เอเจนซี—กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จีน เผยการสำรวจเบื้องต้นจากยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ หรือ ยานโรเวอร์ (rover) ระบุพื้นพื้นผิวของดวงจันทร์ มีประวัติศาสตร์ธรณีวิทยา ซับซ้อนกว่าที่คิด
จากการตรวจสอบของเครื่องมือตรวจวัดใต้ดินด้วยเรดาร์ (Ground Penetration Radar หรือGPR ) ของยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ ที่มีชื่อว่า “อี้ว์ทู่” หรือ “กระต่ายหยก” ระบุว่า ชั้นใต้ดินในบริเวณที่ยาน “อี้ว์ทู่” ลงจอดนั้น มีชั้นใต้ผิวดินอย่างน้อย 9 ชั้น อันแสดงว่าบริเวณดังกล่าว มีกระบวนการทางธรณีวิทยาเกิดขึ้นหลายซับหลายซ้อน ทั้งนี้ จากการแถลงเมื่อวานนี้ (12 มี.ค.) โดยนักธรณีศาสตร์ อาจารย์ เสี่ยว หลง แห่งมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งอู่ฮั่น (China University of Geosciences in Wuhan) ควบตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งมาเก๊า (Macao University of Science and Technology)
“เป็นครั้งแรกที่เราตรวจพบชั้นใต้ผิวดินของดวงจันทร์ที่หลากหลาย โดยชั้นดินเหล่านี้อาจเกิดจากลาวาหลาก (lava flows) กับวัสดุร่วนซุย หรือเศษดิน เศษหินขรุขระบนพื้นผิวดวงจันทร์ (regolith) เมื่อ 3,300 ล้านปีที่แล้ว
“การค้นพบที่น่าสนใจมากอีกอย่างหนึ่ง คือ ชั้นดินที่ความลึก 140 ถึง 240 เมตร พวกเราสันนิษฐานว่า ชั้นดินเหล่านี้อาจก่อรูปมาจากหินอัคนีตะกอนภูเขาไฟในช่วงที่ภูเขาไฟระเบิด อันแสดงถึงความหลากหลายในปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ภายในดวงจันทร์ เต็มไปด้วยสารที่เปลี่ยนแปลงง่าย”
ปฏิบัติการสำรวจของยานสำรวจดวงจันทร์ “อี้ว์ทู่”นี้ เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจสำรวจดวงจันทร์ “ฉังเอ๋อ-3” ซึ่งได้ขนส่งยานฯ “อี้ว์ทู่” และยานลงจอดบนพื้นดวงจันทร์เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2556 โดยนับเป็นการลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกในรอบ เกือบ 40 ปี นับจากภารกิจที่ 24 ของยานสำรวจดวงจันทร์ลูน่า (Luna) แห่งสหภาพโซเวียต ไปเหยียบดวงจันทร์เมื่อปี 2519
ยานฯ “อี้ว์ทู่” ลงจอดบริเวณตอนเหนือของที่ราบ Mare Imbrium หรือ “ทะเลแห่งสายฝน” โดยบริเวณ “ทะเลแห่งสายฝน” นี้ ยังมีใครสำรวจมาก่อน และอยู่ห่างจากบริเวณที่ยานอะพอลโล (Apollo) ของสหรัฐฯ และยานลูน่า (Luna) ของโซเวียต ลงจอด
ยาน “อี้ว์ทู่” ได้เดินสำรวจในระยะทาง 114 เมตร ตามเส้นทางซิกแซก จากนั้นก็เกิดปัญหาทางเทคนิก ทำให้ยาน “กระต่ายหยก” หยุดนิ่งหลับตรงบริเวณที่ห่างจากจุดลงจอดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 20 เมตร ดังนั้น “กระต่ายหยก”จึงเพิ่งสำรวจเพียงบริเวณพื้นที่เล็กๆโดยใช้เรดาร์สองตัว ที่สามารถทะลุทะลวงจากเปลือกดวงจันทร์ลงไปที่ความลึกเพียง ประมาณ 400 เมตร
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ได้มานี้ ก็เพียงพอที่จะระบุว่า บริเวณที่ลงจอดครั้งนี้มีความแตกต่างจากบริเวณที่ยานสำรวจฯที่ลงจอดในครั้งก่อนหน้า
“โดยภาพรวมแล้ว เราได้บรรลุถึงความเข้าใจเชิงวิทยาศาสตร์ของดวงจันทร์จากภารกิจยานสำรวจดวงจันทร์เหล่านี้ แต่หากเรายังต้องการเข้าใจโครงสร้างทางธรณีวิทยา องค์ประกอบต่างๆ และการก่อรูป รวมทั้งวิวัฒนาการของดวงจันทร์แล้ว ก็ยังต้องมีการขุดค้นอีกมาก” เสี่ยว กล่าว
“ภารกิจอะพอลโลสามารถขุดค้นพื้นผิวดวงจันทร์ ลึกลงไปเพียง 3 เมตรเท่านั้น” เสี่ยว กล่าวตอบการสัมภาษณ์ทางอีเมล์ของผู้สื่อข่าวซินหวา
