อ้างอิง
http://thaipublica.org/2015/02/credit-unions-klongchan-45/
--------
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 9.00 น. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้เชิญเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มาชี้แจงผลการตรวจสอบเส้นทางเดินเงิน กรณีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น นำเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นบริจาคให้วัดพระธรรมกาย
ภายหลังการหารือกันนานกว่า 3 ชั่วโมง นายไพบูลย์เปิดเผยว่า จากการสอบถามผู้อำนวยการกองกฎหมาย และผู้อำนวยการกองคดีที่ 1 ปปง. สรุปว่านายศุภชัยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงเงินประชาชน โดยมีการลงนามสั่งจ่ายเช็คของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น และมีการนำเช็คไปเข้าบัญชีเงินฝาก 3 ส่วน ดังนี้ 1. สั่งจ่ายเช็คสหกรณ์ฯ 8 ฉบับ เข้าบัญชีเงินฝากของล้านบาท 2. สั่งจ่ายเช็คสหกรณ์ 6 ฉบับ เข้าบัญชีเงินฝากของวัดพระธรรมกาย 436 ล้านบาท 3. สั่งจ่ายเช็คสหกรณ์เข้าบัญชีเงินฝากของพระปลัดวิจารณ์ 119 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 900 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับรวมกรณีที่นายศุภชัยสั่งจ่ายเช็คเข้าบัญชีกลุ่มบุคคลอื่น หรือนำเงินไปซื้อที่ดินมาบริจาคให้วัดพระธรรมกาย เพื่อก่อสร้างพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว
นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า จากนั้น ปปง. ขยายผลการตรวจสอบเส้นทางเดินเงินต่อไป พบว่า หลังจากนำเช็คเข้าบัญชีเรียบร้อย พระธัมมชโยได้สั่งจ่ายเช็คเข้ามูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ส่วนเช็คของสหกรณ์ฯ 436 ล้านบาทที่ฝากเข้าบัญชีเงินฝากของวัดพระธรรมกาย ทางวัดได้นำไปใช้ก่อสร้างอาคารที่ตั้งอยู่บนที่ธรณีสงฆ์ ปปง. ไม่สามารถบังคับคดีได้ ส่วนเช็คของสหกรณ์ฯ ที่เข้าบัญชีเงินฝากของพระธัมมชโยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีทางแพ่ง (ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน) ส่วนเช็คที่เข้าบัญชีพระปลัดวิจารณ์ 119 ล้านบาท ได้ทำการถอนปิดบัญชีไปแล้ว ปปง. ไม่สามารถติดตามเส้นทางเงินต่อไปได้ เพราะถอนเป็นเงินสด
“กรณีที่วัดพระธรรมกายอ้างว่านำเงินของสหกรณ์ฯ ไปใช้ก่อสร้างอาคารบนที่ธรณีสงฆ์หมดแล้ว ไม่สามารถบังคับคดี แต่จากการตรวจสอบของคณะกรรมการปฏิรูปฯ พบว่าปัจจุบันวัดพระธรรมกายถือครองที่ดินอยู่ 196 ไร่ ที่ดินส่วนเหลือกว่า 1,000 ไร่ ถือครองในนามมูลนิธิธรรมกาย และมูลนิธิอื่นๆ ไม่ถือเป็นที่ดินธรณีสงฆ์ ทำไม ปปง. ไม่อายัดบัญชีเงินฝากของวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโย และนำเงินมาคืนผู้ฝากเงินที่เดือดร้อนอยู่ในขณะนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย” นายไพบูลย์กล่าว
นายไพบูลย์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีที่เกี่ยวกับพระธัมมชโย ทางคณะกรรมการปฏิรูปฯ จะเชิญกรมสอบสวนคดีพิเศษมาสอบถามความคืบหน้าในการดำเนินคดีอาญากับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงเงินของสหกรณ์ฯ ทั้งหมดในวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2558 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1 โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ DSI ที่ออกคำสั่งไม่ฟ้อง หากคณะกรรมการปฏิรูปฯ ตรวจสอบพบว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จะดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่งยกฟ้องให้ถึงที่สุด และหลังจากรวบรวมข้อมูลจาก ปปง. และ DSI ได้จนครบถ้วนแล้ว คณะกรรมการปฏิรูปฯ จะจัดทำเป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยจะเดินทางไปยื่นหนังสือกับ พล.อ. ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
