มีพุทธศาสนิกชนบางท่าน ( หรือหลายท่าน ) เข้าใจกันว่า พระพุทธศาสนามีส่วนที่เป็นเปลือก กระพี้ แก่น แล้วก็มักบอกกันว่า พิธีกรรมต่าง ๆ หรือการมีเครื่องรางของขลัง หรือเครื่องเคารพบูชาต่าง ๆ เป็นเหมือนเปลือก เพื่อรักษาแก่นเอาไว้
ก็น่าแปลกใจอยู่เหมือนกันว่า แนวคิดเรื่องพิธีกรรม หรือพวกเครื่องรางของขลังทั้งหลายแหล่ เป็นเหมือนเปลือก นั้น มีที่มาจากไหน ทั้ง ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่เคยตรัสไว้เลยว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นเปลือก
ในมหาสาโรปมสูตร พระองค์ได้ตรัสแสดงถึงความเป็นแก่นสารแห่งพระพุทธศาสนาโดยอุปมาต้นไม้ไว้ สรุปใจความได้ว่า
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว เป็นผู้ได้รับสักการะบูชา เป็นผู้มีลาภมาก ก็พอใจแต่เพียงเท่านี้ ไม่เพียรพยายามยิ่งขึ้นไป และถากถางผู้อื่นว่า ภิกษุอื่นไม่มีลาภสักการะมากเหมือนเรา บุคคลนี้ เปรียบเหมือน ผู้ต้องการแสวงหาแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นไม้ สะเก็ด กระพี้ เปลือกเสีย หยิบไปเพียงกิ่งและใบ
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว ได้ลาภสักการะก็ทิ้งเสีย เป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ก็พอใจแต่เพียงเท่านั้น ไม่เพียรพยายามยิ่งขึ้นไป และถากถางผู้อื่นว่า เรามีศีลบริสุทธิ์ พวกอื่นมีศีลไม่บริสุทธิ์ เขาเปรียบเหมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นไม้ กระพี้ เปลือก เก็บไปได้เพียงสะเก็ดไม้
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว ได้ลาภสักการะก็ทิ้งเสีย ได้เป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ก็ไม่เพียงพอ เป็นผู้พยายามปฏฺิบัติจนได้สมาธิ มีจิตตั้งมั่น ก็พอใจเพียงเท่านั้น และถากถางผู้อื่นว่า เรามีสมาธิ มีจิตตั้งมั่น พวกอื่นไม่มีสมาธิ ไม่มีจิตตั้งมั่น เขาเปรียบเหมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นไม้ กระพี้เสีย แล้วถากเอาเพียงเปลือกไป
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว ทิ้งลาภสักการะ เป็นผู้มีศีล และสมาธิ ก็ไม่เพียงพอ ได้ปฏิบัติจนได้ญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่ง ในที่นี้หมายถึงอภิญญาเป็นต้น) เขาก็พอใจเพียงเท่านั้น บุคคลนี้ เหมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ ละเลยแก่นเสีย ได้ไปเพียงกระพี้ไม้
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว ทิ้งลาภสักการะ เป็นผู้มีศีล สมาธิ และญาณทัสสนะ ก็ไม่เพียงพอ ได้พยายามต่อไป จนได้บรรลุสมาบัติ ได้บรรลุถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นผู้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ (หมายถึงผู้บรรลุอรหัตผล) บุคคลนี้ เปรียบเหมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ ละเลยกิ่งใบ สะเก็ด เปลือก กระพี้เสีย ได้นำเอาแก่นไม้ไป
(พึงดูข้อความเต็ม ๆ ใน มหาสาโรปมสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504&pagebreak=0 )
ที่นี้ก็เลยอยากจะชวนพี่น้องชาวพุทธสนทนากันว่า การที่เรามักกำหนด หรือบอกกันว่า พวกพิธีกรรมอะไรต่าง ๆ นี่ เป็นเหมือนเปลือกที่คอยรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ นั้น เรานำเอาแนวคิดนี้มาจากที่ไหน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่เคยตรัสไว้ถึงเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นเปลือกของศาสนา ที่คอยห่อหุ้มแก่นอยู่
