AIS เร่งย้ายลูกค้าออกจาก AirNet ลงสู่ AIS Fibrenet และจะไม่ขยายโครงข่าย AirNet อีก // การครองส่วนแบ่งNETมีสาย TRUE 37% 3BB 30% TOT ต่ำกว่า 30%
ประเด็นหลัก
AIS
"กลางปีจะมีโปรโมชั่นทยอยออกมาเพิ่ม โดยเฉพาะกับลูกค้าไวร์เลสบรอดแบนด์ AirNet ที่มีคนใช้งานกว่า 4 หมื่นราย จะมีราคาพิเศษให้ย้ายมาอยู่บนโครงข่ายใหม่ เพราะ AirNet จะไม่ขยายโครงข่ายอีก แต่ยังเปิดบริการอยู่ เน้นในพื้นที่ที่โครงข่ายไฟเบอร์ออปติกเข้าไม่ถึง"
3BB
นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) เปิดเผยว่า มีแผนลงทุนโครงข่าย FTTx อีก 5,000-6,000 ล้านบาท
ปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ราว 30% และประเมินว่าตลาดที่เติบโตจะทำให้ 3 ผู้ประกอบการรายใหญ่ เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปี โดยคงมาร์เก็ตแชร์ไว้ในระดับใกล้เคียงกัน
TRUE
ณ สิ้นปี 2557 บริษัทมีลูกค้าราว 2 ล้านรายมากที่สุดในตลาด มีส่วนแบ่งตลาดที่ 37% โดยแพ็กเกจที่ลูกค้าใช้งานมากที่สุดคือ "สุขคูณ 3" ราคา 799 บาท/เดือน (นำบริการในกลุ่มทรูมารวมกันเป็นแพ็กเกจ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของกลุ่มทรู) ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็ว 30/3 Mbps รับชมรายการจากทรูวิชั่นส์ 103 ช่อง ใช้ทรูมูฟ เอช ราคา 199 บาท และเฉพาะไฮสปีดอินเทอร์เน็ตมีแพ็กเกจเริ่มต้นที่ 599 บาท ความเร็ว 15/1.5 Mbps
TOT
ก่อนหน้านี้นายธันวา เลาหศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ด้วยข้อจำกัดของทีโอทีและการแข่งขันที่สูงมากทำให้ส่วนแบ่งตลาดของทีโอทีลดลงมาก อาจลงไปต่ำกว่า 30% ถือเป็นครั้งแรกที่โดนคู่แข่งแซงหน้าไป ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการลงทุนขยายโครงข่าย ซึ่งบอร์ดเห็นว่าถึงจุดที่จำเป็นต้องลงทุน FTTX เพิ่ม 2 ล้านพอร์ต ตามที่คณะกรรมการชุดที่แล้วเคยพิจารณาไว้ แต่ทยอยลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเหมาะสม และสอดคล้องกับการบริหารกระแสเงินสดของบริษัท
_____________________________________________________
ยักษ์ชนยักษ์ศึกชิงเค้กบรอดแบนด์ แห่ลงทุน FTTx อัพสปีดดัมพ์ราคาพลิกมาร์เก็ตแชร์
ยักษ์ชนยักษ์ชิงเค้กบรอดแบนด์ 5 หมื่นล้าน "เอไอเอส" ส่ง Fibrenet ลงตลาดกดราคา FTTx เหลือเริ่มต้นแค่ 750 บาท/เดือน เตรียมกดปุ่มอัดฉีดโปรโมชั่นและเปิดตัวเต็มรูปแบบกลางปีนี้-โอนลูกค้า AirNet กว่า 4 หมื่นรายมาใช้โครงข่ายใหม่ "ทรูออนไลน์" พร้อมรับแข่งดุเร่งขยายโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกเสริมจุดแข็ง "คอนเวอร์เจนซ์" ขณะที่ "ทีโอที" ส่งสัญญาณลงทุน "3BB" สู้ไม่ถอย
อุณหภูมิการแข่งขันในธุรกิจไฮสปีดอินเทอร์เน็ตปี 2558 นี้น่าจะร้อนขึ้นโดยลำดับ จากผู้เล่นหน้าใหม่แต่มีดีกรีเป็นถึงยักษ์มือถือ มือวางอันดับ 1 แม้ในปีแรก "AIS Fibrenet" จะตั้งเป้าไว้แค่ 100,000 ราย
นายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการธุรกิจฟิกซ์บรอดแบนด์ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibrenet เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่เปิดตัวทางการกลางปีนี้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล หัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 2,000 ราย
"ต.ค.ปีที่แล้วเราประกาศว่าจะลงทุน 4,800 ล้านบาท เพื่อให้บริการฟิกซ์บรอดแบนด์ บนเทคโนโลยี VDSL และ FTTx ตอนนี้พื้นที่บริการยังครอบคลุมแค่ในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ เน้นที่คอนโดฯ 500 ตึก และหมู่บ้าน 200 แห่ง ก่อนสิ้นปีนี้จะขยายไปในหัวเมืองใหญ่ให้ครบทุกภาค"
บริการ AIS Fibrenet มี 2 เทคโนโลยี คือ VDSL เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์รูปแบบใหม่ ค่าบริการเริ่มต้นที่ 590 บาท (ความเร็ว 10 Mbps โหลด, 750 บาท ความเร็ว 15 Mbps เป็นต้น และเทคโนโลยี FTTH (ไฟเบอร์ออปติก) มีค่าบริการเริ่มต้น 750 บาท (ความเร็ว 15 Mbps)
และเพื่อกระตุ้นตลาด บริษัทได้ยกเว้นค่าติดตั้งอุปกรณ์มูลค่า 4,000 บาท และให้ยืมเราเตอร์ตลอดการใช้งาน (สัญญา 12 เดือน ยกเลิกก่อนต้องชำระค่าติดตั้ง) สำหรับเทคโนโลยี VDSL เน้นในคอนโดมิเนียมทั่วกรุงเทพฯ ส่วน FTTH ปัจจุบันให้บริการในหมู่บ้านแถบกรุงเทพฯตอนเหนือและปริมณฑล
"กลางปีจะมีโปรโมชั่นทยอยออกมาเพิ่ม โดยเฉพาะกับลูกค้าไวร์เลสบรอดแบนด์ AirNet ที่มีคนใช้งานกว่า 4 หมื่นราย จะมีราคาพิเศษให้ย้ายมาอยู่บนโครงข่ายใหม่ เพราะ AirNet จะไม่ขยายโครงข่ายอีก แต่ยังเปิดบริการอยู่ เน้นในพื้นที่ที่โครงข่ายไฟเบอร์ออปติกเข้าไม่ถึง"
นายสุปรีชากล่าวต่อว่า มูลค่าตลาดฟิกซ์บรอดแบนด์ในปี 2557 จะอยู่ที่ 54,000 ล้านบาท โตราว 9% มีผู้ใช้บริการ 5 ล้านราย คิดเป็น 27% ของครัวเรือนไทย จึงยังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมาก
ด้านนายมนัสส์ มานะวุฒิเวช หัวหน้าสายงานการพาณิชย์ และพัฒนาธุรกิจ ทรูออนไลน์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดฟิกซ์บรอดแบนด์จะแข่งขันมากขึ้นอีกครั้งจากที่มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา สำหรับบริษัทได้มีการประกาศลงทุน 33,000 ล้านบาทใน 2 ปี เพื่อขยายโครงข่ายไฟเบอร์ออปติก และบริการบนเทคโนโลยี FTTX เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเร็วสูงสุด 10 Gbps ครอบคลุม 10 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า โดย จะเริ่มในกรุงเทพฯก่อนและพร้อมให้บริการในปีนี้
"เมื่อมีรายใหม่ รายเดิมต้องขยับตัวบ้าง"
ณ สิ้นปี 2557 บริษัทมีลูกค้าราว 2 ล้านรายมากที่สุดในตลาด มีส่วนแบ่งตลาดที่ 37% โดยแพ็กเกจที่ลูกค้าใช้งานมากที่สุดคือ "สุขคูณ 3" ราคา 799 บาท/เดือน (นำบริการในกลุ่มทรูมารวมกันเป็นแพ็กเกจ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของกลุ่มทรู) ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็ว 30/3 Mbps รับชมรายการจากทรูวิชั่นส์ 103 ช่อง ใช้ทรูมูฟ เอช ราคา 199 บาท และเฉพาะไฮสปีดอินเทอร์เน็ตมีแพ็กเกจเริ่มต้นที่ 599 บาท ความเร็ว 15/1.5 Mbps