“ตามหลักพระธรรมวินัย พระภิกษุสงฆ์จะรับหรือถือครองทรัพย์สินไม่ได้ แต่ที่ผ่านมาไม่มีองค์กรในวงการพระพุทธศาสนาแห่งใดเข้ามากำกับดูแลเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดและพระ ปล่อยให้พระภิกษุรับเงินบริจาคเป็นจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะนำเงินฝากของประชาชนที่ไม่มีความประสงค์จะบริจาคให้วัดไปถือครอง อาจจะเป็นเหตุให้อาบัติปาราชิก อย่างเช่นกรณีนายศุภชัยนำเช็คของสหกรณ์ฯ มอบให้พระธัมมชโย โดยสามัญสำนึกย่อมต้องทราบว่าเป็นเงินฝากประชาชน เพราะไม่ใช่เช็คของนายศุภชัย จากนั้น คดีนายศุภชัยฉ้อโกงเงินประชาชนกว่า 10,000 ล้านบาท กลายเป็นข่าวใหญ่ โดยวิญญูชน พระธัมมชโยยิ่งต้องรีบนำเงินมาคืนประชาชนตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว และไม่เห็นด้วยที่ผู้บริหารสหกรณ์ฯ ไปเจรจาไกล่เกลี่ยหรือยอมรับเงินบางส่วนคืนตามที่วัดพระธรรมกายเสนอ สหกรณ์ฯ จะไม่ได้รับเงินคืนทั้งหมด คณะกรรมการปฏิรูปฯ เห็นควรให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเต็มที่ เชื่อว่าผู้ฝากเงินจะได้รับเงินคืนทั้งต้นและดอกเบี้ย” นายไพบูลย์กล่าว
นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า มีคณะกรรมการปฏิรูปฯ 2 คน แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมในเรื่องภาพลักษณ์ของวงการพระพุทธศาสนา ในอดีตวัดคือสถานที่สำหรับคนที่ต้องการบวชเพื่อศึกษาธรรมะ บวชเพื่อหลุดพ้น ตอนนี้วัดกำลังจะกลายเป็นแหล่งฟอกเงิน บริจาคเงินหักลดหย่อนภาษีได้ การใช้จ่ายเงินบริจาคไม่มีการตรวจสอบ คณะกรรมการปฏิรูปฯ จึงมีความเห็นว่า ควรจะมีการยกร่างพระราชบัญญัติจัดการทรัพย์สินวัดและจัดการทรัพย์สินของพระ กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการถือครองและบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดและพระ ต้องมีกลไกตรวจสอบ ลงบันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้
“เมื่อปี พ.ศ. 100 เกิดความแตกแยกในหมู่พระสงฆ์ ฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าพระสงฆ์รับเงินได้ จึงแยกออกไปตั้งนิกายใหม่ แต่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทยืนยันว่าพระภิกษุสงฆ์รับเงินไม่ได้ มาจนถึงปัจจุบัน รับเช็คคราวละหลายร้อยล้านบาท มันไม่ใช่กิจของสงฆ์ จึงเป็นหน้าที่คณะกรรมการปฏิรูปต้องนำเสนอแนวทางปฏิรูปการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดและพระ หากยอมให้พระภิกษุสงฆ์ถือครองทรัพย์สินได้ ต้องเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเมื่อมรณภาพต้องมอบทรัพย์สินให้กับวัด คำถามต่อไป พระภิกษุสงฆ์มีรายได้ต้องเสียภาษีหรือไม่ แต่บางท่านบอกว่าไม่เสีย เพราะได้รับยกเว้นภาษี ถือเป็นเงินได้ตามขนบธรรมเนียมประเพณี แต่คำว่าเงินตามขนบธรรมเนียมประเพณีไม่ควรไม่เกิน 3,000 บาท กรณีรับเงิน 300 กว่าล้านบาท ไม่น่าอยู่ในข่ายยกเว้นภาษี” นายไพบูลย์กล่าว
