เพราะผมก็เป็นคนที่ชอบทำบุญใส่บาตร อยู่เป็นประจำเหมือนกัน จึงมีบางเรื่องที่รู้สึกค้างคาใจเกี่ยวกับกรณีธรรมกาย นะครับท่าน
คือ หลายๆท่านก็มักจะสรุปความเห็น ไปในทำนองว่า ธรรมกาย โลภบุญ โลภสวรรค์ ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ฯลฯ
ขออนุญาตพูดตรงๆ เลยนะครับ เรื่องโลภบุญ ผมเห็นว่า ใครๆ เขาก็เป็นกันทั้งนั้นแหละ (อาจรู้ตัว หรือไม่รู้)
เพราะเมื่อทำบุญทำทาน รักษาศีลแล้ว สิ่งที่ได้รับในทันทีที่ทำ ก็คือ ความสุขใจ ครับท่าน
แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือ หากเราทำบุญทำทานด้วยวิธีการเดิมๆ หรือ ปริมาณเท่าเดิม เราจะไม่ได้ความสุขเท่าเดิม
มีแต่การทำบุญทำทานแบบใหม่ๆ หรือจำนวนที่มากขึ้นเรื่อยๆเท่านั้น ที่จะสามารถทำให้เกิดความสุขที่เท่าเดิม หรือมากกว่าเดิมได้
กลไกทางธรรม หรือ ทางโลก จะเป็นอย่างไร หรือซับซ้อนแค่ไหน ผมไม่ทราบ แต่ความรู้สึกจริงๆ มันเป็นอย่างนั้นครับท่าน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความสุขเป็นปัจจัยแก่สมาธิ เพราะงั้น จึงไม่แปลก ที่ศิษย์ธรรมกายจะสามารถเจริญสมาธิได้ดีกว่าคนทั่วไป
ก็เขาเป็นผู้มีความสุขในการทำบุญทำทานรักษาศีล สวดมนต์ ฯลฯ เป็นประจำ นี่ครับท่าน เรื่องนี้ผมยืนยันได้ครับ
เรื่องความสุขกับสมาธิ และการใช้ชีวิตประจำวัน นี่สำคัญมากนะครับ เพราะผมทราบด้วยตนเองว่า มันมีความสัมพันธ์กันอยู่
คือเมื่อเราทำบุญทำทานอยู่เป็นประจำ เราก็มีความสุข แต่ถ้าเราไม่ต่อยอด เช่น ใส่บาตรเสร็จ ก็ไปทำงาน แบบนี้เสียของครับท่าน
แต่ถ้าหากเราเจริญสมาธิต่อ อันนี้รับประกันว่า เกิดสมาธิได้ง่าย จิตรวมได้ง่ายมากๆ ครับท่าน เรื่องนี้เมื่อก่อนไม่เข้าใจ
จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับวัด และพิธีกรรมมากนัก ตอนนี้ถึงได้เข้าใจว่า ถ้าไม่มีวัด ไม่มีสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่คอยไล่ต้อน
ให้เรารีบต่อยอดความสุข ให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น บุญทานที่เราทำ ก็ให้แค่ความสุขชั่วครู่ กับสวรรค์ในโลกหน้า(ถ้ามีนะครับ) เท่านั้น
ประเด็นที่ผมอยากจะบอกก็คือ
แค่เพียง บุญทาน ศีล ความสุข และสมาธิ ที่ได้จากการนี้ มันก็มากเกินพอสำหรับคนอย่างผมแล้วหละครับ
ชีวิตมีความสุขกับการทำบุญทำทาน ช่วยสงเคราะห์ผู้อื่นบ้างตามสมควร จิตใจโปร่งโล่ง มีสมาธิ คิดอ่านการงานแก้ปัญหาได้ดี
การงานก็ราบรื่น ปัญหากวนใจน้อย ชีวิตประสบความสำเร็จ มีเงินเหลือ ทำบุญเพิ่ม ....... ปฏิบัติสมาธิ ....... ฯลฯ สบายครับท่าน
อาจจะฟังดูประมาทไปสักนิด แต่ผมพอใจกับชีวิตแบบนี้นะครับ ผมเห็นว่า เรื่องภาวนาชั้นสูงอะไรนั่น
เอาไว้แก่ตัว หมดภาระทางโลก แล้วค่อยคิดเอาจริงเอาจังก็ได้ หากจะตายเสียวันนี้พรุ่งนี้ ก็ไม่กลัวอะไร เพราะทำบุญมามาก
คำถามก็คือ ถ้ามีใครสักคน มาติเตียนผม ว่าโลภบุญ โลภสวรรค์ มิจฉาทิฐิ ไม่ใช่ชาวพุทธ ฯลฯ
มันจะใช่หรือครับ ? ผมสมควรได้รับคำติเตียนอย่างนั้น ไหมครับท่าน ?
