พุทธบ้านเราเริ่มนำเอาเรื่องฤกษ์ยามมาใช้ตอนใหนครับ

กระทู้สนทนา
ตามความเข้าใจที่พอได้รู้มานิดหน่อย พุทธศาสนาไม่ถือเรื่องฤกษ์ยาม หรือจะกล่าวว่าการยึดยามใดว่าเป็นมงคลหรือไม่มงคลนั้นโดยอ้างอิงกับวันเวลานั้นถือได้ว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง

ฤกษ์ยามในพระพุทธศาสนา

ปัญหา ทางพระพุทธศาสนามีการสอนให้ถือฤกษ์ถือยามในการทำงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือไม่ ?

พุทธดำรัสตอบ “.....สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดี.... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย.... ด้วยวาจา.... ด้วยใจในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเวลาเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย.... ด้วยวาจา.... ด้วยใจในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเวลาเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย..... ด้วยวาจา... ด้วยใจในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเวลาเย็นที่ดีของตว์เหล่านั้น...”สั

สุปุพพัณหสูตร ติ. อํ. (๕๙๕)


โดยสรุปก็คือเอาใจเป็นที่ตั้งไม่ยึดติดกับเวลา หรือวัน

แต่ในปัจจุบันนี้ เริ่มจากจะบวช ก็จะต้องไปหา ฤกษ์ยามว่าวันใหนเป็นฤกษ์ในการบวช วันใหนไม่เป็นฤกษ์ไม่ดีเป็นต้น

และหลังจากบวชแล้วก็จะได้ ฉายา  ซึ่งฉายา นี้ก็จะตั้งตาม  วรรคของ อักษร ผูกกับ วันเกิด วันจันทร์ ใช้ ก วรรค เป็นต้น ตามหลักการตั้งชื่อ(น่าจะสมัยไหม่ เพราะแต่ก่อนไม่มี วันจันทร์ อังคาร มีแค่ ค่ำ)  ใน ขณะที่แต่ก่อน ฉายา จะตั้งตาม พฤติกรรม, คุณลักษณ์, คุณสมบัติ, หรือตามชื่อแม่ เป็นต้น

รวมถึงเรื่องการถือทิศด้วย ซึ่งเรื่องทิศนี้ มีกรณีของพระสารีบุตรเป็นที่อ้างที่ เพราะเวลาจะนอนท่านจะหันหัวไปหาทางที่พระอัสสชิ(อาจารย์ของพระสารีบุตร)  ตรงนี้มีหลักฐานว่า การถือทิศเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง   แต่สาเหตุที่พระสารีบุตรหันหัวไม่เกี่ยวกับทิศ แต่เกี่ยวกับท่านหันหัวไปหาอาจารย์ของท่านต่างหาก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่