ฮิวแมนไรท์วอทช์ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น กดดันให้ผู้นำไทยปรับปรุงสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและเสริมสร้างประชาธิปไตยโดยเร็ว
https://www.facebook.com/BBCThai?fref=nf
นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) จะเดินทางไปญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 8-10 ก.พ.นี้ เพื่อส่งเสริมการลงทุน
แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรท์วอทช์ บอกว่าญี่ปุ่นควรแจ้งให้ไทยทราบว่าจะไม่ทำมาค้าขายด้วยเช่นเดิมหากไทยยังไม่ปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และยังไม่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน นายอาเบะควรทำตามวิสัยทัศน์ที่เคยประกาศไว้ว่าจะดำเนินแนวทางการทูตอยู่บนพื้นฐานของการให้ความสำคัญกับเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และหลักนิติธรรม
นายอดัมส์ กล่าวด้วยว่าที่ผ่านมานายอาเบะควรเปลี่ยนวิถีทางการทูตแบบ “นิ่งเฉย” มาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ และตรงไปตรงมากับไทยในเรื่องสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าพล.อ.ประยุทธ์ เดินทางเยือนตามคำเชิญของรัฐบาลญี่ปุ่น และจะมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น จะหารือทวิภาคีกับนายอาเบะ และจะพบปะกับภาคธุรกิจญี่ปุ่นอีกหลายคณะ ซึ่งไทยจะเชิญชวนให้ภาคธุรกิจมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทยกับผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตร
ส่วนกรณีที่สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า ประธานคณะกรรมการการค้าและเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (เคดันเรน) ซึ่งได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ได้เรียกร้องให้ คสช. คืนอำนาจให้ประชาชนนั้น ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า จากการตรวจสอบยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง แต่หัวหน้าสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นได้ชื่นชมบทบาทของนายกรัฐมนตรี ที่ทำให้เสถียรภาพทางการเมืองของไทยกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง และทำให้กลไกลต่างๆ สามารถเดินหน้าไปต่อได้ ทำให้ญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนในไทยต่อไป และพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจยานยนต์ โดยไม่ย้ายฐานการผลิต
ฮิวแมนไรท์วอทช์ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น กดดันไทย
https://www.facebook.com/BBCThai?fref=nf
นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) จะเดินทางไปญี่ปุ่นในระหว่างวันที่ 8-10 ก.พ.นี้ เพื่อส่งเสริมการลงทุน
แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียของฮิวแมนไรท์วอทช์ บอกว่าญี่ปุ่นควรแจ้งให้ไทยทราบว่าจะไม่ทำมาค้าขายด้วยเช่นเดิมหากไทยยังไม่ปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย และยังไม่คำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน นายอาเบะควรทำตามวิสัยทัศน์ที่เคยประกาศไว้ว่าจะดำเนินแนวทางการทูตอยู่บนพื้นฐานของการให้ความสำคัญกับเสรีภาพ ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน และหลักนิติธรรม
นายอดัมส์ กล่าวด้วยว่าที่ผ่านมานายอาเบะควรเปลี่ยนวิถีทางการทูตแบบ “นิ่งเฉย” มาเป็นการวิพากษ์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ และตรงไปตรงมากับไทยในเรื่องสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 ก.พ. ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าพล.อ.ประยุทธ์ เดินทางเยือนตามคำเชิญของรัฐบาลญี่ปุ่น และจะมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ เจ้าชายนารุฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น จะหารือทวิภาคีกับนายอาเบะ และจะพบปะกับภาคธุรกิจญี่ปุ่นอีกหลายคณะ ซึ่งไทยจะเชิญชวนให้ภาคธุรกิจมาลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทยกับผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตร
ส่วนกรณีที่สื่อญี่ปุ่นรายงานว่า ประธานคณะกรรมการการค้าและเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (เคดันเรน) ซึ่งได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี ได้เรียกร้องให้ คสช. คืนอำนาจให้ประชาชนนั้น ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า จากการตรวจสอบยืนยันว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง แต่หัวหน้าสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่นได้ชื่นชมบทบาทของนายกรัฐมนตรี ที่ทำให้เสถียรภาพทางการเมืองของไทยกลับมาเข้มแข็งอีกครั้ง และทำให้กลไกลต่างๆ สามารถเดินหน้าไปต่อได้ ทำให้ญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนในไทยต่อไป และพร้อมที่จะลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจยานยนต์ โดยไม่ย้ายฐานการผลิต