สศช. เปิดข้อมูลการแจ้งปิดกิจการโรงงานอุตสาหกรรม พบสัญญาณน่าห่วง ยอดปิดโรงงาน ยังพุ่งสูง 31% คิดเป็นการจ้างงานรวม 22,708 คน ตรวจสอบข้อมูลแบบเจาะลึกทุกรายละเอียดรวมไว้ที่นี่
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 โดย สศช. ได้รายงานข้อมูลการแจ้งปิดกิจการโรงงานอุตสาหกรรม กับนัยทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมไทย
สศช. ระบุว่า ข้อมูลการแจ้งประกอบกิจการ และยอด "ปิดโรงงาน" ถือเป็นเครื่องชี้หนึ่งที่สำคัญในการสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตจากสถิติข้อมูลในช่วง 7 เดือนของปี 2567 สะท้อนให้เห็นว่า จำนวนโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการอยู่ที่ 757 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีจำนวน 575 โรงงาน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 31.7%
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากมูลค่าเงินลงทุนของโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการ พบว่า มูลค่าเงินทุนรวมอยู่ที่ 20,716 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 55.7% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการเป็นโรงงานขนาดเล็กที่มีเงินลงทุนรวมกันไม่สูงมาก แต่มีการจ้างงานรวมจำนวนทั้งสิ้น 22,708 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 66.6%
ขณะที่ข้อมูลโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการใหม่ ในช่วง 7 เดือน ของปี 2567 ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าทั้งจำนวนและมูลค่าเงินลงทุน โดยจำนวนโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการอยู่ที่ 1,195 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 949 โรงงาน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 25.9%
สถิติโรงงานแจ้งประกอบกิจการ และปิดโรงงาน ในช่วง 7 เดือน ของปี 2567
ส่วนมูลค่าเงินลงทุนโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการรวม 188,508 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 73,763 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงถึง 155.6% สอดคล้องกับการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 79.9%
สัญญาณอันตราย "การลงทุนภาคเอกชน" ติดลบครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง
สศช. แจ้งว่า แม้การเปิดโรงงานใหม่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การปิดโรงงานก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะการปิดตัวเพิ่มขึ้นของโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงนักในการเผชิญหน้ากับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ
ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ภาครัฐมีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการไทยกลุ่มนี้ โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในส่วนดังนี้
1. การยกระดับการผลิตและการดำเนินธุรกิจเช่น การให้ความช่วยเหลือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดการ การดำเนินธุรกิจและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในระดับแนวราบหรือเครือข่ายธุรกิจที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
รวมทั้งการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในระดับแนวลึกหรือเครือข่ายธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจหรือผู้ประกอบการขนาดใหญ่เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำพาตนเองให้เข้าไปสู่ระบบห่วงโซ่การผลิตขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ เป็นต้น
2. การส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าถึงช่องทางการตลาดสมัยใหม่ โดยเฉพาะช่องทางการตลาดที่ใช้เทคโนโลยีออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เน้นการกระตุ้นอุปสงค์ผ่านเทคนิคการใช้ Influencer ในการทำตลาดและเทคนิคการเล่าเรื่องเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า
3. การติดตามดูแลปัจจัยเสี่ยงที่อาจเข้ามากระทบกับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในส่วนของการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่ได้มาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ ควบคู่กับการดูแลและบริหารจัดการกลไกราคาสินค้าที่เป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
รวมทั้งการพัฒนา/ปรับปรุงกลไกหรือกฎระเบียบที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวะการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญทั้งในส่วนของเทคโนโลยีและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs สามารถอยู่รอดและสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสำคัญครั้งนี้ได้อย่างมั่นคง
Cr.
