สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกรัฐบาล บอกว่าเรื่องที่สื่อ(เอเอสทีวี)ลงข่าวแถลงการณ์ปลอม ก็ขอให้ระมัดระวัง
เข้าใจว่าสื่อนำมาลงข่าวโดยการไม่ตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อน ก็ขอให้ระมัดระวังขึ้นอีก
ผบ.ตร. เงียบกริบ
ขณะที่หนุ่มเพชรบูรณ์ ผู้โดนจับฐานเผยแพร่แถลงการณ์ปลอมทางเฟซบุค
ผบ.ตร. บอกว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดตาม พรบ. คอมพิวเตอร์
ก็งงสิครับ
คนหนึ่งทำไม่ผิด แค่บอกให้ระมัดระวัง จบ
ส่วนอีกคน โดน 112 พร้อม พรบ. คอมฯ
ถามว่า เอเอสทีวีผิดไหม ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดครับ
การจะบอกว่า รีบลงข่าวโดยไม่ได้ตรวจสอบ ฟังไม่ขึ้น !!!
ฐานะสื่อ การตรวจสอบไม่ยาก แค่เชคดูว่าสำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์นี้จริงไหม
และด้วยวิชาชีพ ประสบการณ์ เมื่อเห็นตัวอักษร ถ้อยคำในแถลงการณ์ สื่อย่อมต้องเอะใจ
ไม่ใช่ลงเผยแพร่อย่างขาดความรับผิดชอบ แล้วลบทิ้ง
หรือจะบอกว่า ไม่มีเจตนา ก็ฟังไม่ขึ้นครับ
เพราะ ม.112 จะอ้างเจตนาไม่ได้
จะตีความเรื่องเจตนาได้ก็เฉพาะกรณีว่า สิ่งที่พูด เขียน กระทำ เจตนาหมายถึงหรือไม่เท่านั้น
หากตีความได้ว่า เจตนาหมายถึง ก็ผิด หากไม่ใช่ก็ไม่ผิด
แต่หากชัดแบบไม่ต้องตีความว่าหมายถึง จะอ้างเจตนาว่าไม่มีเจตนาทำผิดตามมาตรา 112 ไม่ได้
เอเอสทีวีนั้น ลงข่าวแถลงการณ์ปลอมไปแล้ว ความผิดสำเร็จแล้ว ทำให้เกิดความเสื่อมเสียไปแล้ว
ส่วนเรื่องไม่ได้ตรวจสอบ หากพิสูจน์ได้ว่าจริง ศาลก็อาจพิจารณาลงโทษต่ำสุด คือสามปี
แล้วทำไม ผบ.ตร. และฝ่ายความมั่นคงจึงเฉย ???
หนุ่มเพชรบูรณ์ก็แชร์ในเฟซบุค ไม่ได้ตรวจสอบ ไม่รู้ว่าของปลอม
ก็เหมือนเอเอสทีวีที่ลงข่าวเผยแพร่ในเว็บไซท์
ต่างก็ต้องการเผยแพร่ให้บุคคลอื่นรับรู้ และเอเอสทีวีจะหนักกว่าด้วยซ้ำ
เพราะเป็นการลงอย่างเปิดเผยในเว็บไซท์ที่เป็นสาธารณะ ขณะที่หนุ่มเพชรบูรณ์มีคนในเฟซบุคสี่ห้าพันคนเท่านั้น
แล้วทำไมผลแห่งการกระทำไม่เหมือนกัน
นี่ไงครับ คือปัญหาของบ้านเมือง !!!
ผมก็สงสัย หากหนุ่มที่ทำเกิดไม่ใช่ นปช. ผบ.ตร. จะกระวีกระวาดอย่างนี้ไหม ?
