คำว่า
ศาสนธรรม ที่แปลว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหรือของท่านผู้รู้ นี้เป็นร่องรอย นี้เป็นอาการแห่งธรรม
ทั้งฝ่ายเหตุคือการดำเนิน ทั้งฝ่ายผลเป็นอาการทั้งนั้น คือเป็นร่องรอยที่จะเข้าสู่ธรรมอันแท้จริง ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในใจ
สัมผัสรับรู้กันทุกขั้นแห่งธรรมภายในใจ ใจเป็นที่สถิตแห่งธรรมทุกขั้นทุกภูมิ ตั้งแต่ธรรมขั้นต่ำจนกระทั่งสูงสุดวิมุตติพระนิพพาน
มีใจเท่านั้นเป็นภาชนะอันเหมาะสมอย่างยิ่ง มีอันเดียวคือใจ นอกนั้นเป็นเพียงเครื่องมือ
เพราะฉะนั้นคำว่าศาสนธรรมนี่คือวิธีการของท่านผู้รู้ ท่านผู้ฉลาดได้ทรงดำเนินมาแล้ว
เช่น พระพุทธเจ้าของเราผู้เป็นเจ้าของแห่งศาสนธรรม ที่เราทั้งหลายได้กราบไหว้บูชาอยู่เวลานี้
ท่านปฏิบัติตามอาการแห่งธรรม ที่แสดงให้โลกทั้งหลายฟังนี้แล
ทั้งฝ่ายละและฝ่ายบำเพ็ญทรงดำเนินมาอย่างนี้
การพูดถึงเหตุแห่ง
การละความชั่วและเหตุแห่งการบำเพ็ญความดี เหล่านี้เป็น
อาการเป็นกระแสของธรรม
สำหรับธรรมแท้ที่อยู่ในพระทัยของพระพุทธเจ้า ไม่สามารถที่จะหยิบออกมาพูดได้เหมือนอาการแห่งธรรมเหล่านี้เลย
เพราะฉะนั้นจึงประกาศสอนโลกด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เรียกว่ากระแสหรืออาการแห่งธรรม
เพื่อโลกทั้งหลายจะได้ดำเนินตามวิธีการที่ถูกต้องดีงามนี้ แล้วจะเข้าถึงองค์ธรรมแท้เป็นลำดับลำดา
จนกระทั่งถึงธรรมแท้ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ นี่คือความจริงของธรรมแท้เป็นอย่างนี้ ท่านจึงเรียกว่าศาสนธรรม
เช่นท่านจดจารึกไว้ตามคัมภีร์ใบลาน นั่นแหละคือแนวทางที่จะก้าวเข้าสู่ธรรมแท้
บอกวิธีละบอกวิธีบำเพ็ญ บอกทั้งสิ่งที่เป็นโทษ บอกทั้งสิ่งที่เป็นคุณ ไว้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
และก็ให้ดำเนินตามวิธีการที่ทรงแสดงไว้นั้น หรือตามตำรับตำราที่ท่านจดจารึกไว้นั้น
เหมือนกันกับเราตามรอยเท้าแห่งโค โคเราไปปล่อยไว้ที่ไหนเมื่อจะไปตามเอาโคตัวนั้น
เราไม่แน่ใจว่ามันไปอยู่ในสถานที่แห่งใด เพื่อความแน่ใจจึงต้องไปตามรอยที่เราไปปล่อยไว้นั้น
โดยลำดับลำดาจนกระทั่งถึงตัวโค
เมื่อถึงตัวโคแล้วรอยที่เราตามเหล่านั้นก็หมดปัญหาไป
เพราะโคกับเท้าแห่งโคที่เหยียบย่ำไปนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การดำเนินตามศาสนธรรม ที่ทรงสั่งสอนไว้แล้วด้วยความถูกต้องดีงาม ก็เช่นเดียวกับเราตามรอยโค
ไม่ปลีกไม่แวะจับรอยตั้งแต่ต้นจนถึงตัวโค การประพฤติปฏิบัติก็ไม่ปล่อยร่องรอยแห่งธรรมที่สอนไว้โดยถูกต้อง
ยึดความถูกต้องนั้นเป็นหลักฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติโดยลำดับลำดา ก็ย่อมจะเข้าถึงธรรมเป็นขั้น ๆ เข้าไป
เพราะผลแห่งธรรมเป็นหลายขั้น
----------------------------------
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา - พระธรรมเทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=933&CatID=3
ตามรอยเท้าแห่งโค....
