[๑๙๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กุฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี
สมัยนั้น
การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการงานของเจ้าลิจฉวีอยู่ ได้เห็น
ปิงคิยานีพราหมณ์เดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วได้ถามว่า อ้อ ท่านปิงคิยานีมาจากไหนแต่ยังวัน (แต่วันนัก) ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า
ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม ฯ
กา. ท่านปิงคิยานีย่อมเข้าใจพระปรีชา (ความฉลาดด้วยปัญญา) ของพระสมณโคดมว่า เห็นจะเป็นบัณฑิตนั้นอย่างไร ฯ
ปิ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจักรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม
ผู้ใดพึงรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นพึงเป็นเช่นกับพระสมณโคดมนั้นแน่นอน ฯ
กา. ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานีสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก ฯ
ปิ. ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจักสรรเสริญพระสมณโคดม และท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสรรเสริญแล้วๆ ว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
กา.
ก็ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดมอย่างนี้ ฯ
ปิ. ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์
หรือโดยอัพภูตธรรมย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น...................
...................................................................................................
เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก
นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ
คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม
ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขาย่อมหมดไปโดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนสระน้ำ
มีน้ำใสน่าเพลินใจน้ำเย็น น้ำขาว มีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์
บุรุษผู้ร้อนเพราะแดด ถูกแดดเผาเหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย เดินมาถึง เขาลงไปในสระน้ำนั้น อาบ ดื่ม
พึงระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม
ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา ก็ย่อมระงับไป โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น ฯ
----------------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก
การณปาลีสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๕๕๐๒ - ๕๕๕๖. หน้าที่ ๒๔๐ - ๒๔๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=5502&Z=5556&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=194
ก็ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดมอย่างนี้ ฯ
สมัยนั้น การณปาลีพราหมณ์ใช้คนให้ทำการงานของเจ้าลิจฉวีอยู่ ได้เห็นปิงคิยานีพราหมณ์เดินมาแต่ไกล
ครั้นแล้วได้ถามว่า อ้อ ท่านปิงคิยานีมาจากไหนแต่ยังวัน (แต่วันนัก) ปิงคิยานีพราหมณ์ตอบว่า
ข้าพเจ้ามาจากสำนักพระสมณโคดม ฯ
กา. ท่านปิงคิยานีย่อมเข้าใจพระปรีชา (ความฉลาดด้วยปัญญา) ของพระสมณโคดมว่า เห็นจะเป็นบัณฑิตนั้นอย่างไร ฯ
ปิ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจักรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม
ผู้ใดพึงรู้พระปรีชาของพระสมณโคดม แม้ผู้นั้นพึงเป็นเช่นกับพระสมณโคดมนั้นแน่นอน ฯ
กา. ได้ยินว่า ท่านปิงคิยานีสรรเสริญพระสมณโคดมยิ่งนัก ฯ
ปิ. ข้าพเจ้าคือใคร และเป็นอะไรจึงจักสรรเสริญพระสมณโคดม และท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้น
อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสรรเสริญแล้วๆ ว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
กา. ก็ท่านปิงคิยานีเห็นอำนาจประโยชน์อะไร จึงเลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดมอย่างนี้ ฯ
ปิ. ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้อิ่มในรสอันเลิศแล้ว ย่อมไม่ปรารถนารสที่เลวเหล่าอื่น ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์
หรือโดยอัพภูตธรรมย่อมไม่ปรารถนาวาทะของสมณะเป็นอันมากเหล่าอื่น โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น...................
...................................................................................................
เปรียบเหมือนบุรุษผู้อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก นายแพทย์ผู้ฉลาดพึงบำบัดอาพาธของเขาโดยเร็ว ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้นโดยลักษณะใดๆ
คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม
ความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจของเขาย่อมหมดไปโดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น
เปรียบเหมือนสระน้ำ มีน้ำใสน่าเพลินใจน้ำเย็น น้ำขาว มีท่าราบเรียบ น่ารื่นรมย์
บุรุษผู้ร้อนเพราะแดด ถูกแดดเผาเหน็ดเหนื่อย หิว ระหาย เดินมาถึง เขาลงไปในสระน้ำนั้น อาบ ดื่ม
พึงระงับ ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวง ฉันใด
บุคคลฟังธรรมของท่านพระโคดมพระองค์นั้น โดยลักษณะใดๆ คือ โดยสุตตะ โดยเคยยะ โดยไวยากรณ์ หรือโดยอัพภูตธรรม
ความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อย และความเร่าร้อนทั้งปวงของเขา ก็ย่อมระงับไป โดยลักษณะนั้นๆ ฉันนั้น ฯ
----------------------------------
เนื้อหาบางส่วนจาก การณปาลีสูตร
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๕๕๐๒ - ๕๕๕๖. หน้าที่ ๒๔๐ - ๒๔๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=22&A=5502&Z=5556&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=194