อ้างอิง
http://manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9580000018160
----
ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -กรณีวัดพระธรรมกาย ยังคงเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจต่อเนื่อง ภายหลังจากที่จัดกิจกรรม “ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร ธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก” ครั้งที่ 4 วันที่ 2 -31 ม.ค. 2558 ที่ผ่านมา
ทั้งการรวมตัวกันของภาคประชาชนและสภาปฏิรูปพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (สปพช.) ในการปกป้องพระพุทธศาสนา กรณีการเผยแผ่ธรรมของธรรมกายที่ผิดเพี้ยนไปจากในพระไตรปิฎก จนนำไปสู่การล่ารายชื่อ 50,000 คนเพื่อยื่นเรื่องดังกล่าวต่อรัฐบาล ให้เกิดการปฏิรูปศาสนา
และที่เป็นประเด็นซึ่งสังคมให้ความสนใจไม่แพ้กันก็คือกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.)ออกมาชี้แจงแถลงไขถึงความคืบหน้าของคดีที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ยักยอกเงินของสหกรณ์ฯ ทำให้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเงินกว่า 12,402 ล้านบาท หลังสมาชิกสหกรณ์ฯ กว่า 200 คน ซึ่งได้รับความเสียหายจากเดินขบวนมาสอบถามความคืบหน้าของคดีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือการที่ ป.ป.ง.โดย พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ป.ป.ง.ระบุชัดว่า จากการสอบเส้นทางการเงินพบว่า นายศุภชัยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่วัดพระธรรมกายจำนวน 15 ฉบับ รวมเป็นเงิน 714 ล้านบาท และทางวัดพระธรรมกายจำนนต่อหลักฐานที่ ป.ป.ง.ตรวจสอบจนยินยอมที่จะคืนเงินบริจาคดังกล่าวคืน
น่าสนใจก็เพราะนายศุภชัยคืออัครสาวกคนสำคัญของวัดพระธรรมกาย
น่าสนใจก็เพราะวัดพระธรรมกายของ “พระเทพญาณมหามุนี(ไชยบูลย์ ธมมชโย) ประกาศนักประกาศหนาว่า สั่งสอนให้คนเป็นคนดี แต่ไฉนศิษย์เอกอย่างนายศุภชัยถึงคิดชั่วและยักยอกเงินจำนวนมหาศาลไปบริจาคให้วัดพระธรรมกาย
คำถามที่สังคมและพุทธศาสนิกชนต้องการคำชี้แจงก็คือ วัดพระธรรมกาย และพระเทพญาณมหามุนี ผู้เป็นเจ้าอาวาสรู้เห็นเป็นใจกับการทำความผิดกับการยักยอกเงินของนายศุภชัยหรือไม่
ถ้าไม่ ก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้า ป.ป.ง.ตรวจสอบแล้วพบว่าวัดพระธรรมกายรับรู้ วัดพระธรรมกายก็จะต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเช่นเดียวกับนายศุภชัยผู้เป็นศิษย์เอกเช่นนั้น
ทั้งนี้ กรณีเงินบริจาคดังกล่าวนั้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม 2557 นายเผด็จ มุ่งธัญญา ประธานคณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น นำคณะกรรมการและที่ปรึกษาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นเดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อกราบนมัสการพระภาวนาวิริยคุณ หรือหลวงพ่อทัตตชีโว รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย โดยนายเผด็จได้หารือ 2 ประเด็น คือ 1. การคืนเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นที่นายศุภชัยนำมาบริจาคให้กับวัดพระธรรมกายและพระ 2 รูป และ 2. กรณีวัดพระธรรมกายติดต่อขอซื้อที่ดินของนายศุภชัยที่ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีคำสั่งอายัดไว้
