เป็นคำถามที่ผู้คนในวงการกองทุนและหลักทรัพย์มักโดนถามเรื่อยๆ และเป็นคำถามที่เราไม่เคยตอบได้เลยว่าดัชนีจะเป็นเท่าไร เนื่องจากไม่รู้จริงๆ
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในปีนี้จะเป็นอย่างไรนั้น ในระยะสั้นดัชนีไม่ได้คำนวณได้แบบเป็นบัญญัติไตรยางค์กับค่า PE เนื่องจาก PE ไม่ได้รวมอารมณ์ของผู้เล่นในตลาด ซึ่งในช่วงสั้นๆ การซื้อขายมักขึ้นกับอารมณ์มากกว่าเหตุผล
แต่ถ้าถามว่าเศรษฐกิจปีนี้จะเป็นอย่างไร ยังพอให้มุมมองได้ แต่ก็เคยบอกไปแล้วว่าเป็นปีที่ไม่ง่าย ไม่สบาย ไม่หมู เพราะเครื่องยนต์เศรษฐกิจหลายตัวที่ประกอบเป็น GDP นั้นเกือบทุกตัวเครื่องยังไม่ร้อน
GDP = C+I+G+(X-M)
C คือ Consumption หรือการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือน
ครัวเรือนมีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP เร่งสูงขึ้นมาก จากกว่า 50% ในปี 2552 มาเป็นเกิน 80% ในปัจจุบัน ทำให้การจะใช้จ่ายเพื่อการบริโภคตึงมือมากขึ้น และมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น ซึ่งใครๆ ก็บอกว่าเป็นเพราะหนี้จากนโยบายรถยนต์คันแรก แต่มันไม่ใช่แค่นั้น เพราะธนาคารต่างๆ หลายแห่งใช้นโยบายการตลาดที่กระตุ้นให้ภาคครัวเรือนมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลสูงขึ้น สรุปรวมๆ คือปีนี้หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงแต่น่าจะพีกในปีนี้ และปีหน้า 2559 น่าจะเริ่มทรงตัวและหวังว่าจะผ่อนคลายลง (เพราะหลายคนอาจจะเข็ดแล้ว) นอกจากนี้ กำลังซื้อของครัวเรือนในภาคเกษตรก็ถูกบั่นทอนด้วยราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำด้วย
I คือ Investment หรือการลงทุนของภาคเอกชน
การลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตยังคงมีไม่มาก เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่ และรอให้เศรษฐกิจในประเทศกับการส่งออกฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น
G คือ Government Spending ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการรวมถึงเงินเดือนข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ
แรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในเดือน พ.ย. 2557 ชะลอลงหลังมีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประจำในเดือนก่อนไปแล้ว ขณะที่การใช้จ่ายงบลงทุนยังมีต่อเนื่อง แต่โดยรวมแล้วการเบิกจ่ายทำได้ค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับเป้าหมาย ถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรียังบ่นในระหว่างแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 3 เดือนเรื่องความล่าช้าของระบบราชการที่ติดขัดซ้ำซ้อนมากมาย จนทำให้งานหลายอย่างมีปัญหาล่าช้าในการเบิกจ่ายงบ ทั้งนี้ เราส่วนใหญ่คาดหวังกันมากเหลือเกินว่าปี 2559 ฟ้าเศรษฐกิจจะเป็นสีทองผ่องอำไพ เพราะรัฐบาลจะทำโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานใหญ่ๆ ให้เกิดขึ้น แต่มันไม่เกิดเร็วหรอก อย่างเร่งได้เต็มที่ก็ต้องรอไปครึ่งหลังของปี 2558
X คือการส่งออกสินค้าและบริการไปยังต่างประเทศ
ณ วันนี้ยังคงฟื้นตัวแบบหอยทากคืบคลาน เพราะมีปัจจัยลบเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของอุปสงค์จีน ญี่ปุ่น และยุโรป นอกจากนี้ ราคาสินค้าส่งออกหลายหมวดก็ปรับลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้า 11 เดือนแรกของปี 2557 หดตัวลงเล็กน้อยจากระยะเดียวกันในปีก่อน ทั้งนี้ อย่าไปคาดหวังว่าในปี 2558 การส่งออกจะดีขึ้นมากมาย เพราะเรายังมีอุปสรรคจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศอื่นๆ และเศรษฐกิจจีน ยุโรป ก็น่าจะชะลอลงด้วย
M คือการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ
ปัจจุบันมีมูลค่าลดลงตามการนำเข้าน้ำมันดิบ และการชะลอปริมาณการนำเข้าของโรงกลั่นน้ำมันเนื่องจากเขามองว่าราคาน้ำมันโลกอาจลดต่ำลงอีก
เมื่อเป็นดังนี้แล้ว เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจในปีนี้ของเราจึงยังไม่ร้อน แค่กำลังวอร์มอัพเท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะประหลาดใจ เพราะมันต้องเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว
เราลงทุนในหุ้น ไม่ได้ลงทุนในดัชนี เราลงทุนในกิจการที่เราวิเคราะห์แล้วจนเชื่อมั่นว่าจะมีกำไรที่ดี แม้จะต้องผ่านมรสุมบ้าง แต่เราอดทนได้ เพราะเราลงทุนระยะยาวหลายๆ ปีเพื่อเก็บเกี่ยวผลดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ได้ลงทุนเพื่อหากำไรระยะสั้นๆ เราจึงไม่กังวลกับเศรษฐกิจหรือดัชนี
