"นิธิ" ชี้ ศาสนาพุทธในไทยกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 16:49:45 น.
วันนี้ (21 ก.พ.) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดงานเสวนาทางวิชาการในประเด็นศาสนากับการเมือง โดยศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ศาสตราจารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ์ นักวิชาการและคอลัมนิสต์ชื่อดังด้านประวัติศาสตร์
http://www.matichon.co.th/online/2015/02/14245123451424512354l.jpg
โดยในตอนหนึ่งนั้น ศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ศาสนาเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจอิทธิพลในสังคมไทยของกลุ่มคนบางกลุ่ม ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองและการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมเช่นกัน
ศ.ดร.นิธิ กล่าวว่า สังคมไทยได้รับอิทธิพลสำคัญจากศาสนาพุทธ โดยศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนหรือเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถบรรลุนิพพานตามหลักศาสนาได้ จึงถือเป็นหลักการที่ส่งเสริมและเห็นความเสมอภาคของมนุษย์อย่างมาก แต่หลักการดังกล่าวไม่ถูกเน้นและมีความสำคัญในสังคมไทย แม้จะมีการพยายามปฏิรูปพุทธศาสนามาแล้วหลายครั้ง โดยในส่วนการศึกษาของไทยเป็นการศึกษาที่ไม่ได้ส่งเสริมเรื่องเสรีภาพในการศึกษาและถกเถียงเรื่องศาสนา แต่มีลักษณะของการเป็นเครื่องมือหรือกลไกทางการเมืองของชนชั้นนำและถูกกำหนดจากอำนาจส่วนกลาง
ทั้งนี้ศ.นิธิเห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับความหลากหลายทางศาสนาสูง แต่ไม่ยอมรับความเสมอภาคทางศาสนา อาทิการรัฐไทยมีวันหยุดทางพุทธศาสนามาก ทั้งนี้ยังต้องเข้าใจว่าคำสอนทางศาสนาเป็นเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด โดยในช่วงการรวมศูนย์อำนาจของรัฐไทยก็ใช้ศาสนาในการเป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์ของรัฐ เช่นการต่อสู้กับการเคลื่อนไหวของผู้ที่มีแนวคิดคอมมิวนิสต์เป็นต้น
ในอดีตพระสงฆ์ไทยเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นชนชั้นนำทางสังคม แต่ในปัจจุบัน ส่วนตัวเห็นว่าองค์กรคณะสงฆ์ของไทยหมดพลังลงแล้ว เพราะรัฐไทยก็มีความเข้มเเข็งมากขึ้น การจะรื้อฟื้นบทบาทของพระสงฆ์กลายเป็นเรื่องของสำนักต่างๆ เช่น ธรรมกาย หรือ สันติอโศก หรือ ตัวองค์พระสงฆ์เอง เช่น พระมหาวุฒิชัย วชิระเมธี เป็นต้น จนกล่าวได้ว่า มหาเถรสมาคม แทบจะไม่มีบทบาทใดๆแล้ว
ตลักษณ์ทางพุทธศาสนามากกว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดขณะนี้คือการผลักดัน พ.ร.บ.ปกป้องพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความพยายามจะลงโทษคนที่วิพากษ์วิจารณ์ศาสนาเป็นต้น จึงถือเป็นการทำให้พุทธศาสนาหมดความศักดิ์สิทธิ์ หมดความสำคัญ เกิดการต่อต้านและยิ่งจะกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ง่ายขึ้น และสิ่งที่ปรากฏในปัจจุบันก็จะเห็นว่าพุทธศาสนากลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มบุคคลไปแล้ว การพยายามคุ้มครองพุทธศาสนาด้วยอำนาจรัฐจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากๆ
ศ.นิธิ กล่าวอีกว่า ศาสนาในอดีต ไม่มีเส้นเขตเเดนทางอุดมการณ์ความคิดที่ชัดเจน แต่หากมีการพยายามขีดเส้นความชัดเจนเช่นเดียวกับศาสนาในโลกสมัยใหม่ ก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีเพียงศาสนาอิสลามเพียงศาสนาเดียว ที่มีการขีดเส้นเขตแดนความชัดเจนมานานก่อนที่จะปะทะกับวัฒนธรรมทางศาสนาของตะวันตกเสียอีก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424512345
"นิธิ" ชี้ ศาสนาพุทธในไทยกลายเป็นเครื่องมือทางการเมือง
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 16:49:45 น.
