กรมราชทัณฑ์เซาท์แคโรไลนา สั่งลงโทษผู้ต้องขังเกือบ 400 ชีวิตโทษฐานลักลอบใช้ เฟซบุ๊กในช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ผู้ต้องขังบางรายอาจได้รับการลงโทษถึงขั้นถูกคุมขังเดี่ยวเป็นเวลานานก็เป็นได้
ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวถูกเก็บรวมรวมและเปิดเผยขึ้นโดยกลุ่ม Electronic Frontier Foundation หรือ EFF ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรและดูแลเรื่องสิทธิและเสรีภาพในอินเตอร์เน็ตเมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มดังกล่าวระบุสาเหตุที่เป็นปัญหาของเรื่องนี้คือการที่กรมราชทัณฑ์ได้มีการกำจัดสิทธิการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของนักโทษและเฟซบุ๊กก็มีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องนี้จากการลบข้อมูลโปร์ไฟล์ของนักโทษ
Dave Maas ผู้ประสานงานด้านความสัมพันธ์และนักตรวจสอบจาก EFF ระบุว่า เฟซบุ๊กไม่ควรที่จะทำตัวเป็นแขนขาของรัฐบาลในการตรวจสอบ ยังมีเหตุผลที่ถูกต้องหลายข้อที่เข้าใจได้ว่า ทำไมนักโทษถึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีตนเอง หรือติดต่อกับครอบครัว
อย่างไรก็ดี เฟซบุ๊กไม่ได้ออกมาตอบกลับถึงการเรียกร้องเหล่านั้น
ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์เซาท์แคโรไลนาได้ทำการเรียกร้องให้เฟซบุ๊กลบชื่อบัญชีของผู้ถูกคุมขังกว่าร้อยคน และโซเชียลเน็ตเวิร์กเบอร์หนึ่งก็ทำการตามข้อเรียกร้องนั้น โดยอ้างเงื่อนไขของการให้บริการเป็นเหตุผลประกอบ แต่ถึงแม้ว่า บริการดังกล่าวจะมีข้อตกลงห้ามไม่ให้ผู้ใช้ให้ชื่อนามแฝงและรหัสผ่านกับบุคคลที่สาม แต่กรมราชทัณฑ์กลับร้องขอให้ Facebook ลบชื่อบัญชีโดยใช้ข้อเรียกร้อง Inmate Account Takedown Request มากล่าวอ้าง
สำหรับ การใช้โซเชียลมีเดียถือเป็นความผิดร้ายแรงสำหรับนักโทษในเซาท์แคโรไลนาและเป็นนโยบายที่จะสกัดกั้นไม่ให้นักโทษมีการสื่อสารกับโลกภายนอก ซึ่งหมายความว่าจะเป็นการหยุดไม่ให้นักโทษมีการกระทำผิดทางอาญาภายในด้วย
ที่มา CNET
กรมราชทัณฑ์เซาท์แคโรไลนา สั่งลงโทษผู้ต้องขังเกือบ 400 คนโทษฐานแอบเล่น Facebook
กรมราชทัณฑ์เซาท์แคโรไลนา สั่งลงโทษผู้ต้องขังเกือบ 400 ชีวิตโทษฐานลักลอบใช้ เฟซบุ๊กในช่วงเวลาสามปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ผู้ต้องขังบางรายอาจได้รับการลงโทษถึงขั้นถูกคุมขังเดี่ยวเป็นเวลานานก็เป็นได้
ทั้งนี้ ข้อมูลดังกล่าวถูกเก็บรวมรวมและเปิดเผยขึ้นโดยกลุ่ม Electronic Frontier Foundation หรือ EFF ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไรและดูแลเรื่องสิทธิและเสรีภาพในอินเตอร์เน็ตเมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มดังกล่าวระบุสาเหตุที่เป็นปัญหาของเรื่องนี้คือการที่กรมราชทัณฑ์ได้มีการกำจัดสิทธิการเข้าถึงโซเชียลมีเดียของนักโทษและเฟซบุ๊กก็มีส่วนเกี่ยวพันกับเรื่องนี้จากการลบข้อมูลโปร์ไฟล์ของนักโทษ
Dave Maas ผู้ประสานงานด้านความสัมพันธ์และนักตรวจสอบจาก EFF ระบุว่า เฟซบุ๊กไม่ควรที่จะทำตัวเป็นแขนขาของรัฐบาลในการตรวจสอบ ยังมีเหตุผลที่ถูกต้องหลายข้อที่เข้าใจได้ว่า ทำไมนักโทษถึงต้องมีการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคดีตนเอง หรือติดต่อกับครอบครัว
อย่างไรก็ดี เฟซบุ๊กไม่ได้ออกมาตอบกลับถึงการเรียกร้องเหล่านั้น
ทั้งนี้ กรมราชทัณฑ์เซาท์แคโรไลนาได้ทำการเรียกร้องให้เฟซบุ๊กลบชื่อบัญชีของผู้ถูกคุมขังกว่าร้อยคน และโซเชียลเน็ตเวิร์กเบอร์หนึ่งก็ทำการตามข้อเรียกร้องนั้น โดยอ้างเงื่อนไขของการให้บริการเป็นเหตุผลประกอบ แต่ถึงแม้ว่า บริการดังกล่าวจะมีข้อตกลงห้ามไม่ให้ผู้ใช้ให้ชื่อนามแฝงและรหัสผ่านกับบุคคลที่สาม แต่กรมราชทัณฑ์กลับร้องขอให้ Facebook ลบชื่อบัญชีโดยใช้ข้อเรียกร้อง Inmate Account Takedown Request มากล่าวอ้าง
สำหรับ การใช้โซเชียลมีเดียถือเป็นความผิดร้ายแรงสำหรับนักโทษในเซาท์แคโรไลนาและเป็นนโยบายที่จะสกัดกั้นไม่ให้นักโทษมีการสื่อสารกับโลกภายนอก ซึ่งหมายความว่าจะเป็นการหยุดไม่ให้นักโทษมีการกระทำผิดทางอาญาภายในด้วย
ที่มา CNET