ด้านนายเผด็จ มุ่งธัญญา ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ชุดที่ 30 เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ คลองจั่น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สปช. เชิญตัวแทน ปปง. มาชี้แจงผลการตรวจสอบเส้นทางเดินเงิน กรณีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ ลงนามในใบสำคัญจ่ายและนำเช็คสหกรณ์ฯ บางฉบับเบิกเป็นเงินสด บางฉบับฝากเข้าบัญชีธนาคารของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร, นายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ และนายจิรเดช วรเพียรกุล และมีเช็คบางส่วนบริจาคเข้าวัดธรรมกาย โดยรวมคิดเป็นเช็คของสหกรณ์ฯ 878 ใบ มูลค่า 11,367 ล้านบาท ซึ่ง ปปง. ตรวจสอบเส้นทางเดินเงินเสร็จเรียบร้อย ก็ส่งข้อมูลทั้งหมดให้ DSI ขยายผลการสอบสวน แต่คดีตรวจสอบเส้นทางเดินเงินล่าช้ามาเกือบ 1 ปี ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
“สำหรับเช็คของสหกรณ์จำนวนหนึ่งที่นำเข้าบัญชีเงินฝากของนายวัฒน์ชานนท์ สหกรณ์ฟ้องนายวัฒน์ชานนท์ประมาณ 1,300 ล้านบาท ขณะนี้สหกรณ์ฯ ได้ดำเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกทรัพย์คืนไปแล้ว ส่วนเช็คของสหกรณ์ฯ ที่นายศุภชัยนำไปบริจาคเข้าวัดธรรมกาย 818 ล้านบาท ก็ดำเนินคดีแพ่งไปแล้วเช่นกัน แต่ก่อนหน้านี้ผมเคยหารือกับ ปปง. ถึงเรื่องการติดตามเงินบริจาค หากวัดธรรมกายนำเงินบริจาคไปก่อสร้างถาวรวัตถุแล้วคงจะตามทวงคืนยาก เช่น นำไปซื้อปูนซีเมนต์ อิฐ หิน กระเบื้อง เพราะทางวัดธรรมกายรับบริจาคเงินจากนายศุภชัย ซึ่งผมก็ได้ชี้แจงผ่านทนายของวัดธรรมกายไปว่า เงินบริจาคจำนวนนี้เป็นเงินของสมาชิกสหกรณ์ฯ ไม่เต็มใจบริจาคเงินให้วัด สมาชิกหลายรายเดือดร้อน อยากได้เงินคืน จึงขอความเมตตาจากวัดธรรมกาย ผมพูดได้แค่นี้ และไม่อยากไปต่อสู้กันในชั้นศาล จึงนัดเจราจาไกล่เกลี่ยกับวัดธรรมกายวันที่ 16 มีนาคม 2558 ซึ่งทนายของวัดธรรมกายจะนำหลักฐานที่นายศุภชัยโอนเงินให้วัดธรรมกาย จริงๆ คิดเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ที่เหลือเข้าบัญชีใครบ้าง และจะช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้อย่างไร” นายเผด็จกล่าว
นายเผด็จกล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนการเจรจาเรื่องขายที่ดินของนายศุภชัยจำนวน 41 แปลง 124 ไร่ บริเวณริมแม่น้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี ให้กับวัดธรรมกาย ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการทรัพย์สิน 609 รายการ มูลค่า 3,918 ล้านบาท ที่ ปปง. มีคำสั่งอายัด ขณะนี้ได้ข้อยุติแล้ว ทางวัดธรรมกายเป็นผู้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทประเมินราคาที่ดิน 2 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาทำการประเมินราคาที่ดิน โดยให้ใช้ราคาประเมินที่ดินเฉลี่ยจาก 2 บริษัท มากำหนดเป็นราคาซื้อ-ขายที่ดิน ทราบว่าวัดธรรมกายคำนวณเสร็จเรียบร้อยแล้ว และทนายความของวัดธรรมกายกำลังจะแจ้งผลการประเมินราคาที่ดินแปลงนี้ให้สหกรณ์ฯ รับทราบในเร็วๆ นี้ หากทางคณะกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นยอมรับราคาที่วัดธรรมกายนำเสนอ นายศุภชัยเซ็นยินยอมขายที่ดินให้วัดธรรมกาย ก็นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน โดยลูกศิษย์วัดธรรมกายจะรวบรวมเงินมาจ่ายค่าที่ดินให้กับสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น