https://www.thansettakij.com/business/economy/604586
น่าห่วง ยอดปิดโรงงาน พุ่ง 31% ทำคนตกงานเพิ่ม 2.2 หมื่นคน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 ของปี 2567 โดย สศช. ได้รายงานข้อมูลการแจ้งปิดกิจการโรงงานอุตสาหกรรม กับนัยทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนผ่านของภาคอุตสาหกรรมไทย
สศช. ระบุว่า ข้อมูลการแจ้งประกอบกิจการ และยอด "ปิดโรงงาน" ถือเป็นเครื่องชี้หนึ่งที่สำคัญในการสะท้อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตจากสถิติข้อมูลในช่วง 7 เดือนของปี 2567 สะท้อนให้เห็นว่า จำนวนโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการอยู่ที่ 757 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีจำนวน 575 โรงงาน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 31.7%
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากมูลค่าเงินลงทุนของโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการ พบว่า มูลค่าเงินทุนรวมอยู่ที่ 20,716 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 55.7% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าโรงงานที่แจ้งเลิกกิจการเป็นโรงงานขนาดเล็กที่มีเงินลงทุนรวมกันไม่สูงมาก แต่มีการจ้างงานรวมจำนวนทั้งสิ้น 22,708 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 66.6%
ขณะที่ข้อมูลโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการใหม่ ในช่วง 7 เดือน ของปี 2567 ยังปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าทั้งจำนวนและมูลค่าเงินลงทุน โดยจำนวนโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการอยู่ที่ 1,195 โรงงาน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 949 โรงงาน คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 25.9%
สถิติโรงงานแจ้งประกอบกิจการ และปิดโรงงาน ในช่วง 7 เดือน ของปี 2567
ส่วนมูลค่าเงินลงทุนโรงงานที่แจ้งเปิดกิจการรวม 188,508 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 73,763 ล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงถึง 155.6% สอดคล้องกับการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 79.9%
สัญญาณอันตราย "การลงทุนภาคเอกชน" ติดลบครั้งแรกในรอบ 2 ปีครึ่ง
สศช. แจ้งว่า แม้การเปิดโรงงานใหม่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การปิดโรงงานก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะการปิดตัวเพิ่มขึ้นของโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงนักในการเผชิญหน้ากับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจ
ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว ภาครัฐมีความจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีมาตรการช่วยเหลือสนับสนุนผู้ประกอบการไทยกลุ่มนี้ โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในส่วนดังนี้
1. การยกระดับการผลิตและการดำเนินธุรกิจเช่น การให้ความช่วยเหลือการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง การสนับสนุนด้านองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดการ การดำเนินธุรกิจและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในระดับแนวราบหรือเครือข่ายธุรกิจที่มีขนาดใกล้เคียงกัน
รวมทั้งการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในระดับแนวลึกหรือเครือข่ายธุรกิจที่มีความสัมพันธ์กับธุรกิจหรือผู้ประกอบการขนาดใหญ่เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำพาตนเองให้เข้าไปสู่ระบบห่วงโซ่การผลิตขนาดใหญ่ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ เป็นต้น
2. การส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าถึงช่องทางการตลาดสมัยใหม่ โดยเฉพาะช่องทางการตลาดที่ใช้เทคโนโลยีออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เน้นการกระตุ้นอุปสงค์ผ่านเทคนิคการใช้ Influencer ในการทำตลาดและเทคนิคการเล่าเรื่องเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับสินค้า
3. การติดตามดูแลปัจจัยเสี่ยงที่อาจเข้ามากระทบกับการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในส่วนของการเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบคุณภาพสินค้านำเข้าจากต่างประเทศที่ไม่ได้มาตรฐานที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ ควบคู่กับการดูแลและบริหารจัดการกลไกราคาสินค้าที่เป็นธรรมกับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค
รวมทั้งการพัฒนา/ปรับปรุงกลไกหรือกฎระเบียบที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจภายใต้สภาวะการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญทั้งในส่วนของเทคโนโลยีและประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการยกระดับศักยภาพการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มและสร้างเอกลักษณ์ของสินค้า ให้ตรงตามความต้องการของตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป
รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีมาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs สามารถอยู่รอดและสามารถพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสำคัญครั้งนี้ได้อย่างมั่นคง
Cr. https://www.thansettakij.com/business/economy/604586