[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้พญารัง ในสุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
จักแสดงปริยายอันเป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๑] เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา อุกฺกฏฺายํ วิหรติ
สุภควเน สาลราชมูเล ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ
ภิกฺขโวติ ฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ ภควา
เอตทโวจ สพฺพธมฺมมูลปริยายํ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ๑- ตํ
สุณาถ สาธุกํ มนสิกโรถ ภาสิสฺสามีติ ฯ เอวมฺภนฺเตติ โข เต
ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ
บทว่า ภิกฺขโว เป็นบทแสดงอาการเรียกมา.
...
ทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อน ไม่ทรงแสดงธรรมเลยทีเดียว?
ตอบว่า เพื่อให้เกิดสติ เพราะว่า ภิกษุทั้งหลายกำลังนั่งคิดเรื่องอื่นอยู่บ้าง นั่งใจลอยอยู่บ้าง นั่งพิจารณาธรรมอยู่บ้าง
นั่งมนสิการกรรมฐานอยู่บ้าง
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น (ก่อนแล้ว) แสดงธรรม ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะกำหนดได้ว่า
พระธรรมเทศนานี้มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย พระองค์ทรงแสดงเพราะเกิดเหตุอะไรขึ้น พึงรับเอาผิด หรือว่ารับเอาไม่ได้เลย
เหตุนั้น เพื่อเป็นการเตือนสติภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อนแล้วแสดงธรรมในภายหลัง.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1&p=2
☆ ☆ ☆ ☆ ☆ ☆
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า -
“ดูกร : คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้ไขบทนิยามใหม่เป็นดังนี้ -
“ดูกร : คำกล่าวเรียกผู้ที่จะสนทนาด้วย เป็นคำที่ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น ดูกรเจ้าชาลีลูกรัก (ม. ร่ายยาว กุมาร)”
คำว่า “ดูกร” พจน.บอกคำอ่านไว้ว่า ดู-กะ-ระ และ ดู-กอน
ทั้ง ดูกะระ และ ดูกอน เป็นคำอ่านที่มีนัยเหมือนคำบาลี
คำบาลีว่า “กร” (กะ-ระ) ที่คุ้นกันในภาษาไทย คือที่แปลว่า “มือ” หรือ “ผู้ทำ” เช่น ทินกร = “ผู้ทำกลางวัน” คือดวงอาทิตย์
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษแปลคำว่า “กร” ว่า “the maker” และ ไขความว่า “the hand” เพราะเป็น “ผู้ทำ” นั่นเองจึงหมายถึง “มือ” เนื่องจากเราใช้มือทำกิจต่างๆ มากที่สุด
“กร” ในบาลียังมีความหมายอื่นๆ อีก เช่น รัศมี, แสงสว่าง, งวงช้าง, อากร, ภาษี, ส่วย, น้ำ
แต่คำว่า “ดูกร” ไม่ได้มีความหมายตามคำบาลีใดๆ ทั้งสิ้น
ถ้าเช่นนั้น “ดูกร” เป็นภาษาอะไร ?