##สปช. เชิญ ปปง. แจงเส้นทางเงิน “สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน” โอนเข้าบัญชีพระธัมมชโย 348.78 -วัดธรรมกาย 436 ล้าน ##
http://thaipublica.org/2015/02/credit-unions-klongchan-45/
--------
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 9.00 น. นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ได้เชิญเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มาชี้แจงผลการตรวจสอบเส้นทางเดินเงิน กรณีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น นำเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นบริจาคให้วัดพระธรรมกาย
ภายหลังการหารือกันนานกว่า 3 ชั่วโมง นายไพบูลย์เปิดเผยว่า จากการสอบถามผู้อำนวยการกองกฎหมาย และผู้อำนวยการกองคดีที่ 1 ปปง. สรุปว่านายศุภชัยกระทำความผิดฐานฉ้อโกงเงินประชาชน โดยมีการลงนามสั่งจ่ายเช็คของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น และมีการนำเช็คไปเข้าบัญชีเงินฝาก 3 ส่วน ดังนี้ 1. สั่งจ่ายเช็คสหกรณ์ฯ 8 ฉบับ เข้าบัญชีเงินฝากของล้านบาท 2. สั่งจ่ายเช็คสหกรณ์ 6 ฉบับ เข้าบัญชีเงินฝากของวัดพระธรรมกาย 436 ล้านบาท 3. สั่งจ่ายเช็คสหกรณ์เข้าบัญชีเงินฝากของพระปลัดวิจารณ์ 119 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 900 ล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่นับรวมกรณีที่นายศุภชัยสั่งจ่ายเช็คเข้าบัญชีกลุ่มบุคคลอื่น หรือนำเงินไปซื้อที่ดินมาบริจาคให้วัดพระธรรมกาย เพื่อก่อสร้างพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว
นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า จากนั้น ปปง. ขยายผลการตรวจสอบเส้นทางเดินเงินต่อไป พบว่า หลังจากนำเช็คเข้าบัญชีเรียบร้อย พระธัมมชโยได้สั่งจ่ายเช็คเข้ามูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ส่วนเช็คของสหกรณ์ฯ 436 ล้านบาทที่ฝากเข้าบัญชีเงินฝากของวัดพระธรรมกาย ทางวัดได้นำไปใช้ก่อสร้างอาคารที่ตั้งอยู่บนที่ธรณีสงฆ์ ปปง. ไม่สามารถบังคับคดีได้ ส่วนเช็คของสหกรณ์ฯ ที่เข้าบัญชีเงินฝากของพระธัมมชโยกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีทางแพ่ง (ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน) ส่วนเช็คที่เข้าบัญชีพระปลัดวิจารณ์ 119 ล้านบาท ได้ทำการถอนปิดบัญชีไปแล้ว ปปง. ไม่สามารถติดตามเส้นทางเงินต่อไปได้ เพราะถอนเป็นเงินสด
“กรณีที่วัดพระธรรมกายอ้างว่านำเงินของสหกรณ์ฯ ไปใช้ก่อสร้างอาคารบนที่ธรณีสงฆ์หมดแล้ว ไม่สามารถบังคับคดี แต่จากการตรวจสอบของคณะกรรมการปฏิรูปฯ พบว่าปัจจุบันวัดพระธรรมกายถือครองที่ดินอยู่ 196 ไร่ ที่ดินส่วนเหลือกว่า 1,000 ไร่ ถือครองในนามมูลนิธิธรรมกาย และมูลนิธิอื่นๆ ไม่ถือเป็นที่ดินธรณีสงฆ์ ทำไม ปปง. ไม่อายัดบัญชีเงินฝากของวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโย และนำเงินมาคืนผู้ฝากเงินที่เดือดร้อนอยู่ในขณะนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย” นายไพบูลย์กล่าว
