ปรัชญา

กระทู้สนทนา
ถ้าสิ่งที่เขียน หรืออ่าน มีลักษณะไม่ชัดเจน  มีมุมมองเชิงคุณค่าหรืออุดมการณ์
เช่นนี้แล้ว  เราอาจเรียกว่า  มีอารมณ์ หรือ จิตนภาพเชิงปรัชญา
แต่ถ้ามันชัดเจนแล้ว  มีคำตอบแล้ว   ก็หาใช่ปรัชญาไม่

เพราะ   ภาษาที่แสดงเชิงปรัชญา  ไม่เคยสรุปอะไรให้ชัดเจน
สายตาที่ปรัชญามองสิ่งต่างๆ  จะเป็นการเข้าถึงความขัดแย้งเชิงสมมุติฐาน อย่างน้อยสองอย่างขึ้นไป
และพวกเขายอมรับสภาวะทำนองนั้นได้  โดยถือว่า   อารมณ์ไม่เชื่อมั่น หรือสงสัยนั้นแหละ คือ สารัตถะ

สมรรถนะในการเห็นมุมมองที่ขัดแย้ง  หรือชวนสงสัย หรือลังเล  เยี่ยงนั้น คือ จินตภาพของนักปรัชญา
และปล่อยให้ความชัดเจนทั้งหลาย  ได้สถาปนาผู้ชำนาญการเป็น ศาสตร์...ทั้งหลาย และมันไม่ใช่สำหรับเขา

อย่างไรก็ตาม  แม้ในความเป็นศาสตร์เอง  ก็มีพรมแดนที่อาจตั้งคำถาม หรือสงสัยได้เช่นกัน
สุดแต่ว่า   จะมีใครฉุกคิด หรือตั้งข้อสงสัยกับสมมุติฐานแต่ละเรื่องในนั้น  หรือไม่  เท่านั้น..

เช่น   ความเป็นไปได้หรือความจริงของโลกคู่ขนาน    เวลาอาจไม่มีอยู่จริง?(หรือไม่?)
ทุกปรากฏการณ์เป็นสิ่งเฉพาะ    ปวศ.มีแต่เดินหน้า ไม่มีการย้อนอดีตได้
หรือ ผี วิญญาณ ก็คือ  ผู้ท่องกาลเวลาหรือไม่?    ดนตรี  คณิตศาสตร์..คือ ภาษาสากลหรือไม่? ฯลฯ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่