สำหรับประเด็นแรก ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ทางวัดพระธรรมกายจะต้องคืนเงินจำนวน 714 ล้านบาทเพราะจำนนต่อหลักฐานดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนเรื่องการซื้อที่ดินก็มีความชัดเจนในระดับหนึ่งแล้วว่า นายศุภชัยนำไปบริจาคให้วัดพระธรรมกายก่อสร้างพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว แต่ยังไม่ทันได้บริจาค ปรากฏว่าดีเอสไอมีคำสั่งอายัดเสียก่อน ขณะที่วัดพระธรรมกายได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว แต่มาติดปัญหาที่ดินถูกอายัด ไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ จึงต้องมาเจรจาขอซื้อที่ดินกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยทางวัดจะขอเรี่ยไรเงินจากผู้มีจิตศรัทธามาซื้อที่ดินแปลงนี้ทั้งหมด
กระนั้นก็ดี กล่าวสำหรับกรณีธรรมกายนั้น ต้องบอกว่า ขณะนี้ประชาชนได้ตื่นตัวกันมากขึ้น อดังจะเห็นได้จากล่ารายชื่อ 50,000 คนเพื่อยื่นเรื่องต่อรัฐบาลให้มีการตรวจสอบ และมีการปฏิรูปศาสนา รวมถึงมีการเสวนาเพื่อระดมความคิดเห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
แทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมาดากล่าวในการสัมมนาเรื่อง “กึ่งพุทธกาลกับมารศาสนา ลัทธิสัทธรรมปฏิรูปตรรกะวิบัติของธรรมกาย กรณี ธุดงค์ธรรมชัยวิบัติ” ว่า จริงๆ แล้ว คำว่าธรรมกายเดิมทีชื่อนี้มีความหมายที่ดี เป็นชื่อหนึ่งของพระพุทธเจ้า มาจากกาย แปลว่า กอง ที่รวม ที่ประชุมแห่งธรรม แต่ภายหลังถูกบิดเบือนไปใช้เรื่องของความหมายที่รับรู้กันว่า กลุ่มบุคคล กลุ่มสงฆ์ผู้แสวงหาที่ใช้วิธีการแสวงหาผลประโยชน์ ในนามพระพุทธศาสนา ในนามของต้นธาตุต้นธรรม ที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนและก็ความเข้าใจผิด
“ธรรมกายจัดกิจกรรม ธุดงค์ธรรมชัย ได้ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในสังคมทั้งบวกและลบ แต่ว่าเขาก็หวังผลว่ามันจะเกิดผลทางบวก ถึงแม้ว่าลบมันก็จะทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ที่สุดวันหนึ่งเขาก็จะอ้างว่า ก็ยังดีกว่าไม่มีใครทำ ทำดีก็โดนว่า
“และกลุ่มที่อยู่เบื้องหลัง ในแง่ความบริสุทธิ์ใจที่เรามองเขา เขามีความหลงโดยบริสุทธิ์ใจ หรือเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ อย่างกลุ่มทุน อสังหาริมทรัพย์เจ้าใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยีศึกษา รวมถึงกลุ่มบริษัทก่อสร้างจะอยู่ธรรมกายกันเยอะ ฉะนั้นต้องมีการตรวจสอบโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพราะอย่าลืมว่าพระก็อยู่ภายใต้กฎหมายควบคุม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และเมื่อวัดเข้าไปจดในพระราชบัญญัติสงฆ์ เกี่ยวกับการจัดสร้างวัด ก็ต้องมีการตรวจสอบเส้นทางการเงิน เพราะมีบางส่วนที่ได้รับการสนับสนุนจากทางราชการ”นายแทนคุณแสดงความคิดเห็นและกล่าวด้วยว่า ถ้าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์นี้ไปเรื่อยๆ ปรากฏการณ์ธรรมกาย ก็จะครอบงำและกลืนกินสังคมพุทธไปโดยไม่รู้ตัว