ชวนพิจารณา เรื่อง เปลือก กระพี้ แก่น ของพระพุทธศาสนา กับมหาสาโรปมสูตร
ก็น่าแปลกใจอยู่เหมือนกันว่า แนวคิดเรื่องพิธีกรรม หรือพวกเครื่องรางของขลังทั้งหลายแหล่ เป็นเหมือนเปลือก นั้น มีที่มาจากไหน ทั้ง ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่เคยตรัสไว้เลยว่า สิ่งเหล่านั้นเป็นเปลือก
ในมหาสาโรปมสูตร พระองค์ได้ตรัสแสดงถึงความเป็นแก่นสารแห่งพระพุทธศาสนาโดยอุปมาต้นไม้ไว้ สรุปใจความได้ว่า
๑. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว เป็นผู้ได้รับสักการะบูชา เป็นผู้มีลาภมาก ก็พอใจแต่เพียงเท่านี้ ไม่เพียรพยายามยิ่งขึ้นไป และถากถางผู้อื่นว่า ภิกษุอื่นไม่มีลาภสักการะมากเหมือนเรา บุคคลนี้ เปรียบเหมือน ผู้ต้องการแสวงหาแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นไม้ สะเก็ด กระพี้ เปลือกเสีย หยิบไปเพียงกิ่งและใบ
๒. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว ได้ลาภสักการะก็ทิ้งเสีย เป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ก็พอใจแต่เพียงเท่านั้น ไม่เพียรพยายามยิ่งขึ้นไป และถากถางผู้อื่นว่า เรามีศีลบริสุทธิ์ พวกอื่นมีศีลไม่บริสุทธิ์ เขาเปรียบเหมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นไม้ กระพี้ เปลือก เก็บไปได้เพียงสะเก็ดไม้
๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว ได้ลาภสักการะก็ทิ้งเสีย ได้เป็นผู้มีศีลอันบริสุทธิ์ ก็ไม่เพียงพอ เป็นผู้พยายามปฏฺิบัติจนได้สมาธิ มีจิตตั้งมั่น ก็พอใจเพียงเท่านั้น และถากถางผู้อื่นว่า เรามีสมาธิ มีจิตตั้งมั่น พวกอื่นไม่มีสมาธิ ไม่มีจิตตั้งมั่น เขาเปรียบเหมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ แต่ละเลยแก่นไม้ กระพี้เสีย แล้วถากเอาเพียงเปลือกไป
๔. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว ทิ้งลาภสักการะ เป็นผู้มีศีล และสมาธิ ก็ไม่เพียงพอ ได้ปฏิบัติจนได้ญาณทัสสนะ (ความรู้ยิ่ง ในที่นี้หมายถึงอภิญญาเป็นต้น) เขาก็พอใจเพียงเท่านั้น บุคคลนี้ เหมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ ละเลยแก่นเสีย ได้ไปเพียงกระพี้ไม้
๕. บุคคลบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนบวชแล้ว ทิ้งลาภสักการะ เป็นผู้มีศีล สมาธิ และญาณทัสสนะ ก็ไม่เพียงพอ ได้พยายามต่อไป จนได้บรรลุสมาบัติ ได้บรรลุถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เป็นผู้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ (หมายถึงผู้บรรลุอรหัตผล) บุคคลนี้ เปรียบเหมือนผู้แสวงหาแก่นไม้ ละเลยกิ่งใบ สะเก็ด เปลือก กระพี้เสีย ได้นำเอาแก่นไม้ไป
(พึงดูข้อความเต็ม ๆ ใน มหาสาโรปมสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=6309&Z=6504&pagebreak=0 )
ที่นี้ก็เลยอยากจะชวนพี่น้องชาวพุทธสนทนากันว่า การที่เรามักกำหนด หรือบอกกันว่า พวกพิธีกรรมอะไรต่าง ๆ นี่ เป็นเหมือนเปลือกที่คอยรักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ นั้น เรานำเอาแนวคิดนี้มาจากที่ไหน เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่เคยตรัสไว้ถึงเรื่องเหล่านี้ว่าเป็นเปลือกของศาสนา ที่คอยห่อหุ้มแก่นอยู่