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000029692
ยานสำรวจฯ“อี้ว์ทู่” เผยประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาดวงจันทร์ ซับซ้อนกว่าที่คิด
จากการตรวจสอบของเครื่องมือตรวจวัดใต้ดินด้วยเรดาร์ (Ground Penetration Radar หรือGPR ) ของยานสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์ ที่มีชื่อว่า “อี้ว์ทู่” หรือ “กระต่ายหยก” ระบุว่า ชั้นใต้ดินในบริเวณที่ยาน “อี้ว์ทู่” ลงจอดนั้น มีชั้นใต้ผิวดินอย่างน้อย 9 ชั้น อันแสดงว่าบริเวณดังกล่าว มีกระบวนการทางธรณีวิทยาเกิดขึ้นหลายซับหลายซ้อน ทั้งนี้ จากการแถลงเมื่อวานนี้ (12 มี.ค.) โดยนักธรณีศาสตร์ อาจารย์ เสี่ยว หลง แห่งมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งอู่ฮั่น (China University of Geosciences in Wuhan) ควบตำแหน่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งมาเก๊า (Macao University of Science and Technology)
“เป็นครั้งแรกที่เราตรวจพบชั้นใต้ผิวดินของดวงจันทร์ที่หลากหลาย โดยชั้นดินเหล่านี้อาจเกิดจากลาวาหลาก (lava flows) กับวัสดุร่วนซุย หรือเศษดิน เศษหินขรุขระบนพื้นผิวดวงจันทร์ (regolith) เมื่อ 3,300 ล้านปีที่แล้ว
“การค้นพบที่น่าสนใจมากอีกอย่างหนึ่ง คือ ชั้นดินที่ความลึก 140 ถึง 240 เมตร พวกเราสันนิษฐานว่า ชั้นดินเหล่านี้อาจก่อรูปมาจากหินอัคนีตะกอนภูเขาไฟในช่วงที่ภูเขาไฟระเบิด อันแสดงถึงความหลากหลายในปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิด แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ภายในดวงจันทร์ เต็มไปด้วยสารที่เปลี่ยนแปลงง่าย”
ปฏิบัติการสำรวจของยานสำรวจดวงจันทร์ “อี้ว์ทู่”นี้ เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจสำรวจดวงจันทร์ “ฉังเอ๋อ-3” ซึ่งได้ขนส่งยานฯ “อี้ว์ทู่” และยานลงจอดบนพื้นดวงจันทร์เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. 2556 โดยนับเป็นการลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกในรอบ เกือบ 40 ปี นับจากภารกิจที่ 24 ของยานสำรวจดวงจันทร์ลูน่า (Luna) แห่งสหภาพโซเวียต ไปเหยียบดวงจันทร์เมื่อปี 2519
ยานฯ “อี้ว์ทู่” ลงจอดบริเวณตอนเหนือของที่ราบ Mare Imbrium หรือ “ทะเลแห่งสายฝน” โดยบริเวณ “ทะเลแห่งสายฝน” นี้ ยังมีใครสำรวจมาก่อน และอยู่ห่างจากบริเวณที่ยานอะพอลโล (Apollo) ของสหรัฐฯ และยานลูน่า (Luna) ของโซเวียต ลงจอด
ยาน “อี้ว์ทู่” ได้เดินสำรวจในระยะทาง 114 เมตร ตามเส้นทางซิกแซก จากนั้นก็เกิดปัญหาทางเทคนิก ทำให้ยาน “กระต่ายหยก” หยุดนิ่งหลับตรงบริเวณที่ห่างจากจุดลงจอดไปทางตะวันตกเฉียงใต้ 20 เมตร ดังนั้น “กระต่ายหยก”จึงเพิ่งสำรวจเพียงบริเวณพื้นที่เล็กๆโดยใช้เรดาร์สองตัว ที่สามารถทะลุทะลวงจากเปลือกดวงจันทร์ลงไปที่ความลึกเพียง ประมาณ 400 เมตร
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ได้มานี้ ก็เพียงพอที่จะระบุว่า บริเวณที่ลงจอดครั้งนี้มีความแตกต่างจากบริเวณที่ยานสำรวจฯที่ลงจอดในครั้งก่อนหน้า
“โดยภาพรวมแล้ว เราได้บรรลุถึงความเข้าใจเชิงวิทยาศาสตร์ของดวงจันทร์จากภารกิจยานสำรวจดวงจันทร์เหล่านี้ แต่หากเรายังต้องการเข้าใจโครงสร้างทางธรณีวิทยา องค์ประกอบต่างๆ และการก่อรูป รวมทั้งวิวัฒนาการของดวงจันทร์แล้ว ก็ยังต้องมีการขุดค้นอีกมาก” เสี่ยว กล่าว
“ภารกิจอะพอลโลสามารถขุดค้นพื้นผิวดวงจันทร์ ลึกลงไปเพียง 3 เมตรเท่านั้น” เสี่ยว กล่าวตอบการสัมภาษณ์ทางอีเมล์ของผู้สื่อข่าวซินหวา
http://manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9580000029692