ขณะที่ พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส เลขานุการเครือข่ายพุทธชยันตี-สังฆะเพื่อสังคม กล่าวว่าการเผยแผ่ธรรมของธรรมกายได้ก่อให้เกิดความสับสน ผิดเพี้ยนไปจากในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะการนั่งสมาธิและวิชาธรรมกาย ทำให้เกิดกิเลส การเอาดวงแก้วไว้ที่ศูนย์กลางของตัวเอง ต้องมีการขยายเต็มตัว เต็มห้อง เต็มแผ่นดิน เต็มโลก เต็มจักรวาล นั่นแปลว่ามีตัวตนเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ดังนั้นเมื่อกระบวนการเรียนรู้ผิดตั้งแต่ต้น เป็นนิพพานมีอัตตาคือ การเห็นจากตรงกลางของตัวเองตลอดเวลา จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้คล้อยตามว่าธรรมกายอยู่เหนือพระพุทธเจ้าอีกทีหนึ่ง ซึ่งก็คือยังมีตัวตน เป็นลัทธิถืออัตตาไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
“โดยลึกๆมันจะมีกิเลส มีโลภะอย่างละเอียดเข้าไปเจือในสมาธิ ซึ่งเราเรียกว่า เป็นมิจฉาสมาธิ และปัญหาที่น่าห่วงมากเลยก็คือ มีการบอกเล่ามาว่า ถ้าเป็นคนกลุ่มที่มีเงินเยอะๆ จะมีการไปเข้าคอร์สพิเศษ ซึ่งธรรมกายจะส่งภาพให้เห็นนิมิตได้มากกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งนั่นเป็นความลับที่เป็นการเปิดจุดอ่อนให้เข้ามาสะกดจิต โดยวิธีที่เรียกกันว่าการอัดธรรมกาย ที่อ้างว่าจะทำให้เห็นภาพได้เร็วกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันตรวจสอบให้มากๆ”
ทั้งนี้ จากเอกสารวิชาการว่าด้วย “กรณีธรรมกาย” ที่สภาปฏิรูปพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (สปพช.) ได้จัดทำขึ้นมีรายละเอียดของพระไตรปิฎก ว่าด้วยเรื่องนิพพานเป็นอนัตตา ที่ธรรมกายได้มีการพยายามทำให้เรื่องของนิพพานเป็นอจินไตย ซึ่งแปลว่าสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน ที่มีอยู่ 4 อย่าง คือ พุทธวิสัย ญาณวิสัย กรรมวิบาก และโลกจินดา
ความจริงคือ นิพพานไม่จัดอยู่ในอจินไตย 4 และเรื่องที่เป็นอภิปรัชญา เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ แต่จะทรงตอบในเรื่องที่ทำให้ดับทุกข์ได้เท่านั้น อันเป็นเรื่องที่ควรคิด ควรเข้าถึง ซึ่งนิพพานที่อยู่ในกระบวนการดับทุกข์ คือเป็นนิโรธอริยสัจ นิพพานจึงไม่ใช่เรื่องเชิงปรัชญา หรืออจินไตยที่ธรรมกายใช้เผยแผ่กัน
สำหรับหัวใจสำคัญของเอกสารวิชาการดังกล่าวได้อธิบายว่า ลัทธิที่ถืออัตตาไม่ใช่คำสอนพระพุทธเจ้า ดังระบุข้อความในอภิ.ปุ.๓๖/๑๐๓/๑๗๙ โดยพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ศาสดาที่บัญญัติอัตตาว่าเป็นของจริงแท้ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้านั้นเป็นศาสดาประเภทสัสสตวาท คือ เชื่อว่ามีอัตตาที่เที่ยงแท้แน่นอน ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติอัตตาว่าเป็นของแท้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นั่นก็คือ อัตตาไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ มีแต่ในภาษาสมมุตนั่นเอง
โดยอัตตาเป็นเพียงการยึดถือสภาวธรรมในหมู่ปุถุชน เพราะแท้ที่จริงแล้ว ตัวตนเป็นเพียงภาพความคิดที่เกิดขึ้นในใจ เป็นโลกความคิดซึ่งซ้อนบังภาพในโลกแห่งความเป็นจริงที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากสภาวธรรม เมื่อยึดถือหรือคิดเข้าใจอย่างนั้นก็เป็นอัตตทิฏฐิ (ความเข้าใจว่ามีอัตตาอยู่จริง) ซึ่งเมื่อละอัตตทิฏฐิได้ ก็จะเห็นสภาวะธรรม และเห็นนิพพานได้ในที่สุด อัตตาจึงเป็นแค่เพียงความยึดถือเข้าใจไปเองของคนเท่านั้น ไม่ได้มีอยู่แต่แรกแล้ว
