จากกระทู้นี้
http://ppantip.com/topic/33361782
คนที่ทำงานเป็นข้าราชการ (พลเรือน/ท้องถิ่น/ตำรวจ/ครู/.......)
ทำงานเป็นพนักงานเอกชน
มีความแตกต่างทางพฤติกรรมต่อสังคม และอุดมการณ์ของอาชีพกันอย่างไร
- ประเด็นที่ 1 อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้สังคมมองพฤติกรรมของคนแต่ละอาชีพต่างกัน เช่น
นายเอ เป็นข้าราชการ ใส่ชุดกากี ยืนสูบบุหรี่ ที่ป้ายรถเมล์ หลังเลิกงาน
คนก็อาจจะมองว่า ทำไมข้าราชการคนนี้ทำตัวไม่เหมาะสม ดูแล้วไม่ถูกต้อง
ในสถานการณ์เดียวกัน หากนายเอทำงานบริษัทเอกชน สวมยูนิฟอร์มบริษัท
คนทั่วไปก็อาจจะมองแล้วเฉยๆ
ตัวอย่างนี้ผมสมมตินะ คือแบบว่าทำอะไรที่ดูล่อแหลม ไม่เหมาะสม
คนก็มักจะมองว่าข้าราชการมีความไม่เหมาะสมมากกว่า
เพราะกฏระเบียบของการเป็นข้าราชการรึเปล่าครับ? ที่มีกฏข้อบังคับมากกว่า
ว่าห้ามทำอย่างนู้นอย่างนี้ ที่มีผลบังคับนอกเหนือจากเวลาทำงาน
- ประเด็นที่ 2 อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางอุดมการณ์ในการทำงานของแต่ละอาชีพ
ในการทำงาน ถ้าหากคนที่ทำงานราชการจะคิดแค่ว่าทำงานให้สำเร็จ สิ้นเดือนแล้วรับเงินเดือน
ก็จะถูกคนทั่วไปมองว่า ความคิดแบบนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นข้าราชการ
ต้องทำงานให้เกิดผลประโยชน์ต่อชาติให้มาก ต้องสำนึกถึงเงินเดือนที่ได้มาจากภาษีของ ปชช
ในทางกลับกัน หากคนที่ทำงานเอกชนคิดแบบข้างบน คนทั่วไปก็อาจจะเฉยๆ ก็อาจมองว่าปกติ
ทำงานก็เพื่อเงิน ได้เงินก็จบ เช่น หากคนนั้นทำงานเป็นยามบริษัทแปรรูปอาหาร
ทำหน้าที่เฝ้าและตรวจตราโรงงาน ก็อาจจะไม่ต้องสำนึกถึงเงินเดือนที่ได้มาจากการขายอาหารของบริษัท รึเปล่าครับ?
สรุปประเด็นนี้ก็คือ ทุกอาชีพ หากทำงานของตนเองได้อย่างเหมาะสมแล้ว จะคิดแค่ว่าทำงานเพื่อเงิน
เป็นมนุษย์เงินเดือนเหมือนกันทุกอาชีพได้รึเปล่าครับ?
และสรุปของกระทู้นี้นะครับ
พี่ๆ เพื่อนๆ คิดว่าแต่ละอาชีพจะมีพฤติกรรมต่อสังคม
และมีอุดมการณ์ในการทำงานเหมือนกันได้หรือไม่
ถ้าไม่ อะไรที่เป็นปัจจัยทำให้แตกต่างกันครับ
ปล ที่ยกตัวอย่างกระทู้ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นเฉยๆ นะครับ
คิดซะว่าเป็นแค่ scenario นึงที่เกี่ยวข้อง เรื่องจริงไม่จริงอีกประเด็นนึงนะครับ
ข้าราชการ พนักงานเอกชน ทำไมคนมองว่าไม่เหมือนกัน?
คนที่ทำงานเป็นข้าราชการ (พลเรือน/ท้องถิ่น/ตำรวจ/ครู/.......)
ทำงานเป็นพนักงานเอกชน
มีความแตกต่างทางพฤติกรรมต่อสังคม และอุดมการณ์ของอาชีพกันอย่างไร
- ประเด็นที่ 1 อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้สังคมมองพฤติกรรมของคนแต่ละอาชีพต่างกัน เช่น
นายเอ เป็นข้าราชการ ใส่ชุดกากี ยืนสูบบุหรี่ ที่ป้ายรถเมล์ หลังเลิกงาน
คนก็อาจจะมองว่า ทำไมข้าราชการคนนี้ทำตัวไม่เหมาะสม ดูแล้วไม่ถูกต้อง
ในสถานการณ์เดียวกัน หากนายเอทำงานบริษัทเอกชน สวมยูนิฟอร์มบริษัท
คนทั่วไปก็อาจจะมองแล้วเฉยๆ
ตัวอย่างนี้ผมสมมตินะ คือแบบว่าทำอะไรที่ดูล่อแหลม ไม่เหมาะสม
คนก็มักจะมองว่าข้าราชการมีความไม่เหมาะสมมากกว่า
เพราะกฏระเบียบของการเป็นข้าราชการรึเปล่าครับ? ที่มีกฏข้อบังคับมากกว่า
ว่าห้ามทำอย่างนู้นอย่างนี้ ที่มีผลบังคับนอกเหนือจากเวลาทำงาน
- ประเด็นที่ 2 อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่างทางอุดมการณ์ในการทำงานของแต่ละอาชีพ
ในการทำงาน ถ้าหากคนที่ทำงานราชการจะคิดแค่ว่าทำงานให้สำเร็จ สิ้นเดือนแล้วรับเงินเดือน
ก็จะถูกคนทั่วไปมองว่า ความคิดแบบนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเป็นข้าราชการ
ต้องทำงานให้เกิดผลประโยชน์ต่อชาติให้มาก ต้องสำนึกถึงเงินเดือนที่ได้มาจากภาษีของ ปชช
ในทางกลับกัน หากคนที่ทำงานเอกชนคิดแบบข้างบน คนทั่วไปก็อาจจะเฉยๆ ก็อาจมองว่าปกติ
ทำงานก็เพื่อเงิน ได้เงินก็จบ เช่น หากคนนั้นทำงานเป็นยามบริษัทแปรรูปอาหาร
ทำหน้าที่เฝ้าและตรวจตราโรงงาน ก็อาจจะไม่ต้องสำนึกถึงเงินเดือนที่ได้มาจากการขายอาหารของบริษัท รึเปล่าครับ?
สรุปประเด็นนี้ก็คือ ทุกอาชีพ หากทำงานของตนเองได้อย่างเหมาะสมแล้ว จะคิดแค่ว่าทำงานเพื่อเงิน
เป็นมนุษย์เงินเดือนเหมือนกันทุกอาชีพได้รึเปล่าครับ?
และสรุปของกระทู้นี้นะครับ
พี่ๆ เพื่อนๆ คิดว่าแต่ละอาชีพจะมีพฤติกรรมต่อสังคม
และมีอุดมการณ์ในการทำงานเหมือนกันได้หรือไม่
ถ้าไม่ อะไรที่เป็นปัจจัยทำให้แตกต่างกันครับ
ปล ที่ยกตัวอย่างกระทู้ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นเฉยๆ นะครับ
คิดซะว่าเป็นแค่ scenario นึงที่เกี่ยวข้อง เรื่องจริงไม่จริงอีกประเด็นนึงนะครับ