ผมคิดว่า"วิทยาศาสตร์และกฎหมาย"ก็เป็นศาสนาอย่างหนึ่ง

ผมคิดว่า คนที่บอกว่าตนไม่มีศาสนา(อศาสนิกชน) และคนที่รู้สึกว่าตนไม่ได้นับถือศาสนาใดเป็นพิเศษโดยพฤตินัย(แต่ยังพูดอย่างเป็นทางการว่าตนนับถือศาสนาอย่งหนึ่งอย่างใด) นั้น แท้จริงแล้วคนพวกนี้ ไม่ใช่คนที่ไม่มีความคิด
เพราะเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะไม่มีความคิด (เหมือนพูดว่า เป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะไม่มีปอด) คนทุกคนย่อมมีความคิดอยู่ในสมอง

แต่ความคิดของคนเหล่านี้วางอยู่บน 1.เหตุผล 2.การพิสูจน์ได้เป็นที่ประจักษ์เสมอไปด้วยอายตนะอินทรีย์5อย่าง(ไม่นับ"ใจ")ตามหลักวิทยาศาสตร์ และ3.กฎหมายหรือข้อตกลงของสังคมที่จะทำให้สังคมอยู่ด้วยกันได้
ส่วนเรื่องกระพี้ปลีกย่อยของความเป็นศาสนา(ซึ่งคนส่วนใหญ่ชอบอ้างว่ามันคือกระพี้ แต่ผมกลับคิดว่าเหล่านี้คือแก่นของศาสนาเลย) เช่นเรื่องของ ศาสดา พระเจ้า เทวดา คัมภีร์ ความศักดิ์สิทธิ์ นักบวช ประวัติ พิธีกรรม จารีตประเพณี ฯลฯ เหล่านั้น พวกอศาสนิกชนไม่ได้สนใจใส่ใจยึดมั่นนับถือ

หากพิจารณาคร่าวๆ โดยยึดตามความเข้าใจของสังคมว่า ศาสนาเป็น1.แบบแผนความเชื่อ2.ที่ต้องมีรูปแบบมีพิธีกรรมมีจารีตประเพณี(มักจะ)มีศาสดา และ3.ได้รับการยอมรับจากรัฐ(ศาสนาอย่างเป็นทางการ) ก็ย่อมสรุปได้ว่า คนกลุ่มนี้"ไม่มีศาสนา"

แต่หากพิจารณาโดยละเอียดแล้ว ผมเชื่อว่าพวกอศาสนิกชนมีเหตุผลไม่ได้ด้อยไปกว่าศาสนิกชนเลย (หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำไป) เพราะคนกลุ่มนี้ยึดมั่นในเหตุผลมากกว่าศรัทธา(ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศาสนิกชนและอันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงบำรุงศาสนามาตั้งแต่โบราณ) และหากยึดตามที่ศาสนิกส่วนใหญ่มักอ้างว่า เรื่องรุ่มร่ามทั้งหลาย(ประเพณี จารีตพิธีกรรม เทวดา ฯลฯ)เป็นเพียงกระพี้ แต่แก่นคือหลักความเชื่อในสมองอันนำไปสู่พฤติกรรมที่แสดงออกมาแล้วไซร้ ความเชื่อตามหลักวิทยาศาสตร์และความยึดมั่นในกฎหมาย(โดยปราศจากเครื่องเคราทั้งหลายดังกล่าว) ยิ่งสมควรจะถือได้ว่เป็นศานาอย่างหนึ่งเป็นอันมาก

ผมจึงอยากแสดงความคิดเห็นว่า ที่จริงแล้ว"วิทยาศาสตร์และกฎหมาย"ก็เป็นศาสนาอย่างหนึ่งเพียงแต่มันไม่มีช่องให้กรอกลงไปในทะเบียนต่างๆของสังคม และคำว่า"ไม่มีศาสนา"นั้นมันไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริงเท่าใด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่