หุ้นตัวเล็ก VS หุ้นตัวใหญ่
โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2553
Value Investor (VI) จำนวนมากหรืออาจจะเรียกว่าส่วนใหญ่ชอบลงทุนในหุ้นตัวเล็กหรือบริษัทขนาดเล็ก เหตุผลก็คือ มีความเชื่อว่าหุ้นตัวเล็กนั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติได้...
Value Investor (VI) จำนวนมากหรืออาจจะเรียกว่าส่วนใหญ่ชอบลงทุนในหุ้นตัวเล็กหรือบริษัทขนาดเล็ก เหตุผลก็คือ มีความเชื่อว่าหุ้นตัวเล็กนั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติได้ หลักฐานที่ปรากฏในตลาดหุ้นก็ชัดเจนว่าหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลายเท่า บางตัวเป็นสิบเท่าภายในเวลาเพียงไม่เกิน 1- 2 ปี ที่ผ่านมานั้น มักจะเป็นหุ้นตัวเล็กที่มีมูลค่าตลาดของหุ้นไม่เกิน 3-4 พันล้านบาท หลายตัวอาจจะไม่เกินพันล้านบาทด้วยซ้ำ ทำให้หุ้นตัวเล็กนั้นมีเสน่ห์สำหรับนักลงทุนไม่เฉพาะที่เป็นนักเก็งกำไรเล่นหุ้นรายวัน แต่นักลงทุนประเภท VI ก็ชอบด้วย ดังนั้นจึงต้องมาพิจารณาดูกันว่าการลงทุนในหุ้นตัวเล็กจะสร้างผลตอบแทนได้สูงเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และความเสี่ยงจะอยู่ที่ไหน
ประเด็นแรก มองกันที่พื้นฐาน หุ้นตัวเล็กนั้นมักจะมีโอกาสเติบโตสูงในขณะที่หุ้นตัวใหญ่นั้นมักจะเติบโตเต็มที่หรือเติบโตไปมากแล้ว การที่หุ้นตัวใหญ่จะมียอดขายและกำไรเติบโตขึ้นอีกเท่าตัวภายในเวลา 3-4 ปี นั้นน่าจะทำได้ยากมาก ในขณะที่หุ้นตัวเล็กนั้น บางบริษัทสามารถเติบโตเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัวได้ภายในระยะเวลาเดียวกัน แนวความคิดก็คือ หุ้นตัวใหญ่นั้นมักจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงและมักอยู่ในตลาดที่อิ่มตัวหรือใกล้จะอิ่มตัวแล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะโตต่อไปก็จะน้อยลง ในขณะที่หุ้นตัวเล็กนั้นมักจะอยู่ในธุรกิจที่ตลาดกำลังโตหรือไม่ก็ยังเป็นกิจการที่เล็กและมีส่วนแบ่งการตลาดน้อย ดังนั้ จึงสามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งได้
ข้อโต้แย้ง ในเรื่องของตลาดที่อิ่มตัวนั้น บ่อยครั้งมันก็ไม่ใช่เรื่องจริง แน่นอนว่าการเติบโตระดับที่เกินปีละ 15-20% ในระยะยาว 4-5 ปีขึ้นไปสำหรับบริษัทขนาดใหญ่นั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยาก แต่การโตปีละ 7-10% ก็น่าจะยังทำได้อยู่ไม่น้อย แต่ปรากฏการณ์ใหม่ที่เริ่มจะเกิดขึ้นในประเทศไทยก็คือ บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่ม ขยายธุรกิจไปต่างประเทศ และถ้าหากว่าทำสำเร็จ ข้อจำกัดเรื่องตลาดอิ่มตัวก็จะหมดไป ดังนั้นบริษัทขนาดใหญ่ก็ยังมีโอกาสโตต่อไปได้เรื่อยๆ ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งก็จะทำให้ราคาหุ้นยังสูงขึ้นได้เรื่อยๆ ในขณะที่หุ้นตัวเล็กที่เติบโตสูงนั้นสามารถเติบโตได้มากกว่าหุ้นตัวใหญ่ แต่ความเสี่ยงของหุ้นตัวเล็กก็สูงกว่ามาก ถ้ามองจากสถิติโดยรวมก็อาจจะพบว่าหุ้นตัวเล็กจำนวนมากนั้นไม่ได้โตไปไหนเลย เคยเล็กอย่างไรก็เล็กอย่างนั้น หุ้นตัวเล็กหลายตัวที่โตขึ้นนั้น บางทีก็โตแบบไม่มีคุณภาพ นั่นคือ โตโดยที่กำไรไม่เพิ่มหรือโตโดยที่ต้องลงทุนไปมากจนแทบไม่คุ้มที่จะโต อาจจะมีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่โตจริงและโตมากซึ่งทำให้เกิดภาพว่าหุ้นตัวเล็กโตเร็ว ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ความเสี่ยงในแง่ของธุรกิจนั้น หุ้นตัวเล็กก็น่าจะสูงกว่าหุ้นตัวใหญ่ ดังนั้นสำหรับ VI แล้วการเล่นหุ้นตัวเล็กก็อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหนือกว่า ซึ่งการลงทุนในหุ้นตัวใหญ่ที่ยังเติบโตดีในระดับ 15% ต่อปีนั้นน่าจะดีกว่าการเล่นหุ้นตัวเล็กที่มีโอกาสโต 30% แต่ความเสี่ยงสูงมากกว่า
ประเด็นที่สอง หุ้นตัวเล็กนั้นจะไม่มีนักวิเคราะห์หุ้นคอยติดตามหรือวิเคราะห์หามูลค่าที่แท้จริง ดังนั้น หุ้นตัวเล็กส่วนใหญ่จึงถูกมองข้าม และทำให้หุ้นหลายตัวอาจจะมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานมาก จึงเป็นโอกาสที่ VI จะสามารถเข้าไปซื้อและทำกำไรได้เป็นจำนวนมากหลังจากที่คนจำนวนมากเริ่มที่จะตระหนักถึงมูลค่าและเข้ามาซื้อหุ้น จึงทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปมาก
ข้อโต้แย้ง ในภาวะที่ตลาดหุ้นบูม มีการเก็งกำไรสูงอย่างในปัจจุบันนั้น หุ้นตัวเล็กกลับกลายเป็นหุ้นยอดนิยม ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์อาจจะไม่ได้ทำรายงานการวิเคราะห์เป็นเรื่องเป็นราวหรือไม่วิเคราะห์เลย แต่นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็นประเภท VI ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากและมีความสามารถสูงไม่แพ้นักวิเคราะห์ก็หันมาสนใจหุ้นเล็กๆ เหล่านี้ ดังนั้นที่บอกว่าหุ้นตัวเล็กเป็นหุ้นที่ถูกมองข้ามนั้น ในอดีตอาจจะเป็นเรื่องจริง แต่ในปัจจุบันมีน้อยลงไปมาก จึงทำให้หุ้นตัวเล็กไม่ได้มีมูลค่าที่ต่ำกว่าพื้นฐาน แต่ได้ทางตรงกันข้ามมี จำนวนไม่น้อยที่น่าจะมีมูลค่าที่สูงกว่ามูลค่าพื้นฐานด้วยซ้ำไป
ประเด็นสุดท้าย การลงทุนในหุ้นตัวเล็กนั้น มีโอกาสที่จะถูกทำกำไรได้หลายๆ เท่าหรือหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้น บางทีไม่ถึงปี ในขณะที่หุ้นตัวใหญ่นั้นไม่ว่าจะดีแค่ไหนก็มักจะไม่สามารถทำกำไรแบบนั้นได้ ถ้าจะโตระดับนั้นได้ก็มักจะต้องอาศัยเวลาหลายๆ ปี ซึ่งทำให้ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูง
ประเด็นนี้คิดว่าเป็นเรื่องจริง แต่นี่อาจจะเป็นเรื่องของการเก็งกำไรที่มีความเสี่ยงและเป็นเรื่องจะต้องเลือกว่าจะมีการลงทุนแบบไหน นั่นก็คือจะเติบโตอย่างปลอดภัยหรือจะโตอย่างรวดเร็ว แต่มีความเสี่ยงที่จะล้มเหลว เมื่อหุ้นที่อาจจะโตขนาดสูงกลายเป็นลดลงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เหนือสิ่งอื่นใดความสำเร็จสูงมากในระยะยาวไม่จำเป็นต้องได้ผลตอบแทนดีผิดปกติในปีใดปีหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับความคงที่ของผลตอบแทนที่อย่างต่อเนื่อง
โดยสรุปจะเห็นได้ว่าในการลงทุนในหุ้นตัวเล็กหลายๆ เรื่องนั้นในปัจจุบันมีน้ำหนักน้อยลงไป ไม่ใช่แค่เพราะว่าหุ้นตัวเล็กหาซื้อหุ้นได้ยากและไม่มีสภาพคล่อง แต่เป็นเพราะว่าหุ้นตัวเล็กนั้นโดยส่วนใหญ่ไม่มีความเข้มแข็งหรือความโดดเด่นพอในแง่ของธุรกิจ ซึ่งทำให้การลงทุนระยะยาวไม่สามารถทำได้ง่ายและเช่นเดียวกัน ความเสี่ยงที่มักจะมีค่าที่สูงกว่าที่จะรับได้ในการลงทุนหุ้นตัวใหญ่
ปล. ความถนัดแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องหาแนวทางของตัวเองให้เจอ สำหรับผมแล้ว ลงทุนหุ้นในราคาไม่เกิน 20 บาท เป็นส่วนใหญ่ (ไม่นับรวมปล่อยทำกำไรเพราะอาจเกิน) ทุกวันนี้กำไรเป็นกอบกำก็มาจากปลาซิวปลาสร้อยทั้งนั้น หุ้นเล็ก หรือ ใหญ่ มีดีที่ตัวมันเอง หาจุดซื้อและขายให้เหมาะ หุ้นที่ดีต้องกำไร หุ้นขาดทุน เลวทุกตัว ดังนั้นประเด็นของการลงทุน จึงอยู่ที่กำไรเท่านั้น อย่างอื่นแค่อาหารเสริม
หุ้นตัวเล็ก VS หุ้นตัวใหญ่
โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2553
Value Investor (VI) จำนวนมากหรืออาจจะเรียกว่าส่วนใหญ่ชอบลงทุนในหุ้นตัวเล็กหรือบริษัทขนาดเล็ก เหตุผลก็คือ มีความเชื่อว่าหุ้นตัวเล็กนั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติได้...
Value Investor (VI) จำนวนมากหรืออาจจะเรียกว่าส่วนใหญ่ชอบลงทุนในหุ้นตัวเล็กหรือบริษัทขนาดเล็ก เหตุผลก็คือ มีความเชื่อว่าหุ้นตัวเล็กนั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติได้ หลักฐานที่ปรากฏในตลาดหุ้นก็ชัดเจนว่าหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหลายเท่า บางตัวเป็นสิบเท่าภายในเวลาเพียงไม่เกิน 1- 2 ปี ที่ผ่านมานั้น มักจะเป็นหุ้นตัวเล็กที่มีมูลค่าตลาดของหุ้นไม่เกิน 3-4 พันล้านบาท หลายตัวอาจจะไม่เกินพันล้านบาทด้วยซ้ำ ทำให้หุ้นตัวเล็กนั้นมีเสน่ห์สำหรับนักลงทุนไม่เฉพาะที่เป็นนักเก็งกำไรเล่นหุ้นรายวัน แต่นักลงทุนประเภท VI ก็ชอบด้วย ดังนั้นจึงต้องมาพิจารณาดูกันว่าการลงทุนในหุ้นตัวเล็กจะสร้างผลตอบแทนได้สูงเป็นเรื่องจริงหรือไม่ และความเสี่ยงจะอยู่ที่ไหน
