อยากทราบที่มาของคำแปลเกวัฏฏสูตรสำนวนนี้ครับ

เพิ่งมาติดตามประเด็น "สัตตานัง" ของท่านคึกฤทธิ์ วัดนาป่าพงครับ เลยสงสัยคำแปลเกวัฏฏสูตรจากบาลีบทที่ว่า
          วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ       อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
          เอตฺถ อาโป จ ปฐวี จ     เตโช วาโย น คาธติ
          เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ    อนน ถูลํ สุภาสุภํ
          เอตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ     อเสสํ อุปรุชฺฌติ
          วิญฺญาณสฺส นิโรเธน      เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌตีติ ฯ

มาเป็นภาษาไทยว่า
          “สิ่ง” สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง
          เป็นสิ่งที่ไม่มีปรากฏการณ์ ไม่มีที่สุด
          มีทางปฏิบัติเข้ามาถึงได้โดยรอบนั้น มีอยู่;
          ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
          ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่หยั่งลงได้;
          ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
          ความยาว ความสั้น ความเล็ก ความใหญ่
          ความงาม ความไม่งาม ไม่หยั่งลงได้;
          ใน “สิ่ง” นั้นแหละ
          นามรูป ย่อมดับสนิทไม่มีเศษเหลือ;
          นามรูป ดับสนิท ใน “สิ่ง” นี้
          เพราะการดับสนิทของวิญญาณ; ดังนี้แล.

ใครเป็นเจ้าของสำนวนแปลนี้ครับ? ผมกดตามไปดูในลิงค์ E-Tipitaka ของวัด เห็นแปลเป็นอีกสำนวนหนึ่งซึ่งตรงกับเว็บ 84000
เช็คของมหาจุฬาฯ กับมหามกุฏฯ ก็เป็นสำนวนอื่นอีก เลยอยากทราบที่มาของสำนวนแปลนี้ครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 11
สำนวนแปลมาจาก อริยสัจจ์ จากพระโอษฐ์ เล่ม 2 หน้า 438 ครับ


โหลดไฟล์ PDF หนังสืออริยสัจจ์ จากพระโอษฐ์ เล่ม 2 คลิก:
http://download.watnapahpong.org/data/static_media/%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%99_%E0%B9%92_%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99_4.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่