แต่ประเด็นที่ผมสงสัยจริงๆ ก็คือ
สมมุติว่า ศิษย์ธรรมกายรายหนึ่ง เดือนนี้ เขามีเงินเหลืออยู่แสนนึง เขาก็ไปทำบุญแสนนึงนั่นแหละ ท่านก็ไปตำหนิเขาว่า เขาโลภบุญ โลภสวรรค์
แล้วหากเป็นชาวพุทธทั่วไปล่ะ หากเดือนนี้เงินเขาเหลืออยู่แสนนึง เขาจะเอาไปทำอะไรบ้าง ?
ถ้าเขาเอาไปซื้อสลากออมสิน ซื้อกองทุน ซื้อ ...... ฯลฯ แน่นอนว่า ท่านคงไม่ตำหนิเขาว่าโลภบุญ โลภสวรรค์
แต่เขา ไม่ได้โลภอะไรเลย หรือครับท่าน ?
ในขณะที่หลายๆท่าน ตำหนิติเตียนคนทำบุญทำทาน สาดเสียเทเสีย ว่าโลภบุญ ฯลฯ
แต่กลับ เฉยๆ ชิลล์ๆ กับชาวพุทธที่เหลือ ซึ่งโดยมาก โลภทรัพย์ โลภสมบัติ ฯลฯ แปลกไหมครับท่าน ?
เป็นไปได้ไหมครับ ว่าจริงๆแล้ว ท่านเหล่านั้น เคยชินกับความโลภแบบหยาบๆ ในทรัพย์สมบัติ จนเห็นว่ามันปกติ
แต่ไม่เคยชินกับ บุญทาน ความดีของผู้อื่น จนเห็นไปว่ามันเป็นสิ่งผิดปกติ ?
ท่านมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ อย่างไรครับท่าน
ธรรมกาย โลภบุญ โลภสวรรค์ แล้วชาวพุทธที่เหลือ โลภอะไร ?
คือ หลายๆท่านก็มักจะสรุปความเห็น ไปในทำนองว่า ธรรมกาย โลภบุญ โลภสวรรค์ ไม่ใช่พระพุทธศาสนา ฯลฯ
ขออนุญาตพูดตรงๆ เลยนะครับ เรื่องโลภบุญ ผมเห็นว่า ใครๆ เขาก็เป็นกันทั้งนั้นแหละ (อาจรู้ตัว หรือไม่รู้)
เพราะเมื่อทำบุญทำทาน รักษาศีลแล้ว สิ่งที่ได้รับในทันทีที่ทำ ก็คือ ความสุขใจ ครับท่าน
แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือ หากเราทำบุญทำทานด้วยวิธีการเดิมๆ หรือ ปริมาณเท่าเดิม เราจะไม่ได้ความสุขเท่าเดิม
มีแต่การทำบุญทำทานแบบใหม่ๆ หรือจำนวนที่มากขึ้นเรื่อยๆเท่านั้น ที่จะสามารถทำให้เกิดความสุขที่เท่าเดิม หรือมากกว่าเดิมได้
กลไกทางธรรม หรือ ทางโลก จะเป็นอย่างไร หรือซับซ้อนแค่ไหน ผมไม่ทราบ แต่ความรู้สึกจริงๆ มันเป็นอย่างนั้นครับท่าน
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความสุขเป็นปัจจัยแก่สมาธิ เพราะงั้น จึงไม่แปลก ที่ศิษย์ธรรมกายจะสามารถเจริญสมาธิได้ดีกว่าคนทั่วไป
ก็เขาเป็นผู้มีความสุขในการทำบุญทำทานรักษาศีล สวดมนต์ ฯลฯ เป็นประจำ นี่ครับท่าน เรื่องนี้ผมยืนยันได้ครับ
เรื่องความสุขกับสมาธิ และการใช้ชีวิตประจำวัน นี่สำคัญมากนะครับ เพราะผมทราบด้วยตนเองว่า มันมีความสัมพันธ์กันอยู่
คือเมื่อเราทำบุญทำทานอยู่เป็นประจำ เราก็มีความสุข แต่ถ้าเราไม่ต่อยอด เช่น ใส่บาตรเสร็จ ก็ไปทำงาน แบบนี้เสียของครับท่าน
