**ติดอาวุธทางปัญญา** กรณีศึกษา การกลั่นกรองและกล่อมเกลาผู้มาบวชในบวรพระพุทธศาสนา ตอนที่ 1

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

จากหหนังสือ

พุทธศาสนาไทยในอนาคตแนวโน้มและทางออกจากวิกฤต โดย พระไพศาล วิสาโล

Download ทั้งเล่มได้ใน

http://info.thaihealth.or.th/sukhphaaphraangkaay/10814






---------- จบ ตอนที่ 1-------------------


สาระดีๆเพิ่มเติมในหนังสือ

หน้า 268-269

        ความสัมพันธ์กับรัฐและประชาชน (หรือสังคม) อย่างได้ดุลยภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดำรงอยู่ของพระสงฆ์อย่างมีความหมายต่อพระศาสนา    ถ้าพึ่งพิงรัฐหรือใกล้ชิดมากเกินไป จนห่างเหินจากชาวบ้านคณะสงฆ์ก็เสื่อมได้ง่ายเพราะไม่มีชาวบ้านคอยช่วยควบคุมดูแลให้ประพฤติตามพระวินัยโดยที่พระศาสนาก็ถดถอยลงเพราะคณะสงฆ์ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐหรือผู้มีอำนาจ

        ขณะเดียวกันก็ทำให้ชาวบ้านห่างเหินจากหลักธรรมคำสอนที่ถูกต้อง ผลตามมาคือ พระสัทธรรมขาดผู้สืบทอด ในที่สุดก็ย่อมเลือนหายไป


-------------------


อีกเล่มที่น่าสนใจ ไว้มีโอกาสค่อยๆอ่านกันไปนะครับ

การศึกษาการอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเถรวาท
โดยคุณธีวัส บำเพ็ญบุญบารมี

http://www.sriprawat.net/9p.pdf




----------------------


-------------


ความเห็นเรื่องการบวช ที่ควรเป็นไปในสังคมไทย


1."การบวชที่มีคุณภาพ" มาก่อนปริมาณ (ถ้ามีคุณภาพแล้ว ปริมาณยิ่งมากยิ่งดี(ยิ่งฟรียิ่งดีขึ้นไปอีก )
แต่ถ้าไม่มีคุณภาพแล้ว ปริมาณยิ่งมาก พระศาสนายิ่งเสื่อมถอย  
เพราะอาจมีคนที่ไม่มีคุณภาพเข้ามาบวชได้(หรือพวกที่มาจากลัทธิอื่น)  
กลุ่มคนเหล่านี้เองที่จะทำให้เกิดความเสื่อมในพระพุทธศาสนา

2.บวชฟรีเป็นสิ่งที่น่าสนับสนุน เพราะในสมัยพุทธกาลก็บวชฟรี  
แต่การสืบทอดพระพุทธศาสนาที่จำเป็นต้องมีพระภิกษุสงฆ์ที่มีคุณภาพ
บวชฟรีหรือไม่คงไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไรมาก "บวชฟรีดีแต่ควรสร้างคุณภาพ"กลับไปอ่านข้อ 1    


3.ค่านิยมหรือวัฒนธรรมที่ยึดถือกันมาในสังคมไทย

วัฒนธรรมที่ดี เช่น  บวชทดแทนบุญคุณพ่อแม่(พ่อแม่ได้ทำบุญในบวรพระพุทธศาสนา) ,บวชเมื่ออายุ 20 ปี, บวชหน้าไฟ ,

ค่านิยมดีบ้าง ไม่ดีบ้าง   เช่น  บวชเพราะอกหัก  ,บวชเพราะแก้กรรม,บวชเพราะไปแก้บน,บวชเพื่อขึ้นสวรรค์ชั้นดุสิต ชั้นดาวดึงส์
,บวชเพื่ออานิสงส์จะได้ลาภ ยศ สักการะ  ,บวชหาเงิน ,บวชเพื่อได้อยู่ใกล้หนุ่มๆ,บวชเพื่อจะได้เรียนหนังสือ
บวชหนีคดี,บวชเอาหน้า,บวชก่อนแต่ง


...หากเป็นวัฒนธรรมที่ดีก็เป็นความหวังดีของคนโบร่ำโบราณ   น่าอนุโมทนา  
แต่ทว่าควรมีการให้ความรู้กับสังคมเพื่อแยกแยะวัฒนธรรม ค่านิยม ทั้งหลายให้
ออกจากการบวชจริงๆในพระพุทธศาสนา  

  
     ในสมัยพุทธกาล  กว่าผู้ที่ต้องการบวชจะได้บวช  เป็นเรื่องที่ต้องมีขั้นตอนการกลั่นกรองอยู่มาก เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้มาปลอมบวช หรือใช้พระศาสนาหากินเยี่ยงอลัชชี

(จะว่าไปแล้ว หากคนในสังคมเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ น่าจะนำแบบอย่างในครั้งพุทธกาลมาใช้  ตัดเสียซึ่งค่านิยมต่างๆออกไป เพื่อเห็นแก่พระศาสนา)

ตัวอย่างคุณภาพของการบวชในสมัยพุทธกาล  เรียกว่า การเข้าปริวาสกรรม (เรียก ติตถิยปริวาส)

อ้างอิง

http://vimuttisuk.com/main/monk/parivas.html



ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์


เนื่องด้วยมีคฤหัสถ์จำนวนมากที่ไม่เคยนับถือพระพุทธศาสนามาก่อน คือ ไม่ได้นับถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอื่นหรือลัทธิอื่น ๆ มาก่อน ที่เรียกว่า “เดียรถีย์” แต่ภายหลังเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และต้องการที่จะนับถือพุทธศาสนาด้วยการจะขอบวชหรือไม่ก็ได้ พระพุทธเจ้าจะทรงพิจารณาให้คนเหล่านี้ได้อบรมตนเสียก่อนเป็นเวลา ๔ เดือน ปริวาสประเภทนี้เรียกว่า “ติตถิยปริวาส”

              แต่เดิมผู้ที่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนนั้น หมายถึง อัญเดียรถีย์ชาตินิครนถ์เท่านั้น, แต่ต่อมาได้แก้ไขให้หมายถึง
“อาชีวกหรืออเจลกะผู้เป็นปริพาชกเปลือยเท่านั้นฯ” ส่วนเดียรถีย์ผู้ไม่เคยบวชในพระพุทธศาสนานี้ การอยู่ปริวาส ๔ เดือน
ท่านเรียกว่า “อัปปฏิจฉันนปริวาส” ฯ (สมนต.๓/๕๓-๕๔)
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่