สวัสดีครับ ผมขอแนะนำตัวก่อนครับ
ผมเป็น นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 ของมหาวิทยาลัยหนึ่ง
กระทู้นี้ผมไม่ได้จะมาโชว์พราว หรืออวดความรู้ใดๆนะครับ ผมแค่อยากมาแชร์วิชาที่ นักศึกษาแพทย์ได้เรียนกัน และคิดว่ามีประโยชน์มากๆต่อทุกๆคน
และอยากจะมาขอความคิดเห็นด้วยว่า ควรจะทำอย่างไรให้คนทั้งประเทศสามารถทำการช่วยเหลือกู้ชีพเบื้องต้นได้ครับ
เข้าเรื่องเลยนะครับ
สิ่งที่ผมได้เรียนมาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 มาจนถึงชั้นปีที่ 5 เรียนทุกๆปี ปีละครั้งสองครั้ง ก็คือการทำ CPR(cardiopulmonary resuscitation) ครับ หรือพูดง่ายๆก็คือการปั้มหัวใจครับ ในระดับของนายแพทย์ต้องเรียนรู้ว่า บุคคลไหนต้องปั้มหัวใจบ้าง และระหว่างนั้นต้องทำอะไร ให้ยาอะไรบ้าง(เรียกว่า advanced life support)
.....แต่!!! สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์ ก็จำเป็นที่จะต้องสามารถทำการกู้ชีพเบื้องต้นได้เช่นกันครับ ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่กู้ภัยเพียงอย่างเดียวครับ โดยหากเราสามารถกดปั้มหัวใจผู้ป่วยได้รวดเร็ว ก่อนที่หน่วยกูชีพจะมาถึง จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้คนไข้รายนั้นได้เยอะเลยครับ
American Heart Association เลย จัดตั้ง Guideline การกู้ชีพเบื้องต้นสำหรับคนทั่วไปขึ้นมาครับ ซึ่งผมจะมาเล่าให้ฟังในวันนี้ว่าเขาทำกันอย่างไรบ้าง
ทีนี้ผมจะมาเล่าถึงขั้นตอนให้ฟังนะครับ(ขอย้ำอีกครั้งครับ สำหรับคนทั่วไปนะครับ ใครๆก็สามารถช่วยคนรอบข้างได้ครับ)
1.เราประชาชนทุกคนจะต้องรับรู้ให้ได้ว่า คนไหนควรได้รับการปั้มหัวใจ โดยดูดังนี้ครับ
- คนที่หมดสติ ไม่สามารถปลุกให้ตื่นได้
- คนที่มีลักษณะของการหายใจแบบผิดปกติ ในที่นี้คือ หายใจเฮือก
2.เมื่อสามารถรู้ได้แล้วว่าคนๆนั้นจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือกู้ชีพเบื้องต้นหรือไม่ เราก็เริ่มดำเนินการเลยครับ โดยการโทรหา 1669 แจ้งว่า "มีคนหมดสติ คิดว่าหัวใจหยุดเต้น อยู่ที่ไหนก็ว่าไปตามรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่ถามครับ" (ตรงส่วนนี้ถ้ามีคนอยู่ในเหตุการณ์นั้นหลายคนก็ให้คนอื่นโทรนะครับ)
3.หลังจากนั้นก็เริ่มทำการปั้มหัวใจครับ
**** ตรงจุดนี้แหละครับที่โดยส่วนตัว ผมเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะคนส่วนใหญ่มักจะไม่กล้าทำ อาจเพราะไม่รู้จะทำอย่างไร อย่าว่าแต่คนอื่นเลยครับ ตัวผมเองตอนทำครั้งแรกก็ไม่กล้าเช่นกัน >>>>
ผมเลยอยากถามทุกๆคนตรงจุดนี้ด้วยว่า เราในฐานะแพทย์ควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศสามารถทำได้อย่างถูกต้องและกล้าทำครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สิ่งที่ผมคิดไว้ครับว่าสักวันหนึ่งอยากจะทำ