สำหรับ กรณีมีคนของพรรค ปชป. นำภาพแถลงการณ์ปลอมมาลงซ้ำ เพื่อเผยแพร่ให้เห็นว่าปลอมยังไง แบบไหน
ก็แล้วแต่จะตีความครับ
เรื่องแถลงการณ์ปลอม บ่งบอกถึงมาตรฐานกระบวนการยุติธรรมได้ชัดเจนอีกเรื่องหนึ่งครับ
เข้าใจว่าสื่อนำมาลงข่าวโดยการไม่ตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อน ก็ขอให้ระมัดระวังขึ้นอีก
ผบ.ตร. เงียบกริบ
ขณะที่หนุ่มเพชรบูรณ์ ผู้โดนจับฐานเผยแพร่แถลงการณ์ปลอมทางเฟซบุค
ผบ.ตร. บอกว่าจะดำเนินคดีตามกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดตาม พรบ. คอมพิวเตอร์
ก็งงสิครับ
คนหนึ่งทำไม่ผิด แค่บอกให้ระมัดระวัง จบ
ส่วนอีกคน โดน 112 พร้อม พรบ. คอมฯ
ถามว่า เอเอสทีวีผิดไหม ตามกฎหมาย ครบองค์ประกอบความผิดครับ
การจะบอกว่า รีบลงข่าวโดยไม่ได้ตรวจสอบ ฟังไม่ขึ้น !!!
ฐานะสื่อ การตรวจสอบไม่ยาก แค่เชคดูว่าสำนักพระราชวังได้ออกแถลงการณ์นี้จริงไหม
และด้วยวิชาชีพ ประสบการณ์ เมื่อเห็นตัวอักษร ถ้อยคำในแถลงการณ์ สื่อย่อมต้องเอะใจ
ไม่ใช่ลงเผยแพร่อย่างขาดความรับผิดชอบ แล้วลบทิ้ง
หรือจะบอกว่า ไม่มีเจตนา ก็ฟังไม่ขึ้นครับ
เพราะ ม.112 จะอ้างเจตนาไม่ได้
จะตีความเรื่องเจตนาได้ก็เฉพาะกรณีว่า สิ่งที่พูด เขียน กระทำ เจตนาหมายถึงหรือไม่เท่านั้น
หากตีความได้ว่า เจตนาหมายถึง ก็ผิด หากไม่ใช่ก็ไม่ผิด
แต่หากชัดแบบไม่ต้องตีความว่าหมายถึง จะอ้างเจตนาว่าไม่มีเจตนาทำผิดตามมาตรา 112 ไม่ได้
เอเอสทีวีนั้น ลงข่าวแถลงการณ์ปลอมไปแล้ว ความผิดสำเร็จแล้ว ทำให้เกิดความเสื่อมเสียไปแล้ว
ส่วนเรื่องไม่ได้ตรวจสอบ หากพิสูจน์ได้ว่าจริง ศาลก็อาจพิจารณาลงโทษต่ำสุด คือสามปี
แล้วทำไม ผบ.ตร. และฝ่ายความมั่นคงจึงเฉย ???
หนุ่มเพชรบูรณ์ก็แชร์ในเฟซบุค ไม่ได้ตรวจสอบ ไม่รู้ว่าของปลอม
ก็เหมือนเอเอสทีวีที่ลงข่าวเผยแพร่ในเว็บไซท์
ต่างก็ต้องการเผยแพร่ให้บุคคลอื่นรับรู้ และเอเอสทีวีจะหนักกว่าด้วยซ้ำ
เพราะเป็นการลงอย่างเปิดเผยในเว็บไซท์ที่เป็นสาธารณะ ขณะที่หนุ่มเพชรบูรณ์มีคนในเฟซบุคสี่ห้าพันคนเท่านั้น
แล้วทำไมผลแห่งการกระทำไม่เหมือนกัน
นี่ไงครับ คือปัญหาของบ้านเมือง !!!
ผมก็สงสัย หากหนุ่มที่ทำเกิดไม่ใช่ นปช. ผบ.ตร. จะกระวีกระวาดอย่างนี้ไหม ?
สำหรับ กรณีมีคนของพรรค ปชป. นำภาพแถลงการณ์ปลอมมาลงซ้ำ เพื่อเผยแพร่ให้เห็นว่าปลอมยังไง แบบไหน
ก็แล้วแต่จะตีความครับ