=== ทำงานออฟฟิศให้ตาย ก็ไม่มีทางรวย ===

ชีวิตในยุค 2014 เป็นยุคที่เปลี่ยนแปลงจากสมัยก่อนๆ หรือช่วงฟองสบู่แตกมากมาย หลายๆอย่างได้เปลี่ยนไปจากหน้ามือเป็นหลังมือ ดังนั้นเราจึงต้องหยุดคิดถึง Success Factors in Life หรือวิธีประสบความสำเร็จในชีวิตเสียใหม่ ความเชื่อในสมัยก่อนว่า เข้าโรงเรียนดีๆ เรียนให้ได้เกรดดีๆ ทำงานในบริษัทมั่นคงไปตลอดจะทำให้อนาคตสดใสนั้น ต้องบอกว่ามันเป็นเพียงภาพความฝัน หรือถึงมี ก็อาจจะเป็นกลุ่มคนจำนวนไม่ถึง 1% ในบริษัท ที่จะสามารถร่ำรวย ก้าวหน้า จากการทำงานออฟฟิศได้ เพราะสมัยนี้เรื่องความสามารถ ความทุ่มเท อาจจะแพ้ให้กับความประจบ หรือความสนิทชิดเชื้อกับผู้ใหญ่ และนี่คือเหตุผลว่าทำไมการทำงานออฟฟิศถึงไม่สามารถทำให้คุณประสบความสำเร็จ และมีอิสระภาพทางการเงินได้


1. เวลามีค่ากว่าเงิน

     วลีอมตะที่ได้ยินกันมายาวนาน แต่น้อยคนที่จะทำได้ เพราะความจำที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน แต่ถ้าคุณเริ่มอยู่ในจุดนึง เช่นอายุ 30 ปี คุณอาจจะต้องคิดเรื่องนี้ให้จริงจังมากขึ้น เพราะเมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงอายุนี้ รายได้จะเริ่มเยอะขึ้น พร้อมกับตำแหน่ง และความรับผิดชอบที่มากขึ้นๆ ทำให้หลายคนติดอยู่ในวังวน รู้สึกตัวอีกทีก็เกือบ 40 ปี และเวลาเป็น one-time deal ผ่านแล้วผ่านเลย คุณจะไม่สามารถเอาเงินที่มีมากมายไปทำกิจกรรมที่อยากทำในช่วงอายุ 30 ได้ หรือจะไปท่องเที่ยว ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพ แต่เงินเป็นสิ่งที่หาใหม่ได้เรื่อยๆ และสมัยนี้มีช่องทางมากมายในการหารายได้ เช่น Internet, Facebook เป็นต้น

     อย่ารอให้คนรอบข้างของคุณหมดไป คุณถึงจะเริ่มหันมาใส่ใจชีวิตนอกออฟฟิศเลยนะครับ
  
2. อย่าฝากชีวิตไว้กับเงินเดือนขึ้น หรือดอกเบี้ยจากบัญชีเงินฝาก

     หลายคนมีรายได้เยอะขึ้นมาก ในช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ความต่างของคนรายได้สูงในช่วงนี้คือการเอารายได้นั้นไปทำอะไร สำหรับคนที่ conservative มากๆ อาจจะเลือกเอาเงินไปฝากธนาคารโดยไม่ได้ลงทุนในด้านใดๆ ลองคำนวนเร็วๆดูว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ประมาณ 1.5 - 3% ขึ้นอยู่กับรูปแบบของบัญชีนั้นๆ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อ ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 2.5% (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย 2557) นั่นหมายความว่าในแต่ละปี คนที่ฝากเงินในธนาคารอย่างเดียว แทบจะไม่มีเงินงอกเงยเลยนะครับ

     คำแนะนำคือ ให้เอาเงินที่เก็บไว้นั้น ไปลงทุนในรูปแบบอื่นเพื่อเพิ่ม Passive Income ผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เช่น ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ลงทุนในตลาดหุ้น ลงทุนในตราสารหนี้ต่างๆ ที่ให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยเกือบ 10% ต่อปี จากนั้นก็นำเงินไปลงทุนในธุรกิจที่ตัวเองถนัด เพื่อต่อยอดสร้างรายได้ไม่รู้จบ และมีอิสระภาพในชีวิตในที่สุด

3. ทำงานให้คนอื่น ได้เงินในอัตราที่พออยู่ได้ แต่สร้างผลกำไรให้บริษัทนั้นๆไม่รู้จบ  

     สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ มีหลักการง่ายๆอยู่ว่า Asset ทำให้ก่อเกิดรายได้ และรายได้นั้นจะถูกนำมาแบ่งเป็นเงินเดือนของคุณในแต่ละเดือน แล้วอะไรคือ asset? ตัวคุณนั่นแหละครับคือ Asset สำหรับบริษัท เงินเดือนค่าจ้างที่คุณได้รับจากบริษัท แน่นอนว่าต้องมีการคำนวน หักลบปัจจัยต่างๆมาแล้ว และมูลค่าของเงินเดือนมีแต่จะค่อยๆลดลงไปทุกปี เงินของคุณด้อยค่าลง ในขณะที่คุณต้องหารายได้ให้กับบริษัทมากขึ้นๆทุกปี ตามเป้าที่บริษัทวางเอาไว้ ถ้าทำไม่ได้? เงินเดือนของคุณก็อาจจะเพิ่มน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ และกลายเป็นลดมูลค่าลงในที่สุด
  
     ในเมื่อตัวของเรา ความสามารถของเราเป็น Asset ที่บริษัทใหญ่ๆต้องการ แล้วทำไมเราไม่เอา Asset นั้นมาพัฒนาบริษัทของตัวเองหละครับ? ยิ่งเหนื่อยมาก คุณยิ่งได้มาก เป็น Asset ที่ไม่รั่วไหลไปไหน


4. ปรับตัวและวิธีการหาเงินให้เข้ากับยุคสมัย

     สำหรับคนทำงานรุ่น Gen-X ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ไม่กล้ารับความเสี่ยง หรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ตรงกันข้ามกับเด็ก Gen-Y ที่มีความฝันและมุ่งมั่นในการทำธุรกิจของตัวเอง เพราะไม่อยากเป็นลูกน้องใคร ดังนั้นพวกเราคน Gen-X อาจจะต้องปรับ Mindset เสียใหม่ ก้าวออกจาก Comfort Zone ที่ขังเราเอาไว้ มองหา trend ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา และลงมือทำทันที ที่มั่นใจว่า Business Plan ของเราถูกต้อง ถ้าจะให้เห็นภาพ ก็ลองดูบรรดาเจ้าของกิจการอายุยังน้อยดูซิครับ

     อ่านถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนน่าจะเห็นภาพได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นชีวิตที่เหล่าพนักงานออฟฟิศมักจะจับกลุ่มคุยกัน สุดท้ายแล้วก็ต้องดูว่าคุณจะสามารถปรับเปลี่ยน Mindset ได้แค่ไหน ขอให้ทุกท่านโชคดี มีกิจการเป็นของตัวเองกันทั่วหน้าไว้ก่อนละกันครับ

Cr. www.unlockmen.com

ปล.ทั้งนี้แล้วขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคน หากสามารถทำได้ตามที่หวังไว้ ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จในชีวิตแล้วครับ

ติดตามข่าวสารและเรื่องราวการลงทุนเพิ่มเติมได้ที่
Thinkvestment Fanpage : https://www.facebook.com/thinkvestment

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่