1.ผลักดันให้ สื่อแทรกวิธีการช่วยเหลือกู้ชีพเบื้องต้น เข้าไประหว่างละครหลังข่าว
2.อยากให้สื่อนำเสนอ วิธีการปั้มหัวใจที่ถูกวิธี
3.อยากให้มีการผลักดันหลักสูตร การกู้ชีพเบื้องต้นเข้าไปในหลักสูตรการเรียนการสอน ถ้าเป็นไปได้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลเลยให้คนรุ่นใหม่ generation ใหม่ มีใจอยากช่วยผู้อื่น
4.(ที่ผมพอจะทำได้) วิจัยหาตัวชี้วัดคุณภาพของนักศึกษาแพทย์ในการเป็นครูสอนกู้ชีพเบื้องต้น เพื่อที่ว่า หลังจาก นักศึกษาแพทย์เหล่านั้นเรียนจบจะได้สามารถไปสอนต่อให่กับประชาชนในเขตการดูแลของเขาเหล่านั้นได้
***เพื่อนๆ คนไหนมีความคิดเห็นแนวคิดในการทำให้คนไทยทั้งประเทษทำได้ พิมพ์บอกใน comment ได้เลยนะครับ ผมขอบคุณมากๆเลยครับ
4.หลังจากปั้มหัวใจไปตามหลักการแล้วก็ถึงเวลาของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งมีคนเคยพูดถึงไว้แล้วในกระทู้นี้ครับ ตามไปอ่านได้เลยครับ
http://ppantip.com/topic/33121074
เราประชาชนคนทั่วไป สามารถทำได้เท่านี้ครับ หลังจากนี้ ก็ทำไปตามขั้นตอนดังกล่าวจนกว่าหน่วยกู้ภัยจะมารับดูแลคนไข้ต่อไปครับ
แค่4 ขั้นตอนนี้เองครับ Basic Life Support ถ้าคนทุกๆคนสามารถทำสิ่งนี้ได้ ต่อไปนี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด อยู่บนเครื่องบิน หรือ ห้องฟิตเนส ถ้าทุกๆคนสามารถทำการช่วยเหลือกูชีพเบื้องต้นได้ ผมเชื่อว่าโอกาสรอดของคนไข้เหล่านั้นจะสูงขึ้นมากๆแน่นอนครับ
อ้างอิงครับ :
http://www.heart.org/HEARTORG/CPRAndECC/HealthcareProviders/BasicLifeSupportBLS/Basic-Life-Support-BLS_UCM_001281_SubHomePage.jsp
การกู้ชีพเบื้องต้น (Basic Life Support) ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องทำได้
ผมเป็น นักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 ของมหาวิทยาลัยหนึ่ง
กระทู้นี้ผมไม่ได้จะมาโชว์พราว หรืออวดความรู้ใดๆนะครับ ผมแค่อยากมาแชร์วิชาที่ นักศึกษาแพทย์ได้เรียนกัน และคิดว่ามีประโยชน์มากๆต่อทุกๆคน
และอยากจะมาขอความคิดเห็นด้วยว่า ควรจะทำอย่างไรให้คนทั้งประเทศสามารถทำการช่วยเหลือกู้ชีพเบื้องต้นได้ครับ
เข้าเรื่องเลยนะครับ
สิ่งที่ผมได้เรียนมาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 มาจนถึงชั้นปีที่ 5 เรียนทุกๆปี ปีละครั้งสองครั้ง ก็คือการทำ CPR(cardiopulmonary resuscitation) ครับ หรือพูดง่ายๆก็คือการปั้มหัวใจครับ ในระดับของนายแพทย์ต้องเรียนรู้ว่า บุคคลไหนต้องปั้มหัวใจบ้าง และระหว่างนั้นต้องทำอะไร ให้ยาอะไรบ้าง(เรียกว่า advanced life support)