ก่อนหน้านี้นายธันวา เลาหศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ด้วยข้อจำกัดของทีโอทีและการแข่งขันที่สูงมากทำให้ส่วนแบ่งตลาดของทีโอทีลดลงมาก อาจลงไปต่ำกว่า 30% ถือเป็นครั้งแรกที่โดนคู่แข่งแซงหน้าไป ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการลงทุนขยายโครงข่าย ซึ่งบอร์ดเห็นว่าถึงจุดที่จำเป็นต้องลงทุน FTTX เพิ่ม 2 ล้านพอร์ต ตามที่คณะกรรมการชุดที่แล้วเคยพิจารณาไว้ แต่ทยอยลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเหมาะสม และสอดคล้องกับการบริหารกระแสเงินสดของบริษัท
นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) เปิดเผยว่า มีแผนลงทุนโครงข่าย FTTx อีก 5,000-6,000 ล้านบาท ให้ครอบคลุมทุกตำบล จากเดิมที่มีอยู่ราว 50% ทั้งตั้งเป้าหมายลูกค้าไว้ 2 ล้านรายในสิ้นปี จากปีที่แล้ว 1,600,000 ราย
"ในช่วง 2 - 3 ปีนี้บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในไทยจะโตแบบก้าวกระโดด คาดว่าในปี 2559 จะอยู่ที่ 35.4 และ 44% ในปี 2562"
ปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ราว 30% และประเมินว่าตลาดที่เติบโตจะทำให้ 3 ผู้ประกอบการรายใหญ่ เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปี โดยคงมาร์เก็ตแชร์ไว้ในระดับใกล้เคียงกัน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1422501624
AIS เร่งย้ายลูกค้าออกจาก AirNet ลงสู่ AIS Fibrenet และจะไม่ขยายโครงข่าย AirNet อีก // TRUE 37% 3BB 30% TOT ต่ำกว่า 30%
ประเด็นหลัก
AIS
"กลางปีจะมีโปรโมชั่นทยอยออกมาเพิ่ม โดยเฉพาะกับลูกค้าไวร์เลสบรอดแบนด์ AirNet ที่มีคนใช้งานกว่า 4 หมื่นราย จะมีราคาพิเศษให้ย้ายมาอยู่บนโครงข่ายใหม่ เพราะ AirNet จะไม่ขยายโครงข่ายอีก แต่ยังเปิดบริการอยู่ เน้นในพื้นที่ที่โครงข่ายไฟเบอร์ออปติกเข้าไม่ถึง"
3BB
นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) เปิดเผยว่า มีแผนลงทุนโครงข่าย FTTx อีก 5,000-6,000 ล้านบาท
ปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ราว 30% และประเมินว่าตลาดที่เติบโตจะทำให้ 3 ผู้ประกอบการรายใหญ่ เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปี โดยคงมาร์เก็ตแชร์ไว้ในระดับใกล้เคียงกัน
TRUE
ณ สิ้นปี 2557 บริษัทมีลูกค้าราว 2 ล้านรายมากที่สุดในตลาด มีส่วนแบ่งตลาดที่ 37% โดยแพ็กเกจที่ลูกค้าใช้งานมากที่สุดคือ "สุขคูณ 3" ราคา 799 บาท/เดือน (นำบริการในกลุ่มทรูมารวมกันเป็นแพ็กเกจ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของกลุ่มทรู) ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็ว 30/3 Mbps รับชมรายการจากทรูวิชั่นส์ 103 ช่อง ใช้ทรูมูฟ เอช ราคา 199 บาท และเฉพาะไฮสปีดอินเทอร์เน็ตมีแพ็กเกจเริ่มต้นที่ 599 บาท ความเร็ว 15/1.5 Mbps
TOT