ประเด็นแรก มองกันที่พื้นฐาน หุ้นตัวเล็กนั้นมักจะมีโอกาสเติบโตสูงในขณะที่หุ้นตัวใหญ่นั้นมักจะเติบโตเต็มที่หรือเติบโตไปมากแล้ว การที่หุ้นตัวใหญ่จะมียอดขายและกำไรเติบโตขึ้นอีกเท่าตัวภายในเวลา 3-4 ปี นั้นน่าจะทำได้ยากมาก ในขณะที่หุ้นตัวเล็กนั้น บางบริษัทสามารถเติบโตเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัวได้ภายในระยะเวลาเดียวกัน แนวความคิดก็คือ หุ้นตัวใหญ่นั้นมักจะมีส่วนแบ่งการตลาดสูงและมักอยู่ในตลาดที่อิ่มตัวหรือใกล้จะอิ่มตัวแล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะโตต่อไปก็จะน้อยลง ในขณะที่หุ้นตัวเล็กนั้นมักจะอยู่ในธุรกิจที่ตลาดกำลังโตหรือไม่ก็ยังเป็นกิจการที่เล็กและมีส่วนแบ่งการตลาดน้อย ดังนั้ จึงสามารถแย่งส่วนแบ่งการตลาดจากคู่แข่งได้
ข้อโต้แย้ง ในเรื่องของตลาดที่อิ่มตัวนั้น บ่อยครั้งมันก็ไม่ใช่เรื่องจริง แน่นอนว่าการเติบโตระดับที่เกินปีละ 15-20% ในระยะยาว 4-5 ปีขึ้นไปสำหรับบริษัทขนาดใหญ่นั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยาก แต่การโตปีละ 7-10% ก็น่าจะยังทำได้อยู่ไม่น้อย แต่ปรากฏการณ์ใหม่ที่เริ่มจะเกิดขึ้นในประเทศไทยก็คือ บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งเริ่ม ขยายธุรกิจไปต่างประเทศ และถ้าหากว่าทำสำเร็จ ข้อจำกัดเรื่องตลาดอิ่มตัวก็จะหมดไป ดังนั้นบริษัทขนาดใหญ่ก็ยังมีโอกาสโตต่อไปได้เรื่อยๆ ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งก็จะทำให้ราคาหุ้นยังสูงขึ้นได้เรื่อยๆ ในขณะที่หุ้นตัวเล็กที่เติบโตสูงนั้นสามารถเติบโตได้มากกว่าหุ้นตัวใหญ่ แต่ความเสี่ยงของหุ้นตัวเล็กก็สูงกว่ามาก ถ้ามองจากสถิติโดยรวมก็อาจจะพบว่าหุ้นตัวเล็กจำนวนมากนั้นไม่ได้โตไปไหนเลย เคยเล็กอย่างไรก็เล็กอย่างนั้น หุ้นตัวเล็กหลายตัวที่โตขึ้นนั้น บางทีก็โตแบบไม่มีคุณภาพ นั่นคือ โตโดยที่กำไรไม่เพิ่มหรือโตโดยที่ต้องลงทุนไปมากจนแทบไม่คุ้มที่จะโต อาจจะมีเพียงบางบริษัทเท่านั้นที่โตจริงและโตมากซึ่งทำให้เกิดภาพว่าหุ้นตัวเล็กโตเร็ว ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ความเสี่ยงในแง่ของธุรกิจนั้น หุ้นตัวเล็กก็น่าจะสูงกว่าหุ้นตัวใหญ่ ดังนั้นสำหรับ VI แล้วการเล่นหุ้นตัวเล็กก็อาจจะไม่ใช่กลยุทธ์ที่เหนือกว่า ซึ่งการลงทุนในหุ้นตัวใหญ่ที่ยังเติบโตดีในระดับ 15% ต่อปีนั้นน่าจะดีกว่าการเล่นหุ้นตัวเล็กที่มีโอกาสโต 30% แต่ความเสี่ยงสูงมากกว่า
ประเด็นที่สอง หุ้นตัวเล็กนั้นจะไม่มีนักวิเคราะห์หุ้นคอยติดตามหรือวิเคราะห์หามูลค่าที่แท้จริง ดังนั้น หุ้นตัวเล็กส่วนใหญ่จึงถูกมองข้าม และทำให้หุ้นหลายตัวอาจจะมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานมาก จึงเป็นโอกาสที่ VI จะสามารถเข้าไปซื้อและทำกำไรได้เป็นจำนวนมากหลังจากที่คนจำนวนมากเริ่มที่จะตระหนักถึงมูลค่าและเข้ามาซื้อหุ้น จึงทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปมาก
ข้อโต้แย้ง ในภาวะที่ตลาดหุ้นบูม มีการเก็งกำไรสูงอย่างในปัจจุบันนั้น หุ้นตัวเล็กกลับกลายเป็นหุ้นยอดนิยม ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์อาจจะไม่ได้ทำรายงานการวิเคราะห์เป็นเรื่องเป็นราวหรือไม่วิเคราะห์เลย แต่นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็นประเภท VI ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากและมีความสามารถสูงไม่แพ้นักวิเคราะห์ก็หันมาสนใจหุ้นเล็กๆ เหล่านี้ ดังนั้นที่บอกว่าหุ้นตัวเล็กเป็นหุ้นที่ถูกมองข้ามนั้น ในอดีตอาจจะเป็นเรื่องจริง แต่ในปัจจุบันมีน้อยลงไปมาก จึงทำให้หุ้นตัวเล็กไม่ได้มีมูลค่าที่ต่ำกว่าพื้นฐาน แต่ได้ทางตรงกันข้ามมี จำนวนไม่น้อยที่น่าจะมีมูลค่าที่สูงกว่ามูลค่าพื้นฐานด้วยซ้ำไป
ประเด็นสุดท้าย การลงทุนในหุ้นตัวเล็กนั้น มีโอกาสที่จะถูกทำกำไรได้หลายๆ เท่าหรือหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้น บางทีไม่ถึงปี ในขณะที่หุ้นตัวใหญ่นั้นไม่ว่าจะดีแค่ไหนก็มักจะไม่สามารถทำกำไรแบบนั้นได้ ถ้าจะโตระดับนั้นได้ก็มักจะต้องอาศัยเวลาหลายๆ ปี ซึ่งทำให้ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูง
ประเด็นนี้คิดว่าเป็นเรื่องจริง แต่นี่อาจจะเป็นเรื่องของการเก็งกำไรที่มีความเสี่ยงและเป็นเรื่องจะต้องเลือกว่าจะมีการลงทุนแบบไหน นั่นก็คือจะเติบโตอย่างปลอดภัยหรือจะโตอย่างรวดเร็ว แต่มีความเสี่ยงที่จะล้มเหลว เมื่อหุ้นที่อาจจะโตขนาดสูงกลายเป็นลดลงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ เหนือสิ่งอื่นใดความสำเร็จสูงมากในระยะยาวไม่จำเป็นต้องได้ผลตอบแทนดีผิดปกติในปีใดปีหนึ่ง แต่ขึ้นอยู่กับความคงที่ของผลตอบแทนที่อย่างต่อเนื่อง
โดยสรุปจะเห็นได้ว่าในการลงทุนในหุ้นตัวเล็กหลายๆ เรื่องนั้นในปัจจุบันมีน้ำหนักน้อยลงไป ไม่ใช่แค่เพราะว่าหุ้นตัวเล็กหาซื้อหุ้นได้ยากและไม่มีสภาพคล่อง แต่เป็นเพราะว่าหุ้นตัวเล็กนั้นโดยส่วนใหญ่ไม่มีความเข้มแข็งหรือความโดดเด่นพอในแง่ของธุรกิจ ซึ่งทำให้การลงทุนระยะยาวไม่สามารถทำได้ง่ายและเช่นเดียวกัน ความเสี่ยงที่มักจะมีค่าที่สูงกว่าที่จะรับได้ในการลงทุนหุ้นตัวใหญ่
ปล. ความถนัดแต่ละคนไม่เหมือนกัน ต้องหาแนวทางของตัวเองให้เจอ สำหรับผมแล้ว ลงทุนหุ้นในราคาไม่เกิน 20 บาท เป็นส่วนใหญ่ (ไม่นับรวมปล่อยทำกำไรเพราะอาจเกิน) ทุกวันนี้กำไรเป็นกอบกำก็มาจากปลาซิวปลาสร้อยทั้งนั้น หุ้นเล็ก หรือ ใหญ่ มีดีที่ตัวมันเอง หาจุดซื้อและขายให้เหมาะ หุ้นที่ดีต้องกำไร หุ้นขาดทุน เลวทุกตัว ดังนั้นประเด็นของการลงทุน จึงอยู่ที่กำไรเท่านั้น อย่างอื่นแค่อาหารเสริม