทุน 2,500 ล้านบาท
โดยโรงงานใหม่โรงที่สองได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเดินเครื่องจักรช่วงกลางปี 2559 และจะทำให้กำลังผลิตรวมเพิ่มเป็น 9,600 ตัน/ปี หากก่อสร้างโรงงานแห่งที่สามแล้วเสร็จ จะมีกำลังผลิตรวมเป็น 1.9 หมื่นตัน/ปี เพื่อแปรรูปสุกรให้ได้มากที่สุด จากปัจจุบันที่แปรรูปได้เพียง 10% ของสุกรเลี้ยงทั้งหมด
"โรงงานที่จะเปิดในปี 2559 สายพานแรกเราจะเป็นสินค้ากลุ่มต้มและพะโล้ มีโปรดักต์แชมเปี้ยนคือทาคูนิ (หมูสามชั้นต้มซอส) ที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น และขาหมูพะโล้สำหรับขายในประเทศ สายพานที่สองเป็นกลุ่มย่าง เป็นสินค้าหมูย่างซอสขิงและย่างซอสมิโสะสำหรับส่งออกไปญี่ปุ่น และหมูย่างซอสสไตล์ญี่ปุ่นสำหรับขายในประเทศ" นายเกริกพันธุ์กล่าว
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat
CPF : ซีพีเอฟผลิตเนื้อหมูเพิ่ม3เท่า ทุ่ม2,500ล.สร้างอีก2โรงงาน
โดยโรงงานแปรรูปสุกรแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา ของ CPF ขณะนี้สามารถรับสุกรตัวเข้าชำแหละได้ 1.5 หมื่นตัว/สัปดาห์ หรือคิดเป็นเนื้อสุกร 1,400 ตัน/สัปดาห์ รับสุกรจากฟาร์มบริเวณใกล้เคียงไม่เกิน 120 กม.รอบโรงงาน 80% ของฟาร์มอยู่ในเขตปศุสัตว์เขต 2 และอีก 20% ในเขตปศุสัตว์เขต 3 เพื่อผลิตเป็นสุกรตัดแต่งหลายรูปแบบ เช่น หมูสไลซ์ หั่นเต๋า หั่นชิ้น บด คุโรบุตะดับเบิ้ลโรล โดยมีหมูบดเป็นโปรดักต์แชมเปี้ยน
นายประพจน์กล่าวว่า ในด้านการส่งออกสุกรสดแช่แข็งไปยังต่างประเทศ ซึ่ง CPF ได้ส่งลอตแรกจำนวน 49 ตันไปประเทศรัสเซียช่วงเดือน ธ.ค. 2557 และตั้งเป้าว่าจะส่งออกได้ต่อเนื่อง 3,000 ตัน/ปี ปรากฏว่าขณะนี้ยังไม่มีการสั่งซื้อเพิ่มจากผู้นำเข้า เนื่องจากค่าเงินรูเบิลที่ผันผวนมีผลกระทบสูง
"จาก 30 กว่ารูเบิล/ดอลลาร์สหรัฐ กลายเป็น 60 กว่ารูเบิล/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินเขาอ่อนมากจนการส่งออกของเราชะงัก เขาชะลอการสั่งซื้อเพราะราคาเป็นประเด็นหลัก ผู้นำเข้ารัสเซียหันไปมองประเทศรอบ ๆ บ้านเขาและจากบราซิลแทน ถ้าสถานการณ์ค่าเงินนิ่ง ผู้นำเข้าก็จะมีความมั่นใจขึ้น ความเป็นไปได้ในปีนี้ก็พอมีแต่อาจไม่ได้ตามเป้าที่วางไว้เดิม" นายประพจน์กล่าว
ด้านนายเกริกพันธุ์ ดีประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โรงงานอาหารสำเร็จรูปแปดริ้วซึ่งรับเนื้อสุกรสดจากโรงงานแปรรูปสุกรแปดริ้ว มาผลิตเป็นอาหารสำเร็จรูปจากสุกร และผลิตเกี๊ยวซ่าไก่บางส่วน มีกำลังผลิต 5,400 ตัน/ปี ใช้ผลิตอยู่ 90% ของกำลังผลิตทั้งหมด และปีนี้จะเพิ่มกำลังผลิตให้เต็ม 100% ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า รวมถึงมีแผนระยะ 5 ปีที่จะก่อสร้างโรงงานอาหารสำเร็จรูปเพิ่มอีก 2 โรง 4 สายพานการผลิต และคลังสินค้าอีก 1 แห่ง ในบริเวณเดียวกัน ด้วยงบฯลงทุน 2,500 ล้านบาท
โดยโรงงานใหม่โรงที่สองได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเดินเครื่องจักรช่วงกลางปี 2559 และจะทำให้กำลังผลิตรวมเพิ่มเป็น 9,600 ตัน/ปี หากก่อสร้างโรงงานแห่งที่สามแล้วเสร็จ จะมีกำลังผลิตรวมเป็น 1.9 หมื่นตัน/ปี เพื่อแปรรูปสุกรให้ได้มากที่สุด จากปัจจุบันที่แปรรูปได้เพียง 10% ของสุกรเลี้ยงทั้งหมด
"โรงงานที่จะเปิดในปี 2559 สายพานแรกเราจะเป็นสินค้ากลุ่มต้มและพะโล้ มีโปรดักต์แชมเปี้ยนคือทาคูนิ (หมูสามชั้นต้มซอส) ที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น และขาหมูพะโล้สำหรับขายในประเทศ สายพานที่สองเป็นกลุ่มย่าง เป็นสินค้าหมูย่างซอสขิงและย่างซอสมิโสะสำหรับส่งออกไปญี่ปุ่น และหมูย่างซอสสไตล์ญี่ปุ่นสำหรับขายในประเทศ" นายเกริกพันธุ์กล่าว
ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat