ชาวพุทธที่ไม่ได้ศึกษาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เข้าใจอย่างถูกต้อง ก็จะมีความเชื่อกัน (ผิดๆ) ว่า การศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น จะศึกษาโดยการจินตนาการหรือคิดคำนวณเอาโดยไม่ต้องมีของจริงมาให้สัมผัส หรือเรียกว่าคิดเดาเอา ซึ่งก็คือการอ่านจากตำรา หรือฟังจากคนอื่นมา แล้วก็จินตนาการไปตามที่ได้ฟังหรืออ่านมา โดยไม่ได้น้อมเข้ามาดูที่จิตของเราเอง อย่างเช่น เมื่อพูดถึงนรก หรือสวรรค์ ก็จินตนาการว่าเป็นอีกมิติหนึ่งที่ห่างไกล (บางคนก็เชื่อว่านรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้า) เมื่อพูดถึงเทวดาหรือนางฟ้า ก็จินตนาการว่าเป็นตัวตนบุคคลที่อยู่บนสรรค์ เมื่อพูดถึงนิพพานก็จินตนาการว่าเป็นการตายแล้วไม่เกิดเป็นอะไรๆอีกต่อไปอย่างถาวร (บางคนก็เชื่อว่านิพพานเป็นบ้านเมืองอมตะ) เป็นต้น ซึ่งการจินตนาการอย่างนี้ก็ตรงกับหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์
แต่ในความเป็นจริงนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เราจะต้องน้อมเข้ามาดูที่จิตของเราเอง (โอปนยิโก) ไม่ใช่ให้จินตนาการเอาอย่างที่พราหมณ์สอน อย่างเช่น เมื่อพูดถึงนรก ก็ให้ดูที่จิตของเราขณะที่มันเร่าร้อนใจเพราะได้ทำความผิดหรือชั่วเอาไว้มาก เมื่อพูดถึงสวรรค์ก็ให้ดูที่จิตของเราขณะที่มันสุขใจ อิ่มใจเพราะได้ทำความดีเอาไว้มาก เมื่อพูดถึงนิพพานก็ให้ดูที่จิตของเราขณะที่มันไม่มีความทุกข์ เป็นต้น คือเมื่อเราจะศึกษาสิ่งใดให้เห็นแจ้ง เราก็ต้องมีสิ่งมาให้สัมผัสจริงๆ เราจึงจะเกิดความเห็นแจ้ง ถ้าไม่มีมันก็เท่ากับเป็นการจินตนาการหรือคิดเดาเอา ซึ่งไม่มีทางที่จะเกิดความเห็นแจ้งได้เลย
ในเรื่องการศึกษาเพื่อดับทุกข์นั้นพระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเอาไว้ว่า ให้ศึกษาจากร่างกายและจิตใจของเราเองในขณะที่ยังมีสติสัมปฤดี (ยังรู้สึกตัวดีอยู่) และมีความจำดีอยู่นี้ คือให้เรามาเพ่งพิจารณาดูถึงเหตุและปัจจัยที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน ที่มาปรุงแต่งให้เกิดขันธ์ ๕ (ร่างกายและจิตใจ) ขึ้นมา ก็จะเข้าใจได้ว่ามันไม่ได้มีขันธ์หรือส่วนใดที่จะเป็นตัวเราหรือของเราได้จริงเลย (ที่เรียกว่าสุญญตา) เพราะทั้งร่างกายและจิตใจล้วนเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นเพื่อมาปรุงแต่งให้มันเกิดขึ้นมาทั้งสิ้น และเมื่อเข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวเราอยู่จริงแล้ว ก็ให้นำความเข้าใจนี้มาเพ่ง (คือมีสมาธิ) ดูจากร่างกายและจิตใจ (ที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรา-ของเรา) นี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง (แต่ก็ต้องมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้วด้วย) จนจิตมันยอมรับความจริงแล้ว มันก็จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตัวเรา-ของเราลง (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อจิตไม่มีความยึดมั่น มันก็จะไม่มีความทุกข์ เมื่อไม่มีความทุกข์ มันก็จะสงบเย็นหรือนิพพาน (แม้เพียงชั่วคราว)
สรุปได้ว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เราศึกษาจากสิ่งที่เรามีอยู่จริง คือจากร่างกายและจิตใจของเราเองจริงๆในปัจจุบัน โดยไม่ใช้การจินตนาการหรือคิดคำนวณเอาโดยไม่มีของจริงมาให้ศึกษาอย่างที่คนไม่เข้าใจกำลังทำกันอยู่ ดังนั้นถ้าเราพบว่าคำสอนใดที่สอนให้จินตนาการเอาหรือคิดเดาเอาโดยไม่มีของจริงมาให้ศึกษา เราก็เข้าใจได้ทันทีว่านั่นไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพราะไม่ได้โอปนยิโก คือไม่ได้น้อมเข้ามาดูที่จิตใจของเราเองอย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักเอาไว้
ความขัดแย้งระหว่างความเชื่อกับความจริง เรื่องศึกษาที่ไหน?