ก่อนหน้านี้นายธันวา เลาหศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ด้วยข้อจำกัดของทีโอทีและการแข่งขันที่สูงมากทำให้ส่วนแบ่งตลาดของทีโอทีลดลงมาก อาจลงไปต่ำกว่า 30% ถือเป็นครั้งแรกที่โดนคู่แข่งแซงหน้าไป ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการลงทุนขยายโครงข่าย ซึ่งบอร์ดเห็นว่าถึงจุดที่จำเป็นต้องลงทุน FTTX เพิ่ม 2 ล้านพอร์ต ตามที่คณะกรรมการชุดที่แล้วเคยพิจารณาไว้ แต่ทยอยลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเหมาะสม และสอดคล้องกับการบริหารกระแสเงินสดของบริษัท
_____________________________________________________
ยักษ์ชนยักษ์ศึกชิงเค้กบรอดแบนด์ แห่ลงทุน FTTx อัพสปีดดัมพ์ราคาพลิกมาร์เก็ตแชร์
ยักษ์ชนยักษ์ชิงเค้กบรอดแบนด์ 5 หมื่นล้าน "เอไอเอส" ส่ง Fibrenet ลงตลาดกดราคา FTTx เหลือเริ่มต้นแค่ 750 บาท/เดือน เตรียมกดปุ่มอัดฉีดโปรโมชั่นและเปิดตัวเต็มรูปแบบกลางปีนี้-โอนลูกค้า AirNet กว่า 4 หมื่นรายมาใช้โครงข่ายใหม่ "ทรูออนไลน์" พร้อมรับแข่งดุเร่งขยายโครงข่ายไฟเบอร์ออปติกเสริมจุดแข็ง "คอนเวอร์เจนซ์" ขณะที่ "ทีโอที" ส่งสัญญาณลงทุน "3BB" สู้ไม่ถอย
อุณหภูมิการแข่งขันในธุรกิจไฮสปีดอินเทอร์เน็ตปี 2558 นี้น่าจะร้อนขึ้นโดยลำดับ จากผู้เล่นหน้าใหม่แต่มีดีกรีเป็นถึงยักษ์มือถือ มือวางอันดับ 1 แม้ในปีแรก "AIS Fibrenet" จะตั้งเป้าไว้แค่ 100,000 ราย
นายสุปรีชา ลิมปิกาญจนโกวิท ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการธุรกิจฟิกซ์บรอดแบนด์ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงภายใต้แบรนด์ AIS Fibrenet เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่เปิดตัวทางการกลางปีนี้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล หัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 2,000 ราย
"ต.ค.ปีที่แล้วเราประกาศว่าจะลงทุน 4,800 ล้านบาท เพื่อให้บริการฟิกซ์บรอดแบนด์ บนเทคโนโลยี VDSL และ FTTx ตอนนี้พื้นที่บริการยังครอบคลุมแค่ในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ เน้นที่คอนโดฯ 500 ตึก และหมู่บ้าน 200 แห่ง ก่อนสิ้นปีนี้จะขยายไปในหัวเมืองใหญ่ให้ครบทุกภาค"
บริการ AIS Fibrenet มี 2 เทคโนโลยี คือ VDSL เป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านสายโทรศัพท์รูปแบบใหม่ ค่าบริการเริ่มต้นที่ 590 บาท (ความเร็ว 10 Mbps โหลด, 750 บาท ความเร็ว 15 Mbps เป็นต้น และเทคโนโลยี FTTH (ไฟเบอร์ออปติก) มีค่าบริการเริ่มต้น 750 บาท (ความเร็ว 15 Mbps)
และเพื่อกระตุ้นตลาด บริษัทได้ยกเว้นค่าติดตั้งอุปกรณ์มูลค่า 4,000 บาท และให้ยืมเราเตอร์ตลอดการใช้งาน (สัญญา 12 เดือน ยกเลิกก่อนต้องชำระค่าติดตั้ง) สำหรับเทคโนโลยี VDSL เน้นในคอนโดมิเนียมทั่วกรุงเทพฯ ส่วน FTTH ปัจจุบันให้บริการในหมู่บ้านแถบกรุงเทพฯตอนเหนือและปริมณฑล
"กลางปีจะมีโปรโมชั่นทยอยออกมาเพิ่ม โดยเฉพาะกับลูกค้าไวร์เลสบรอดแบนด์ AirNet ที่มีคนใช้งานกว่า 4 หมื่นราย จะมีราคาพิเศษให้ย้ายมาอยู่บนโครงข่ายใหม่ เพราะ AirNet จะไม่ขยายโครงข่ายอีก แต่ยังเปิดบริการอยู่ เน้นในพื้นที่ที่โครงข่ายไฟเบอร์ออปติกเข้าไม่ถึง"