ที่มา
http://goo.gl/B8Jw2E
สิ้นปี 2558 นี้หุ้นไทยจะไปถึงไหน
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยในปีนี้จะเป็นอย่างไรนั้น ในระยะสั้นดัชนีไม่ได้คำนวณได้แบบเป็นบัญญัติไตรยางค์กับค่า PE เนื่องจาก PE ไม่ได้รวมอารมณ์ของผู้เล่นในตลาด ซึ่งในช่วงสั้นๆ การซื้อขายมักขึ้นกับอารมณ์มากกว่าเหตุผล
แต่ถ้าถามว่าเศรษฐกิจปีนี้จะเป็นอย่างไร ยังพอให้มุมมองได้ แต่ก็เคยบอกไปแล้วว่าเป็นปีที่ไม่ง่าย ไม่สบาย ไม่หมู เพราะเครื่องยนต์เศรษฐกิจหลายตัวที่ประกอบเป็น GDP นั้นเกือบทุกตัวเครื่องยังไม่ร้อน
GDP = C+I+G+(X-M)
C คือ Consumption หรือการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคครัวเรือน
ครัวเรือนมีสัดส่วนหนี้ต่อ GDP เร่งสูงขึ้นมาก จากกว่า 50% ในปี 2552 มาเป็นเกิน 80% ในปัจจุบัน ทำให้การจะใช้จ่ายเพื่อการบริโภคตึงมือมากขึ้น และมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น ซึ่งใครๆ ก็บอกว่าเป็นเพราะหนี้จากนโยบายรถยนต์คันแรก แต่มันไม่ใช่แค่นั้น เพราะธนาคารต่างๆ หลายแห่งใช้นโยบายการตลาดที่กระตุ้นให้ภาคครัวเรือนมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลสูงขึ้น สรุปรวมๆ คือปีนี้หนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูงแต่น่าจะพีกในปีนี้ และปีหน้า 2559 น่าจะเริ่มทรงตัวและหวังว่าจะผ่อนคลายลง (เพราะหลายคนอาจจะเข็ดแล้ว) นอกจากนี้ กำลังซื้อของครัวเรือนในภาคเกษตรก็ถูกบั่นทอนด้วยราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำด้วย
I คือ Investment หรือการลงทุนของภาคเอกชน
การลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตยังคงมีไม่มาก เนื่องจากธุรกิจส่วนใหญ่ยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่ และรอให้เศรษฐกิจในประเทศกับการส่งออกฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น
G คือ Government Spending ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลที่ใช้ซื้อสินค้าและบริการรวมถึงเงินเดือนข้าราชการ การซื้ออาวุธทางทหาร และค่าใช้จ่ายลงทุนของรัฐ
แรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐในเดือน พ.ย. 2557 ชะลอลงหลังมีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประจำในเดือนก่อนไปแล้ว ขณะที่การใช้จ่ายงบลงทุนยังมีต่อเนื่อง แต่โดยรวมแล้วการเบิกจ่ายทำได้ค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับเป้าหมาย ถึงขนาดที่นายกรัฐมนตรียังบ่นในระหว่างแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 3 เดือนเรื่องความล่าช้าของระบบราชการที่ติดขัดซ้ำซ้อนมากมาย จนทำให้งานหลายอย่างมีปัญหาล่าช้าในการเบิกจ่ายงบ ทั้งนี้ เราส่วนใหญ่คาดหวังกันมากเหลือเกินว่าปี 2559 ฟ้าเศรษฐกิจจะเป็นสีทองผ่องอำไพ เพราะรัฐบาลจะทำโครงการระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานใหญ่ๆ ให้เกิดขึ้น แต่มันไม่เกิดเร็วหรอก อย่างเร่งได้เต็มที่ก็ต้องรอไปครึ่งหลังของปี 2558
X คือการส่งออกสินค้าและบริการไปยังต่างประเทศ
ณ วันนี้ยังคงฟื้นตัวแบบหอยทากคืบคลาน เพราะมีปัจจัยลบเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของอุปสงค์จีน ญี่ปุ่น และยุโรป นอกจากนี้ ราคาสินค้าส่งออกหลายหมวดก็ปรับลดลงตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้า 11 เดือนแรกของปี 2557 หดตัวลงเล็กน้อยจากระยะเดียวกันในปีก่อน ทั้งนี้ อย่าไปคาดหวังว่าในปี 2558 การส่งออกจะดีขึ้นมากมาย เพราะเรายังมีอุปสรรคจากความไม่สงบทางการเมืองในประเทศอื่นๆ และเศรษฐกิจจีน ยุโรป ก็น่าจะชะลอลงด้วย
M คือการนำเข้าสินค้าและบริการจากต่างประเทศ
ปัจจุบันมีมูลค่าลดลงตามการนำเข้าน้ำมันดิบ และการชะลอปริมาณการนำเข้าของโรงกลั่นน้ำมันเนื่องจากเขามองว่าราคาน้ำมันโลกอาจลดต่ำลงอีก
เมื่อเป็นดังนี้แล้ว เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจในปีนี้ของเราจึงยังไม่ร้อน แค่กำลังวอร์มอัพเท่านั้น ซึ่งไม่น่าจะประหลาดใจ เพราะมันต้องเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว
เราลงทุนในหุ้น ไม่ได้ลงทุนในดัชนี เราลงทุนในกิจการที่เราวิเคราะห์แล้วจนเชื่อมั่นว่าจะมีกำไรที่ดี แม้จะต้องผ่านมรสุมบ้าง แต่เราอดทนได้ เพราะเราลงทุนระยะยาวหลายๆ ปีเพื่อเก็บเกี่ยวผลดีที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ได้ลงทุนเพื่อหากำไรระยะสั้นๆ เราจึงไม่กังวลกับเศรษฐกิจหรือดัชนี
ที่มา http://goo.gl/B8Jw2E