แต่ในความเป็นจริงนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น เราจะต้องน้อมเข้ามาดูที่จิตของเราเอง (โอปนยิโก) ไม่ใช่ให้จินตนาการเอาอย่างที่พราหมณ์สอน อย่างเช่น เมื่อพูดถึงนรก ก็ให้ดูที่จิตของเราขณะที่มันเร่าร้อนใจเพราะได้ทำความผิดหรือชั่วเอาไว้มาก เมื่อพูดถึงสวรรค์ก็ให้ดูที่จิตของเราขณะที่มันสุขใจ อิ่มใจเพราะได้ทำความดีเอาไว้มาก เมื่อพูดถึงนิพพานก็ให้ดูที่จิตของเราขณะที่มันไม่มีความทุกข์ เป็นต้น คือเมื่อเราจะศึกษาสิ่งใดให้เห็นแจ้ง เราก็ต้องมีสิ่งมาให้สัมผัสจริงๆ เราจึงจะเกิดความเห็นแจ้ง ถ้าไม่มีมันก็เท่ากับเป็นการจินตนาการหรือคิดเดาเอา ซึ่งไม่มีทางที่จะเกิดความเห็นแจ้งได้เลย
ในเรื่องการศึกษาเพื่อดับทุกข์นั้นพระพุทธองค์ได้ทรงวางหลักเอาไว้ว่า ให้ศึกษาจากร่างกายและจิตใจของเราเองในขณะที่ยังมีสติสัมปฤดี (ยังรู้สึกตัวดีอยู่) และมีความจำดีอยู่นี้ คือให้เรามาเพ่งพิจารณาดูถึงเหตุและปัจจัยที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน ที่มาปรุงแต่งให้เกิดขันธ์ ๕ (ร่างกายและจิตใจ) ขึ้นมา ก็จะเข้าใจได้ว่ามันไม่ได้มีขันธ์หรือส่วนใดที่จะเป็นตัวเราหรือของเราได้จริงเลย (ที่เรียกว่าสุญญตา) เพราะทั้งร่างกายและจิตใจล้วนเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยสิ่งอื่นเพื่อมาปรุงแต่งให้มันเกิดขึ้นมาทั้งสิ้น และเมื่อเข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวเราอยู่จริงแล้ว ก็ให้นำความเข้าใจนี้มาเพ่ง (คือมีสมาธิ) ดูจากร่างกายและจิตใจ (ที่สมมติเรียกว่าเป็นตัวเรา-ของเรา) นี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง (แต่ก็ต้องมีศีลเป็นพื้นฐานอยู่ก่อนแล้วด้วย) จนจิตมันยอมรับความจริงแล้ว มันก็จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นว่าร่างกายและจิตใจนี้คือตัวเรา-ของเราลง (แม้เพียงชั่วคราว) เมื่อจิตไม่มีความยึดมั่น มันก็จะไม่มีความทุกข์ เมื่อไม่มีความทุกข์ มันก็จะสงบเย็นหรือนิพพาน (แม้เพียงชั่วคราว)
สรุปได้ว่าพระพุทธเจ้าสอนให้เราศึกษาจากสิ่งที่เรามีอยู่จริง คือจากร่างกายและจิตใจของเราเองจริงๆในปัจจุบัน โดยไม่ใช้การจินตนาการหรือคิดคำนวณเอาโดยไม่มีของจริงมาให้ศึกษาอย่างที่คนไม่เข้าใจกำลังทำกันอยู่ ดังนั้นถ้าเราพบว่าคำสอนใดที่สอนให้จินตนาการเอาหรือคิดเดาเอาโดยไม่มีของจริงมาให้ศึกษา เราก็เข้าใจได้ทันทีว่านั่นไม่ใช่คำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เพราะไม่ได้โอปนยิโก คือไม่ได้น้อมเข้ามาดูที่จิตใจของเราเองอย่างที่พระพุทธเจ้าได้ทรงวางหลักเอาไว้