ข้อสังเกตุ โคตรโกงเงิน สจล.1600 ล้าน!

กระทู้ข่าว


จากผังขบวนการโกงเงิน สจล.1,600 ล้าน บรรดาตัวละครที่กองปราบปรามพยายามแกะรอยเส้นทางความโยงใยหลายหลายทั้งปวงอยู่นั้น แทบจะไม่มีความเกี่ยวพันใดๆ กับกับ สจล.เลย ยกเว้น นางอำพร ผอ.กองคลังคนต้นเรื่องที่โยกเงินไปฝากกับ ผจก.ไทยพาณิชย์ (นายทรงกลด) จะเพื่อกินส่วนต่างดอกเบี้ยหรือหวังดอกเบี้ยส่วนต่าง (ใต้ดิน) ก็ตามแต่

แต่..เงินเหล่านี้ ต่างก็เข้าสู่ระบบแบงก์ไปแล้ว

การที่แบงก์จะนำเงินออกไปทำอะไร อย่างไร? ก็เป็นเรื่องธุรกรรมของแบงก์ จะโยกไปให้ นาย ก. นาย ข. นาย ค. นายเอ นายบี...หรือบริษัทห้างร้านที่เครือข่ายใดก่อตั้งขึ้นมา ทั้งหมดก็เป็นเรื่องของธุรกรรมที่แบงก์มีสิทธิ์ทำ เพื่อหาประโยชน์จากเงินฝาก (ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม) อันเป็นธุรกรรมปกติของแบงก์ทั่วไป

ผู้ฝาก/สจล.คงไม่สามารถจะเข้าไปล้วงลูก ตรวจสอบได้

การที่ ผจก.แบงก์ จะไซฟ่อนเงินออกไปเข้ากระเป๋าใคร จะบุคคลที่ 2 3 4 5 6 หรือใครก็ตาม ย่อมไม่ได้เป็นความรับผิดชอบของ สจล.ที่จะเข้าไปตรวจสอบ-ก้าวก่าย เพราะนั่นคือธุรกรรมปกติของแบงก์ ซึ่งจากเครือข่าย ความโยงใยที่กองปราบแกะรอยได้ ก็เห็นได้ชัดว่า ขบวนการไซฟ่อนเงินออกไปจากแบงก์นั้น แทบไม่มีส่วนใดเลย เกี่ยวพันกับ สจล.หรือ คนของ สจล.!

ดังนั้น ความเสียหายส่วนนี้ย่อมเป็นความเสียหายที่แบงก์เองต้องไปตรวจสอบว่า มันเกิดขึ้นได้อย่างไร? ทำไมปล่อยให้มีการเบิกเงิน/โยกเงิน ไซฟ่อนเงินออกไป เป็น 10-20-30 ล้าน หรือเป็น 100 ล้านได้ โดยปราศจากการตรวจสอบอย่างเป็นระบบของแบงก์ เงินจำนวนมหึมาที่ถูกไซฟ่อนออกไปขนาดนี้ มีหรือที่แบงก์จะปล่อยให้เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่เพียงรายเดียว?

ข้อน่าสังเกตอีกประการ หน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินคือ ธปท.-คลัง เหตุใดถึงไม่ลงมาตรวจสอบระบบของแบงก์ดังกล่าว มีความรัดกุม หละหลวมหรือไม่อย่างไร? สิ่งที่เกิดขึ้นเป็น Human error หรือ System Technical error แต่กระนั้น ไม่ว่าจะเป็น Human error/technical error แบงก์เองก็ปฏิเสธความรับผิดชอบไปไม่พ้น เพราะเงินฝากจำนวนมหึมาก้อนนี้ ฝากอยู่ที่แบงก์ เข้าไปอยู่ในระบบของแบงก์ตั้งแต่แรกแล้ว (แม้จะใช้เล่ห์เพทุบายดึง/โยกเงินฝากมาจากแบงก์อื่นๆ)

ลูกค้า (ซึ่งรวมทั้ง สจล.) ย่อมไว้วางใจว่าเงินฝากก้อนนี้ จะถูกพิทักษ์ เก็บรักษา และให้ผลตอบแทนกลับมา ไม่ใช่อันตธานหายเข้ากลีบเมฆ โดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามจะเบี่ยงเบนว่าเป็นความรับผิดชอบของ สจล.

ตรงกันข้ามในแง่ สจล.นั้น ผู้บริหาร สจล.ในฐานะผู้เสียหาย จำเป็นต้องเร่งรัดฟ้องร้องเอาผิดกับแบงก์ในฐานะผู้เสียหายต่างหาก ไม่ใช่จ้องแต่จะเล่นงานอดีตผู้บริหารว่ามีส่วนในขบวนการโยงใยอะไรด้วยหรือไม่

...อย่าหลงประเด็น ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่