ความวุ่นวายสับสนในชีวิต คิดไม่ตก ตัดใจไม่ได้ จะเดินหน้าก็หมดหวัง จะทอดทิ้งก็เสียดาย เพราะความผูกพัน อาลัยอาวรณ์ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน
พระพุทธองค์ทรงเรียกอาการดังกล่าวว่าเกิดจากกิเลสตัวที่ชื่อ อวิชชา คือความไม่รู้แจ้ง
เป็นความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้เท่าทัน ตามความเป็นจริงที่ว่า ทุกสิ่งที่มีการเกิดขึ้น ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและดับสลายในที่สุด
พระพุทธองค์ได้ทรงแนะแนวทาง(คำสอน)ให้เราได้รู้เท่าทัน อวิชชา เพื่อแก้ไขเมื่อมีปัญหา(ทุกข์)เกิดขึ้นดังกล่าว ตามวิธีที่เรียกว่า อริยสัจจ์ 4 กล่าวคือ
1 ทุกข์ ให้รู้และเข้าใจอย่างชัดเจน(กำหนดรู้)ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปง อย่ามุ่งหวังว่าจะคงที่
2 สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เราได้รับความทุกข์ ก็คือใจของเราที่มีความต้องการ ความปราถนา (ตัณหา)อยากได้ในสิ่งที่เราพอใจ ถูกใจ ทั้งด้านอารมณ์ ทรัพย์สิน และชื่อเสียง พร้อมทั้งปฏิเสธสิ่งที่เราไม่พอใจ ทั้งหมดนี้พระองค์ทรงสอนให้ ละ ออกจากใจ จากความรู้สึก อย่าไปยึดติด
3 นิโรธ ความดับทุกข์ เมื่อใจมีความต้องการเกิดขึ้น(ตัณหา) เราต้องมีสติรู้เท่าทันในความต้องการก็จะสามารถระงับยับยั้ง(ดับ)ไว้ได้ การรู้เท่าทันก็คือ การทำให้แจ้ง
4 มรรค8 คือวิธีปฏิบัติ เพื่อหยุดปัญหาทั้งหมดไม่ให้เกิดขึ้นมารบกวนจิตใจเราได้อีกต่อไป โดยการภาวนา เจริญธรรมหรืออบรม หมายถึงการปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ
*** การแสดงธรรม(สอน)ของพระองค์ตลอด 45 พรรษา ไม่ว่าจะทรงสอนใคร ที่ไหน พระองค์จะทรงเน้นย้ำให้มีความพากเพียร เรียนรู้ใน อริยสัจจ์ 4
Credit
https://m.facebook.com/profile.php?id=1401782726781885
อริยสัจ4
พระพุทธองค์ทรงเรียกอาการดังกล่าวว่าเกิดจากกิเลสตัวที่ชื่อ อวิชชา คือความไม่รู้แจ้ง
เป็นความไม่รู้แจ้ง ไม่รู้เท่าทัน ตามความเป็นจริงที่ว่า ทุกสิ่งที่มีการเกิดขึ้น ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและดับสลายในที่สุด
พระพุทธองค์ได้ทรงแนะแนวทาง(คำสอน)ให้เราได้รู้เท่าทัน อวิชชา เพื่อแก้ไขเมื่อมีปัญหา(ทุกข์)เกิดขึ้นดังกล่าว ตามวิธีที่เรียกว่า อริยสัจจ์ 4 กล่าวคือ
1 ทุกข์ ให้รู้และเข้าใจอย่างชัดเจน(กำหนดรู้)ว่าทุกสิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปง อย่ามุ่งหวังว่าจะคงที่
2 สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เราได้รับความทุกข์ ก็คือใจของเราที่มีความต้องการ ความปราถนา (ตัณหา)อยากได้ในสิ่งที่เราพอใจ ถูกใจ ทั้งด้านอารมณ์ ทรัพย์สิน และชื่อเสียง พร้อมทั้งปฏิเสธสิ่งที่เราไม่พอใจ ทั้งหมดนี้พระองค์ทรงสอนให้ ละ ออกจากใจ จากความรู้สึก อย่าไปยึดติด
3 นิโรธ ความดับทุกข์ เมื่อใจมีความต้องการเกิดขึ้น(ตัณหา) เราต้องมีสติรู้เท่าทันในความต้องการก็จะสามารถระงับยับยั้ง(ดับ)ไว้ได้ การรู้เท่าทันก็คือ การทำให้แจ้ง
4 มรรค8 คือวิธีปฏิบัติ เพื่อหยุดปัญหาทั้งหมดไม่ให้เกิดขึ้นมารบกวนจิตใจเราได้อีกต่อไป โดยการภาวนา เจริญธรรมหรืออบรม หมายถึงการปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ
*** การแสดงธรรม(สอน)ของพระองค์ตลอด 45 พรรษา ไม่ว่าจะทรงสอนใคร ที่ไหน พระองค์จะทรงเน้นย้ำให้มีความพากเพียร เรียนรู้ใน อริยสัจจ์ 4
Credit
https://m.facebook.com/profile.php?id=1401782726781885