แต่ถ้าหากเราเจริญสมาธิต่อ อันนี้รับประกันว่า เกิดสมาธิได้ง่าย จิตรวมได้ง่ายมากๆ ครับท่าน เรื่องนี้เมื่อก่อนไม่เข้าใจ
จึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับวัด และพิธีกรรมมากนัก ตอนนี้ถึงได้เข้าใจว่า ถ้าไม่มีวัด ไม่มีสถานที่ปฏิบัติธรรม ที่คอยไล่ต้อน
ให้เรารีบต่อยอดความสุข ให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น บุญทานที่เราทำ ก็ให้แค่ความสุขชั่วครู่ กับสวรรค์ในโลกหน้า(ถ้ามีนะครับ) เท่านั้น
ประเด็นที่ผมอยากจะบอกก็คือ
แค่เพียง บุญทาน ศีล ความสุข และสมาธิ ที่ได้จากการนี้ มันก็มากเกินพอสำหรับคนอย่างผมแล้วหละครับ
ชีวิตมีความสุขกับการทำบุญทำทาน ช่วยสงเคราะห์ผู้อื่นบ้างตามสมควร จิตใจโปร่งโล่ง มีสมาธิ คิดอ่านการงานแก้ปัญหาได้ดี
การงานก็ราบรื่น ปัญหากวนใจน้อย ชีวิตประสบความสำเร็จ มีเงินเหลือ ทำบุญเพิ่ม ....... ปฏิบัติสมาธิ ....... ฯลฯ สบายครับท่าน
อาจจะฟังดูประมาทไปสักนิด แต่ผมพอใจกับชีวิตแบบนี้นะครับ ผมเห็นว่า เรื่องภาวนาชั้นสูงอะไรนั่น
เอาไว้แก่ตัว หมดภาระทางโลก แล้วค่อยคิดเอาจริงเอาจังก็ได้ หากจะตายเสียวันนี้พรุ่งนี้ ก็ไม่กลัวอะไร เพราะทำบุญมามาก
คำถามก็คือ ถ้ามีใครสักคน มาติเตียนผม ว่าโลภบุญ โลภสวรรค์ มิจฉาทิฐิ ไม่ใช่ชาวพุทธ ฯลฯ
มันจะใช่หรือครับ ? ผมสมควรได้รับคำติเตียนอย่างนั้น ไหมครับท่าน ?
แต่ประเด็นที่ผมสงสัยจริงๆ ก็คือ
สมมุติว่า ศิษย์ธรรมกายรายหนึ่ง เดือนนี้ เขามีเงินเหลืออยู่แสนนึง เขาก็ไปทำบุญแสนนึงนั่นแหละ ท่านก็ไปตำหนิเขาว่า เขาโลภบุญ โลภสวรรค์
แล้วหากเป็นชาวพุทธทั่วไปล่ะ หากเดือนนี้เงินเขาเหลืออยู่แสนนึง เขาจะเอาไปทำอะไรบ้าง ?
ถ้าเขาเอาไปซื้อสลากออมสิน ซื้อกองทุน ซื้อ ...... ฯลฯ แน่นอนว่า ท่านคงไม่ตำหนิเขาว่าโลภบุญ โลภสวรรค์
แต่เขา ไม่ได้โลภอะไรเลย หรือครับท่าน ?
ในขณะที่หลายๆท่าน ตำหนิติเตียนคนทำบุญทำทาน สาดเสียเทเสีย ว่าโลภบุญ ฯลฯ
แต่กลับ เฉยๆ ชิลล์ๆ กับชาวพุทธที่เหลือ ซึ่งโดยมาก โลภทรัพย์ โลภสมบัติ ฯลฯ แปลกไหมครับท่าน ?
เป็นไปได้ไหมครับ ว่าจริงๆแล้ว ท่านเหล่านั้น เคยชินกับความโลภแบบหยาบๆ ในทรัพย์สมบัติ จนเห็นว่ามันปกติ
แต่ไม่เคยชินกับ บุญทาน ความดีของผู้อื่น จนเห็นไปว่ามันเป็นสิ่งผิดปกติ ?
ท่านมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ อย่างไรครับท่าน