ความเห็น :
“ดูกร” ก็คือ “ดูก่อน” ในภาษาไทยนั่นเอง มีความหมายว่า ขอให้ละกิจอื่นๆ เสียก่อนแล้วหันมาดูทางนี้ หรือ
ขอให้มาดูทางนี้ก่อน แล้วจึงค่อยไปสนใจทางอื่น
“ดูก่อน” ตรงกับคำอังกฤษ (ตามพจนานุกรม สอ เสถบุตร) ว่า -
Look here
Hear me
Listen to me
ความหมายก็ตรงกันด้วย คำนิยามตาม พจน.42 ที่ว่า “คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง” จึงนับว่าตรงกับความจริง (แต่ พจน.54 ตัดคำนิยามนี้ออกไป โปรดดูข้างต้น)
อักขรวิธีของไทยโบราณ ร เรือ เป็นตัวสะกด ออกเสียงเท่ากับ –อน เช่น -
พร อ่านว่า พอน ไม่อ่านว่า พะ-ระ
กร อ่านว่า กอน ไม่อ่านว่า กะระ
จีวร อ่านว่า จี-วอน ไม่อ่านว่า จี-วะ-ระ
แม้คำไทยบางคำ โบราณก็ใช้ ร สะกด ออกเสียงเท่ากับ –อน ด้วย “ดูกร” เป็นคำหนึ่งที่ใช้หลักนี้
และโบราณไม่เคร่งครัดเรื่องการใช้วรรณยุกต์กำกับเสียง (หรือจะกล่าวว่าท่านใช้หลักต่างไปจากหลักในปัจจุบันก็ได้)
เช่น “เปน” ไม่มีไม้ใต่คู้ แต่ต้องอ่านว่า “เป็น” จะอ่านเท่ากับเสียงคำว่า เบน หรือ เดน ถือว่าอ่านผิด ไม่ใช่ท่านเขียนผิด
คนรุ่นหลังไม่เข้าใจอักขรวิธีเช่นนี้ จึงอ่านไปตามตัวอักษรที่ตาเห็น
“ดูกร” จึงกลายเป็น ดูกะระ แทนที่จะอ่านว่า “ดูก่อน” ตามเจตนา
“ดูกร” อ่านว่า ดูกะระ เป็นตัวอย่างคำหนึ่งที่อ่าน “ผิดจนถูก” ไปแล้ว
“ดูกร” จึงกลายเป็นคนละคำกับ “ดูก่อน” ทั้งๆ ที่เป็นคำเดียวกัน
ที่มา
https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=772081436218929&pnref=story
☆ บาลีวันละคำ ... ดูกร --- คำไทยที่ถูกอ่านเป็นบาลี ☆
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โคนไม้พญารัง ในสุภควัน เขตเมืองอุกกัฏฐา
ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ
พระผู้มีพระภาคว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา
จักแสดงปริยายอันเป็นมูลของธรรมทั้งปวงแก่พวกเธอ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว
ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[๑] เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมยํ ภควา อุกฺกฏฺายํ วิหรติ
สุภควเน สาลราชมูเล ฯ ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ
ภิกฺขโวติ ฯ ภทนฺเตติ เต ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ ภควา
เอตทโวจ สพฺพธมฺมมูลปริยายํ โว ภิกฺขเว เทสิสฺสามิ ๑- ตํ
สุณาถ สาธุกํ มนสิกโรถ ภาสิสฺสามีติ ฯ เอวมฺภนฺเตติ โข เต
ภิกฺขู ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ฯ
บทว่า ภิกฺขโว เป็นบทแสดงอาการเรียกมา.
...
ทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อน ไม่ทรงแสดงธรรมเลยทีเดียว?
ตอบว่า เพื่อให้เกิดสติ เพราะว่า ภิกษุทั้งหลายกำลังนั่งคิดเรื่องอื่นอยู่บ้าง นั่งใจลอยอยู่บ้าง นั่งพิจารณาธรรมอยู่บ้าง
นั่งมนสิการกรรมฐานอยู่บ้าง
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น (ก่อนแล้ว) แสดงธรรม ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะกำหนดได้ว่า
พระธรรมเทศนานี้มีอะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย พระองค์ทรงแสดงเพราะเกิดเหตุอะไรขึ้น พึงรับเอาผิด หรือว่ารับเอาไม่ได้เลย
เหตุนั้น เพื่อเป็นการเตือนสติภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาก่อนแล้วแสดงธรรมในภายหลัง.