คำว่า ศาสนธรรม ที่แปลว่าคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหรือของท่านผู้รู้ นี้เป็นร่องรอย นี้เป็นอาการแห่งธรรม
ทั้งฝ่ายเหตุคือการดำเนิน ทั้งฝ่ายผลเป็นอาการทั้งนั้น คือเป็นร่องรอยที่จะเข้าสู่ธรรมอันแท้จริง ซึ่งจะเกิดขึ้นภายในใจ
สัมผัสรับรู้กันทุกขั้นแห่งธรรมภายในใจ ใจเป็นที่สถิตแห่งธรรมทุกขั้นทุกภูมิ ตั้งแต่ธรรมขั้นต่ำจนกระทั่งสูงสุดวิมุตติพระนิพพาน
มีใจเท่านั้นเป็นภาชนะอันเหมาะสมอย่างยิ่ง มีอันเดียวคือใจ นอกนั้นเป็นเพียงเครื่องมือ
เพราะฉะนั้นคำว่าศาสนธรรมนี่คือวิธีการของท่านผู้รู้ ท่านผู้ฉลาดได้ทรงดำเนินมาแล้ว
เช่น พระพุทธเจ้าของเราผู้เป็นเจ้าของแห่งศาสนธรรม ที่เราทั้งหลายได้กราบไหว้บูชาอยู่เวลานี้
ท่านปฏิบัติตามอาการแห่งธรรม ที่แสดงให้โลกทั้งหลายฟังนี้แล ทั้งฝ่ายละและฝ่ายบำเพ็ญทรงดำเนินมาอย่างนี้
การพูดถึงเหตุแห่งการละความชั่วและเหตุแห่งการบำเพ็ญความดี เหล่านี้เป็นอาการเป็นกระแสของธรรม
สำหรับธรรมแท้ที่อยู่ในพระทัยของพระพุทธเจ้า ไม่สามารถที่จะหยิบออกมาพูดได้เหมือนอาการแห่งธรรมเหล่านี้เลย
เพราะฉะนั้นจึงประกาศสอนโลกด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เรียกว่ากระแสหรืออาการแห่งธรรม
เพื่อโลกทั้งหลายจะได้ดำเนินตามวิธีการที่ถูกต้องดีงามนี้ แล้วจะเข้าถึงองค์ธรรมแท้เป็นลำดับลำดา
จนกระทั่งถึงธรรมแท้ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ นี่คือความจริงของธรรมแท้เป็นอย่างนี้ ท่านจึงเรียกว่าศาสนธรรม
เช่นท่านจดจารึกไว้ตามคัมภีร์ใบลาน นั่นแหละคือแนวทางที่จะก้าวเข้าสู่ธรรมแท้
บอกวิธีละบอกวิธีบำเพ็ญ บอกทั้งสิ่งที่เป็นโทษ บอกทั้งสิ่งที่เป็นคุณ ไว้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน
และก็ให้ดำเนินตามวิธีการที่ทรงแสดงไว้นั้น หรือตามตำรับตำราที่ท่านจดจารึกไว้นั้น
เหมือนกันกับเราตามรอยเท้าแห่งโค โคเราไปปล่อยไว้ที่ไหนเมื่อจะไปตามเอาโคตัวนั้น
เราไม่แน่ใจว่ามันไปอยู่ในสถานที่แห่งใด เพื่อความแน่ใจจึงต้องไปตามรอยที่เราไปปล่อยไว้นั้น
โดยลำดับลำดาจนกระทั่งถึงตัวโค เมื่อถึงตัวโคแล้วรอยที่เราตามเหล่านั้นก็หมดปัญหาไป
เพราะโคกับเท้าแห่งโคที่เหยียบย่ำไปนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การดำเนินตามศาสนธรรม ที่ทรงสั่งสอนไว้แล้วด้วยความถูกต้องดีงาม ก็เช่นเดียวกับเราตามรอยโค
ไม่ปลีกไม่แวะจับรอยตั้งแต่ต้นจนถึงตัวโค การประพฤติปฏิบัติก็ไม่ปล่อยร่องรอยแห่งธรรมที่สอนไว้โดยถูกต้อง
ยึดความถูกต้องนั้นเป็นหลักฐานแห่งการประพฤติปฏิบัติโดยลำดับลำดา ก็ย่อมจะเข้าถึงธรรมเป็นขั้น ๆ เข้าไป
เพราะผลแห่งธรรมเป็นหลายขั้น
----------------------------------
นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา - พระธรรมเทศนาโดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔
อ่านเนื้อหาเต็มได้จาก http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=933&CatID=3