นายไพบูลย์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มีคำสั่งไม่ฟ้องคดีที่เกี่ยวกับพระธัมมชโย ทางคณะกรรมการปฏิรูปฯ จะเชิญกรมสอบสวนคดีพิเศษมาสอบถามความคืบหน้าในการดำเนินคดีอาญากับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงเงินของสหกรณ์ฯ ทั้งหมดในวันอังคารที่ 3 มีนาคม 2558 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารรัฐสภา 1 โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ DSI ที่ออกคำสั่งไม่ฟ้อง หากคณะกรรมการปฏิรูปฯ ตรวจสอบพบว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็จะดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่ออกคำสั่งยกฟ้องให้ถึงที่สุด และหลังจากรวบรวมข้อมูลจาก ปปง. และ DSI ได้จนครบถ้วนแล้ว คณะกรรมการปฏิรูปฯ จะจัดทำเป็นข้อเสนอแนะหรือแนวทางการแก้ไขปัญหาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยจะเดินทางไปยื่นหนังสือกับ พล.อ. ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป
“ตามหลักพระธรรมวินัย พระภิกษุสงฆ์จะรับหรือถือครองทรัพย์สินไม่ได้ แต่ที่ผ่านมาไม่มีองค์กรในวงการพระพุทธศาสนาแห่งใดเข้ามากำกับดูแลเรื่องการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดและพระ ปล่อยให้พระภิกษุรับเงินบริจาคเป็นจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะนำเงินฝากของประชาชนที่ไม่มีความประสงค์จะบริจาคให้วัดไปถือครอง อาจจะเป็นเหตุให้อาบัติปาราชิก อย่างเช่นกรณีนายศุภชัยนำเช็คของสหกรณ์ฯ มอบให้พระธัมมชโย โดยสามัญสำนึกย่อมต้องทราบว่าเป็นเงินฝากประชาชน เพราะไม่ใช่เช็คของนายศุภชัย จากนั้น คดีนายศุภชัยฉ้อโกงเงินประชาชนกว่า 10,000 ล้านบาท กลายเป็นข่าวใหญ่ โดยวิญญูชน พระธัมมชโยยิ่งต้องรีบนำเงินมาคืนประชาชนตั้งแต่ 2 ปีที่แล้ว และไม่เห็นด้วยที่ผู้บริหารสหกรณ์ฯ ไปเจรจาไกล่เกลี่ยหรือยอมรับเงินบางส่วนคืนตามที่วัดพระธรรมกายเสนอ สหกรณ์ฯ จะไม่ได้รับเงินคืนทั้งหมด คณะกรรมการปฏิรูปฯ เห็นควรให้ดำเนินการตามกฎหมายอย่างเต็มที่ เชื่อว่าผู้ฝากเงินจะได้รับเงินคืนทั้งต้นและดอกเบี้ย” นายไพบูลย์กล่าว
นายไพบูลย์กล่าวต่อว่า มีคณะกรรมการปฏิรูปฯ 2 คน แสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมในเรื่องภาพลักษณ์ของวงการพระพุทธศาสนา ในอดีตวัดคือสถานที่สำหรับคนที่ต้องการบวชเพื่อศึกษาธรรมะ บวชเพื่อหลุดพ้น ตอนนี้วัดกำลังจะกลายเป็นแหล่งฟอกเงิน บริจาคเงินหักลดหย่อนภาษีได้ การใช้จ่ายเงินบริจาคไม่มีการตรวจสอบ คณะกรรมการปฏิรูปฯ จึงมีความเห็นว่า ควรจะมีการยกร่างพระราชบัญญัติจัดการทรัพย์สินวัดและจัดการทรัพย์สินของพระ กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการถือครองและบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดและพระ ต้องมีกลไกตรวจสอบ ลงบันทึกบัญชีอย่างถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้
“เมื่อปี พ.ศ. 100 เกิดความแตกแยกในหมู่พระสงฆ์ ฝ่ายหนึ่งมีความเห็นว่าพระสงฆ์รับเงินได้ จึงแยกออกไปตั้งนิกายใหม่ แต่พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทยืนยันว่าพระภิกษุสงฆ์รับเงินไม่ได้ มาจนถึงปัจจุบัน รับเช็คคราวละหลายร้อยล้านบาท มันไม่ใช่กิจของสงฆ์ จึงเป็นหน้าที่คณะกรรมการปฏิรูปต้องนำเสนอแนวทางปฏิรูปการบริหารจัดการทรัพย์สินของวัดและพระ หากยอมให้พระภิกษุสงฆ์ถือครองทรัพย์สินได้ ต้องเปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเมื่อมรณภาพต้องมอบทรัพย์สินให้กับวัด คำถามต่อไป พระภิกษุสงฆ์มีรายได้ต้องเสียภาษีหรือไม่ แต่บางท่านบอกว่าไม่เสีย เพราะได้รับยกเว้นภาษี ถือเป็นเงินได้ตามขนบธรรมเนียมประเพณี แต่คำว่าเงินตามขนบธรรมเนียมประเพณีไม่ควรไม่เกิน 3,000 บาท กรณีรับเงิน 300 กว่าล้านบาท ไม่น่าอยู่ในข่ายยกเว้นภาษี” นายไพบูลย์กล่าว