นี่คือความจริงของวัดพระธรรมกาย ซึ่งถึงเวลาที่พุทธศาสนิกชนจะต้องลุกขึ้นมาทำอะไรกันอย่างจริงจังเสียที
$$$$ชาววัดพระธรรมกาย อ่านทางนี้$$$$
http://manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9580000018160
----
ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -กรณีวัดพระธรรมกาย ยังคงเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจต่อเนื่อง ภายหลังจากที่จัดกิจกรรม “ธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางพระผู้ปราบมาร ธรรมยาตรา เพื่อฟื้นฟูศีลธรรมโลก” ครั้งที่ 4 วันที่ 2 -31 ม.ค. 2558 ที่ผ่านมา
ทั้งการรวมตัวกันของภาคประชาชนและสภาปฏิรูปพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (สปพช.) ในการปกป้องพระพุทธศาสนา กรณีการเผยแผ่ธรรมของธรรมกายที่ผิดเพี้ยนไปจากในพระไตรปิฎก จนนำไปสู่การล่ารายชื่อ 50,000 คนเพื่อยื่นเรื่องดังกล่าวต่อรัฐบาล ให้เกิดการปฏิรูปศาสนา
และที่เป็นประเด็นซึ่งสังคมให้ความสนใจไม่แพ้กันก็คือกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.)ออกมาชี้แจงแถลงไขถึงความคืบหน้าของคดีที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ยักยอกเงินของสหกรณ์ฯ ทำให้ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนเงินกว่า 12,402 ล้านบาท หลังสมาชิกสหกรณ์ฯ กว่า 200 คน ซึ่งได้รับความเสียหายจากเดินขบวนมาสอบถามความคืบหน้าของคดีเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือการที่ ป.ป.ง.โดย พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ป.ป.ง.ระบุชัดว่า จากการสอบเส้นทางการเงินพบว่า นายศุภชัยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่วัดพระธรรมกายจำนวน 15 ฉบับ รวมเป็นเงิน 714 ล้านบาท และทางวัดพระธรรมกายจำนนต่อหลักฐานที่ ป.ป.ง.ตรวจสอบจนยินยอมที่จะคืนเงินบริจาคดังกล่าวคืน
น่าสนใจก็เพราะนายศุภชัยคืออัครสาวกคนสำคัญของวัดพระธรรมกาย
น่าสนใจก็เพราะวัดพระธรรมกายของ “พระเทพญาณมหามุนี(ไชยบูลย์ ธมมชโย) ประกาศนักประกาศหนาว่า สั่งสอนให้คนเป็นคนดี แต่ไฉนศิษย์เอกอย่างนายศุภชัยถึงคิดชั่วและยักยอกเงินจำนวนมหาศาลไปบริจาคให้วัดพระธรรมกาย
คำถามที่สังคมและพุทธศาสนิกชนต้องการคำชี้แจงก็คือ วัดพระธรรมกาย และพระเทพญาณมหามุนี ผู้เป็นเจ้าอาวาสรู้เห็นเป็นใจกับการทำความผิดกับการยักยอกเงินของนายศุภชัยหรือไม่
ถ้าไม่ ก็ไม่เป็นไร
แต่ถ้า ป.ป.ง.ตรวจสอบแล้วพบว่าวัดพระธรรมกายรับรู้ วัดพระธรรมกายก็จะต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเช่นเดียวกับนายศุภชัยผู้เป็นศิษย์เอกเช่นนั้น
ทั้งนี้ กรณีเงินบริจาคดังกล่าวนั้น เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม 2557 นายเผด็จ มุ่งธัญญา ประธานคณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น นำคณะกรรมการและที่ปรึกษาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นเดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อกราบนมัสการพระภาวนาวิริยคุณ หรือหลวงพ่อทัตตชีโว รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย โดยนายเผด็จได้หารือ 2 ประเด็น คือ 1. การคืนเงินของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นที่นายศุภชัยนำมาบริจาคให้กับวัดพระธรรมกายและพระ 2 รูป และ 2. กรณีวัดพระธรรมกายติดต่อขอซื้อที่ดินของนายศุภชัยที่ถูกกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) มีคำสั่งอายัดไว้