นายสุปรีชากล่าวต่อว่า มูลค่าตลาดฟิกซ์บรอดแบนด์ในปี 2557 จะอยู่ที่ 54,000 ล้านบาท โตราว 9% มีผู้ใช้บริการ 5 ล้านราย คิดเป็น 27% ของครัวเรือนไทย จึงยังมีโอกาสทางธุรกิจอีกมาก
ด้านนายมนัสส์ มานะวุฒิเวช หัวหน้าสายงานการพาณิชย์ และพัฒนาธุรกิจ ทรูออนไลน์ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดฟิกซ์บรอดแบนด์จะแข่งขันมากขึ้นอีกครั้งจากที่มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามา สำหรับบริษัทได้มีการประกาศลงทุน 33,000 ล้านบาทใน 2 ปี เพื่อขยายโครงข่ายไฟเบอร์ออปติก และบริการบนเทคโนโลยี FTTX เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเร็วสูงสุด 10 Gbps ครอบคลุม 10 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ และเพิ่มทางเลือกให้ลูกค้า โดย จะเริ่มในกรุงเทพฯก่อนและพร้อมให้บริการในปีนี้
"เมื่อมีรายใหม่ รายเดิมต้องขยับตัวบ้าง"
ณ สิ้นปี 2557 บริษัทมีลูกค้าราว 2 ล้านรายมากที่สุดในตลาด มีส่วนแบ่งตลาดที่ 37% โดยแพ็กเกจที่ลูกค้าใช้งานมากที่สุดคือ "สุขคูณ 3" ราคา 799 บาท/เดือน (นำบริการในกลุ่มทรูมารวมกันเป็นแพ็กเกจ ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของกลุ่มทรู) ใช้อินเทอร์เน็ตความเร็ว 30/3 Mbps รับชมรายการจากทรูวิชั่นส์ 103 ช่อง ใช้ทรูมูฟ เอช ราคา 199 บาท และเฉพาะไฮสปีดอินเทอร์เน็ตมีแพ็กเกจเริ่มต้นที่ 599 บาท ความเร็ว 15/1.5 Mbps
ก่อนหน้านี้นายธันวา เลาหศิริวงศ์ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า ด้วยข้อจำกัดของทีโอทีและการแข่งขันที่สูงมากทำให้ส่วนแบ่งตลาดของทีโอทีลดลงมาก อาจลงไปต่ำกว่า 30% ถือเป็นครั้งแรกที่โดนคู่แข่งแซงหน้าไป ส่วนหนึ่งมาจากปัญหาการลงทุนขยายโครงข่าย ซึ่งบอร์ดเห็นว่าถึงจุดที่จำเป็นต้องลงทุน FTTX เพิ่ม 2 ล้านพอร์ต ตามที่คณะกรรมการชุดที่แล้วเคยพิจารณาไว้ แต่ทยอยลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนเหมาะสม และสอดคล้องกับการบริหารกระแสเงินสดของบริษัท
นายพิชญ์ โพธารามิก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) เปิดเผยว่า มีแผนลงทุนโครงข่าย FTTx อีก 5,000-6,000 ล้านบาท ให้ครอบคลุมทุกตำบล จากเดิมที่มีอยู่ราว 50% ทั้งตั้งเป้าหมายลูกค้าไว้ 2 ล้านรายในสิ้นปี จากปีที่แล้ว 1,600,000 ราย
"ในช่วง 2 - 3 ปีนี้บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตในไทยจะโตแบบก้าวกระโดด คาดว่าในปี 2559 จะอยู่ที่ 35.4 และ 44% ในปี 2562"
ปัจจุบันบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 2 ราว 30% และประเมินว่าตลาดที่เติบโตจะทำให้ 3 ผู้ประกอบการรายใหญ่ เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 3-4 ปี โดยคงมาร์เก็ตแชร์ไว้ในระดับใกล้เคียงกัน
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1422501624