ด้านนายเผด็จ มุ่งธัญญา ประธานคณะกรรมการดำเนินงาน สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ชุดที่ 30 เปิดเผยว่า ขณะนี้ตนได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ คลองจั่น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สปช. เชิญตัวแทน ปปง. มาชี้แจงผลการตรวจสอบเส้นทางเดินเงิน กรณีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ ลงนามในใบสำคัญจ่ายและนำเช็คสหกรณ์ฯ บางฉบับเบิกเป็นเงินสด บางฉบับฝากเข้าบัญชีธนาคารของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร, นายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์ และนายจิรเดช วรเพียรกุล และมีเช็คบางส่วนบริจาคเข้าวัดธรรมกาย โดยรวมคิดเป็นเช็คของสหกรณ์ฯ 878 ใบ มูลค่า 11,367 ล้านบาท ซึ่ง ปปง. ตรวจสอบเส้นทางเดินเงินเสร็จเรียบร้อย ก็ส่งข้อมูลทั้งหมดให้ DSI ขยายผลการสอบสวน แต่คดีตรวจสอบเส้นทางเดินเงินล่าช้ามาเกือบ 1 ปี ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร
“สำหรับเช็คของสหกรณ์จำนวนหนึ่งที่นำเข้าบัญชีเงินฝากของนายวัฒน์ชานนท์ สหกรณ์ฟ้องนายวัฒน์ชานนท์ประมาณ 1,300 ล้านบาท ขณะนี้สหกรณ์ฯ ได้ดำเนินคดีแพ่งเพื่อเรียกทรัพย์คืนไปแล้ว ส่วนเช็คของสหกรณ์ฯ ที่นายศุภชัยนำไปบริจาคเข้าวัดธรรมกาย 818 ล้านบาท ก็ดำเนินคดีแพ่งไปแล้วเช่นกัน แต่ก่อนหน้านี้ผมเคยหารือกับ ปปง. ถึงเรื่องการติดตามเงินบริจาค หากวัดธรรมกายนำเงินบริจาคไปก่อสร้างถาวรวัตถุแล้วคงจะตามทวงคืนยาก เช่น นำไปซื้อปูนซีเมนต์ อิฐ หิน กระเบื้อง เพราะทางวัดธรรมกายรับบริจาคเงินจากนายศุภชัย ซึ่งผมก็ได้ชี้แจงผ่านทนายของวัดธรรมกายไปว่า เงินบริจาคจำนวนนี้เป็นเงินของสมาชิกสหกรณ์ฯ ไม่เต็มใจบริจาคเงินให้วัด สมาชิกหลายรายเดือดร้อน อยากได้เงินคืน จึงขอความเมตตาจากวัดธรรมกาย ผมพูดได้แค่นี้ และไม่อยากไปต่อสู้กันในชั้นศาล จึงนัดเจราจาไกล่เกลี่ยกับวัดธรรมกายวันที่ 16 มีนาคม 2558 ซึ่งทนายของวัดธรรมกายจะนำหลักฐานที่นายศุภชัยโอนเงินให้วัดธรรมกาย จริงๆ คิดเป็นมูลค่าเท่าไหร่ ที่เหลือเข้าบัญชีใครบ้าง และจะช่วยกันหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้อย่างไร” นายเผด็จกล่าว
นายเผด็จกล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนการเจรจาเรื่องขายที่ดินของนายศุภชัยจำนวน 41 แปลง 124 ไร่ บริเวณริมแม่น้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี ให้กับวัดธรรมกาย ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการทรัพย์สิน 609 รายการ มูลค่า 3,918 ล้านบาท ที่ ปปง. มีคำสั่งอายัด ขณะนี้ได้ข้อยุติแล้ว ทางวัดธรรมกายเป็นผู้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทประเมินราคาที่ดิน 2 บริษัท ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มาทำการประเมินราคาที่ดิน โดยให้ใช้ราคาประเมินที่ดินเฉลี่ยจาก 2 บริษัท มากำหนดเป็นราคาซื้อ-ขายที่ดิน ทราบว่าวัดธรรมกายคำนวณเสร็จเรียบร้อยแล้ว และทนายความของวัดธรรมกายกำลังจะแจ้งผลการประเมินราคาที่ดินแปลงนี้ให้สหกรณ์ฯ รับทราบในเร็วๆ นี้ หากทางคณะกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นยอมรับราคาที่วัดธรรมกายนำเสนอ นายศุภชัยเซ็นยินยอมขายที่ดินให้วัดธรรมกาย ก็นัดวันโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมที่ดิน โดยลูกศิษย์วัดธรรมกายจะรวบรวมเงินมาจ่ายค่าที่ดินให้กับสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น