.....แต่!!! สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่แพทย์ ก็จำเป็นที่จะต้องสามารถทำการกู้ชีพเบื้องต้นได้เช่นกันครับ ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่กู้ภัยเพียงอย่างเดียวครับ โดยหากเราสามารถกดปั้มหัวใจผู้ป่วยได้รวดเร็ว ก่อนที่หน่วยกูชีพจะมาถึง จะช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้คนไข้รายนั้นได้เยอะเลยครับ
American Heart Association เลย จัดตั้ง Guideline การกู้ชีพเบื้องต้นสำหรับคนทั่วไปขึ้นมาครับ ซึ่งผมจะมาเล่าให้ฟังในวันนี้ว่าเขาทำกันอย่างไรบ้าง
ทีนี้ผมจะมาเล่าถึงขั้นตอนให้ฟังนะครับ(ขอย้ำอีกครั้งครับ สำหรับคนทั่วไปนะครับ ใครๆก็สามารถช่วยคนรอบข้างได้ครับ)
1.เราประชาชนทุกคนจะต้องรับรู้ให้ได้ว่า คนไหนควรได้รับการปั้มหัวใจ โดยดูดังนี้ครับ
- คนที่หมดสติ ไม่สามารถปลุกให้ตื่นได้
- คนที่มีลักษณะของการหายใจแบบผิดปกติ ในที่นี้คือ หายใจเฮือก
2.เมื่อสามารถรู้ได้แล้วว่าคนๆนั้นจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือกู้ชีพเบื้องต้นหรือไม่ เราก็เริ่มดำเนินการเลยครับ โดยการโทรหา 1669 แจ้งว่า "มีคนหมดสติ คิดว่าหัวใจหยุดเต้น อยู่ที่ไหนก็ว่าไปตามรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่ถามครับ" (ตรงส่วนนี้ถ้ามีคนอยู่ในเหตุการณ์นั้นหลายคนก็ให้คนอื่นโทรนะครับ)
3.หลังจากนั้นก็เริ่มทำการปั้มหัวใจครับ
**** ตรงจุดนี้แหละครับที่โดยส่วนตัว ผมเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะคนส่วนใหญ่มักจะไม่กล้าทำ อาจเพราะไม่รู้จะทำอย่างไร อย่าว่าแต่คนอื่นเลยครับ ตัวผมเองตอนทำครั้งแรกก็ไม่กล้าเช่นกัน >>>> ผมเลยอยากถามทุกๆคนตรงจุดนี้ด้วยว่า เราในฐานะแพทย์ควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ประชาชนทั้งประเทศสามารถทำได้อย่างถูกต้องและกล้าทำครับ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
4.หลังจากปั้มหัวใจไปตามหลักการแล้วก็ถึงเวลาของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งมีคนเคยพูดถึงไว้แล้วในกระทู้นี้ครับ ตามไปอ่านได้เลยครับ
http://ppantip.com/topic/33121074
เราประชาชนคนทั่วไป สามารถทำได้เท่านี้ครับ หลังจากนี้ ก็ทำไปตามขั้นตอนดังกล่าวจนกว่าหน่วยกู้ภัยจะมารับดูแลคนไข้ต่อไปครับ
แค่4 ขั้นตอนนี้เองครับ Basic Life Support ถ้าคนทุกๆคนสามารถทำสิ่งนี้ได้ ต่อไปนี้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด อยู่บนเครื่องบิน หรือ ห้องฟิตเนส ถ้าทุกๆคนสามารถทำการช่วยเหลือกูชีพเบื้องต้นได้ ผมเชื่อว่าโอกาสรอดของคนไข้เหล่านั้นจะสูงขึ้นมากๆแน่นอนครับ
อ้างอิงครับ : http://www.heart.org/HEARTORG/CPRAndECC/HealthcareProviders/BasicLifeSupportBLS/Basic-Life-Support-BLS_UCM_001281_SubHomePage.jsp