ศาสนา คืออะไร

กระทู้สนทนา
ศาสนา หมายถึง คำสั่งสอน
คำสั่งสอนที่จะนับได้ว่าเป็นศาสนา๑ นั้นจะต้องประกอบไปด้วยหลักสำคัญดังต่อไปนี้:-

๑. ศาสดา ต้องมีศาสดาเป็นผู้ก่อตั้งศาสนา และศาสดาต้องมีอยู่จริงในทางประวัติศาสตร์ เช่น ศาสนายิวมีโมเสสเป็นศาสดา
พระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ศาสนาคริสต์มีพระเยซูเป็นศาสดา และศาสนาอิสลามมีพระนบีมหะหมัด เป็นต้น

๒. ศาสนธรรม ต้องมีศาสนธรรมคำสอนทางธรรมจรรยา คำสอนเป็นหลักของศาสนา และกฎเกณฑ์เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติ
เพื่อบรรลุผลอันดีงาม เช่น ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้แก่ คัมภีร์พระเวท พระพุทธศาสนา ได้แก่ คัมภีร์พระไตรปิฎก ศาสนายิว
ได้แก่ คัมภีร์เก่า (Old Testament) ศาสนาคริสต์ ได้แก่ คัมภีร์ไบเบิล และศาสนาอิสลาม ได้แก่ คัมภีร์อัล-กุรอาน เป็นต้น

๓. ศาสนพิธี ต้องมีพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องมาจากคำสอนของศาสนา ซึ่งพิธีกรรมนี้ทำให้ศาสนาแยกออกจากลัทธิได้ พิธีกรรม
ของศาสนาต่าง ๆ เช่น พิธีสวมสายยัชโญปวีตหรือ (พิธีอุปานยัน) และพิธีล้างบาปในแม่น้ำคงคาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
พิธีอุปสมบทของศาสนาพุทธ พิธีสารภาพบาปของศาสนาคริสต์ และพิธีฮัจญ์ของศาสนาอิสลาม เป็นต้น

๔. ศาสนบุคคล ต้องมีคณะบุคคลทำหน้าที่โดยเฉพาะ สำหรับรักษาความศักดิ์สิทธิ์และคำสอนนั้นสืบต่อมา บุคคลคณะนี้เรียก
ว่า "พระ" ถือเป็นวรรณะและเป็นเพศพิเศษต่างกับสามัญชน เรียกว่า "สมณเพศ"

๕. ศาสนสถาน ต้องมีศาสนสถานเพื่อการประกอบศาสนกิจและศาสนพิธีต่าง ๆ ศาสนสถานของพราหมณ์-ฮินดู ได้แก่ เทวสถาน
หรือเทวาลัย ของพระพุทธศาสนา ได้แก่ วัด โบสถ์ ศาลาการเปรียญ วิหาร ศาสนาคริสต์ ได้แก่ โบสถ์ วิหาร ศาสนาอิสลาม
ได้แก่ สุเหร่าหรือมัสยิด เป็นต้น

๖. ศาสนิกชน ต้องมีศาสนิกชนผู้นับถือ เลื่อมใสศรัทธาในศาสนานั้น ๆ ซึ่งศาสนิกชนดังกล่าวเหล่านี้มักเรียกตามชื่อของศาสนา
ที่ตนนับถือ เช่น ฮินดูชน พุทธศาสนิกชน คริสตศาสนิกชน อิสลามมิกชนหรือมุสลิม เป็นต้น

๗. การกวดขันเรื่องความจงรักภักดี ชาวตะวันตกเรียกว่า Fidelity หมายความว่า ถือศาสนาหนึ่งแล้ว จะไปถือศาสนาอื่นอีกไม่ได้
แม้แต่จะเป็นรูปเคารพบูชาปูชนียวัตถุของศาสนา หรือลัทธิอื่นก็ ถือเป็นบาปใหญ่หลวงทีเดียว

หลักทั้ง ๗ ประการนี้ เรายึดถือกันสำหรับที่จะเรียกคำสอนหรือลัทธิอันใดอันหนึ่งว่า "ศาสนา" ถ้าไม่ครบถ้วนทั้ง ๗ ประการนี้
เรามักจะไม่ยอมรับเป็นศาสนา

---------------------------------------

http://www.history.mbu.ac.th/buddhism/buddhism.html
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่