สำหรับประเด็นแรก ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ทางวัดพระธรรมกายจะต้องคืนเงินจำนวน 714 ล้านบาทเพราะจำนนต่อหลักฐานดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนเรื่องการซื้อที่ดินก็มีความชัดเจนในระดับหนึ่งแล้วว่า นายศุภชัยนำไปบริจาคให้วัดพระธรรมกายก่อสร้างพระมหาเจดีย์ทัตตชีโว แต่ยังไม่ทันได้บริจาค ปรากฏว่าดีเอสไอมีคำสั่งอายัดเสียก่อน ขณะที่วัดพระธรรมกายได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว แต่มาติดปัญหาที่ดินถูกอายัด ไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ จึงต้องมาเจรจาขอซื้อที่ดินกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยทางวัดจะขอเรี่ยไรเงินจากผู้มีจิตศรัทธามาซื้อที่ดินแปลงนี้ทั้งหมด
กระนั้นก็ดี กล่าวสำหรับกรณีธรรมกายนั้น ต้องบอกว่า ขณะนี้ประชาชนได้ตื่นตัวกันมากขึ้น อดังจะเห็นได้จากล่ารายชื่อ 50,000 คนเพื่อยื่นเรื่องต่อรัฐบาลให้มีการตรวจสอบ และมีการปฏิรูปศาสนา รวมถึงมีการเสวนาเพื่อระดมความคิดเห็นถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก
แทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมาดากล่าวในการสัมมนาเรื่อง “กึ่งพุทธกาลกับมารศาสนา ลัทธิสัทธรรมปฏิรูปตรรกะวิบัติของธรรมกาย กรณี ธุดงค์ธรรมชัยวิบัติ” ว่า จริงๆ แล้ว คำว่าธรรมกายเดิมทีชื่อนี้มีความหมายที่ดี เป็นชื่อหนึ่งของพระพุทธเจ้า มาจากกาย แปลว่า กอง ที่รวม ที่ประชุมแห่งธรรม แต่ภายหลังถูกบิดเบือนไปใช้เรื่องของความหมายที่รับรู้กันว่า กลุ่มบุคคล กลุ่มสงฆ์ผู้แสวงหาที่ใช้วิธีการแสวงหาผลประโยชน์ ในนามพระพุทธศาสนา ในนามของต้นธาตุต้นธรรม ที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนและก็ความเข้าใจผิด
“ธรรมกายจัดกิจกรรม ธุดงค์ธรรมชัย ได้ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในสังคมทั้งบวกและลบ แต่ว่าเขาก็หวังผลว่ามันจะเกิดผลทางบวก ถึงแม้ว่าลบมันก็จะทำให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ที่สุดวันหนึ่งเขาก็จะอ้างว่า ก็ยังดีกว่าไม่มีใครทำ ทำดีก็โดนว่า
“และกลุ่มที่อยู่เบื้องหลัง ในแง่ความบริสุทธิ์ใจที่เรามองเขา เขามีความหลงโดยบริสุทธิ์ใจ หรือเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจ อย่างกลุ่มทุน อสังหาริมทรัพย์เจ้าใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยีศึกษา รวมถึงกลุ่มบริษัทก่อสร้างจะอยู่ธรรมกายกันเยอะ ฉะนั้นต้องมีการตรวจสอบโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เพราะอย่าลืมว่าพระก็อยู่ภายใต้กฎหมายควบคุม โดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และเมื่อวัดเข้าไปจดในพระราชบัญญัติสงฆ์ เกี่ยวกับการจัดสร้างวัด ก็ต้องมีการตรวจสอบเส้นทางการเงิน เพราะมีบางส่วนที่ได้รับการสนับสนุนจากทางราชการ”นายแทนคุณแสดงความคิดเห็นและกล่าวด้วยว่า ถ้าปล่อยให้เกิดเหตุการณ์นี้ไปเรื่อยๆ ปรากฏการณ์ธรรมกาย ก็จะครอบงำและกลืนกินสังคมพุทธไปโดยไม่รู้ตัว
