สิ่งที่คนไทยเข้าใจผิดเกี่ยวกับการศึกษาที่อเมริกา Part III : โอกาสสำหรับชาว Post Doc (Post Doctoral Fellow)

กระทู้สนทนา
หลังจากหายไปนาน กลับมาคราวนี้ขอเอาใจคนที่มี PhD (Doctor of Philosophy and/or Permanent Head Damage!) หรือกำลังจะได้ และสนใจหาความท้าทายในสายวิจัยโดยการมาเป็น Post Doc ที่อเมริกา ขอเน้นที่สาย Science and Technology ที่ผมมีโอกาสได้คลุกคลีมาบ้าง ขอจำแนกเป็นข้อๆ ดังนี้

1. ตำแหน่ง Post Doc นี้ไม่ต้องมีผล TOEFL, GRE ไม่ต้องยื่นใบสมัครเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีคณะกรรมการคัดเลือก เพราะคนที่มีอำนาจในการรับ ก็คือ อาจารย์เจ้าของแล็ป (Principal Investigator, PI) ซึ่งก็คือคนที่จะจ่ายเงินเดือนให้เรานั่นเอง จะเห็นได้ว่าขั้นตอนง่ายและไม่ซับซ้อนเหมือนสมัครเรียนเอกหรือโทที่มีกรรมการคัดของแต่ละภาควิชาโดยเฉพาะ

2. เมื่ออำนาจการรับอยู่ที่ PI โดยเฉพาะ การตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับความพอใจส่วนตัว โดยส่วนมากก็จะพิจารณาถึงผลงานสมัยเรียน PhD เป็นหลัก โดยเฉพาะ ซึ่งก็คือ publications (first author) นั่นเอง ยิ่งถ้าเป็น publication ที่มี impact factor สูงๆ ระดับ 3-4 ถือว่า acceptable มากกว่า 5 ถือว่า good ถ้าได้ระดับ Cell, Science, Nature (impact factor around 30) ไม่ต้องพูดถึง แสดงถึงประสิทธิภาพอย่างสูง ยิ่งถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับที่ PI ที่เราสมัครทำอยู่ โอกาสได้สูง จะเห็นได้ว่าเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับมหาลัยที่จบมา ประเทศที่จบมา หรือเกรดมากนักเหมือนอย่างที่บ้ากันในบ้านเรา ต้องแยกให้ออก ถ้าระดับเข้า PhD เกรด ป ตรีสำคัญมาก ถ้าระดับ Post Doc นี้ publication สำคัญสุด ส่วน ป โทจ่ายเงินเอง เข้าง่ายสุดถ้าไม่ใช่ยูท็อปจริงๆ

3. โอกาสมันอยู่ตรงนี้ คือถึงแม้จะจบเอกจากไทย แต่ถ้ามี publication ดีๆ ภาษีดีกว่าคนที่จบในอเมริกา ยุโรปหรืออื่นๆแต่ไม่มี publication หรือ มีแต่ low impact factor แน่นอน (impact factor น้อยกว่า 3 ถือเป็น junk และ first author publication ถือเป็น ultimate research experience) ประเด็นคือจะเข้าหา PI ยังไง หลายคนไป present ในงานประชุมวิชาการต่างๆ ถ้าไปเตะตาใครเข้าก็อาจโดนชวนเข้าแลปได้ง่ายๆ หลายคนก็ใช้ connection ส่วนตัว คนจีนทำแบบนี้เยอะ PI จีนไป recruit เด็ก PhD จีนมาทำ Post Doc ด้วยถมไป ภาษาก็ไม่ได้ดี เขาเล่นกันแบบนี้

4. อีกวิธีที่ได้ผลมากๆ ที่ผมขอแนะนำคือ ศึกษาดูว่า PI คนไหน แล็ปไหนที่เราจสนใจอยากจะทำกับเขา ทำการบ้านดีๆ แล้วส่งอีเมลล์ไปแนะนำตัวและแจ้งความสนใจตรงๆ เลย ถ้ามี Publication ดีอยู่แล้วมั่นใจได้ ลองยูท็อปๆ แล็ปดังๆ ได้ อย่าดูถูกตัวเอง อีกครั้งจบที่ไหนไม่สำคัญเท่า Publication ดีๆ ถ้า publication ระดับ acceptable ก็ควรมีหลายอันหน่อย ระดับดีอันเดียวพอได้แต่ยิ่งเยอะยิ่งดี ส่งไปหลายๆ ที่ คนส่วนใหญ่สมัครเป็นร้อยที่ อีเมลล์ไม่เสียตังค์

5. มาแล้วได้อะไร? แน่น่อนได้ประสบการณ์ หลายคนอยากได้อะไรที่มันจับต้องได้มากกว่านี้ ก็บอกเลยว่า เงินเดือน มากกว่าเด็ก PhD เท่าครึ่ง แถมขึ้นทุกปี นอกจากนี้ระหว่างที่ทำ Post Doc ถ้าสามารถตีพิมพ์ paper ดีๆ (Impact factor =10 or more) งานเป็นอาจารย์ (PI) แถวรัฐกลางประเทศ USA ไม่ใช่เรื่องยาก รวมถึงแผนก Research& Development ตามบริษัทต่างๆ ที่มีบานเบอะที่นี่ ถ้าได้ระดับ Cell, Science, Nature จะเลือกเป็น PI ที่ไหน หรือทำบริษัทอะไรก็ได้ทั่วโลก ย้ำว่าทั่วโลกเพราะเขาใช้ criteria เดียวกัน แต่เมืองไทยกลับดูที่ชื่อชั้นของมหาลัยที่จบมาหรือแผ่นกระดาษปริญญา ที่อื่นเขาต้องการคนเก่งและให้ค่าความเก่งจาก Publication ไม่ใช่ปริญญา เด็กชาติอื่นมาทำ Post Doc ที่นี่ล้วนมีเป้าหมายที่จะเอา paper(s) ดีๆ ให้ได้เพื่อเอาไปต่อยอดสร้างอนาคตที่ดีต่อไป

ผมขอเอาใจช่วยคนที่มีความฝันสำหรับโอกาสตรงนี้ครับ จากประสบการณ์ ผมเห็น ชาติอื่นๆ หลายคนที่ตอนทำ PhD ไม่ได้มีเปเปอร์ดีๆ นักแต่ก็มาใช้โอกาสตรงนี้เยอะแยะ ตรงข้ามกับเด็กไทยหลายคนที่มี publication ดีๆ หลายอันซะด้วย แต่ก็คิดว่าไม่มีโอกาสทั่งที่อยากมา ผมขอให้กำลังใจครับ โอกาสมีเสมอ หลายครั้งก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด

Related links
Part I: http://ppantip.com/topic/31644766
Part II: http://ppantip.com/topic/31649804
Part III: http://ppantip.com/topic/33159888
Part IV: http://ppantip.com/topic/33177595
Part V: http://ppantip.com/topic/33270846
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่