นวัตกรรมการผลิตน้ำมันดิบของคนไทย DeepLift ที่อยากให้คนไทยภูมิใจ

ที่เอาข้อมูลนี้มาบอกต่อ ไม่มีอะไรมากครับ แค่อยากให้ทราบว่า คนไทยเราก็มีนวัตกรรม ที่ได้รับการยอมรับในวงการ E&P ไม่แพ้ชาติอื่นเหมือนกัน เห็นตั้งกระทู้โจมตีบริษัทน้ำมันของคนไทยกันเอง ว่าไทยเราไม่มีเทคโนโลยีที่สามารถต่อยอดพัฒนาได้ต่อ

เทคนิค “DeepLift ™” โดย ปตท.สผ. (PTTEP)



เป็นนวัตกรรมการผลิตน้ำมันดิบที่คิดค้นโดย ปตท.สผ. (PTTEP) และได้รับการจดสิทธิบัตร ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553 และได้รับรางวัลชนะเลิศ E&P Award ของ SPE Thailand ประจำปี 2555

“DeepLift ™” เป็นเทคนิคการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยพัฒนาจากเทคนิค Gas Lift แบบที่ใช้กันทั่วไป โดยหลักการของ Gas Lift คือทำการฉีดก๊าซเข้าไปผสมน้ำมันดิบเพื่อลดน้ำหนัก (hydraulic head) ของน้ำมันดิบในหลุมผลิตได้ลึกถึงจุดที่ติดตั้งหัวฉีดก๊าซ (Gas Lift Valve) ซึ่งติดตั้งอยู่เหนืออุปกรณ์ที่เรียกว่า Packer ที่ติดตั้งอยู่เหนือชั้นหินกักเก็บน้ำมันชั้นบนสุด

ข้อจำกัดของ Gas Lift ก็คือไม่สามารถฉีดก๊าซไปผสมน้ำมันดิบได้ลึกถึงก้นหลุมที่ชั้นหินกักเก็บน้ำมันชั้นล่างสุด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในแหล่งน้ำมันดิบสิริกิติ์ คือเป็นชั้นหินกักเก็บบางๆ เป็นกระเปาะหลายชั้นทำให้มีระยะห่างระหว่างชั้นบนสุดถึงชั้นล่างสุดถึง 500 – 600 เมตร (TVD) โดยประมาณ ทำให้มีน้ำมันดิบบางส่วนที่ก้นหลุมไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้ เมื่อความดันของชั้นหินกักเก็บน้ำมันลดต่ำลงถึงจุดหนึ่ง

ปตท.สผ. จึงได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ เรียกว่า เทคนิค “DeepLift ™” เพื่อแก้ข้อจำกัดของเทคนิค Gas Lift ทำให้สามารถฉีดก๊าซเข้าไปผสมกับน้ำมันดิบในบริเวณชั้นหินกักเก็บน้ำมันชั้นล่างสุดได้โดยต่อท่อ bypass ผ่าน Packer ลงไปต่อกับหลุมผลิตส่วนล่างถึงความลึกของหินกักเก็บน้ำมันชั้นล่างสุด ทำให้สามารถผลิตน้ำมันดิบที่ตกค้างบริเวณก้นหลุมได้ด้วยวิธี “DeepLift ™” ด้วยอัตราการผลิตที่มากกว่าและปริมาณการผลิตที่มากขึ้น นำขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า โดยไม่เหลือทิ้งไว้ที่ก้นหลุม

----------------------------------------------------------------------

เครดิต: โครงงานและรายชื่อวิศวกร ของ ปตท.สผ. ผู้ที่คิดค้นเทคนิค “DeepLift ™” ของ ปตท.สผ.

Society of Petroleum Engineers Thailand (SPE Thailand):
http://www.thaispe.org/ep_awards_2012.php

Internation Petroleum Technology Conference (IPTC):
http://www.iptcnet.org/2011/pages/schedule/tech_program/documents/IPTC-14760.pdf

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่