ขณะที่ พระมหาพงศ์นรินทร์ ฐิตวํโส เลขานุการเครือข่ายพุทธชยันตี-สังฆะเพื่อสังคม กล่าวว่าการเผยแผ่ธรรมของธรรมกายได้ก่อให้เกิดความสับสน ผิดเพี้ยนไปจากในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะการนั่งสมาธิและวิชาธรรมกาย ทำให้เกิดกิเลส การเอาดวงแก้วไว้ที่ศูนย์กลางของตัวเอง ต้องมีการขยายเต็มตัว เต็มห้อง เต็มแผ่นดิน เต็มโลก เต็มจักรวาล นั่นแปลว่ามีตัวตนเป็นศูนย์กลางของทุกสิ่ง ดังนั้นเมื่อกระบวนการเรียนรู้ผิดตั้งแต่ต้น เป็นนิพพานมีอัตตาคือ การเห็นจากตรงกลางของตัวเองตลอดเวลา จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้คล้อยตามว่าธรรมกายอยู่เหนือพระพุทธเจ้าอีกทีหนึ่ง ซึ่งก็คือยังมีตัวตน เป็นลัทธิถืออัตตาไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า
“โดยลึกๆมันจะมีกิเลส มีโลภะอย่างละเอียดเข้าไปเจือในสมาธิ ซึ่งเราเรียกว่า เป็นมิจฉาสมาธิ และปัญหาที่น่าห่วงมากเลยก็คือ มีการบอกเล่ามาว่า ถ้าเป็นคนกลุ่มที่มีเงินเยอะๆ จะมีการไปเข้าคอร์สพิเศษ ซึ่งธรรมกายจะส่งภาพให้เห็นนิมิตได้มากกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งนั่นเป็นความลับที่เป็นการเปิดจุดอ่อนให้เข้ามาสะกดจิต โดยวิธีที่เรียกกันว่าการอัดธรรมกาย ที่อ้างว่าจะทำให้เห็นภาพได้เร็วกว่าคนปกติทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันตรวจสอบให้มากๆ”
ทั้งนี้ จากเอกสารวิชาการว่าด้วย “กรณีธรรมกาย” ที่สภาปฏิรูปพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (สปพช.) ได้จัดทำขึ้นมีรายละเอียดของพระไตรปิฎก ว่าด้วยเรื่องนิพพานเป็นอนัตตา ที่ธรรมกายได้มีการพยายามทำให้เรื่องของนิพพานเป็นอจินไตย ซึ่งแปลว่าสิ่งที่ไม่สามารถเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน ที่มีอยู่ 4 อย่าง คือ พุทธวิสัย ญาณวิสัย กรรมวิบาก และโลกจินดา
ความจริงคือ นิพพานไม่จัดอยู่ในอจินไตย 4 และเรื่องที่เป็นอภิปรัชญา เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ แต่จะทรงตอบในเรื่องที่ทำให้ดับทุกข์ได้เท่านั้น อันเป็นเรื่องที่ควรคิด ควรเข้าถึง ซึ่งนิพพานที่อยู่ในกระบวนการดับทุกข์ คือเป็นนิโรธอริยสัจ นิพพานจึงไม่ใช่เรื่องเชิงปรัชญา หรืออจินไตยที่ธรรมกายใช้เผยแผ่กัน
สำหรับหัวใจสำคัญของเอกสารวิชาการดังกล่าวได้อธิบายว่า ลัทธิที่ถืออัตตาไม่ใช่คำสอนพระพุทธเจ้า ดังระบุข้อความในอภิ.ปุ.๓๖/๑๐๓/๑๗๙ โดยพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ศาสดาที่บัญญัติอัตตาว่าเป็นของจริงแท้ทั้งในโลกนี้ และโลกหน้านั้นเป็นศาสดาประเภทสัสสตวาท คือ เชื่อว่ามีอัตตาที่เที่ยงแท้แน่นอน ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติอัตตาว่าเป็นของแท้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นั่นก็คือ อัตตาไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ มีแต่ในภาษาสมมุตนั่นเอง
โดยอัตตาเป็นเพียงการยึดถือสภาวธรรมในหมู่ปุถุชน เพราะแท้ที่จริงแล้ว ตัวตนเป็นเพียงภาพความคิดที่เกิดขึ้นในใจ เป็นโลกความคิดซึ่งซ้อนบังภาพในโลกแห่งความเป็นจริงที่ไม่มีอะไรเลยนอกจากสภาวธรรม เมื่อยึดถือหรือคิดเข้าใจอย่างนั้นก็เป็นอัตตทิฏฐิ (ความเข้าใจว่ามีอัตตาอยู่จริง) ซึ่งเมื่อละอัตตทิฏฐิได้ ก็จะเห็นสภาวะธรรม และเห็นนิพพานได้ในที่สุด อัตตาจึงเป็นแค่เพียงความยึดถือเข้าใจไปเองของคนเท่านั้น ไม่ได้มีอยู่แต่แรกแล้ว
นี่คือความจริงของวัดพระธรรมกาย ซึ่งถึงเวลาที่พุทธศาสนิกชนจะต้องลุกขึ้นมาทำอะไรกันอย่างจริงจังเสียที