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1&p=2
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า -
“ดูกร : คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้ไขบทนิยามใหม่เป็นดังนี้ -
“ดูกร : คำกล่าวเรียกผู้ที่จะสนทนาด้วย เป็นคำที่ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น ดูกรเจ้าชาลีลูกรัก (ม. ร่ายยาว กุมาร)”
คำว่า “ดูกร” พจน.บอกคำอ่านไว้ว่า ดู-กะ-ระ และ ดู-กอน
ทั้ง ดูกะระ และ ดูกอน เป็นคำอ่านที่มีนัยเหมือนคำบาลี
คำบาลีว่า “กร” (กะ-ระ) ที่คุ้นกันในภาษาไทย คือที่แปลว่า “มือ” หรือ “ผู้ทำ” เช่น ทินกร = “ผู้ทำกลางวัน” คือดวงอาทิตย์
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษแปลคำว่า “กร” ว่า “the maker” และ ไขความว่า “the hand” เพราะเป็น “ผู้ทำ” นั่นเองจึงหมายถึง “มือ” เนื่องจากเราใช้มือทำกิจต่างๆ มากที่สุด
“กร” ในบาลียังมีความหมายอื่นๆ อีก เช่น รัศมี, แสงสว่าง, งวงช้าง, อากร, ภาษี, ส่วย, น้ำ
แต่คำว่า “ดูกร” ไม่ได้มีความหมายตามคำบาลีใดๆ ทั้งสิ้น
ถ้าเช่นนั้น “ดูกร” เป็นภาษาอะไร ?
ความเห็น :
“ดูกร” ก็คือ “ดูก่อน” ในภาษาไทยนั่นเอง มีความหมายว่า ขอให้ละกิจอื่นๆ เสียก่อนแล้วหันมาดูทางนี้ หรือ
ขอให้มาดูทางนี้ก่อน แล้วจึงค่อยไปสนใจทางอื่น
“ดูก่อน” ตรงกับคำอังกฤษ (ตามพจนานุกรม สอ เสถบุตร) ว่า -
Look here
Hear me
Listen to me
ความหมายก็ตรงกันด้วย คำนิยามตาม พจน.42 ที่ว่า “คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง” จึงนับว่าตรงกับความจริง (แต่ พจน.54 ตัดคำนิยามนี้ออกไป โปรดดูข้างต้น)
อักขรวิธีของไทยโบราณ ร เรือ เป็นตัวสะกด ออกเสียงเท่ากับ –อน เช่น -
พร อ่านว่า พอน ไม่อ่านว่า พะ-ระ
กร อ่านว่า กอน ไม่อ่านว่า กะระ
จีวร อ่านว่า จี-วอน ไม่อ่านว่า จี-วะ-ระ
แม้คำไทยบางคำ โบราณก็ใช้ ร สะกด ออกเสียงเท่ากับ –อน ด้วย “ดูกร” เป็นคำหนึ่งที่ใช้หลักนี้
และโบราณไม่เคร่งครัดเรื่องการใช้วรรณยุกต์กำกับเสียง (หรือจะกล่าวว่าท่านใช้หลักต่างไปจากหลักในปัจจุบันก็ได้)
เช่น “เปน” ไม่มีไม้ใต่คู้ แต่ต้องอ่านว่า “เป็น” จะอ่านเท่ากับเสียงคำว่า เบน หรือ เดน ถือว่าอ่านผิด ไม่ใช่ท่านเขียนผิด
คนรุ่นหลังไม่เข้าใจอักขรวิธีเช่นนี้ จึงอ่านไปตามตัวอักษรที่ตาเห็น
“ดูกร” จึงกลายเป็น ดูกะระ แทนที่จะอ่านว่า “ดูก่อน” ตามเจตนา
“ดูกร” อ่านว่า ดูกะระ เป็นตัวอย่างคำหนึ่งที่อ่าน “ผิดจนถูก” ไปแล้ว
“ดูกร” จึงกลายเป็นคนละคำกับ “ดูก่อน” ทั้งๆ ที่เป็นคำเดียวกัน
ที่มา
https://www.facebook.com/hashtag/บาลีวันละคำ?source=feed_text&story_id=772081436218929&pnref=story