วันนี้ (21 ก.พ.) ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการจัดงานเสวนาทางวิชาการในประเด็นศาสนากับการเมือง โดยศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ศาสตราจารย์ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ์ นักวิชาการและคอลัมนิสต์ชื่อดังด้านประวัติศาสตร์
http://www.matichon.co.th/online/2015/02/14245123451424512354l.jpg
โดยในตอนหนึ่งนั้น ศาสตราจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ศาสนาเป็นเครื่องมือในการสร้างอำนาจอิทธิพลในสังคมไทยของกลุ่มคนบางกลุ่ม ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมืองและการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจในสังคมเช่นกัน
ศ.ดร.นิธิ กล่าวว่า สังคมไทยได้รับอิทธิพลสำคัญจากศาสนาพุทธ โดยศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่สอนหรือเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถบรรลุนิพพานตามหลักศาสนาได้ จึงถือเป็นหลักการที่ส่งเสริมและเห็นความเสมอภาคของมนุษย์อย่างมาก แต่หลักการดังกล่าวไม่ถูกเน้นและมีความสำคัญในสังคมไทย แม้จะมีการพยายามปฏิรูปพุทธศาสนามาแล้วหลายครั้ง โดยในส่วนการศึกษาของไทยเป็นการศึกษาที่ไม่ได้ส่งเสริมเรื่องเสรีภาพในการศึกษาและถกเถียงเรื่องศาสนา แต่มีลักษณะของการเป็นเครื่องมือหรือกลไกทางการเมืองของชนชั้นนำและถูกกำหนดจากอำนาจส่วนกลาง
ทั้งนี้ศ.นิธิเห็นว่าวัฒนธรรมไทยเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับความหลากหลายทางศาสนาสูง แต่ไม่ยอมรับความเสมอภาคทางศาสนา อาทิการรัฐไทยมีวันหยุดทางพุทธศาสนามาก ทั้งนี้ยังต้องเข้าใจว่าคำสอนทางศาสนาเป็นเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด โดยในช่วงการรวมศูนย์อำนาจของรัฐไทยก็ใช้ศาสนาในการเป็นเครื่องมือทางอุดมการณ์ของรัฐ เช่นการต่อสู้กับการเคลื่อนไหวของผู้ที่มีแนวคิดคอมมิวนิสต์เป็นต้น
ในอดีตพระสงฆ์ไทยเป็นผู้ที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นชนชั้นนำทางสังคม แต่ในปัจจุบัน ส่วนตัวเห็นว่าองค์กรคณะสงฆ์ของไทยหมดพลังลงแล้ว เพราะรัฐไทยก็มีความเข้มเเข็งมากขึ้น การจะรื้อฟื้นบทบาทของพระสงฆ์กลายเป็นเรื่องของสำนักต่างๆ เช่น ธรรมกาย หรือ สันติอโศก หรือ ตัวองค์พระสงฆ์เอง เช่น พระมหาวุฒิชัย วชิระเมธี เป็นต้น จนกล่าวได้ว่า มหาเถรสมาคม แทบจะไม่มีบทบาทใดๆแล้ว
ตลักษณ์ทางพุทธศาสนามากกว่า สิ่งที่น่ากลัวที่สุดขณะนี้คือการผลักดัน พ.ร.บ.ปกป้องพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความพยายามจะลงโทษคนที่วิพากษ์วิจารณ์ศาสนาเป็นต้น จึงถือเป็นการทำให้พุทธศาสนาหมดความศักดิ์สิทธิ์ หมดความสำคัญ เกิดการต่อต้านและยิ่งจะกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ง่ายขึ้น และสิ่งที่ปรากฏในปัจจุบันก็จะเห็นว่าพุทธศาสนากลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มบุคคลไปแล้ว การพยายามคุ้มครองพุทธศาสนาด้วยอำนาจรัฐจึงเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากๆ
ศ.นิธิ กล่าวอีกว่า ศาสนาในอดีต ไม่มีเส้นเขตเเดนทางอุดมการณ์ความคิดที่ชัดเจน แต่หากมีการพยายามขีดเส้นความชัดเจนเช่นเดียวกับศาสนาในโลกสมัยใหม่ ก็จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีเพียงศาสนาอิสลามเพียงศาสนาเดียว ที่มีการขีดเส้นเขตแดนความชัดเจนมานานก่อนที่จะปะทะกับวัฒนธรรมทางศาสนาของตะวันตกเสียอีก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1424512345